ข้อมูลในหน้านี้รอรับการปรับปรุง เพิ่มเติม
ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี – สันสกฤต
ภาษาบาลี
|
ภาษาสันสกฤต
|
1. สระมี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
|
1. สระมี 14 ตัว เพิ่มจากบาลี 6 ตัว คือ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา (แสดงว่าคำที่มีสระ 6 ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด)
|
2. มีพยัญชนะ 33 ตัว (พยัญชนะวรรค)
|
2. มีพยัญชนะ 35 ตัว เพิ่มจากภาษาบาลี 2 ตัว คือ ศ ษ (แสดงว่าคำที่มี ศ ษ เป็นภาษาสันสกฤต *ยกเว้น ศอก ศึก เศิก โศก เศร้า เป็นภาษาไทยแท้)
|
3. มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน เช่น กัญญา จักขุ ทักขิณะ ปุจฉา อัณณพ คัมภีร์ เป็นต้น
|
3. มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน เช่น กันยา จักษุ ทักษิณ ปฤจฉา วิทยุ อัธยาศัย เป็นต้น
|
4. นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ เป็นต้น (จำว่า กีฬา-บาลี)
|
4. นิยมใช้ ฑ เช่น กรีฑา จุฑา ครุฑ (จำว่า กรีฑา-สันสกฤต)
|
5. ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ เช่น ปฐม มัจฉา สามี มิต ฐาน ปทุม ถาวร เปม กิริยา เป็นต้น
|
5. นิยมควบกล้ำและอักษรนำ เช่น ประถม มัตสยา สวามี มิตร สถาน ประทุม สถาวร เปรม กริยา เป็นต้น
|
6. นิยมใช้ "ริ" เช่น ภริยา จริยา อัจฉริยะ เป็นต้น
|
6. นิยมใช้ รร (รอหัน) เช่น ภรรยา จรรยา อัศจรรย์ เป็นต้น
เนื่องจากแผลงมาจาก รฺ (ร เรผะ) เช่น วรฺณ = วรรณ
ธรฺม = ธรรม * ยกเว้น บรร เป็นคำเขมร
|
7. นิยมใช้ ณ นำหน้าวรรค ฏะ เช่น มณฑล ภัณฑ์
หรือ ณ นำหน้า ห เช่น กัณหา ตัณหา
|
7. นิยม "เคราะห์" เช่น วิเคราะห์ สังเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นต้น
|
เรื่องน่ารู้
- ถ้าพยัญชนะ "ส" นำหน้า วรรค ตะ คำนั้นจะมาจากภาษาสันสกฤต เช่น สถาพร สถาน สถิต เป็นต้น
- พยัญชนะเศษวรรคในภาษาบาลีที่ใช้เป็นตัวสะกดได้ มี 5 ตัว คือ ย ล ว ส ฬ เช่น อัยยิกา คุยห มัลลิกา กัลยาณ ชิวหา อาสาฬห ภัสตา มัสสุ เป็นต้น
- พยัญชนะเศษวรรคในภาษาสันสกฤตคล้ายภาษาบาลี แต่มีตัวสะกดเพิ่ม อีก 2 ตัว คือ ศ ษ เช่น ราษฎร ทฤษฎี พฤศจิกายน เป็นต้น
ข้อควรจำ ถ้าคำใดมีตัวอักษรซ้ำกัน เป็นคำภาษาบาลีแน่นอน เช่น ปัญญา อัคคี นิพพาน เมตตา บัลลังก์ ฯลฯ
ผู้เขียน: อรุณรัชช์ แสงพงษ์