หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/21

    กลุ่มยาขับน้ำนม

    กุ๋ยช่าย

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Allium tuberosum  Rottl. ex Spreng

    ชื่อสามัญ  Chinese Chives, Leek

    วงศ์  Liliaceae (Alliaceae)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล แบน ขรุขระ
    ส่วนที่ใช้ :  
    เมล็ด ต้น และใบสด

    สรรพคุณ :

    • เมล็ด 
      - เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
      - รับประทานขับพยาธิเส้นด้ายหรือแซ่ม้า
      - รับประทานกับสุราเป็นยาขับโลหิตประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อนได้ดี
       

    • ต้นและใบสด
      - เป็นยาเพิ่ม และขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
      - ใช้รับปะทานเป็นอาหาร
      -
      ใช้ฆ่าเชื้อ (Antiseptic)
      - แก้โรคนิ่ว และหนองในได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • เมล็ด
      - เผาไฟเอาควันรมเข้าในรูหู เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
      - บางจังหวัดใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันยางชุบสำลีอุดฟันที่เป็นรูทิ้งไว้ 1-2 วัน เป็นยาฆ่าแมลงที่กินอยู่ในรูฟันให้ตายได้

    • ต้นและใบสด
      - ใช้จำนวนไม่จำกัดแกงเลียงรับประทานบ่อย ขับน้ำนมหลังคลอด
      - ใช้ต้นและใบสด ตำให้ละเอียดผสมกับสุราใส่สารส้มเล็กน้อย กรองเอาน้ำรับประทาน 1 ถ้วยขา แก้โรคนิ่ว และหนองใน

    กลุ่มยาขับน้ำนม

    กล้วยน้ำว้า

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'

    ชื่อสามัญ  Banana

    วงศ์  Musaceae

    ชื่ออื่น :  กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หัวปลี  เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ
    ส่วนที่ใช้ :

    สรรพคุณ :

    • รากแก้ขัดเบา

    • ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน

    • ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด

    • ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล

    • ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง

    • กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย

    • กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด

    • หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ

    • แก้ท้องเดินท้องเสีย
      ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

    สรรพคุณเด่น :

    • แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
      1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
      2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
      3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน

    สารเคมีที่พบ :

    • หัวปลี  มีธาตุเหล็กมาก

    • หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
      ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี
      Serotonin Noradrenaline และ Dopamine

    • ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก

    • กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol

    • น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin

    ประโยชน์ทางยาของกล้วยหอม
              กล้วยหอมเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยหอม ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยหอมยังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้

    • รักษาความดันโลหิตสูง - เอาเปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

    • รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก - รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน

    • รักษามือเท้าแตก - เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น

    กลุ่มยาขับน้ำนม

    กระทือ

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber zerumbet  (L.) Smith.

    วงศ์  Zingiberaceae

    ชื่ออื่น :  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
    ส่วนที่ใช้ :
      เหง้าสด

    สรรพคุณ : บำรุงและขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด บิด ปวดมวนในท้อง
    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • ราก - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก

    • เหง้า
      - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
      - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
      - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
      - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
      - เป็นยาบำรุงกำลัง
      - แก้ฝี

    • ต้น
      - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
      - แก้ไข้

    • ใบ
      - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
      - แก้เบาเป็นโลหิต

    • ดอก
      - แก้ไข้เรื้อรัง
      - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
      - บำรุงธาตุ แก้ลม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิด
      โดยใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
      บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ
      กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย

    สารเคมี :
              Afzelin, Camphene, Caryophyllene
               น้ำมันหอมระเหยมี Zerumbone, Zerumbone Oxide

    กลุ่มยาขับน้ำนม

    ละหุ่ง

     

    ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ricinus communis  L.

    ชื่อสามัญ  Castor Bean

    วงศ์  Euphorbiaceae

    ชื่ออื่น :  มะโห่ง, มะโห่งหิน (ภาคเหนือ), ปี่มั้ว (จีน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร ใบเดี่ยว รูปผ่ามือกว้างและยาว 15-30 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู เปลือกเมล็ดสีน้ำตาล มีหลายชนิด ขึ้นกับพันธุ์ละหุ่ง
    ส่วนที่ใช้ :  
    ใบ ราก น้ำมันจากเมล็ด

    สรรพคุณ :

    • ใบ - เป็นยาขับน้ำนม แก้เลือดพิการ

    • ราก - แก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมานด้วย

    • น้ำมันจากเมล็ด - ใช้เป็นยาระบายในเด็ก น้ำมันหล่อลื่น เครื่องจักร ใช้ทำสบู่ ใช้เป็นอาหารสัตว์ และใช้ทำสีโป๊รถ

    • โปรตีนจากละหุ่ง -ส่วนหนึ่งของโปรตีนไรซีน ซึ่งเป็นพิษคือ dgA สามารถจับกับ Antibody ของไวรัสเอดส์ เมื่อพบเซลล์ที่มีไวรัส จะปล่อย Ricin ซึ่งทำให้ไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส โดยที่มีผลต่อเซลล์ปกติเพียง 1/1,000 ของเซลล์ที่มีไวรัส และไม่มีผลต่อ Daudi Cell ด้วยความสามารถในการเลือกจับเฉพาะเซลล์ที่มีไวรัส
      ** การค้นพบนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการพบยาที่ป้องกัน หรือเลื่อนเวลาในการเกิดโรคเอดส์


    • Update : 23/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch