|
|
อักษรขอมไทย
อักษรขอมไทย |
สรุปตามเอกสารโบราณต่าง ๆ ที่ได้พบในประเทศไทยแล้ว โดยจำเพาะในภาคกลางของประเทศไทย นอกจากพบบันทึกด้วยอักษรไทย หรืออักษรขอมของชนชาติไทย ยังพบบันทึกด้วยอักษรอื่นอีกนั่นคืออักษรขอม โดยเหตุที่คนไทยทางภาคกลาง ได้นำเอาอักษรขอมมาบันทึกเป็นภาษาไทยในเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา สำหรับคนไทยอ่าน จึงให้ชื่ออักษรชนิดนี้ว่า อักษรขอมไทย
คนไทยภาคกลางเริ่มใช้อักษรขอมบันทึกเรื่องราวครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 1905 เป็นภาษาเขมรและภาษาบาลี ดังที่ปรากฎ ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง คือ
ศิลาจารึกกรุงสุโขทัย หลักที่ 4 และหลักที่ 6 ส่วนการบันทึก เป็นภาษาไทยพบหลักฐานเก่าที่สุด คือ ศิลาจารึกวัดป่าแดงหรือจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ 9 ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1949 นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา การใช้อักษรขอมเผื่อการบันทึก เป็นที่นิยมมากเท่ากับการบันทึกด้วยอักษรไทย ดังได้พบเห็นอยู่เสมอในเอกสารไทยโบราณ แม้กระทั่งทุกวันนี้ การใช้อักษรขอมก็ยังไม่ได้ยกเลิกใช้ไปโดยเด็ดขาด ดังนั้น เมื่อมีการลงคาถาอาคมก็ดี การลงเลขยันต์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ก็ดี ยังนิยมลงด้วยอักษรขอมบรรจงอยู่ โดยเหตุที่ปัจจุบันมีเอกสารที่มีค่าต่าง ๆ ที่จารึกด้วยอักษรขอมไทยมีอยู่ตามวัดตามอารามต่าง ๆ รวมทั้งที่หอสมุดแห่งชาติ มีจำนวนมากมาย เพราะฉะนั้นการศึกษาอักษรขอมไทยจะช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถอ่าน และปริวรรตเอกสารที่มีค่าเหล่านั้นเป็นภาษาไทยปัจจุบัน ก็จะเป็นประโยชน์แต่อนุชนคนไทย ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้า
|
|
Update : 22/5/2554
|
|