หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การใช้ภาษาบาลี/การแต่งฉันท์บาลี

    การแต่งฉันท์บาลี

    ข้อมูลในหน้านี้รอรับการปรับปรุง เพิ่มเติม

    การแต่งฉันท์บาลี

    • เกริ่นนำ
    • ความหมายของฉันท์
    • แผนผังฉันท์ต่างๆ
    • คณะฉันท์
      • คณะฉันท์วรรณพฤทธิ์
      • คณะฉันท์มาตราพฤทธิ์
    • หลักและวิธีการแต่ง
    • สำนวนตัวอย่างการแต่งฉันท์

    เกริ่นนำ

    การแต่งฉันท์บาลี เป็นวิชาเรียนในชั้นประโยค ป.ธ.8  อันถือเป็นวิชาสุดยอดวิชาหนึ่ง ในการเรียนบาลี  เป็นการแต่ง เรียบเรียง ร้อยกรองคำบาลีให้มีจำนวนคำ ครุลหุ ตามบังคับฉันท์ ให้ได้ความหมายที่ต้องการ ตามที่โจทย์กำหนด   รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นธรรมเนียมนิยมในการแต่งอีก

    ฉะนั้น นักเรียนในชั้นนี้จึงมีความรู้สึกหนักใจในความยากของวิชา  เพราะลำพังการแต่งไทยให้เป็นบาลี ด้วยประโยค ตามสำนวนต่างๆ ตามปกติ ก็มิใช่ของง่ายแล้ว  การต้องมาแต่งให้เป็นฉันท์ดังกล่าว  ก็นับว่ายากยิ่งขึ้นไปอีก

    แต่ในความยากนั้น ก็ยังมีส่วนที่ง่ายอยู่ ก็คือ ในเนื้อหาภาษาไทยประมาณ 1 หน้ากระดาษนั้น  นักเรียนไม่จำเป็นต้องแต่งไทยเป็นบาลี ชนิดคำต่อคำ แต่ให้สรุปย่อเนื้อหาที่สำคัญ มาแต่งเป็นฉันท์ ให้ได้ตามกำหนด จำนวน และชนิดของฉันท์ เท่านั้น   (ถึงแม้อาจจะมีนักเรียนที่สามารถแต่งฉันท์แบบถอดมาทุกถ้อยคำ ทุกตัวอักษรได้  แต่ก็คงจะหมดเวลาสอบเสียก่อนที่จะทำเสร็จ)

    ความหมายของฉันท์

    ฉันท์ แปลว่า ปกปิดโทษ คือ ปกปิดความไม่ไพเราะ (ในการสวดเป็นต้น)

    คำประพันธ์ร้อยแก้วต่างๆ ถึงแม้จะมีความหมายดี มีคุณค่า  แต่เมื่อนำมาสวดแบบสรภัญญะ เป็นต้น ฟังแล้วย่อมไม่ไพเราะ  เพราะไม่มีรูปแบบ ลีลา ของถ้อยคำที่แน่นอน เป็นจังหวะจะโคน ผนวกกับท่วงทำนองในการสวด อันจะช่วยโน้มน้อมจิตของผู้รับฟังให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสเพิ่มขึ้นได้    ต่อเมื่อกำหนดจำนวนคำของแต่ละบาท แต่ละวรรค ทั้งเสียงสั้นเสียงยาว เสียงหนักเสียงเบา อันเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง แล้ว การสวดสรภัญญะเป็นต้นนั้น ย่อมไพเราะ น่าฟัง ชวนติดตามยิ่งขึ้น

    ฉันท์ มีวิเคราะห์ว่า อวชฺชํ ฉาเทตีติ ฉนฺทํ  ธรรมชาตที่ปกปิดเสียซึ่งโทษ เรียกว่า ฉันท์

    ฉันท์ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น พันธะ คาถา วุตติ (พฤทธิ์)  ซึ่งใช้เป็นไวพจน์ของกันได้ 

    ฉันท์ ประกอบด้วย ทีฆะ รัสสะ ครุ ลหุ ศัพท์ บท บาท คาถา

    • ทีฆะ คือ สระเสียงยาว เช่น  วาจา สีโห เป็นต้น
    • รัสสะ คือ สระเสียงสั้น ปติ มุนิ เป็นต้น
    • ครุ คือ เสียงหนัก ได้แก่ สระเสียงยาว  และสระเสียงสั้นที่มีสังโยคคือตัวสะกด เช่น  เป็นต้น  มี 4 ประเภท คือ
      • สังโยคาทิครุ  อักขระ/คำ มีสังโยค เช่น วํโส ธมฺโม กตฺวา เป็นต้น
      • ทีฆครุ  อักขระเสียงยาว เช่น โลโป วาจา เป็นต้น
      • ปาทนฺตครุ  อักขระปลายบาท คือ พยางค์สุดท้ายของบาท  แม้จะกำหนดให้เป็นครุ แต่ก็อาจแต่งเป็นลหุได้  เรียกว่า ปาทนฺตครุ   
        เช่น ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ พยางค์ที่ขีดเส้นใต้ คือปาทนฺตครุ
      • นิคฺคหิตครุ อักขระมีนิคคหิต เช่น อุทกํ วรํ เป็นต้น
    • ลหุ คือ เสียงเบา ได้แก่ สระเสียงสั้น ที่ไม่มีสังโยค  เช่น ปติ มุนิ เป็นต้น
    • ศัพท์ คือ คำที่ไม่ได้ประกอบวิภัตติ เช่น ภนฺเต จ โข เป็นต้น (หรือคำที่ยังไม่ได้ประกอบวิภัตติ เช่น ปุริส เทว เป็นต้น)
    • บท คือ คำที่ประกอบวิภัตติแล้ว เช่น ปุริสา เทโว เป็นต้น
    • พยางค์ คือ หน่วยเสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง เรียกว่า 1 พยางค์ เช่น คำว่า อาราเม มี 3 พยางค์, คำว่า อาจริยา มี 4 พยางค์ เป็นต้น
    • บาท คือ กลุ่มคำที่มีจำนวนพยางค์ครบตามที่กำหนดในฉันท์นั้นๆ เช่น ฉันท์ปัฐยาวัตร มีบาทละ 8 พยางค์*, ฉันท์อินทรวิเชียร มีบาทละ 11 พยางค์ เป็นต้น
    • คาถา  คือ จำนวน 4 บาทนั้นเอง เรียกว่า 1 คาถา   ถ้ามี 2 บาท ก็เรียกว่า กึ่งคาถา/ครึ่งคาถา (อฑฺฒคาถา)   6 บาท เรียกว่า 1 คาถากึ่ง เป็นต้น

    * บางทีก็พูดกันว่า มีบาทละ 8 "คำ"  แต่ความหมายของคำว่า "คำ" ในภาษาไทย ยังดิ้นได้   ในที่นี้ จึงขอใช้คำว่า "พยางค์" เป็นหลัก เพื่อความชัดเจน

    ประเภทของฉันท์

    1. ฉันท์วรรณพฤทธิ์  (วณฺณวุตฺติ) คือ ฉันท์ที่กำหนดจำนวนพยางค์ (อักษร/คำ) ในบาทหนึ่งๆ  เช่น ปัฐยาวัตร บาทละ 8 พยางค์, อินทรวิเชียร 11 พยางค์ เป็นต้น
    2. ฉันท์มาตราพฤทธิ์ (มตฺตาวุตฺติ) คือ ฉันท์ที่กำหนดมาตรา คือจำนวนครุลหุ ในบาทหนึ่งๆ

    ฉันท์วรรณพฤทธิ์ เป็นที่นิยมกว่า เพราะฟังง่าย เข้าใจง่าย 
    ส่วนฉันท์มาตราพฤทธิ์ ก็เป็นฉันท์ชั้นสูงประณีตยิ่ง  ต้องใช้จังหวะเสียงหนัก-เบาในการว่าจริงๆ 

    ฉันท์ที่กำหนดให้เป็นหลักสูตรในการเรียนบาลี ชั้นประโยค ป.ธ.8 นั้น คือ ฉันท์วรรณพฤทธิ์ 6 ฉันท์ คือ

    1. ปัฐยาวัตร (ปฐฺยาวตฺตํ)
    2. อินทรวิเชียร (อินฺทวชิรา)
    3. อุเปนทรวิเชียร (อุเปนฺทวชิรา)
    4. อินทรวงศ์ (อินฺทวํโส)
    5. วังสัฏฐะ (วํสฏฺฐา)
    6. วสันตดิลก (วสนฺตติลกา)

    คณะฉันท์

    คณะ คือ กลุ่มคำที่ประกอบด้วยด้วยครุและลหุ  

    1. คณะฉันท์วรรณพฤทธิ์   มีคณะละ 3 พยางค์   มีทั้งหมด 8 คณะ  
    2. คณะฉันท์มาตราพฤทธิ์  มีคณะละ 4 มาตรา   มีทั้งหมด 5 คณะ

    คณะฉันท์วรรณพฤทธิ์

    ตัวอักษรเหล่านี้ คือ  ม น ส ช  ต ภ ร ย  แต่ละตัวสมมุติให้เป็นชื่อคณะฉันท์  เช่น  มะคณะ นะคณะ เป็นต้น  รวมเป็นคณะฉันท์ 8 คณะ

    สัญญลักษณ์ที่ใช้แทน ครุ และ ลหุ ที่ใช้กันมา  คือ  " ุ" (สระอุ) แทนลหุ   และ "  ั " (ไม้หันอากาศ) แทนครุ   
    (เวลาเขียน จะวางระดับสระอุกับไม้หันอากาศให้เสมอกัน ประมาณกลางบรรทัด)

    ในที่นี้ ขอใช้สัญญลักษณ์  •  แทน ลหุ  และ — แทน ครุ  เพื่อให้ดูง่ายและเขียนง่าย (สำหรับคอมพิวเตอร์)

    คณะฉันท์วรรณพฤทธิ์   มีคณะละ 3 พยางค์   มีทั้งหมด 8 คณะ ดังนี้ คือ  ม น ส ช  ต ภ ร ย

    สพฺพญฺญู โม   สุมุนิ โน        สุคโต โส    มุนินฺท โช
    มาราชิ โต    มารชิ โภ          นายโก โร   มเหสี โย

                 
    สพฺ พญฺ ญู โม     สุ มุ นิ โน     สุ โต โส     มุ นินฺ โช
                 
    มา รา ชิ โต   มา ชิ โภ   นา โก โร   เห สี โย

     

    การเรียกชื่อคณะฉันท์ทั้ง 8

    สพฺพญฺญู โม     มะคณะ
    สุมุนิ โน           นะคณะ
    สุคโต โส          สะคณะ
    มุนินฺท โช         ชะคณะ
    มาราชิ โต         ตะคณะ
    มารชิ โภ          ภะคณะ
    นายโก โร         ระคณะ
    มเหสี โย           ยะคณะ

    คณะฉันท์มาตราพฤทธิ์

    คณะฉันท์มาตราพฤทธิ์ นับคำครุเป็น 2 มาตรา  ลหุเป็น 1 มาตรา   มีคณะละ 4 มาตรา   มีทั้งหมด 5 คณะ ดังนี้  คือ  ม น ส ช  ภ

    สพฺพญฺญู โม     มะคณะ
    สุมุนิ โน           นะคณะ
    สุคโต โส          สะคณะ
    มุนินฺท โช         ชะคณะ
    มารชิ โภ          ภะคณะ

    จำนวนบาทคาถาและรูปแบบในการแต่งฉันท์  มีกฎเกณฑ์ว่า

    1. การแต่งฉันท์ ต้องแต่งอย่างน้อย 1 คาถา จึงจะนับว่าเป็น "ฉันท์"   น้อยกว่านั้นไม่ได้  ถ้าเกิน 1 คาถา แล้วแต่งไม่ครบคาถา บาทที่เกินเป็นเศษมานั้น ก็ต้องแต่งให้มีเป็นจำนวน 2 บาทเสมอ ห้ามแต่งให้มีเศษเพียง 1 หรือ 3 บาท
    2. เมื่อเริ่มแต่งฉันท์ชนิดใด ต้องแต่งฉันท์ชนิดนั้นจนจบอย่างน้อย 1 คาถา  ห้ามแต่งไม่ครบคาถาแล้วไปเริ่มฉันท์ชนิดอื่นต่อ  หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าแต่งฉันท์หลายชนิดรวมกัน ต้องแต่งฉันท์แต่ละชนิดให้ได้อย่างน้อย 1 คาถาเสมอ
    3. ฉันท์แต่ละชนิดมีรูปแบบในการวางบาทคาถาไว้  เช่น วางซ้าย-ขวา-ซ้าย-ขวา หรือ วางจากบนลงล่าง ต้องแต่งให้ถูกต้อง

    การเรียงศัพท์ในการแต่งฉันท์

    การเรียงศัพท์ในการแต่งฉันท์ ไม่เคร่งครัดเหมือนการแต่งประโยคธรรมดา จะเรียงอย่างไร หากไม่ผิดคณะฉันท์แล้วเป็นอันใช้ได้ (แต่ก็มิใช่เรียงข้ามประโยคจนสับสน จับใจความไม่ได้)    ยกเว้นแต่นิบาตต้นข้อความ และ เต เม โว โน (โน ปุริสสัพพนาม) เท่านั้น ที่จะต้องเรียงไว้หลังบทอื่นเสมอ

    ฉันท์ชนิดต่างๆ

    ปัฐยาวัตร

    ปัฐยาวัตร แปลว่า คาถาที่สวดเป็นทำนองจตุราวัตร คือหยุดทุก 4 คำ

    อเสวนา จ พาลานํ    ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
    ปูชา จ ปูชนียานํ      เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

        ห้าม สะ นะ คณะ ยะ คณะ       ห้าม สะ นะ คณะ ชะ คณะ  
    พยางค์ที่บังคับครุ-ลหุ   [ • ]         [ • • ]    
    พยางค์ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8   1 2 3 4 5 6 7 8
      เส นา พา ลา นํ   ปณฺ ฑิ ตา นญฺ เส นา
      ปู ชา ปู นี ยา นํ   เอ ตมฺ มงฺ มุตฺ มํ
      เม สุ สินฺ ธุ โต เช   ปฐฺ ยา วตฺ ตํ กิตฺ ติ ตํ
                                 

    บาทคาถาด้านซ้ายมือ (เรียกว่าบาทขอน)
    พยางค์ที่ 2-3 (สีแดง) ห้ามเป็นลหุคู่กัน  
    พยางค์ที่ 5-6-7 เป็น ลหุ-ครุ-ครุ (• — —) ตามลำดับ

    พยางค์ที่เหลือ ไม่บังคับครุ-ลหุ

    บาทด้านขวามือ (เรียกว่าบาทคู่)
    พยางค์ที่ 2-3 (สีแดง) ห้ามเป็นลหุคู่กัน  
    พยางค์ที่ 5-6-7 เป็น ลหุ-ครุ-ลหุ (• — •) ตามลำดับ

    พยางค์ที่เหลือ ไม่บังคับครุ-ลหุ

       •  แทน ลหุ (เสียงเบา  สั้นไม่มีสังโยค)
     — แทน ครุ (เสียงหนัก  ยาวหรือสั้นมีสังโยค)
    • ปัฐยาวัตร คาถาหนึ่ง มี 4 บาท  บาทละ 8 พยางค์   
    • พยางค์ที่ 2 3 4 ของทุกบาท ห้ามเป็น สะ นะ คณะ   พยางค์ที่ 5 6 7 ของบาทซ้าย ลง ยะ คณะ     พยางค์ที่ 5 6 7 ของบาทขวา ลง ชะ คณะ  
    • พยางค์ที่ 1 และ 8 ของทุกบาท จะเป็นครุหรือลหุก็ได้ คือ เรียกกันว่า อักษรลอย
    • บางบาท อาจจะมี 9 พยางค์บ้างก็ได้ ไม่ถือว่าผิดเสียทีเดียว ยังใช้ได้อยู่ เรียกว่า นวกฺขริก* (อักษร 9 ตัว)
    • ถัดจากพยางค์ที่ 1 ในบาทขอน (1, 3) นิยม ระคณะ    และถัดจากพยางค์ที่ 1 ในบาทคู่ (2, 4) นิยม มะคณะ ถือว่าไพเราะดีมาก

    * อักษร ในเรื่องฉันท์นี้ หมายถึงพยางค์หนึ่ง ไม่ใช่อักขระตัวหนึ่งๆ   อัฑฒสระ เช่น กฺริยา  ถือว่าแยกเป็น 2 พยางค์   หรือจะถือรวมเป็นพยางค์เดียวก็ได้แต่ไม่นิยม

    แนวทางการแต่งฉันท์ ๕ ขั้นตอน

    1. อ่านเรื่องที่กำหนด ให้เข้าใจ
    2. ย่อความ จับประเด็นสำคัญของเรื่อง
    3. วางแผนการแต่ง
    4. ดำเนินการแต่ง
    5. ตรวจสอบความถูกต้อง

     

     


    บรรณานุกรม

    • พระเมธีปริยัตโยดม ป.ธ.9, สำนวนแต่งฉันท์ภาษามคธ
    • พระมหากัณหา ปิยสีโล ป.ธ.9, แต่งแปลบาลี
    • พระมหาอุทัย ภูริเมธี ป.ธ.9, ฉันทกรณวิธี และตัวอย่างสำนวนวิชาแต่งฉันท์
    • ชรินทร์ จุลคประดิษฐ์ ป.ธ.9, แต่งแปลบาลี 1-2

    • Update : 22/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch