หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี เป็นพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ ทรงจัดให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนตามกำลังสติปัญญา สืบเนื่องเป็นพระราชกรณียกิจมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนับแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงสมัยรัชกาล ที่ 5 พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงรับพระราชภาระอยู่โดยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากพระองค์จะทรงมีพระราชดำริให้ สมเด็จพระสังฆ ราช (มี) วัดพระเชตุพนฯ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2360แล้ว ยังทรงโปรดให้สม เด็จพระสังฆราช ขยายหลักสูตรบาลีจากบาเรียนตรี โท เอก ซึ่งสืบเนื่องมาจากกรุงศรีอยุธยาเป็น เปรียญ 9 ประโยค ยังคงสืบเนื่องมาจนบัดนี้ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2362 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนปลาย พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ทรงจัดตั้ง กระทรวง ทบวง กรม ในส่วนกลาง ตลอดถึงมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านในส่วนภูมิ ภาคแล้ว

    พระองค์ทรงปรึกษากับคณะสงฆ์ขอให้แบ่งพระราชภารกิจในการจักการศึกษาโดยตลอด โดย ทรงมอบหมายให้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำเนินการ ก่อน พ.ศ. 2469 การสอบพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี ผู้ที่เข้าสอบต้องเข้าสอบต่อ หน้าคณะกรรมการภายในพระบรมมหาราชวัง ต่อหน้าพระที่นั่ง ด้วยการจับสลากและเข้าไปแปล ด้วยปากเปล่าทีละรูป ซึ่งเรียกกันติดปากจนทุกวันนี้ว่า "สมัยแปลด้วยปาก" จะสอบได้หรือไม่ได้ คณะกรรมการตัดสินให้คะแนนรู้ผลกันในวันนั้น ผู้ที่สอบได้จะได้รับพระราชทานรางวัลไตรจีวรแพร ซึ่งเป้นของมีค่ามากในสมัยนั้น นับเป็นเกียรติประวัติแก่ผู้ที่สอบได้เป็นอย่างยิ่ง ในสมัยแปลด้วยปาก มีพระเปรียญที่สอบได้ ป.ธ. 9 หลายรูป เท่าที่สามารถรวบรวมได้มี ดังนี้

    สมัยรัชกาลที่ 1

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่ ป.ธ.9) เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2336 ในสมัยรัชกาลที่ 1 บวชอยู่วัดราชบูรณะ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นพระธรรมกถึก เทศนาโวหารดี "ลีลาอย่างสาริกาป้อนเหยื่อ" มีคนนิยมมากได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี เมื่อ พ.ศ. 2365 ในสมัยรัชกาลที่ 2 ครั้นถึง พ.ศ. 2375 ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี นับเป็นครั้งแรกที่โปรดให้ เติมคำว่า "มหาธรรมกถึก" เข้าในสร้อยนามพระเทพโมลี ทั้งนี้เพราะท่านเป็นพระธรรมกถึกผู้มีชื่อ เสียงโด่งดัง และในปี พ.ศ. 2375 นั่นเอง โปรดให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ท่านได้รับ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ตามลำดับดังนี้

    พ.ศ. 2386 เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์
    พ.ศ. 2394 เป็น พระพิมลธรรม
    พ.ศ. 2400 เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่) มรณภาพในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2416 อายุได้ 81 ปี เป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส นานที่สุดถึง 41 ปี (จากประวัติวัดประยุรวงศาวาส)

    สมัยรัชกาลที่ 2

    พระอุดมปิฎก นามเดิม สอน นามฉายา พุทฺธสโร  เป็นชาวจังหวัดพัทลุง  ได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ ณ วัดหนัง เขตบางขุนเทียน (ปัจจุบันเขตจอมทอง)    ได้มาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม อยู่ที่วัดหงสาราม (ปัจจุบันเป็นวัดหงส์รัตนาราม) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร    ภายหลังได้ย้ายมาอยู่วัดหงสารามและเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดหงสาราม รูปที่ 5 ทรงรู้จักและคุ้นเคยเป็นอันดี ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์   ครั้นขึ้นเสวยราชย์แล้ว ก็ทรงตั้งให้พระมหาสอนเป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามว่า พระอุดมปิฎก และเป็นเจ้าอาวาสวัดหงสารามจนตลอดรัชกาล   เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 3 แล้ว รัชกาลที่ 4 ซึ่งยังผนวชอยู่ ก็ทรงลาสิกขาขึ้นเสวยราชสมบัติ   พระอุดมปิฎกก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสกลับภูมิลำเนาเดิม

    ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก มีประวัติที่ควรจารึกไว้ให้ปรากฏ คือ   เมื่อรัชกาลที่ 4 ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ท่านกลัวว่าราชภัยจะมาถึงตน เพราะเคยมีปฏิกิริยาคัดค้านการทรงตั้งคณะธรรมยุตติกนิกายอย่างแรงกล้า จึงรีบลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหงสารามกลับไปอยู่ในภูมิลำเนาเดิม ครั้นถึงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา  ทรงรับสั่งให้สืบหาพระอุดมปิฎก  ครั้นทรงทราบว่าจำพรรษาอยู่ ณ วัดสุนทราวาส (สนทรา) จังหวัดพัทลุง   จึงรับสั่งให้อาราธนามาในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา โดยให้เป็นภาระหน้าที่ของคณะข้าราชการกรมการจังหวัดเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเดินทาง (โดยทางเรือ) ทุกประการ   ท่านจึงเดินทางมาตามหมายกำหนดการ   ครั้นถึงวันพระราชพิธี พระอุดมปิฎกเข้านั่งประจำที่เป็นองค์สุดท้ายปลายแถว ถึงเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยทานโดยลำดับ   นับตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมาจนถึงพระอุดมปิฎก  ทรงโสมนัสยิ่งนัก ทรงทักทายด้วยความคุ้นเคย ตอนท้ายทรงรับสั่งว่า  ท่านเดินทางมาแต่ไกล นานปีจึงจะได้พบกัน  ขอจงให้พรโยมให้ชื่นใจทีเถิด เมื่อได้รับอนุญาตจากสมเด็จพระสังฆราชแล้ว  ท่านเจ้าคุณก็ตั้งพัดยศซึ่งถวายพระพรด้วยปฏิภาณโวหาร ว่ากลอนสดเป็นภาษาบาลีว่า 

    อติเรกวสฺสสตํ ชีว
    อติเรกวสฺสสตํ ชีว
    อดิเรกวสฺสสตํ ชีว
    ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
    ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
    สุขิโต โหตุ ปรมินฺทมหาราชา
    สิทฺธิกิจฺจํ สิทฺธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นิจฺจํ
    ปรมินฺทมหาราชวรสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพร

    เนื่องจากท่านไม่ได้เตรียมไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าจะต้องถวายพระพร จึงว่าติดเป็นระยะๆ วรรคแรกว่าซ้ำถึง 3 หน จึงว่าวรรคที่สองต่อไปได้   ว่าวรรคที่สองซ้ำถึงสองหน จึงว่าวรรคที่สามต่อไปได้   และว่าได้ตลอดจนจบโดยมิได้ซ้ำอีกเลย   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับแล้วทรงโปรดพระพรบทนี้มาก จึงทรงรับสั่งให้ถือเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์ใช้พรบทนี้ถวายพระพรพระมหากษัตริย์ ในพระราชพิธีทั้งปวงตราบเท่าจนทุกวันนี้ โดยมิได้ตัดตอนแก้ไขแต่ประการใด   แม้คำที่ท่านว่าซ้ำสองหนสามหน ก็ให้รักษาไว้เหมือนเดิม  เรียกว่า ถวายอดิเรก   แต่ได้ทรงเพิ่มเติมคำว่า ตุ ต่อท้ายคำว่า ชีว เป็น ชีวตุ สืบมาจนบัดนี้

    โดยที่พระอุดมปิฎกผู้เป็นต้นเหตุถวายพระพรบทนี้เป็นพระราชาคณะ  ดังนั้นจึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบมาว่า พระผู้ที่จะถวายอดิเรกได้นั้นต้องมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ   ธรรมเนียมนี้ได้รักษามาเป็นเวลาช้านาน แต่ปัจจุบันนี้ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2510) ทางการคณะสงฆ์ได้อนุญาตให้พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ซึ่งถือพัดยศเปลวเพลิงเป็นผู้ถวายอดิเรกได้โดยอนุโลม นับได้ว่าพระอุดมปิฎกเป็นต้นบัญญัติแห่งการถวายอดิเรกด้วยประการฉะนี้ 

    มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมว่า เนื่องจากท่านมหาสอนเป็นคนรูปร่างเล็กผิวดำและเตี้ย  แม้ท่านจะสน ใจในการศึกษา แต่ก็หาโอกาสสอบไม่ได้  ด้วยในขณะนั้นผู้ที่จะเข้าสอบเปรียญ นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถแล้ว คณะกรรมการจะต้องพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีรูปร่างสวยงามและมีนิสัยใจคอดีด้วย  ถึงคราวคณะกรรมการประชุมสอบ พระภิกษุสอนชอบไปช่วยเหลือด้วยการต้มน้ำร้อนชงน้ำชาถวายคณะกรรมการประจำ วันหนึ่งขณะที่พระกรรมการกำลังประชุมสอบพระภิกษุรูปหนึ่งอยู่นั้น พระกรรมการรูปหนึ่ง ได้ออกจากที่ประชุมไปทำธุรกิจส่วนตัวในห้องน้ำ ได้ยินเสียงพระภิกษุสอนพูดกับพระภิกษุเพื่อนอื่นๆ ใน วงน้ำชาว่า ประโยคนี้แปลไม่ได้อีกก็แย่แล้ว   พระกรรมการรูปนั้นได้ยินก็สนใจถึงถามว่า คุณแปลได้หรือ พระภิกษุสอนตอบว่าถึงจะแปลได้ก็ไม่มีคนรับรองให้แปล พระกรรมการรูปนั้นจึงรับว่าจะเป็นผู้รับรองส่งสอบ  จึงเป็นอันว่าพระภิกษุสอนได้มีโอกาสเข้าสอบในเวลาต่อมา  และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ดังกล่าวแล้ว เรื่องรูปร่างสวยไม่สวยจึงค่อยคลายโดยลำดับมา


    • Update : 22/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch