พระสงฆ์
พระสงฆ์เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย
หมายถึงผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
การบวชมี๓วิธีคือ
๑ การบวชโดยพระพุทธเจ้าประทานให้เอง เรียก "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
๒การบวชด้วยการรับไตรสรณคมน์ เรียก "ติสรณคมนูปสัมปทา"
๓การบวชที่คณะสงฆ์ยอมรับเข้าหมู่โดยเอกฉันท์ เรียก "ญัตติจตุตถกรรมวาจาอุปสัมปทา"
พระสงฆ์มี๒ประเภทคือ
สมมติสงฆ์และอริยสงฆ์
๑ สมมตติสงฆ์ พระสงฆ์โดยสมมติ หมายถึงบุรุษผู้มีอายุ ๒๐ปีครบบริบูรณ์ผ่านการอุปสมบท
แบ่งเป็น๒ประเภท คือ
๑ ในแง่พระวินัย ต้องมีพระสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไป ต่ำกว่านั้นไม่เป็น แบ่งตามกิจกรรมที่พึงกระทำ
- ภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า "สงฆ์จตุวรรค" ทำอุโบสถกรรมได้ เพื่อตรวจสอบความบริสุทธ์
- ภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า "สงฆ์ปัญจวรรค" ทำปวารณาได้
- ภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า "สงฆ์ทสวรรค" ทำการบวชกุลบุตรได้
- ภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า "สงฆ์วีสติวรรค" ทำกิจกรรมได้ทุกชนิด
๒ ในแง่พระธรรม หมายถึงภิกษุที่บวชแม้เพียงรูปเดียว
๒ อริยสงฆ์ พระสงฆ์ที่เป็นอริยบุคคล หมายถึง ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์
อริยสงฆ์มี๔ระดับ แบ่งตามการละกิเลสได้ดังนี้
- พระโสดาบัน หมายถึง ผู้ละกิเลส ๓ ชนิด คือ
สักกายทิฏฐิ คือ ความยึดมั่นในตัวตน
วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย
สีลัพพตปรามาส คือ การยึดถือความศักดิ์สิทธิ์อย่างงมงาย
- พระสกทาคามี ทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงได้
- พระอนาคามี ละกิเลสได้อีก ๒ อย่าง คือ
กามราคะ คือ ความกำหนดยินดีในกาม
ปฏิฆะ คือ โทสะ
- พระอรหันต์ ละกิเลสที่ประณีตได้อีก ๕ อย่าง คือ
รูปราคะ คือ ความติดในรูปธรรมอันประณีต
อรูปราคะ คือ ความติดใจในอรูปธรรม
มานะ คือ ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน
อวิชชา คือ ความไม่รู้จริง
กล่าวได้ว่าพระอริยสงฆ์ยังละกิเลสได้ไม่หมดยกเว้นพระอรหันต์ซึ่งละกิเลสได้สิ้นเชิงพ้นจากสังสารวัฏ