หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ลักษณะการแปล มคธ เป็นไทย
    ลักษณะการแปลมคธเป็นไทย

    การแปลมี 2 ลักษณะใหญ่ คือ  การแปลโดยพยัญชนะ  และการแปลโดยอรรถ

    1. แปลโดยพยัญชนะ  คือ การแปลรักษารูปแบบของไวยากรณ์อย่างเคร่งครัด  แปลออกสำเนียงวิภัตติอายตนิบาตโดยตลอด
    ไม่มีการตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด   ช่วยให้นักเรียนสังเกตรูปแบบกฏเกณฑ์ต่างๆ ของไวยากรณ์ ของศัพท์และประโยคได้ง่ายขึ้น  
    แต่ไม่ได้เน้นถึงเนื้อความสำนวนในภาษาไทยนัก  ทำให้ฟังเข้าใจค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยศึกษาภาษาบาลีมาก่อน  
    การแปลแบบนี้ ใช้ในชั้นประโยค 1-2 และประโยค ป.ธ.3 เท่านั้น  และใช้ในการสอบไล่ (สอบสนามหลวง) เช่น

    • ปุณฺโณ   “อหํ  ปพฺพชิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา  อาคมิ.   
      เขียนแปลโดยพยัญชนะว่า
      อ.ปุณณะ คิดแล้ว ว่า  อ.เรา จักบวช  ดังนี้  มาแล้ว.

    2. แปลโดยอรรถ  แปลโดยถือเอาเนื้อความใจความของภาษาไทยเป็นสำคัญ ให้ได้ใจความเป็นที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน
    ไม่เคร่งครัดในการรักษาสำเนียงวิภัตติอายตนิบาตมากนัก   แต่ต้องแปลทุกศัพท์ เว้นไม่ได้  
    จะแปลแบบถอดแต่ใจความเลยทีเดียวไม่ได้   ทั้งมิใช่แปลเล่นสำนวนตามใจชอบ จนไปไกลเลยเถิดจากความหมายเดิม   
    ทั้งนี้เพื่อรักษาหลักธรรมพุทธวจนะให้สมบูรณ์   
    การแปลแบบนี้ใช้ตั้งแต่ชั้นประโยค 1-2 จนถึง ประโยค ป.ธ.9   และใช้ในการสอบไล่ (สอบสนามหลวง)  เช่น 

    • ปุณฺโณ   “อหํ  ปพฺพชิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา  อาคมิ.  
      ประโยคเดียวกันนี้ เขียนแปลโดยอรรถว่า
      ปุณณะคิดว่า เราจะบวชละ จึงมา.

     

    ส่วนการแปล โดยพยัญชนะ ในห้องเรียน ของคณะสงฆ์ไทย  ยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ

    ก) อ่านแปลยกศัพท์  คืออ่านศัพท์บาลีก่อน แล้วจึงแปลเป็นไทย  โดยยกศัพท์บาลีขึ้นมาศัพท์หนึ่ง (หรือหลายศัพท์)
    แล้วแปลเป็นไทยศัพท์หนึ่ง (หรือหลายศัพท์) สลับกันไป   แบ่งได้อีก 2 ลักษณะ คือ

    1. แปลยกศัพท์โดยแปลประโยคเลขนอก (ประโยคนอกเครื่องหมายคำพูด) ให้หมดก่อน  
      แล้วจึงค่อยมาแปลประโยคเลขใน
      (ประโยคในเครื่องหมายคำพูด)  ในประโยคนั้นๆ 
      คือ ถ้าพบประโยคเลขในก็เพียงแต่อ่านผ่านไปก่อน
      เมื่อแปลประโยคเลขนอกหมดแล้วจึงมาแปลประโยคเลขในทีหลัง  เช่น
    • ปุณฺโณ   “อหํ  ปพฺพชิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา  อาคมิ.
      อ่านแปลโดยพยัญชนะ ยกศัพท์ และพักเลขในไว้แปลทีหลัง ว่า
      ปุณฺโณ  อ.ปุณณะ   จินฺเตตฺวา คิดแล้ว   อหํ  ปพฺพชิสฺสามิ  อิติ ว่า...ดังนี้   อาคมิ มาแล้ว
      อหํ  อ.เรา   ปพฺพชิสฺสามิ จักบวช

    การแปลแบบนี้ แยกแปลระหว่างประโยคเลขนอกกับประโยคเลขในอย่างชัดเจน
    ช่วยให้นักเรียนชำนาญในการแบ่งประโยคเลขนอกเลขในและแปลประโยคไม่ก้าวก่ายกัน
    แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง คือทำให้การจับใจความรวมของประโยคหรือลำดับเรื่องราวได้ไม่ง่ายนัก
    นิยมใช้เป็นการแปลปากเปล่าในห้องเรียน เพราะผู้สอนสามารถตรวจสอบการแปลได้ง่ายว่า
    นักเรียนมีความเข้าใจหลักการแปล เพียงใด 

    1. แปลยกศัพท์ไปตามเนื้อความตามลำดับ ถ้ามีประโยคเลขในอยู่ ก็แปลทันที
      ไม่พักไว้กลับมาแปลทีหลัง 
      เช่น  ถ้าในประโยคนั้นมีประโยคเลขในอยู่ 
      เมื่อถึงประโยคเลขในก็ให้แปลประโยคเลขในนั้นไปจนจบ   แล้วแปลคำอื่นในประโยคเลขนอก ต่อไป  เช่น
    • ปุณฺโณ   “อหํ  ปพฺพชิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา  อาคมิ.
      อ่านแปลโดยพยัญชนะ ยกศัพท์ ว่า
      ปุณฺโณ  อ.ปุณณะ  จินฺเตตฺวา คิดแล้ว  ว่า  อหํ อ.เรา  ปพฺพชิสฺสามิ จักบวช  อิติ ดังนี้  อาคมิ มาแล้ว.

    ข) แปลไม่ยกศัพท์ คือ แปลโดยพยัญชนะไปตามปกติ ไม่ต้องยกศัพท์บาลี  และไม่ต้องแปลประโยคเลขนอกให้หมดก่อน 

    • ปุณฺโณ   “อหํ  ปพฺพชิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา  อาคมิ.   
      อ่านแปลโดยพยัญชนะ ไม่ยกศัพท์ ว่า
      อ.ปุณณะ คิดแล้ว ว่า  อ.เรา จักบวช  ดังนี้  มาแล้ว.

    การแปลแบบนี้ นิยมใช้เป็นการเขียนแปลในห้องสอบ หรือใช้แปลปากเปล่าในห้องเรียน
    เมื่อนักเรียนแปลยกศัพท์ได้ชำนาญและเข้าใจ หลักการแปลดีแล้ว  
    ทำให้ดำเนินไปได้รวดเร็ว ไม่ชักช้าเสียเวลาเหมือนแปลยกศัพท์

     

    ลำดับการแปล 

    ให้แปลไปตามลำดับ  ดังนี้

    1. อาลปนะ
    2. นิบาตต้นข้อความ
    3. กาลสัตตมี
    4. บทประธาน
    5. บทเนื่องด้วยประธาน
    6. กิริยาในระหว่าง (ที่เข้ากับประธาน)
    7. บทเนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
    8. กิริยาคุมพากย์
    9. บทเนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์

    ลำดับใดไม่มีในประโยค ก็ให้ข้ามไป แต่ประธานและกิริยาคุมพากย์ ถ้าไม่มี ต้องเติมเข้ามาแปล (ยกเว้นประโยคลิงคัตถะ ไม่มีกิริยาคุมพากย์)

    ถ้ามีอนภิหิตกัตตา แปลว่า "อัน" ลงในอรรถตติยาวิภัตติ    หรือ การิตกัมมะ แปลว่า "ยัง" ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ   ของกิริยาใด* ให้แปลก่อนกิริยานั้นเสมอ
    (ลงวิภัตติอื่นก็มี เช่น ลงฉัฏฐีวิภัตติ แต่แปลลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า "อัน" เีรียกชื่อว่า ฉัฏฐีอนภิหิตกัตตา 
    ลงฉัฏฐีวิภัตติ แต่แปลลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ แปลว่า "ยัง" เีรียกชื่อว่า ฉัฏฐีการิตกัมมะ ฯลฯ)

    * อนภิหิตกัตตา การิตกัมม    มีในกัมมวาจก ภาววาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก

    ประโยคแทรก  ปรากฏอยู่ส่วนใดของประโยค ก็ให้แปลทันที  เช่น ถ้าอยู่ต้นประโยคหลัก ก็แปลได้ทันที  ไม่ต้องแปลประธานของประโยคหลักเสียก่อน

    คำอธิบายรายละเอียดลำดับการแปลข้างต้นนั้น ดังนี้

    1.อาลปนะ   คำร้องเรียก  มี 2 อย่าง คือ

    1. อาลปนะนาม นามนามที่ประกอบด้วยอาลปนวิภัตติ เช่น  ภิกฺขเว ยกฺข ตาต อมฺม (สาธารณนาม), ติสฺส สารีปุตฺต (อสาธารณนาม) เป็นต้น
    2. อาลปนะนิบาต  มี 10 ตัว คือ  ยคฺเฆ ขอเดชะ  ภนฺเต  ภทนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  อาวุโส ดูก่อนผู้มีอายุ  อมฺโภ แน่ะผู้เจริญ ภเณ พนาย  เร เว้ย  อเร โว้ย  เห เฮ้ย  เช แม่

    อาลปนะนาม ถ้ามาพร้อมกับอาลปนะนิบาต 5 ตัวนี้  คือ ภนฺเต ภทนฺเต อาวุโส อมฺโภ ภเณ 
    ให้แปลอาลปนะนามก่อน  แล้วจึงแปลอาลปนะนิบาต  เช่น

    วเทหิ  ตาว  อาวุโส  ปาลิต
      ดูก่อนปาลิตะ  ผู้มีอายุ  อ.ท่าน  จงกล่าว  ก่อน. (ธบ1/จักขุบาล)

    อาลปนะนาม  ถ้ามาพร้อมกับอาลปนะนิบาต 5 ตัวนี้ คือ ยคฺเฆ เร อเร เห เช  ให้แปลอาลปนะนิบาตก่อน  เช่น

    อเร  ขุชฺเช  อติพหโลฏฺฐกโปลํ  เต  มุขํ. (ธบ2/สามาวตี)
       เฮ้ย  แน่ะหญิงค่อม  อ.ปาก  ของเจ้า  มีริมฝีปากและกระพุ้งแก้มอันหนายิ่ง.

    ถ้ามีอาลปนะนามหลายบท  ให้แปลที่อยู่หน้าก่อนเสมอ  แล้วแปลอาลปนนามที่เหลือ เป็นบทวิเสสนะ  เช่น

    อนฺธพาล  อหิริก  ตฺวํ  มยา  สทฺธึ  วตฺตุ ํ  น  ยุตฺตรูโปสิ. (ธบ3/สุปฺปพุทฺธกุฏฺฐิ)
      ดูก่อนอันธพาล  ผู้ไม่มีความละอาย  อ.ท่าน เป็นผู้มีรูปไม่ควรแล้ว  เพื่ออันกล่าว  กับ ด้วยเรา  ย่อมเป็น.

    อาลปนะนามที่กล่าวถึง ชื่อ แซ่, โคตร สกุล ให้แปลก่อนเสมอ  แล้วแปลอาลปนนามหรืออาลปนนิบาตอื่นๆ เป็นบทวิเสสนะ  เช่น

    ชูตกมฺเมน  โภ  โคตม  ชีวามิ.
      ข้าแต่พระโคดม  ผู้เจริญ  อ.ข้าพระองค์  ย่อมเป็นอยู่  ด้วยการเล่นสะกา. (4/อนตฺถปุจฺฉกพฺราหฺมณ)

    อิงฺฆ  ปสฺส  มหาปุฺ  มหาโมคฺคลฺลาน  มหิทฺธิก. (ธบ8/อุคฺคเสนเสฏฺฐิปุตฺต)
      ข้าแต่พระมหาโมคคัลลานะ  ผู้มีฤทธิ์มาก  ผู้มีบุญมาก  เชิญเถิด  อ.ท่าน  จงดู.

    ภนฺเต  ปิณฺโฑลภารทฺวาช
      แน่ะท่านปิณโฑลภารัทวาชะ  ผู้เจริญ.

    2. นิบาตต้นข้อความ  บอกเนื้อความต่างๆ  มีดังนี้

    กิร ขลุ สุทํ,  หนฺท ตคฺฆ อิงฺฆ,  อาม อามนฺตา,  สเจ เจ อถ ยทิ ยนฺนูน อปฺเปวนาม,  หิ จ ปน,  อถวา อถโข

    3. กาลสัตตมี  คือศัพท์ที่ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ หรือ แปลออกสำเนียงสัตตมีวิภัตติได้ และบอกกาลเวลา โดยเฉพาะที่วางไว้ต้นๆ ประโยค

    1. กาลสัตตมีนาม  เช่น 
      สัตตมีวิภัตติ : สํวจฺฉเร, มาเส, ทิวเส, ขเณ, กาเล, เอกสฺมึ สมเย
      ทุติยาวิภัตติ แปลเป็นสัตตมีวิภัตติ : เอกทิวสํ, อเถกทิวสํ, ตํ ทิวสํ, เอกํ สมยํ
      ตติยาวิภัตติ แปลเป็นสัตตมีวิภัตติ : เอเกน สมเยน
    2. กาลสัตตมีนิบาต  เช่น  อถ  ปาโต  ทิวา  สายํ
    3. กาลสัตตมีสัพพนาม  เช่น  ยทา  ตทา  เอตรหิ  อิทานิ  อชฺช  กุทาจนํ

    4. บทประธาน  คือศัพท์ที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ หรือแปลออกสำเนียงปฐมาวิภัตติได้ 

    1. นามนาม  เช่น  ปุริโส  ครุ  นารี  อกฺขิ
    2. นามกิตก์  เช่น  ธมฺมจารี  ทายโก  กตฺตา  กรณํ  คมนํ  สํวโร
    3. กิริยากิตก์ที่ใช้เป็นนามนาม เช่น  พุทฺโธ  ชีวิตํ  คนฺตพฺพํ
    4. ตัทธิตนามนาม  เช่น  สามเณโร  สหายตา อรหตฺตํ
    5. ปุริสสัพพนาม  เช่น  โส  สา  ตํ,  เต  ตา  ตานิ,  ตฺวํ  ตุมฺเห,  อหํ  มยํ
    6. สังขยานามนาม ตั้งแต่ เอกูนสตํ (99) ขึ้นไป
    7. บทสมาสนามนาม  เช่น  สํสารวฏฺฏํ  นตฺถิปูโว อโหสิกมฺมํ คตฏฺฐานํ
    8. บทพิเศษ  นิบาตที่ลงในอรรถปฐมาวิภัตติ เช่น 
      เอวํ  อ.อย่างนั้น,  ตถา  อ.อย่างนั้น,  อลํ  อ.อย่าเลย, 
      -ตุ ํ  อ.อัน... อ.การ.. อ.ความ...,  อชฺช  อ.วันนี้,  สาธุ  อ.ดีละ

    5. บทเนื่องด้วยประธาน  คือ บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับตัวประธาน

    6. กิริยาในระหว่าง ที่เข้ากับประธาน ได้แก่  กิริยากิตก์

    อนฺต  ตวนฺตุ  ตาวี  มาน  ต    5 ตัวนี้  ต้องมี ลิงค์ วิภัตติ วจนะ เสมอกับประธาน
    ตูน  ตฺวา  ตฺวาน                  3 ตัวนี้  ไม่ต้องแจกด้วยวิภัตติ

    7. บทเนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง คือ บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับกิริยาในระหว่าง

    8. กิริยาคุมพากย์  ได้แก่ กิริยาอาขยาตทั้งหมด และกิริยากิตก์ 3 ตัว  คือ  ต  อนีย  ตพฺพ

    9. บทเนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์  บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับกิริยาคุมพากย์
    (กิริยากิตก์ หรือ กิริยาอาขยาต  ที่เข้าสมาสแล้ว  จัดเป็นนามนามหรือคุณนาม  เช่น  ทิฏฺปุพฺโพ วยปฺปตฺโต  นตฺถิปูโว  ใช้เป็นกิริยาในระหว่าง หรือกิริยาคุมพากย์ไม่ได้)

     

    การกำหนดประโยค 
    กำหนดดูให้รู้ว่า
    1. ต้นประโยคและที่สุดประโยคอยู่ที่ไหน รวมทั้งเลขนอกเลขใน เพื่อไม่ให้แปลแต่ละประโยคก้าวก่ายกัน 
      ที่สุดของประโยค สังเกตได้จากกิริยาคุมพากย์ (ยกเว้นประโยคลิงคัตถะ ไม่มีกิริยาคุมพากย์)
    2. ประโยคนี้เป็นวาจกอะไร  โครงสร้างของประโยค เช่น ประธาน กิริยาคุมพากย์ คือบทไหน
    3. แต่ละคำแปลว่าอะไร เป็นนามประเภทไหน ลิงค์ วจนะ วิภัตติอายตนิบาตอะไร  กิริยาอาขยาต หรือกิริยากิตก์
    4. บทไหนแปล สัมพันธ์เข้ากับบทไหน
    5. บทที่จะต้องแปลรวบมีอะไรบ้าง แล้วแปลไปตามลำดับการแปล โดยนึกถึงเนื้อความในภาษาไทยให้ฟังไม่ขัดกัน ฟังรู้เรื่อง ได้ความหมายดี

     

    ประโยคเลขนอกเลขใน
    • ประโยคเลขใน หมายถึง ประโยคที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด ( “  ” เรียกว่า อัญญประกาศ ) ในภาษาไทย  ส่วนในภาษาบาลี  ต้นประโยคเลขในไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย (แต่ในหนังสือธัมมปทัฏฐกถา/อรรถกถาธรรมบท ซึ่งใช้เป็นหนังสือเรียนหลักสูตรชั้น ประโยค 1-3 และประโยค ป.ธ.3 จะใส่เครื่องหมาย “ มาให้)    และใช้ อิติ ศัพท์ เป็นเครื่องหมายว่าจบประโยคเลขใน  (ต้องสนธิ อิติ ศัพท์ เข้ากับศัพท์ที่อยู่หน้า อิติ เสมอ)
    • ประโยคเลขใน มีเนื้อความต่างๆ กัน เช่น  เป็นคำพูดสนทนา คำถาม ความนึกคิด ความคาดหวัง ความสำคัญมั่นหมาย เป็นต้น  โดยเป็นการขยายความของคำที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์ ให้ชัดเจนขึ้น
    • ศัพท์ที่เป็นเครื่องสังเกตประโยคเลขใน ได้แก่  อาลปนะ (ภนฺเต มหาราช...), ปุริสสัพพนาม มัธยมบุรุษ และอุตตมบุรุษ (ตฺวํ  ตุมฺเห  อหํ  มยํ),  กิริยาอาขยาต มัธยมบุรุษ และ อุตตมบุรุษ,   อิติ ศัพท์
    • ก่อนจะแปลประโยคเลขใน   ต้องแปลคำที่ประโยคเลขในนั้นขยายความเสียก่อน  เรียกว่าแปลคำที่มาเปิด อิติ ศัพท์ ก่อน จึงจะแปลประโยคเลขในได้
      • ปุณฺโณ   "อหํ  ปพฺพชิสฺสามีติ จินฺเตสิ.
        อ.ปุณณะ คิดแล้ว ว่า  อ.เรา จักบวช  ดังนี้.
        ปพฺพชิสฺสามีติ  แยกศัพท์เป็น  ปพฺพชิสฺสามิ กับ อิติ
        ปุณฺโณ  อิติ และ จินฺเตสิ เป็นประโยคเลขนอก  
        อหํ  ปพฺพชิสฺสามิ เป็นประโยคเลขใน ซึ่งขยายความคำว่า จินฺเตสิ  ว่าคิดอะไร คิดเรื่องอะไร    จินฺเตสิ เป็นคำที่มาเปิด อิติ ศัพท์

    ส่วนบทเนื่องด้วยกิริยา ที่เป็น อนภิหิตกัตตา หรือ การิตกัมม (มีในกัมมวาจก ภาววาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก)  ของกิริยาใด ต้องแปลก่อนกิริยานั้นเสมอ

    บทวิเสสนะ วิกติกัตตา ของประธาน,  ประโยคอนาทร ประโยคลักขณะ ที่วางไว้หน้ากิริยาในระหว่าง (ที่เข้ากับประธาน)หรือ กิริยาคุมพากย์ ให้แปลก่อนกิริยานั้นๆ

     

    หลักการแปลเข้าประโยคเลขใน

    ก่อนจะแปลประโยคเลขใน   ต้องแปลคำกิริยาหรือนามนามที่เป็นเจ้าของประโยคเลขในก่อน  ถ้าไม่มีคำกิริยาหรือนามเหล่านี้  ต้องใส่เข้ามา  และแปลก่อนข้อความในเลขในนั้น   (เรียกว่าแปลเปิดประโยคเลขใน  หรือแปลเปิดอิติ ศัพท์)

    1. ถ้าหลังประโยคเลขใน  ยังไม่จบประโยค  ยังมีเนื้อความต่อไปอีก  ให้ใส่กิริยาในระหว่าง คือ ตฺวา ปัจจัย มาเปิดประโยคเลขใน  โดยที่ข้อความในประโยคเลขในนี้ ทำก่อนกิริยาที่เรียงไว้หลังมัน

    ประโยคเลขในเป็น    คำที่เติม
    คำพูดสนทนา    วตฺวา กเถตฺวา อาโรเจตฺวา
    คำถาม    ปุจฺฉิตฺวา
    ความนึกคิด    จินฺเตตฺวา
    ฟัง    สุตฺวา
    รับรอง    ปฏิสุณิตฺวา สมฺปฏิจฺฉิตฺวา
    กำหนด    สลฺลกฺเขตฺวา
    • มหากาโล ตมตฺถํ  สุตฺวา  “อหํปิ  คมิสฺสามีติ  (จินฺเตตฺวา)  กนิฏฺฐํ  อามนฺเตสิ.
      อ.มหากาล ฟังแล้ว ซึ่งเนื้อความ นั้น คิดแล้ว ว่า แม้ อ.เรา  จักไป ดังนี้  เรียกมาแล้ว ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุด.

    ข้อสังเกต  กิริยาที่มาเปิดเลขใน  ถ้าเป็นกิริยาอาขยาต จะเรียงไว้ก่อนหรือหลังเลขในก็ได้   แต่ถ้าเป็นกิริยากิตก์ต้องเรียงไว้หลังเลขในอย่างเดียว

    2.    ถ้าเรียงไว้แต่ประโยคเลขใน เพราะละประธานและกิริยาคุมพากย์ไว้   ให้ใส่ประธานและกิริยาคุมพากย์มาเปิดประโยคเลขใน

    ประโยคเลขในเป็น    คำที่เติม  
      เอก. พหุ.  
    คำพูดสนทนา อาห อาหํสุ กล่าวแล้ว
      กเถสิ กเถสุ ํ กล่าวแล้ว
      วทิ วทึสุ กล่าวแล้ว
      อาจิกฺขิ อาจิกฺขึสุ บอกแล้ว
      อาโรเจสิ อาโรเจสุ ํ บอกแล้ว
    คำถาม ปุจฺฉิ ปุจฺฉึสุ ถามแล้ว
    ความคิด จินฺเตสิ จินฺตยึสุ คิดแล้ว
    คำปรึกษา มนฺตยิ มนฺตยึสุ ปรึกษากันแล้ว
    • อุ. (สกฺโก)  “อหํ  อุชุกมคฺคํ  ชานามิ  ภนฺเตติ  (อาห).
      อ.ท้าวสักกะ  ตรัสแล้ว  ว่า  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  อ.กระผม  ย่อมรู้  ซึ่งหนทางตรง  ดังนี้.

    3. ถ้าข้อความในประโยคเลขในทำพร้อมกิริยาที่ท่านเรียงไว้หลังอิติศัพท์  ให้ใส่นามนามตติยาวิภัตติ (ด้วย) มาเปิดประโยคเลขใน   โดยเรียงไว้หน้ากิริยานั้น และแปลกิริยานั้นก่อน

    ประโยคเลขในเป็น    คำที่เติม
    คำพูดสนทนา    วจเนน
    ความนึกคิด    จินฺตเนน
    กำหนดนึก มนสิกาเรน
    ความคาดหวัง อาสึสมาเนน
    ความคาดหวัง อาสาย
    ความสำคัญมั่นหมาย สฺาย

    นามนามเจ้าของประโยคเลขในที่เป็นปฐมาวิภัตติ   เช่น

    • อถสฺส เอตทโหสิ   “......อิติ.    (ตัดบทเป็น อถ อสฺส  เอตํ อโหสิ)  ให้ใส่ จินฺตนํ เข้ามา  แปลว่า
      อถ  ครั้งนั้น  จินฺตนํ  อ.ความคิด  เอตํ  นั่น  “......อิติ ว่าดังนี้  อโหสิ  ได้มีแล้ว  อสฺส ปุตฺตสฺส  แก่บุตรนั้น.
      เลขนอกพูดถึง ข่าวสาสน์ ปรบมือ ดีดนิ้ว ตีกลอง ประกาศ โฆษณา โห่ร้อง เป็นต้น    ให้ใส่คำว่า าปนเหตุกํ หลัง อิติ ศัพท์   เช่น
    • เถโร ... “ตฺวํ  ปมาณํ  น  ชานาสีติ  (าปนเหตุกํ)  อจฺฉรํ  ปหริ.
      อ.พระเถระ ... ประหารแล้ว  ซึ่งนิ้วมือ  มีอันให้รู้  ว่า  อ.ท่าน  ย่อมไม่รู้  ซึ่งประมาณ  ดังนี้  เป็นเหตุ.

     

    หลักการแปล อนฺต มาน ปัจจัย

    อนฺต มาน ปัจจัยที่ประกอบด้วย ปฐมาวิภัตติ อยู่หน้าประธาน และที่ประกอบด้วย ทุติยา-สัตตมีวิภัตติ
    แปลเป็นวิเสสนะว่า  ผู้ อัน    (ยกเว้นที่เป็นกิริยาของประโยคอนาทร และลักขณะ)

    • ตตฺถ  ตตฺถ  นิสีทนฺตา  หิ  ภิกฺขู  พุทฺธาสนํ  ปฺาเปตฺวา ว  นิสีทนฺติ.
      ก็  อ.ภิกษุ ท. ผู้เมื่อนั่ง ในที่นั้น  ยังกันและกัน  ให้ปูลาดแล้ว  ซึ่งอาสนะ  เพื่อพระพุทธเจ้า เทียว  ย่อมนั่ง.
    • เอกํ  ปุริสํ  ฉตฺตํ  คเหตฺวา  คจฺฉนฺตํ  ปสฺสามิ.
      อ.เรา  ย่อมเห็น  ซึ่งบุรุษ  คนหนึ่ง  ผู้ถือซึ่งร่ม ไปอยู่.

    อนฺต มาน ปัจจัยที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ อยู่หลังประธาน เป็น กิริยาในระหว่าง (อัพภันตรกิริยา) แปลว่า อยู่ เมื่อ  เช่น

    • สตฺถา  ตสฺส  อุปนิสฺสยํ  โอโลเกตฺวา  ธมฺมํ  เทเสนฺโต  อนุปุพฺพีกถํ  กเถสิ.
      อ.พระศาสดา  ทรงแลดูแล้ว  ซึ่งอุปนิสัย  ของกุฏุมพี นั้น  เมื่อทรงแสดง  ซึ่งธรรม  ตรัสแล้ว  ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ.

    อนฺต มาน ปัจจัย เป็นกิริยาที่ทำพร้อมกิริยาข้างหลังตน  แปลพร้อมกันได้   เช่น

    • วิสาขา  สสุรํ  วีชมานา  ฐิตา.
      อ.นางวิสาขา  ยืนพัดอยู่แล้ว  ซึ่งพ่อผัว.

    แต่ที่มี วิย อิว ศัพท์ คุมอยู่ จะเรียงไว้ข้างหน้าหรือหลังบทประธานก็ตาม เรียกชื่อว่า อุปมาวิเสสนะ

     

    หลักการแปล ต ปัจจัย

    1. ต ปัจจัยที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ

    อยู่หน้าประธาน แปลเป็นวิเสสนะว่า ผู้  อัน

    • ปฐมํ  อาคโต  ภิกฺขุ  ปุรโต  นิสีทิ.
      อ.ภิกษุ  ผู้มาแล้ว  ก่อน  นั่งแล้ว  ข้างหน้า.

    อยู่หลังประธาน ที่ไม่ใช่เป็นกิริยาคุมพากย์
      - แปลเป็นกิริยาตามปกติ
      - แปลเป็นวิเสสนะว่า  ผู้ อัน
      - แปลเป็นวิกติกัตตาว่า  เป็น  (ต้องใส่ หุตฺวา มารับ)

    แปลเป็นกิริยา :  อยํ  อิตฺถี  นิสินฺโน   เวเคน  นิกฺขมิ.   อ.หญิง  นี้   นั่งแล้ว   ออกแล้ว  โดยพลัน.
    แปลเป็นวิเสสนะ :  อยํ  อิตฺถี  นิสินฺโน   เวเคน  นิกฺขมิ.   อ.หญิง  นี้   ผู้นั่งแล้ว   ออกแล้ว  โดยพลัน.
    แปลเป็นวิกติกัตตา:  อยํ  อิตฺถี  นิสินฺโน  (หุตฺวา) เวเคน  นิกฺขมิ.   อ.หญิง  นี้   เป็นผู้นั่งแล้ว   ออกแล้ว  โดยพลัน.

    ต ปัจจัยที่เป็นกิริยาคุมพากย์ (ไม่แปลว่า ผู้ อัน)
      - แปลเป็นกิริยาตามปกติ
      - แปลเป็นวิกติกัตตาว่า  เป็น   (ใส่กิริยาว่ามีว่าเป็น มารับวิกติกัตตา ให้ตรงบุรุษกัน  
        ประธานเป็นปฐมบุรุษใช้ โหติ โหนฺติ    มัธยมบุรุษใช้ อสิ อตฺถ  อุตตมบุรุษใช้ อมฺหิ อมฺห อสฺมิ อสฺม)  

    แปลเป็นกิริยา :  พุทฺโธ  อุปฺปนฺโน.    อ.พระพุทธเจ้า  เสด็จอุบัติแล้ว
    แปลเป็นวิกติกัตตา :  พุทฺโธ  อุปฺปนฺโน  (โหติ).    อ.พระพุทธเจ้า  ทรงเป็นผู้เสด็จอุบัติแล้ว  ย่อมเป็น.
    แปลเป็นวิกติกัตตา :  อหํ  วิหารํ  คนฺตฺวา  อาคโต (อมฺหิ).    อ.เรา  ไปแล้ว  สู่วิหาร  เป็นผู้มาแล้ว  ย่อมเป็น.

    2. ต ปัจจัยที่ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ-สัตตมีวิภัตติ แปลเป็นวิเสสนะว่า ผู้  อัน (ยกเว้นที่เป็นกิริยาของประโยคอนาทร และลักขณะ)  เช่น

    • อถ  นํ  ตสฺมึ  ทิวเส  อาคตํ  มาลากาโร  อาห.
      ครั้งนั้น  อ.นายมาลาการ  กล่าวแล้ว  กะภรรยา  นั้น  ผู้มาแล้ว  ในวัน  นั้น.

     

    หลักการแปล ตฺวา ปัจจัย

    กิริยา ตฺวา ปัจจัยทำก่อนกิริยาบทหลัง  แปลออกสำเนียงปัจจัยว่า แล้ว  เป็น ปุพพกาลกิริยา   เช่น

    • โส  ธมฺมํ  สุตฺวา  คามํ  คจฺฉติ.
      อ.เขา  ฟังแล้ว  ซึ่งธรรม  ย่อมไป  สู่บ้าน.

    กิริยา ตฺวา ปัจจัยที่เรียงไว้ต้นประโยคของประโยคหลัง  ใช้ธาตุตัวเดียวกัน หรือมีอรรถเดียวกันกับกิริยาคุมพากย์ของประโยคหน้า 
    แปลว่า ครั้น...แล้ว  เป็น ปริโยสานกาลกิริยา

       - ใช้ธาตุเดียวกัน   เช่น

    • โสปิ  นิกฺขมิตฺวา  ปพฺพชิ,   ปพฺพชิตฺวา  จ ปน  น  จิรสฺเสว  อรหตฺตํ  ปาปุณิ.
      อ.บุตร แม้นั้น  ออกแล้ว บวชแล้ว,  ก็แล  ครั้นบวชแล้ว  บรรลุแล้ว  ซึ่งพระอรหัต  ต่อกาลไม่นานนั่นเทียว.

       - มีอรรถเดียวกัน   เช่น

    • สตฺถา  ภิกฺขูหิ  ตสฺส  ปุพฺพกมฺมํ  ปุฏฺโฐ  พฺยากาสิ...., เอวํ  สตฺถา  ตสฺส  ปุพฺพกมฺมํ  กเถตฺวา...    วตฺวา...
      อ.พระศาสดา  ผู้อันภิกษุ ท.  ทูลถามแล้ว  ซึ่งบุพพกรรม  ของเปรต นั้น  ทรงพยากรณ์แล้ว ว่า...  
      อ.พระศาสดา  ครั้นตรัสแล้ว  ซึ่งบุพพกรรม  ของเปรต นั้น  อย่างนี้  ตรัสว่า...

    กิริยา ตฺวา ปัจจัย ต่อไปนี้ แปลไม่ออกสำเนียงปัจจัยว่า แล้ว

    กิริยา ตฺวา ปัจจัย ทำพร้อมกันกับกิริยาที่อยู่ข้างหลัง   เป็น สมานกาลกิริยา   เช่น

    • โส  ฉตฺตํ  คเหตฺวา  คจฺฉติ.    อ.เขา  ถือ  ซึ่งร่ม  ไปอยู่.
      (นี้หมายถึงเดินถือร่มไป   แต่ถ้าประสงค์ว่า จับร่มก่อนแล้วจึงไป โดยแปลว่า “ถือแล้ว  ซึ่งร่ม ไปอยู่”  เป็นปุพพกาลกิริยา)

    สมานกาลกิริยานี้ มีความหมายเท่ากับอัพภันตรกิริยา (อนฺต มาน ปัจจัย) ชนิดที่ทำพร้อมกิริยาที่อยู่ข้างหลังตน

       อุคฺโฆเสตฺวา  วิจรามิ.    มีความหมายเท่ากับ    อุคฺโฆเสนฺโต  วิจรามิ.
      โอโลเกตฺวา  อฏฺฐาสิ.    มีความหมายเท่ากับ    โอโลเกนฺโต  อฏฺฐาสิ.

    กิริยา ตฺวา ปัจจัย ทำหลังกิริยาคุมพากย์  แปลหลังกิริยาคุมพากย์   เป็น อปรกาลกิริยา   เช่น

    • ธมฺมาสเน  นิสีทิ  จิตฺตวีชนึ  คเหตฺวา.   นั่งแล้ว  บนธรรมาสน์  จับ  ซึ่งพัดจิตตวีชนี.
      (นี้ประสงค์ว่า  พระธรรมกถึกขึ้นนั่งบนธรรมาสน์  แล้วจับพัดที่เขาวางไว้บนธรรมาสน์นั้น   
        ไม่ได้มุ่งความว่า พระธรรมกถึกนั่งตั้งพัดให้ศีลอยู่บนธรรมาสน์  
        ถ้ามุ่งความตามนัยหลัง ต้องเรียกชื่อว่า สมานกาลกิริยา)

    กิริยา ตฺวา ปัจจัย ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกิริยา ตั้งแต่ปุพพกาลกิริยา จนถึง อปรกาลกิริยา  แต่ทำหน้าที่เป็นวิเสสนะ  
    ถ้าเข้ากับนาม แปลหลังนาม  เป็น วิเสสนะ  ถ้าเข้ากับกิริยา แปลหลังกิริยา  เป็น กิริยาวิเสสนะ  เช่น

    วิเสสนะ:

    • ฐเปตฺวา  เทฺว  อคฺคสาวเก  อวเสสา  อรหตฺตํ  ปาปุณึสุ.
      อ.ภิกษุ ท. ผู้เหลือลง  เว้น  ซึ่งพระอัครสาวก ท. สอง  บรรลุแล้ว  ซึ่งพระอรหัต.
    • มหาทุคฺคโต  มํ  ฐเปตฺวา  อญฺญํ  ภิกฺขุ ํ  น  ลภิสฺสติ.
      อ.มหาทุคคตะ  จักไม่ได้  ซึ่งภิกษุ อื่น  เว้น  ซึ่งเรา. 
    • อิมํ  คามํ  นิสฺสาย  โกจิ  อารญฺญโก  วิหาโร  อตฺถิ.
      อ.วิหาร  อันตั้งอยู่ในป่า ไรๆ  อาศัย  ซึ่งบ้าน นี้   มีอยู่  หรือ?

    กิริยาวิเสสนะ:

    • ตีณิ  รตนานิ  ฐเปตฺวา  อญฺญํ  เม  ปฏิสรณํ  นตฺถิ.
      อ.ที่พึ่ง อื่น  ของเรา  ย่อมไม่มี  เว้น  ซึ่งรตนะ ท. 3.
    • สพฺเพ  เทเว  อติกฺกมฺม  สมฺพุทฺโธ ว  วิโรจติ.
      อ.พระสัมพุทธเจ้า เทียว  ย่อมรุ่งโรจน์  ก้าวล่วง  ซึ่งเทพ ท.  ทั้งปวง.
    • วิตานํ  กตฺวา  พนฺธิ.
      ผูกแล้ว  ทำ  ให้เป็นเพดาน.

    กิริยา ตฺวา ปัจจัย ที่มีกัตตาต่างจากกิริยาคุมพากย์  เป็น เหตุ   เช่น

    • สีหํ  ทิสฺวา  ภยํ  อุปฺปชฺชติ.
      อ.ความกลัว  ย่อมเกิดขึ้น  เพราะเห็น  ซึ่งสีหะ.
      (กัตตาของ ทิสฺวา คือ ปุคฺคโล    กัตตาของ อุปฺปชฺชติ  คือ  ภยํ)
    • อิมญฺจ  ปิตฺวาน  รสํ  ปณีตํ    มโท น สญฺชายติ  สินฺธวานํ.
      แต่  อ.ความเมา  ย่อมไม่เกิด  แก่ม้าสินธพ ท.  เพราะดื่ม  ซึ่งรส  อันประณีต  นี้.

    แต่ที่เป็นกัตตาตัวเดียวกัน  ไม่เป็น เหตุ   เช่น

    • อาจริยํ  เม  นิสฺสาย  ชีวิตํ  ลทฺธํ.
      อ.ชีวิต  อันเรา  อาศัย ซึ่งอาจารย์  ได้แล้ว.

     

    หลักการแปลประโยคอนาทรและลักขณะ (ประโยคแทรก)

    ประโยคอนาทรและลักขณะใช้แทรกเข้ามาในระหว่างประโยคใหญ่  เพราะจะแยกให้เป็นอีกประโยคหนึ่ง เนื้อความก็ไกลไป  
    จะกล่าวรวมเป็นประโยคเดียวกับประโยคใหญ่ ก็ไม่ได้  เพราะเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีประธานและกิริยาต่างหาก  จึงต้องแทรกเข้ามา 
    โดยประกอบประธานด้วยฉัฏฐีวิภัตติ หรือ สัตตมีวิภัตติ   และใช้กิริยากิตก์ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ หรือ สัตตมีวิภัตติ เหมือนกัน

    ประโยคอนาทร มีประธานและกิริยาประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ (ใช้ อนฺต มาน ปัจจัย-เป็นปัจจุบันกาลอย่างเดียว)  แปลว่า เมื่อ   เช่น

    • อาจริย  มยฺหํ  โทโส  นตฺถิ,  มม  วทนฺตสฺเสว,  ตุมฺเห  อภิสปิตฺถ.
      ข้าแต่อาจารย์  อ.โทษ  ของผม  ไม่มี,  เมื่อผม กล่าวอยู่ นั่นเทียว, อ.ท่าน ท. สาปแช่งแล้ว.

    ประโยคลักขณะ มีประธาน  กิริยาประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ (ใช้ อนฺต มาน ต ปัจจัย  แต่นิยมใช้ ต ปัจจัยมากกว่า-จึงมักเป็นอดีตกาล)  แปลว่า ครั้นเมื่อ   เช่น

    • สามเณโร,  ภตฺเต  อนิฏฺฐเตเยว,  อนฺโตคามํ  ปาวิสิ.
      อ.สามเณร,  ครั้นเมื่อภัตร  ยังไม่เสร็จแล้ว  นั่นเทียว,  ได้เข้าไปแล้ว  สู่ภายในแห่งบ้าน.
    • อาจริโย,  เวลาย  สมฺปตฺตาย,  อตฺตโน  สิสฺสานํ  โอวาทํ  ทตฺวา  คพฺภํ  ปวิสติ.
      อ.อาจารย์,  ครั้นเมื่อเวลา ถึงพร้อมแล้ว,  ให้แล้ว ซึ่งโอวาท  แก่ศิษย์ ท. ของตน  ย่อมเข้าไป สู่ห้อง.

    ประโยคอนาทร แม้มีศัพท์ที่สมาสกับ ต ปัจจัยอยู่ ก็ไม่นับว่าเป็นกิริยา  ต้องใส่กิริยา อส ธาตุ เพิ่มเข้ามา ดังนี้

      อนฺต มาน
    ปุํ. นปุํ. สนฺตสฺส     สนฺตานํ สมานสฺส     สมานานํ
    อิตฺ. สนฺติยา      สนฺตีนํ สมานาย      สมานานํ
    • อุ.  ตสฺส  ปุตฺตสฺส  วยปฺปตฺตสฺส  (สมานสฺส),  ปิตา  กาลมกาสิ.
      เมื่อบุตรนั้น  เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวัย  มีอยู่,  อ.บิดา  กระทำแล้วซึ่งกาละ.

    ประโยคลักขณะ แม้มีศัพท์ที่สมาสกับ ต ปัจจัยอยู่ ก็ไม่นับว่าเป็นกิริยา  ต้องใส่กิริยา อส ธาตุ เพิ่มเข้ามา ดังนี้

      อนฺต มาน
    ปุํ. นปุํ. สนฺติยา     สนฺตีสุ    สมานาย    สมานาสุ
    อิตฺ. สนฺเต สติ    สนฺเตสุ     สมาเน    สมาเนสุ
    • อุ.  เอโก  กิร  กุฏุมฺพิโก,  ปิตริ  กาลกเต  (สนฺเต), เขตฺเต จ  ฆเร จ  ฯเปฯ  มาตรํ ปฏิชคฺคิ.
      ได้ยินว่า  อ.  กุฏุมพี  คนหนึ่ง, ครั้นเมื่อบิดา เป็นผู้มีกาละอันกระทำแล้ว  มีอยู่,  ฯลฯ  ปฏิบัติแล้ว  ซึ่งมารดา.

     

    หลักการแปลวิกติกัตตา

    คุณนาม หรือนามนามที่ใช้ดุจคุณนาม  ที่แปลเข้ากับกิริยาว่ามีว่าเป็น (หุ ภู อส ธาตุ รวมทั้ง ชน ธาตุ)  เรียกว่า วิกติกัตตา  แปลว่า เป็น  
    เหมือนวิเสสนะคือแปลไม่ออกสำเนียงอายตนิบาต และ ท.

    วิกติกัตตาที่มาจากคุณนามต้องประกอบให้มี ลิงค์ วิภัตติ และ วจนะ เหมือนนามนามที่ขยาย

    • ราชา  รฏฺเฐ  ชนานํ  อิสฺสโร  โหติ.  
      อ.พระราชา  เป็นใหญ่  แห่งชน ท.  ในแว่นแคว้น  ย่อมเป็น.

    ส่วนวิกติกัตตาที่มาจากนามนาม  ไม่ต้องเปลี่ยนลิงค์ไปตาม  ศัพท์เดิมเป็นลิงค์อะไร ก็คงเป็นลิงค์นั้น

    • พุทฺโธ  เม  วรํ  สรณํ  โหติ.  
      อ.พระพุทธเจ้า  เป็นที่พึ่ง  อันประเสริฐ  ของเรา  ย่อมเป็น.

    วิกติกัตตา ส่วนใหญ่ ใช้ปฐมาวิภัตติ   มีใช้วิภัตติอื่นบ้าง   เช่น

    • อยฺเยน  อกุสีเตน  อารทฺธวีริเยน  ภวิตพฺพํ.
      อันพระผู้เป็นเจ้า  เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน  เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว  พึงเป็น.

    วิกติกัตตา  ถ้าอยู่กลางประโยค ใส่กิริยาว่ามีว่าเป็น คือ หุตฺวา มารับวิกติกัตตา   เช่น

    • ตุมฺเห  กิเลสาตุรา  หุตฺวา  วิหรถ,  อหํ  อนาตุโร  (หุตฺวา)  วิหรามิ.
      อ.พระองค์ ท.  เป็นผู้เดือดร้อนเพราะกิเลส  เป็น  อยู่อยู่,   อ.เรา  เป็นผู้ไม่เดือดร้อน  เป็น  อยู่อยู่.

    วิกติกัตตา  ถ้าอยู่ท้ายประโยค ใส่กิริยาว่ามีว่าเป็น มารับวิกติกัตตา ให้บุรุษ วจนะ ตรงกัน และให้ถูกกาลในเรื่องนั้นๆ  
    ประธานเป็นปฐมบุรุษใช้ โหติ โหนฺติ   มัธยมบุรุษใช้ อสิ อตฺถ   อุตตมบุรุษใช้ อมฺหิ อมฺห อสฺมิ อสฺม  ในปัจจุบันกาล,  
    ในอดีตกาล ปฐมบุรุษ ใช้  อโหสิ อาสิ  อเหสุ ํ อาสุ ํ  เป็นต้น   เช่น

    • น  ภิกฺขเว  อิทาเนว  สารีปุตฺโต  กตญฺญู  กตเวที  (โหติ),  ปุพฺเพปิ  สารีปุตฺโต  กตญฺญู  กตเวทีเยว  (อโหสิ).
      ดูก่อนภิกษุ  ท.  อ.สารีบุตร  เป็นผู้กตัญญู  เป็นผู้กตเวที  ย่อมเป็น  ในกาลนี้  นั่นเทียว  หามิได้,
      อ.สารีบุตร  เป็นผู้กตัญญู  เป็นผู้กตเวที  นั่นเทียว  ได้เป็นแล้ว  แม้ในกาลก่อน.

     

    หลักการแปลวิกติกัมมะ

    วิกติกัมมะ คือ บทวิเสสนะของอวุตตกัมมะที่เข้ากับกิริยาว่า ทำ ในประโยคกัตตุวาจก  
    ประกอบด้วยทุติยาวิภัตติเหมือนตัวอวุตตกัมมะ  วจนะไม่เสมอกันก็ได้   แปลว่า ให้, ให้เป็น   เช่น

    • อิมํ  อตฺถํ  ปากฏํ  กโรหิ.
      อ.เจ้า  จงทำ  ซึ่งเนื้อความ  นี้  ให้ปรากฏ.
    • กุฏุมพสฺส  สามิกํ  นํ  กริสฺสามิ.
      อ.เรา  จักทำ  ซึ่งเขา  ให้เป็นเจ้าของ  แห่งขุมทรัพย์.
    • เตนหิ  เขตฺตํ  เทฺว  โกฏฺฐาเส  กตฺวา  ฯเปฯ  ตํ  กโรหิ.
      ถ้าอย่างนั้น  อ.ท่าน  ทำแล้ว  ซึ่งนา  ให้เป็นส่วน สอง  ฯลฯ  จงทำ  ซึ่งส่วน  นั้น.

    และ ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ  เข้ากับกิริยาว่า ทำ ในประโยคกัมมวาจก   เช่น

    • ปาณาติปาตสฺส  อการโก  กโต.
      ทำแล้ว  ให้เป็นผู้ไม่ทำ  ซึ่งปาณาติปาต.
    • (ปุคฺคเลน)  กตฺตพฺพํ  กุสลํ  พหุ ํ.
      อ.กุศล  อันบุคคล  พึงทำ  ให้มาก.

    กิริยาว่า ทำ หลังบทวิกติกัมมะ แม้ไม่เขียนไว้ ก็ต้องเติมเข้ามา   เช่น

    • อิมํ  อตฺถํ  ปากฏํ  (กตฺวา)  วเทหิ.
      อ.เจ้า  จงกล่าว  ซึ่งเนื้อความ  นี้  ทำ ให้ปรากฏ.
    • เยน  เอตํ  กุสลํ  สมุจฺฉินฺนํ  มูลฆจฺฉํ  (กตฺวา)  สมูหตํ.
      อ.กุศล  นั่น  อันบุคคลใด  ตัดขาดด้วยดีแล้ว  ถอนขึ้นพร้อมแล้ว กระทำ ให้มีรากอันขาด.

    ใช้ จร ธาตุบ้างก็ได้   เช่น

    • ธมฺมํ  สุจริตํ  จเร.
      อ.บุคคล  พึงประพฤติ  ซึ่งธรรม  ให้สุจริต.

     

    หลักการแปลนิทธารณะ

    ในตอนต้นกล่าวถึงจำนวนนามนามโดยรวมก่อน ประกอบให้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ หรือสัตตมีวิภัตติ เรียกชื่อว่า นิทธารณะ  
    ภายหลังกล่าวแยกถอนนามนามออกจากจำนวนที่รวมกันอยู่นั้น เพียงสิ่งเดียวหรือเฉพาะสิ่งที่ต้องการ  หรือถอนออกทั้งหมดก็มี  
    นำมาประกอบวิภัตติตามต้องการ  เรียกชื่อว่า นิทธารณียะ

    บทนิทธารณะเป็นฉัฏฐีวิภัตติ  แปลว่า  แห่ง...หนา    เช่น

    • มนุสฺสานํ  ขตฺติโย  สูรตโม.
      แห่งมนุษย์ ท. หนา  อ.กษัตริย์  เป็นผู้กล้าที่สุด  ย่อมเป็น.
    • เถโร  สามเณรานํ  เอกํ  ปกฺโกสิ.
      อ.พระเถระ  เรียกมาแล้ว  แห่งสามเณร ท. หนา  ซึ่งสามเณร  รูปหนึ่ง.

    บทนิทธารณะเป็นสัตตมีวิภัตติ  แปลว่า  ใน...หนา    เช่น

    • เตสุ  (ทวีสุ โคเณสุ)  เอโก  (โคโณ)  มโต.
      ในโค ท. ๒ เหล่านั้นหนา  อ.โค  ตัวหนึ่ง  ตายแล้ว.
    • ทนฺโต  เสฏฺโฐ  มนุสฺเสสุ.
      ในมนุษย์ ท. หนา  อ.มนุษย์ผู้ฝึกแล้ว  เป็นผู้ประเสริฐที่สุด  ย่อมเป็น.

     

    หลักการแปลประโยคอุปมา

    ประโยคอุปมาเป็นประโยคเปรียบเทียบเนื้อความกับเนื้อความของประโยคใหญ่ จะมี วิย หรือ อิว ศัพท์ประกอบอยู่   วิย (ราวกะ)  มักใช้ในท้องนิทาน ซึ่งเป็นคำพูดธรรมดา  ส่วน อิว (เพียงดัง) มักใช้ในคาถาหรือฉันท์   เพราะ อิว มีสระอยู่ สามารถเข้าสนธิหรือจะคงไว้  ให้ลงพอดีครุ ลหุ ในฉันท์ได้

    1. อุปมาลิงคัตถะ
      เทฺว  อกฺขีนิ  (วิชฺฌายนฺตี)  ทีปสิขา  วิย  วิชฺฌายึสุ.
      อ.ตา ท. 2 ดับแล้ว  ราวกะ อ.เปลวแห่งประทีป ดับอยู่.
    2. อุปมาวิเสสนะ
      เตปิ  อปสฺสนฺตา  วิย  อตฺตโน  กมฺมเมว  กโรนฺโต  โถกํ  อาคมึสุ.
      อ.เมียและผัว ท. แม้เหล่านั้น  ผู้ราวกะว่าไม่เห็นอยู่  กระทำอยู่  ซึ่งการงานของตน นั่นเทียว คอยท่าแล้ว  หน่อยหนึ่ง.
    3. อุปมาวิกติกัตตา
      สุชาตา  โถกํ  อากุลา  วิย  หุตฺวา  ฯเปฯ
      อ.นางสุชาดา  เป็นราวกะว่า  วุ่นวาย  หน่อยหนึ่ง  เป็น  ฯลฯ
    4. อุปมาวิกติกัมมะ  แปลหลังกิริยา (กรฺ ธาตุ)
      โส  ภิกขุ  อญฺเญน  ภิกฺขุนา  กตํ  วตฺตํ   อตฺตนา  กตํ  วิย  กโรติ.
      อ.ภิกษุ นั้น  ย่อมกระทำ  ซึ่งวัตร  อันภิกษุ อื่น  กระทำแล้ว  ให้เป็นราวกะว่า วัตร  อันตน  กระทำแล้ว.

     

    หลักการแปลกิริยานาม

    กิริยานาม คือ นามนามที่สำเร็จมาจากธาตุ โดยวิธีประกอบกับปัจจัยต่างๆ เช่น ในนามกิตก์ หรือกิริยากิตก์
    แปลออกสำเนียงวิภัตตินามได้  มีกิริยาที่ลงตูนาทิปัจจัย เรียงไว้ข้างหน้าได้ สัมพันธ์เข้ากับกิริยานามนั้น   เช่น

    หลักการแปลนามกิตก์ ภาวสาธนะ ที่ลง ยุ ปัจจัย

    ศัพท์ที่ลง ยุ ปัจจัย  เช่น  กรณํ  อ.อันทำ,  สหนํ  อ.อันอดกลั้น, คหณํ อ.อันถือเอา

    ยุ ปัจจัย มีกัตตาเป็นฉัฏฐีวิภัตติ  เช่น  ภิกฺขุโน อรหตฺตคฺคหณํ, ภิกฺขุโน อรหตฺตสฺส คหณํ

    หลักการแปล:

    1. ถ้าต้องการใส่กัตตาของกิริยานาม ยุ ปัจจัย เข้ามาแปลด้วย  ให้ประกอบกัตตานั้นเป็นฉัฏฐีวิภัตติเสมอ
    2. กัตตาของกิริยานาม ยุ ปัจจัย ให้แปลเป็นลำดับท้ายสุด
    3. ถ้ามีกิริยา ตฺวา ปัจจัย ที่ำทำก่อนกิริยานามยุปัจจัย   ให้แปลกิริยานามขึ้นก่อนว่า อ.อัน- การ- ความ-
      แล้วแปลกิริยา ตฺวา ปัจจัย (และศัพท์ที่เกี่ยวข้อง) จนหมด จึงแปลตัวกิริยานามนั้น

    กัตตาฉัฏฐีวิภัตติ                (ศัพท์ที่เข้ากับกิริยานาม)                     กิริยานาม ยุ ปัจจัย
           3                                          2                                                   1
    ภิกฺขุโน                      อรหตฺตสฺส                              คหณํ.
    อ.อันถือเอา  ซึ่งพระอรหัต  ของภิกษุ.

    แปลยกศัพท์:  คหณํ อ.อันถือเอา  อรหตฺตสฺส ซึ่งพระอรหัต   ภิกฺขุโน ของภิกษุ.
    แปลโดยอรรถ: การที่ภิกษุถือเอาพระอรหัต

    1. แปลตัวกิริยานามก่อนว่า อ.อันถือเอา
    2. แปลศัพท์ที่เข้ากับกิริยานาม ที่เรียงไว้หน้ากิริยานามนั้น
    3. แปลตัวกัตตาฉัฏฐีวิภัตติของกิริยานามนั้น เป็นอันดับสุดท้าย

    ถ้ามีกิริยากิตก์ ตฺวา ปัจจัย อยู่ข้างหน้ากิริยานาม ให้แปลดังนี้

    กัตตาฉัฏฐีวิภัตติ                  -ตฺวา ... -ตฺวา                   (ศัพท์ที่เข้ากับกิริยานาม)                 กิริยานาม ยุ ปัจจัย
        5                                            2                                      4                                          3   1
    ภิกฺขุโน                 วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา            อรหตฺตสฺส                        คหณํ.
    อ.อัน-  ยังวิปัสสนา ให้เจริญแล้ว   -ถือเอา  ซึ่งพระอรหัต  ของภิกษุ.
    แปลยกศัพท์:  คหณํ อ.อัน-  วิปสฺสนํ ยังวิปัสสนา  วฑฺเฒตฺวา ให้เจริญแล้ว   -ถือเอา  อรหตฺตสฺส ซึ่งพระอรหัต   ภิกฺขุโน ของภิกษุ.
    แปลโดยอรรถ: การที่ภิกษุเจริญวิปัสสนาแล้วถือเอาพระอรหัต

    1. แปลตัวกิริยานามก่อนว่า อ.อัน- (ตามวิภัตติของกิริยานาม) แล้วพักไว้ก่อน
    2. แปลกิริยากิตก์ ตฺวา ปัจจัย (และศัพท์ที่เกี่ยวข้อง) ที่เรียงไว้ข้างหน้ากิริยานามนั้นจนหมด จากซ้ายไปขวา
    3. แปลตัวกิริยานามที่แปลค้างไว้ 
    4. แปลตัวกัตตาฉัฏฐีวิภัตติของกิริยานามนั้น เป็นอันดับสุดท้าย

    เทียบกับกิริยาอาขยาต
    กัตตาปฐมาวิภัตติ                  -ตฺวา ... -ตฺวา                          กิริยาอาขยาต
    ภิกฺขุ                    วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา           อรหตฺตํ  คณฺหาติ.
    อ.ภิกษุ  ยังวิปัสสนา ให้เจริญแล้ว   ถือเอาอยู่ ซึ่งพระอรหัต.

    (ภิกฺขุ    วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา   อรหตฺตํ  คณฺหาติ.
    ภิกฺขุโน  วิปสฺสนํ วฑฺเฒตฺวา   อรหตฺตสฺส คหณํ.)

    • อยํ ปุริโส   มาตุ ถนํ ฉินฺทิตฺวา วา   ปิตุ วา คลโลหิตํ นีหริตฺวา   ขาทนสมตฺโถ (โหติ).
      อ.บุรุษ  นี้  เป็นผู้สามารถเพื่ออัน  ตัดแล้ว ซึ่งถัน  ของมารดา หรือ   หรือว่า นำออกแล้ว ซึ่งโลหิต ในลำคอ ของบิดา  เคี้ยวกิน  (ย่อมเป็น).
      ประโยคนี้ ไม่จำเป็นต้องใส่กัตตาฉัฏฐีวิิัภัตติของกิริยานาม ยุ ปัจจัย เข้ามา  เพราะกัตตานั้นมีอยู่ในประโยค ประกอบเป็นประธานปฐมาวิภัตติแล้ว

     

    หลักการแปล ตุ ํ ปัจจัย  มีกัตตาเป็นตติยาวิภัตติ (อนภิหิตกัตตา)

    ตุ ํ ปัจจัย ปฐมาวิภัตติ เป็นประธาน แปลว่า  อ.อัน ... 
    ใช้ วฏฺฏติ  ย่อมควร, ยุตฺตํ ควรแล้ว, อยุตฺตํ ไม่ควรแล้ว เป็นกิริยาคุมพากย์
    หรือใช้ ปฏิรูปํ  อนุรูปํ  อนุจฺฉวิกํ  สมควร

    • มยา  ปลายิตฺวา  ปพฺพชิตุ ํ  วฏฺฏติ
      อ.อัน-  อันเรา  หนีไปแล้ว  -บวช  ย่อมควร   (แปลโดยอรรถ: ควรที่เราจะหนีไปบวช, การที่เราหนีไปบวช ควรอยู่)
    • มยา  กสฺสปํ  นิวตฺเตตุ ํ  วฏฺฏติ
      อ.อัน-  อันเรา  ยังกัสสปะ  -ให้กลับ  ย่อมควร     (แปลโดยอรรถ: ควรที่เราจะให้กัสสปะกลับ, การที่เราให้กัสสปะกลับ ควรอยู่)
    1. แปลตัวกิริยานามก่อนว่า อ.อัน- แล้วพักไว้ก่อน
    2. แปลตัวกัตตาตติยาวิภัตติของกิริยานามนั้น
    3. แปลศัพท์ที่เข้ากับกิริยานาม ตุ ํ ปัจจัย ที่เรียงไว้ข้างหน้า จากซ้ายไปขวา
    4. แปลตัวกิริยานามที่แปลค้างไว้ 
    5. แปลกิริยาคุมพากย์

    ตุ ํ ปัจจัย จตุตถีวิภัตติ แปลว่า  เพื่ออัน..., เพื่อการ...
    ใช้กับกิริยา เช่น สกฺขิสฺสติ สกฺโกติ สกฺกา (สกฺก 'อาจ')  ฯลฯ
    ไม่ต้องประกอบนามที่เป็นประธานเข้ามา  และถ้าเข้าสมาส ให้ลบนิคคหิต  เช่น  คนฺตุกาโม

    • อยํ อิตฺถี  ธนํ คเหตฺวา  ปลายิตุ ํ  สกฺโกติ
      อ.หญิง  นี้  ย่อมอาจ  เพื่ออัน  ถือเอาแล้ว  ซึ่งทรัพย์  หนีไป.    (แปลโดยอรรถ: หญิงนี้สามารถที่จะหยิบทรัพย์หนีไปได้)
    • อยํ อิตฺถี  ธนํ คเหตฺวา  ปลายิตุกาโม  โหติ
      อ.หญิง  นี้  เป็นผู้ใคร่  เพื่ออัน  ถือเอาแล้ว  ซึ่งทรัพย์  หนีไป  ย่อมเป็น.  (แปลโดยอรรถ: หญิงนี้ต้องการจะหยิบทรัพย์หนีไป)

     

    หลักการแปล ตพฺพ ปัจจัย  มีกัตตาเป็นตติยาวิภัตติ (อนภิหิตกัตตา)

    ปกติใช้เป็นกิริยา เป็นวิกติกัตตาบ้าง และยังใช้เป็นกิริยานามได้  เช่น ใช้เป็นประธานในประโยค โดยมีกิริยาคุมพากย์มารับ
    ในอรรถกถาธรรมบท มีที่ใช้เช่นนี้เพียง 4 แห่ง  และใช้ ภวิสฺสนฺติ  โหติ  อภวิสฺส คุมพากย์

    • (ภิกฺขุนา)  เอวํ  อริยมคฺคาณคฺคินาปิ  มหนฺตานิ จ ขุทฺทกานิ จ สฺโชนานิ ฑหนฺเตน  คนฺตพฺพํ  ภวิสฺสติ. (ธบ2/อญฺญตรภิกฺขุ)
      อ.อัน อันภิกษุ เผาอยู่  ซึ่งสัญโญชน์ ท.  ใหญ่ด้วย เล็กด้วย แม้ด้วยไฟคืออริยมรรคญาณ อย่างนี้ พึงไป จักมี.
    • พุทฺธานํ หิ มชฺฌิมฏฺฐาเน อาสนํ ปญฺญาเปตฺวา ตสฺส ทกฺขิณโต สารีปุตฺตตฺเถรสฺส วามโต มหาโมคฺคลฺลานตฺเถรสฺส ตโต ปฏฺฐาย อุโภสุ ปสฺเสสุ ภิกฺขุสงฺฆสฺส อาสนํ ปญฺญาเปตพฺพํ โหติ.   (ธบ1/จุลฺลกาลมหากาล)
    • ภตฺตเวตนํ ทาตพฺพํ ภวิสฺสติ.   (ธบ1/มฏฺฐกุณฺฑลิ)
    • มนุสฺสานํ มงฺคลามงฺคลฏฺฐาเนสุ ภิกฺขูหิ คนฺตพฺพํ โหติ.   (ธบ4/มหากสฺสปตฺเถร)
    • ปสฺสถาวุโส อายุวฑฺฒนกุมาเรน กิร สตฺตเม ทิวเส มริตพฺพํ อภวิสฺส.   (ธบ4/อายุวฑฺฒนกุมาร)

     

    หลักการแปล สกฺกา  มีกัตตาเป็นตติยาวิภัตติ (อนภิหิตกัตตา)

    ปกติใช้เป็นกิริยาคุมพากย์  เรียกชื่อสัมพันธ์ว่า กิริยาบทภาววาจก 
    แต่ถ้ามีกิริยาคุมพากย์มารับ ก็ใช้เป็นประธานได้เอง

    • (ตยา)  ตตฺถ  นํ  (อุเทนํ)  อาคตํ  คเหตุ ํ  สกฺกา
      อันพระองค์  อาจ  เพื่ออันจับ ซึ่งพระราชาพระนามว่าอุเทน พระองค์นั้น ผู้เสด็จมาแล้ว ในที่นั้น.
    • (ตยา)  ตตฺถ  นํ  (อุเทนํ)  อาคตํ  คเหตุ ํ  สกฺกา  ภวิสฺสติ.  (ธบ2/สามาวตี)
      อ.อัน- อันพระองค์  -อาจ  เพื่ออันจับ ซึ่งพระราชาพระนามว่าอุเทน พระองค์นั้น ผู้เสด็จมาแล้ว ในที่นั้น จักมี.
    • ดูตัวอย่างประโยค สกฺกา

     

    หลักการแปลบทสมาส

    ภาวศัพท์ มีกัตตาเป็นฉัฏฐีวิภัตติ
    หลักการแปลบทสมาส

      -สกัมมธาตุ   มยา กถิโต  ธมฺโม ธรรม อันเรา กล่าวแล้ว
      -อกัมมธาตุ     ฐิโต  ธมฺโม ธรรม ดำรงอยู่แล้ว
               
    1. ต ปัจจัย -สกัมมธาตุ   มยา กถิตธมฺโม ธรรม อันเรา กล่าวแล้ว
      -อกัมมธาตุ     ฐิตธมฺโม ธรรม ดำรงอยู่แล้ว
    2. ต ปัจจัย -สกัมมธาตุ ธมฺมสฺส มยา กถิตกาโล กาล แห่งธรรม อันเรา กล่าวแล้ว
      -อกัมมธาตุ ธมฺมสฺส   ฐิตกาโล กาล แห่งธรรม ตั้งอยู่แล้ว
    3. ต ปัจจัย -สกัมมธาตุ ธมฺมสฺส มยา กถิตภาโว ความที่ แห่งธรรม เป็นธรรม อันเรา กล่าวแล้ว
      -อกัมมธาตุ ธมฺมสฺส   ฐิตภาโว ความที่ แห่งธรรม เป็นธรรม ตั้งอยู่แล้ว
    4. นามนาม (ที่ไม่ใช่ภาวสาธนะ)   ตุยฺหํ   สมณภาโว ความเป็น แห่งสมณะ ของท่าน
    5. ยุ ปัจจัย ภาวสาธนะ   เถรสฺส   วสนภาโว     ความเป็น คือ อันอยู่ แห่งพระเถระ
    6. ยุ ปัจจัย อธิกรณสาธนะ   เถรสฺส   นิสีทนฏฺฐานํ ที่ เป็นที่นั่ง แห่งพระเถระ
        ยุ ปัจจัย อธิกรณสาธนะ   ตว    (กุจฺฉิยํ) วสนกาโล กาล เป็นที่อยู่ ในท้อง ของเจ้า
    7. อตฺถิ-นตฺถิ   สฺาย   อตฺถิภาโว ความที่ แห่งสัญญา มีอยู่
    8. คุณนาม   อตฺตโน   มหลฺลกกาโล กาล แห่งตน เป็นคนแก่

    1.-2. บทสมาสที่มี ต ปัจจัยอยู่หน้า หรือปัจจัยอื่น เช่น อนีย ตพฺพ  มีเพียงกัตตา กิริยา และกรรม  เช่นนี้ 
    แปลตามปกติธรรมดา (เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส) 


    • Update : 22/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch