|
|
สมุนไพรไทยรักษาโรคได้จริงหรือ/20
กลุ่มยาขับปัสสาวะ
|
สามสิบ
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asparagus racemosus Willd.
|
วงศ์ : Asparagaceae
|
ชื่ออื่น : จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ) เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สามร้อยราก (กาญจนบุรี)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : รากไม้เลื้อย ปีนป่ายขึ้นที่ต้นไม้ข้างเคียงด้วยหนาม หนามเปลี่ยนมาจากใบเกล็ดบริเวณข้อ หนามโค้งกลับ ยาว1-4 มม. ลำต้นสีขาวแกมเหลือง ต้นกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มม. ปีนป่ายขึ้นได้สูงถึง 5 เมตร แตก แขนงเป็นเถาห่างๆ บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อและกิ่งนี้เปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบน รูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1 มม. ยาว 0.5-2.5 มม. ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ (cladophyll) ลำต้นผิวเรียบ ลื่นเป็นมัน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบเป็นเกล็ด รูปสามเหลี่ยม ฐานกว้าง0.5-4 มม. ยาว 1-4 มม. ใบเกล็ดมี อายุสั้นๆต่อมาแข็งขึ้นและเปลี่ยนเป็นหนามโค้งกลับ(recurved) ดอก ดอกช่อ raceme เกิดที่ซอกกิ่ง (cladophyll) ก้านช่อดอกยาว 3-15 มม. ดอกย่อย เส้นผ่าศูนย์ กลางดอกบาน 3-4 มม. ก้านดอกย่อยยาว 2-3 มม. กลีบ (tepals) 6 กลีบ สีขาว แยกกันเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ วง ใน 3 กลีบ กลีบกว้าง 0.5-1 มม. ยาว 2.5-3.5 มม. กลีบรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน ขอบเรียบ เกสรเพศผู้ จำนวน 6 อัน มาก เรียงตัวตรงข้ามกับกลีบ ก้านชูอับเรณูยาวขนานกับกลีบ ก้านชูอับเรณูลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ สีขาวแกมเหลือง ยาว 2-2.5 มม. อับเรณูสีน้ำตาลอ่อน ยาว 0.3-0.5 มม. เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary สีเขียวแกมเหลือง ลักษณะทรงกลม 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางรังไข่ 1-1.5 มม. ก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน ยาว 0.5 มม. ยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 3 แฉก ผลและเมล็ด ผลสด berry สีแดง หรือแดงงอมม่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 มม.
ส่วนที่ใช้ :
|
สรรพคุณ :
มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและกระตุ้น
มีรสเย็น หวานชุ่ม บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอดให้เกิดกำลังเป็นปกติ
วิธีใช้ :
นำรากมา ต้ม, เชื่อม หรือทำแช่อิ่ม รับประทานเป็นอาหาร กรอบดีมาก
|
กลุ่มยาขับปัสสาวะ
|
สับปะรด
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
|
ชื่อสามัญ : Pineapple
|
วงศ์ : Bromeliaceae
|
ชื่ออื่น : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ
ส่วนที่ใช้ :
|
สรรพคุณ :
-
ราก - แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
-
หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
-
ใบสด - เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
-
ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
-
ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
-
ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา
-
เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
-
จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
-
แขนง - แก้โรคนิ่ว
-
ยอดอ่อนสับปะรด - แก้นิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารเคมี :
-
เหง้า มี Protein
-
ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase
-
ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol
-
ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone
-
น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol
|
กลุ่มยาขับปัสสาวะ
|
สมอพิเภก
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
|
ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan
|
วงศ์ : Combretaceae
|
ชื่ออื่น : ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ
ส่วนที่ใช้ : ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก
|
สรรพคุณ :
-
ผลอ่อน - มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย
-
ผลแก่ - มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
-
เมล็ดใน - แก้บิด บิดมูกเลือด
-
ใบ - แก้บาดแผล
-
ดอก - แก้โรคในตา
-
เปลือกต้น - ต้มขับปัสสาวะ
-
แก่น - แก้ริดสีดวงพรวก
-
ราก - แก้โลหิต อันทำให้ร้อน
ขนาดและปริมาณที่ใช้ :
-
ขับปัสสาวะ - ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ
-
เป็นยาระบาย ยาถ่าย - ใช้ผลโตแต่ยังไม่แก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
-
เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค) - ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
|
กลุ่มยาขับปัสสาวะ
|
หญ้าหนวดแมว
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
ชื่อพ้อง : O. grandiflorus Bold.
|
ชื่อสามัญ : Java tea, Kidney Tea Plant, Cat's Whiskers
|
วงศ์ : Lamiaceae ( Labiatae)
|
ชื่ออื่น : บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป
|
สรรพคุณ :
-
ราก - ขับปัสสาวะ
-
ทั้งต้น - แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ
-
ใบ - รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ข้อควรระวัง - คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
หญ้าหนวดแมวมีโปรแตสเซียมสูงประมาณร้อยละ 0.7-0.8 มี Glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthsiphonin นอกจากนี้ก็พบว่ามี essential (0.2-0.6%) saponin alkaloid, organic acid และ fatty oil อีกด้วย จากรายงานพบว่ามีสารขับปัสสาวะได้ ยาที่ชงจากใบใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับไตได้หลายชนิดด้วยกัน ใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ
** โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ
สารเคมี :
ต้น มี Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
ใบ มี Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, Tannin, Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย
|
กลุ่มยาขับปัสสาวะ
|
อ้อยแดง
|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.
|
ชื่อสามัญ : Sugar cane
|
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
|
ชื่ออื่น : อ้อย อ้อยขม อ้อยดำ (ภาคกลาง) กะที (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ต้น น้ำอ้อย ผิวของต้นอ้อย มี wax
|
สรรพคุณ :
-
ทั้งต้น - แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
-
ต้น - แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะเหนียว ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ ในอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง แก้ช้ำใน รักษาโรคไซนัส
-
น้ำอ้อย - รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ไอ ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร เจริญธาตุ
-
ผิวของต้นอ้อย มี wax เอามาทำยา และเครื่องสำอาง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา
ใช้ลำตันทั้งสดและแห้งขออ้อยแดง วันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น
อ้อยแดงมีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะได้ในหนูขาว กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า อ้อยแดงไม่มีพิษเฉียบพลัน
สารเคมี :
-
ราก มี Nitrogenase
-
ต้น มี Alcohols, Phenolic esters and ethers Alkaloids, Amino acids, Asparagine
-
น้ำอ้อย มี Cacium , Potassium, Magnesium, Phosphorus, Sulfur
-
ใบ มี 5, 7-Dimethyl-apigenin-4-O-B-D-glycosideส่วน
-
ดอก พบ 5-0-Methyl apigenin
|
|
Update : 23/5/2554
|
|