|
|
ขุนช้าง ขุนแผน ในพงศาวดาร 11
กองทัพแตกหนีขุนแผน
|
ขุนแผนได้ฟังก็แค้นใจมากจึงร่ายเวทเรียกหุ่นออกมาจากดงรัง หลังจากสู้รบกัน ขุนแผนฆ่าขุนเพชรกับขุนรามตาย ทัพของจมื่นศรีกับจมื่นไวยแตกพ่ายเข้าป่า จากนั้นขุนแผนก็ขี่ม้าสีหมอกกลับไปหานางวันทอง แล้วบอกว่าได้ฆ่าขุนเพชร กับขุนรามตาย |
".....ขุนรามแทงกรอกด้วยหอกใหญ่ |
|
ถูกไหล่ไม่ถนัดสบัดหัน |
ขุนแผนถาโถมเข้าโรมรัน |
|
ฟันขุนรามตกช้างลงกลางดิน |
โดดจากหลังม้าฟาดบ่าฉับ |
|
ล้มพับฟันซ้ำคมำดิ้น |
ขุนรามสิ้นใจเลือดไหลริน |
|
สิ้นคนหนึ่งแล้วไอ้ตัวการ....." |
ส่วนขุนช้างนั้นไม่ได้ฆ่าเพราะเกรงใจนางวันทอง ฝ่ายกองทัพที่หลบหนีมาก็ไปคอยกันอยู่ที่สามโก้ คนที่กลับมาครบคงเหลืออยู่เพียงห้าร้อยคน แล้วจึงเดินทางกลับไปอยุธยา
จมื่นศรีเข้าเฝ้า รุ่งขึ้น จมื่นศรีกับจมื่นไวยและขุนช้างไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระพันวษา เมื่อสมเด็จพระพันวษาเสด็จออกไม่เห็น ขุนเพชรและขุนรามก็ตรัสถาม รวมทั้งเรื่องขุนแผนด้วย จมื่นศรีกับจมื่นไวยก็ทูลว่าได้ยกทัพถึงตำบลต้นไม้ไทร พบขุนแผนและนางวันทองพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไทร ไม่เห็นมีพลับพลาและค่ายอย่างที่ขุนช้างทูล แล้วก็ไม่มีโจรป่าอีกด้วย เมื่อไปถึงก็จัดทัพล้อมไว้ ขุนแผนได้พานางวันทองขึ้นม้าหนีออกไป เมื่อตามไปก็ไม่เห็นนางวันทอง พบแต่ขุนแผนก็บอกแต่ขุนแผนว่า พระองค์มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าเพื่อตัดสินความเรื่องนางวันทอง ขุนแผนได้ตอบว่า นางวันทองเป็นเมียขุนแผน โดยได้แต่งงานปลูกหออยู่ด้วยกัน จนกระทั่งขุนแผนต้องถูกทัพไปรบที่เชียงทอง ขุนช้างกลับลวงว่าขุนแผนตาย จนนางศรีประจันยกนางวันทองเป็นเมียขุนช้าง เมื่อขุนแผนตามมาเอาเมียคืนไป ขุนช้างก็ยกบ่าวไพร่ตามไปพบที่ใต้ต้นไทรแล้วให้บ่าวไพร่ฆ่าฟัน ขุนแผนก็ต้องตอบโต้ ส่วนขุนเพชรกับขุนรามนั้น ไปกล่าวหยาบหยาม ลำเลิกว่าขุนแผนลักพานางวันทองและคิดเป็นกบถ และลำเลิกถึงโคตรเง่าของขุนแผน แล้วขี่ช้างเข้าจะตัดหัวขุนแผน ขุนแผนสู้หนีถึงสามครั้ง ก็ยังถูกขุนเพชรและขุนรามตามไล่ล่าฆ่าอีก จึงเข้าต่อสู้แล้วฆ่าขุนเพชรกับขุนรามตาย ไพร่พลก็หนีกกระจัดกระจาย และตายไปถึงสี่พันห้าร้อยกว่าคน
พระพันวษาให้กักด่านขุนแผน
|
สมเด็จพระพันวษา ได้ฟังเรื่องราวก็โกรธมาก แล้วว่าทัพไปตั้งมากมายสู้ขุนแผนคนเดียวไม่ได้ เลี้ยงไว้เสียข้าวสุก แล้วให้ฝ่ายกลาโหมและฝ่ายมหาดไทย ให้มีหนังสือไปทั่วทุกจังหวัดทั้งในหัวเมืองเอก โท ตรี และจัตวา ว่าหากใครเห็นขุนแผนให้จับตัวมาเป็นเป็น แล้วบอกรูปพรรณสัณฐานของขุนแผนให้ทุกคนรู้ด้วย |
ฝ่ายขุนแผนก็อาศัยอยู่กับนางวันทองที่ในป่า คืนหนึ่งนางวันทองฝันว่า เอื้อมมือไปในอากาศ หยิบดวงอาทิตย์มากินแล้วกลืนลงไป และมีชายคนหนึ่งมาควักตาข้างขวาทิ้งไป แต่เอาดวงอื่นมายื่นให้แต่ก็ยังมืดมัวกว่าเก่า ให้ขุนแผนทำนายฝันให้ ขุนแผนฟังแล้วเห็นว่า ความฝันมีทั้งดีและร้าย ที่เอาดวงอาทิตย์มากินจะได้ลูกชายที่มีฤทธ์ และเป็นที่พึ่งพาในภายภาคหน้า ส่วนที่ฝันว่าถูกควักตานั้น จะมีความลำบากมากในวันข้างหน้า แต่เรื่องร้ายนี้ขุนแผนกลัวนางวันทองจะกลุ้มใจ จึงบอกแต่ว่าฝันดี
ขุนแผนลุแก่โทษ ฝ่ายนางวันทองรู้ว่าตนท้องก็คิดว่า หากอยู่บ้านก็จะมีความสุข แต่หากอยู่ในป่าก็จะมีความลำบาก จึงร้องให้ เมื่อขุนแผนเห็นนางวันทองร้องไห้ก็แปลกใจที่นางท้องแล้วทำไมต้องร้องไห้ แต่ก็ปลอบนางว่า เราจะอยู่ที่นี่กันอีกไม่นาน แต่ต้องไปหลบอยู่ตามภูเขาไม่ให้ใครมาพบ จนกว่าสมเด็จพระพันวษาจะหายพิโรธ แล้วก็เรียกภูตพรายมาบอกและพานางขี่ม้าสีหมอกออกจากป่าไป จนล่วงไปหลายเดือนครรภ์นางวันทองแก่ถึงเจ็ดเดือน ขุนแผนก็เกิดความสงสารลูกในท้องของนางวันทองมาก นางวันทองเห็นขุนแผนหม่นหมอง จึงถามว่า ร้องไห้ทำไมหรือไม่อยากอยู่กับนางแล้ว ขุนแผนบอกว่าไม่เคยคิดจะไปจากนาง เพราะตนรักนางเหมือนดวงใจ เคยรักมาอย่างไรก็ยังคงรักอยู่ แต่ที่ร้องไห้นั่นก็เพราะคับแค้นใจมากที่เห็นท้องของนางวันทองแก่มาก คงจะคลอดลูกในไม่ช้า แต่ต้องมาอยู่ในป่า ห่างบ้านไม่มีหยูกยา ที่นอนหมอนมุ้ง ต้องกรำแดดกรำฝนก็คิดสงสารลูก
ขุนแผนพาวันทองไปหาพระพิจิตร
|
เมื่อคลายเศร้าโศกแล้ว ขุนแผนก็คิดได้ว่า มีข่าวว่า พระพิจิตรบุษบาเป็นคนใจดี ใครขัดสนก็ไปขอพึ่งพาได้ดังนั้นจะไปพึ่งพา หากจะถูกส่งไปอยุธยาก็ไม่เป็นไร เพราะตนยังมีความดีอยู่มาก แล้วก็พานางวันทองไปเมืองพิจิตร |
"สิบวันดั้นพนมพนาวา ชักม้าเข้าพิจิตรบุรี
พอถึงวัดจันทร์ตะวันพลบ แวะเคารพรูปพระชินสีห์"
ฝ่ายพระพิจิตรอยู่กับลูกเมียที่บ้าน เมียของพระพิจิตรนั้นกำลังท้องได้ห้าเดือนขุนแผนก็กำบังตัวและนางวันทอง
มาจนถึงประตูบ้านแล้วคลายพระเวท คลานเข้าไปหาพระพิจิตร เมื่อถึงตัวพระพิจิตรก็ร่ายพระเวทไป ส่วนพระพิจิตรเห็นหญิงชายเข้ามาไหว้ ก็ถามว่าจะไปไหนกัน บ้านช่องอยู่ที่ไหน แล้วทั้งสองคนเป็นอะไรกัน ฝ่ายขุนแแผนกับนางวันทองก็กราบลง แล้วขุนแผนก็บอกว่าตัวชื่อขุนแผน ส่วนหญิงนั้นเป็นนางวันทอง แล้วเล่าเรื่องราวให้ฟังตั้งแต่ต้นจนปลาย ฝ่ายพระพิจิตร ได้ฟังผัวเมียเล่าเรื่องราวและประกอบกับทั้งพระเวท ทำให้นึกรักคนทั้งสองเหมือนลูก แล้วพาขึ้นไปบนจวนสั่งบ่าวไพร่ให้หาอาหารมาต้อนรับ แล้วให้พักที่เรือนที่ต่อออกมาจากเรือนเดิมอย่างเป็นสุข
นางแก้วกิริยาไถ่ตัวจากขุนช้าง ฝ่ายนางแก้วกิริยาเมื่อได้เงินจากขุนแผนมาสิบห้าชั่ง ก็ได้เอาไปไถ่ตนเองจากขุนช้างแล้วเดินทางไปอยู่กรุงศรีอยุธยา กับเพื่อนบ้านชายใดเห็นก็รัก แต่นางไม่สนใจเพราะตนมีผัวอยู่แล้ว และได้ทำมาหากินโดยขายผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อยู่ที่นั่น
ขุนแผนขอให้พระพิจิตรบอกส่งกรุง ฝ่ายขุนแผนได้มาอยู่จวนพระพิจิตรอย่างสุขสบาย วันหนึ่งก็คิดขึ้นว่าแม้ว่าพระพิจิตรจะรักใคร่ตนเหมือนลูก แต่นานเข้าความเก่าก็จะเปิดเผยขึ้น เพราะพระพันวษายังทรงพิโรธอยู่คงกำชับให้กรมการหรือทางด่านคอยสืบหา เพื่อจับไปในวัง ด้วยมีโทษฆ่าคนตายมากมาย ซึ่งทำให้พระพิจิตรเดือดร้อนไปด้วย จึงปรึกษานางวันทองว่าหากอยู่ที่พิจิตรต่อไป ก็จะเกิดอันตรายในภายหน้าได้ ตนจะไปบอกให้พระพิจิตรส่งตัวลงไปอยุธยาเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของขุนช้าง และการที่เข้าไปเองนี้จะทำให้โทษเบาลงก็ได้ ที่ทำลงทั้งหมดนี้ก็เพราะรักนางวันทองจึงเอาชีวิตเข้าแลก หากจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่กรรมที่ทำมา นางวันทองได้ฟังขุนแผนพูดก็ร้องไห้ แล้วว่าพวกเรานั้นมีความผิดโทษถึงประหาร พวกแตกทัพกลับไปคงทูล ว่าพวกเราเป็นกบถ หากจำเป็นจะต้องลงไปอยุธยาก็คงจะต้องตาย ตนเองก็ไม่กลัวในข้อนี้ กลัวอยู่อย่างเดียวคือ จะจับส่งให้อยู่กับขุนช้าง ขุนแผนได้ฟังก็ปลอบนางวันทองว่า หากจะส่งนางวันทองไปให้ขุนช้าง ตนก็ตามไปฆ่าไม่ให้ขุนช้างได้นางวันทองไป แล้วจึงชวนนางวันทองเข้าไปหาพระพิจิตร ขุนแผนได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง แล้วว่าที่พระพิจิตรได้ปิดบังโดยมีตนอาศัยอยู่ในบ้าน หากพระพันวษาทรงรู้เข้าก็จะเกิดอันตรายได้ ฉะนั้นขอให้พระพิจิตรพาไปส่งที่อยุธยา เมื่อพระพิจิตรได้ฟังก็บอกกับขุนแผนว่า เดิมจะขอตัวไว้ช่วยราชการสงคราม แต่ขุนแผนนั้นมีคดีติดตัว ก็จะหาว่าตนเข้ากับคนผิด แต่จะส่งขุนแผนไปอยุธยาก็สงสาร อย่างไรก็ตามหากส่งไปพระพันวษาคงต้องทรงไต่ถามความจริงก่อนที่จะลงโทษ และเมื่อพระองค์รู้ความจริงคงไม่พิโรธ แต่ข้อรับสั่งนั้นบอกกำชับให้จับทั้งขุนแผนและนางวันทองส่งไปอยุธยา พบเมื่อไรให้จับจองจำไว้เมื่อนั้น แต่เมื่อขุนแผนกับนางวันทองตกลงใจดังนี้ ตนก็จะเขียนคำให้การที่เป็นความจริง โดยมิให้ทั้งสองคนมัวหมอง เมื่อเสร็จเรื่องแล้วก็ขอให้ทั้งสองคน ขึ้นมาอยู่ที่พิจิตร แล้วพระพิจิตรก็ให้ผู้คุมทำหนังสือแจ้งความต่อหน้าขุนนางที่ศาลากลาง แล้วให้ผู้คุมนำหนังสือพร้อมคุมตัวขุนแผนกับนางวันทองลงไปอยุธยา โดยบอกว่าหากยังไม่ถึงอยุธยายังไม่ต้องจองจำ
|
ขุนแผนกับนางวันทองก็ลาพระพิจิตรและนางบุษบา แล้วไปลาม้าสีหมอก แล้วเดินทางไปกับผู้คุมไปอยุธยา ฝ่ายนางแก้วกริยา เฝ้าคอยขุนแผนจนเกือบปีก็ไม่เห็นมา วันหนึ่งเป็นวันพระ นางก็ไปวัดฟังธรรมเทศนา เห็นคน ยืนมุงกันแน่น ก็เข้าไปดูเห็นขุนแผนและนางวันทองแต่จำไม่ได้ ขุนแผนก็จำนางได้คลับคล้ายคลับคลา แต่นางวันทองจำนางแก้วกิริยาได้ แต่อายไม่กล้าทัก นางแก้วกิริยาได้ยินคนพูดกันว่าได้ขุนแผนมา ก็เข้าไปกอดเท้าร้องไห้ |
ขุนแผนชนะความขุนช้าง
ขุนแผนเข้าเฝ้า จมื่นศรีเห็นขุนแผนก็เรียกผู้คุมเอาหนังสือออกอ่าน แล้วก็พาเข้าไปเฝ้าพระพันวษา รุ่งขึ้น พระพันวษาเสด็จออกขุนนาง จมื่นศรีกราบทูลว่า ได้ตัวขุนแผนมาแล้ว พระพันวษาได้ฟังก็โกรธ หาว่าขุนแผนนั้นถือว่าตนมีวิชาดี ใครสู้ไม่ได้ ลักเมียขุนช้างไป แล้วไล่ฆ่าฟันคน หากเก่งกล้านักทำไมไม่เหาะหนีไป จมื่นศรีกราบทูลว่า ขุนแผนได้ไปมอบตัวกับพระพิจิตร และบอกว่าตนไม่ผิด ขอให้ส่งตัวมาอยุธยาด้วย และเมื่อพระพิจิตรไต่ถามนางวันทองก็ให้การตรงกัน ฝ่ายพระพันวษาได้ฟังข้อความในใบบอกก็คลายพิโรธลง สั่งให้นำตัวขุนแผนกับนางวันทองเข้ามา เมื่อขุนแผนและนางวันทองมาเข้าเฝ้าพระองค์ก็ไม่หันมามอง ขุนแผนจึงอ่านมนตร์บันดาลพระทัยให้หายโกรธ พระพันวษาจึงหันพระพักตร์มามองแล้วตรัสถามว่า ที่กลับมานี่จะมาแก้ข้อกล่าวหาหรือ
ชำระความขุนช้างขุนแผน ขุนแผนกราบทูลว่า หากนางวันทองไม่ใช่เมียก็จะขอถวายชีวิต พระพันวษาจึงว่า พระองค์ทรงยกโทษผิดให้เรื่องที่ฆ่าขุนเพชรและขุนราม ส่วนเรื่องขุนช้างนั้นให้สู้ความกัน แล้วให้ตำรวจวังไปพาตัวขุนช้างมา เมื่อเห็นนางวันทองท้องแก่ ก็ตู่ว่าเป็นลูกของตัวเอง เมื่อถึงเวลาลูกขุนก็มานั่งกันพร้อมหน้า ผู้คุมก็คุมขุนแผนและนางวันทองออกมาฟังข้อกล่าวหาของขุนช้าง ขุนแผนแก้ว่าไม่เป็นความจริง จากนั้นก็ซักถามทุกคน รวมทั้งนางวันทอง และนางวันทองก็ให้การตรงกับขุนแผน แต่จมื่นศรีคิดว่า นางวันทองนั้นเป็นหญิงใจโลเล อยู่กับชู้ก็เข้าข้างชู้ อยู่กับผัวก็เข้าข้างผัว
ตัดสินความขุนช้างขุนแผน
|
รุ่งขึ้นคณะลูกขุนก็ให้ไปเบิกพยานคือ นางศรีประจัน ยายกลอย และยายสา มาให้การเมื่อคณะลูกขุนซักพยาน เสร็จก็พาทั้งหมดเข้าเฝ้ากราบทูลพระพันวษาว่า ตนได้ซักถามโจทย์ จำเลย และพวกพยานแล้วเห็นว่า ขุนช้างนางศรีประจัน ยายกลอย และยายสา เป็นฝ่ายผิดจะต้องเสียทรัพย์ชดใช้แก่ขุนแผนตามศักดิ์ของขุนแผน และชดใช้ค่าถูกประจานให้แก่นางวันทอง แต่หากขุนแผนไม่รับจะฆ่าขุนช้างเสียก็ได้ |
สมเด็จพระพันวษา จึงรับสั่งถามว่า ขุนแผนอยากจะฆ่าขุนช้างหรือไม่ ขุนแผนทูลว่าไม่อยากเป็นเวรกรรมต่อกัน จะขอรับแต่สินไหมและพินัยเท่านั้น เมื่อเสียค่าปรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขุนช้างก็เข้าไปกระซิบกับจมื่นศรีว่า เงินทองที่เสียเป็นค่าปรับไปนั้นไม่เสียดาย เสียดายแต่นางวันทอง หากช่วยให้ตนได้นางวันทองกลับคืน ก็จะให้เงินยี่สิบชั่งเป็นค่าตอบแทน แต่จมื่นศรีไม่ยอมช่วย
ขุนแผนครวญถึงนางลาวทอง ขุนแผนนางวันทองและนางแก้วกริยา หลังจากชนะความได้อาศัยอยู่ที่บ้านจมื่นศรี จนวันหนึ่งจะเกิดเหตุร้าย ทำให้คืนนั้นขุนแผนนอนไม่หลับ คิดถึงแต่นางลาวทองที่ต้องจากไปลำบากอยู่ในวัง จนรุ่งเช้าก็ไปหาจมื่นศรี ขอให้ทูลพระพันวษาขอตัวนางลาวทองออกมา จมื่นศรีจึงว่าควรรออีกสักปีคงจะดีกว่า แล้วก็ไม่ต้องกลัวว่านางจะไปมีชู้ เพราะอยู่ในวัง " เหมือนดับไฟไม่ทันจะสิ้นเปลว ด่วนเร็วจะกำเริบเมื่อภายหลัง " ขุนแผนตอบจมื่นศรีว่า ตนไม่ได้คิดเรื่องอื่น แต่คิดว่านางลาวทองนั้นไม่ได้ทำผิดอะไร แต่ที่ต้องถูกขังก็เพราะพระพันวษาพิโรธตน เมื่อตนพ้นโทษแล้ว นางก็ยังอยู่ในวัง ก็เหมือนมาหลงเมียอยู่นอกวัง ลืมนางลาวทอง ฝ่ายจมื่นศรีฟังขุนแผนแล้ว ก็รู้ว่าไม่สามารถห้ามปรามได้ ก็คิดว่าแล้วแต่วาสนา จึงพาขุนแผนไปเข้าเฝ้า แล้วจมื่นศรีก็ทูลเนื้อความตามที่ขุนแผนร้องขอ
ขุนแผนติดคุก ฝ่ายสมเด็จพระพันวษาได้ฟังก็พิโรธ แล้วด่าว่าขุนแผน แล้วว่าถ้าตั้งใจรับราชการแล้ว อย่าว่าแต่นางลาวทอง แม้ขุนแผนจะขออีกสองสามคนก็จะให้ หรือเห็นว่าไม่ลงโทษแล้วทำกำเริบ แล้วพระพันวษาก็รับสั่งให้ตำรวจนำตัวไปขังคุก จมื่นศรีรับคำสั่งแล้วก็ตกใจ รีบออกไปบอกขุนแผนแล้วว่าเตือนแล้วไม่ยอมฟัง "เฮ้ยเอาตัวมันไปส่งไว้คุก ประทุกห้าประการหมดอย่าลดให้ เชื่อมหัวตะปูซ้ำให้หนำใจ....." ฝ่ายพวกตำรวจวังก็พาตัวขุนแผนไปขังคุกใส่ขื่อคาโซ่ตรวน ส่วนจมื่นศรีก็รับไปบอกนางวันทองกับนางแก้วกิริยา เมื่อนางทั้งสองได้ฟังก็ตกใจ แล้วคิดว่าตั้งแต่นางลาวทองมาอยู่ ชีวิตของขุนแผนก็ไม่เคยเป็นสุข มีแต่เรื่องราว เมื่อไรขุนแผนจึงจะตัดใจจากนางลาวทอง แล้วทั้งสองก็เข้าไปที่คุกเพื่อเยี่ยมขุนแผนแล้วว่า เรื่องนี้ทำไมจึงไม่ยอมปรึกษา อาจเป็นเพราะคราวเคราะห์จึงทำให้ขุนแผนติดใจจนหุนหันไปเช่นนี้
|
ขุนแผนเห็นนางทั้งสอง ก็รู้สึกเสียใจมาก แล้วว่าคงเป็นคราวเคราะห์ ที่ทำให้ตนคิดผิดถึงติดขื่อคา แม้ว่าจะหนีจากเครื่องพันธนาการได้ แต่จะถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย |
" เวรกรรมทำไว้ฉันใดเลย |
|
ไม่มีเงยหน้าเทียมกับเขาได้ |
ไหนจะท้องไหนจะทุกข์ระทมใจ |
|
ผู้คนข้าไทที่ไหนมี |
จะส่งข้าวเช้าเย็นก็แสนยาก |
|
จะออกปากพึ่งใครที่ไหนนี่ |
ถึงท้องไส้ก็จะมาตั้งตาปี |
|
กลัวแต่ที่จะคลอดซึ่งลูกยา...." |
" อันเครื่องพันธนาที่จำจอง |
|
อีกสักสองเท่านี้ก็หนีได้ |
จะเสียสัตย์ขัดสนจึงจนใจ |
|
หนีไปใครจะนับว่าเป็นชาย " |
เมื่อใดนางวันทองคลอดลูก ก็ให้นางแก้วกิริยาไปดูแลเป็นเพื่อน แล้วขอให้ทั้งนางวันทองและนางแก้วกิริยา ฝากเนื้อฝากตัวกับจมื่นศรีไว้ให้ดี
ขุนแผนสะเดาะเครื่องจำ นางแก้วกิริยาก็จัดเตรียมข้าวของเท่าที่จะหาได้ไปที่คุก พัสดีก็สงสารให้คนปลูกกระท่อมให้อยู่ตรงนอกหับเผย ฝ่ายขุนแผนนั้น คืนหนึ่งก็สะเดาะโซ่ตรวนออกไปหานางแก้วกิริยา ส่วนในคุกนั้นจะมีพระธำมรงค์และยาม ต้องไปเรียกขานชื่อนักโทษเป็นเวลา เมื่อเรียกชื่อขุนแผน แต่ไม่ได้ขานรับ ก็สั่งให้ทุกคนตามหาแต่ไม่พบ พบขุนแผนอยู่กับนางแก้วกิริยา จึงเข้าจับกุม ขุนแผนบอกว่าไม่หนีไปไหน แต่ไม่อยากให้จองจำ พัสดีจึงบอกให้ขุนแผนกลับไปแล้วจะไม่จองจำ รุ่งเช้าพัสดีจึงมาหาพระยายมราชเล่าความให้ฟัง พระยายมก็ให้ถามขุนแผนว่าทำไมจึงทำตัวให้คนอื่นเดือนร้อน ฝ่ายขุนแผนก็ตอบว่า ตนไม่ได้หนีไปไหน แต่ทนถูกจองจำถึงห้าประการไม่ไหว และสาบานว่าจะไม่หนี พระยายมราชจึงสั่งเหล่าผู้คุมอย่าจองจำขุนแผนนับแต่นั้น นางวันทองก็มาเยี่ยม ส่วนนางแก้วกิริยาก็อยู่ด้วยกับขุนแผนในคุก พัสดีก็เมตตาขุนแผน และพระยายมราชก็ไม่เคืองใจอีก
ขุนช้างฉุดนางวันทอง ฝ่ายขุนช้างยังไม่วายคิดถึงแต่นางวันทอง ก็ไปเล่นหมากรุกกับศรพระยาเพื่อให้สบายใจขึ้น
"เทหมากรุกออกมาม้าโคนตั้ง |
|
ขุนช้างย่างม้าพลั้งตาโป่งหวา |
ทิ่มวุ่นกินขุนศรพระยา |
|
พ่อเจ้าขาขอโทษโปรดไถ่ตัว |
ขุนช้างหัวร่อพ่อไม่ให้ |
|
ศรพระยาวอนไหว้พ่อทูลหัว |
ฉันเล่นเป็นแต่เสือกินวัว |
|
หมากรุกฉันกลัวแล้วพ่อคุณ |
ถึงพระครูก็สู้พ่อไม่ได้ |
|
มันเหลือใจกินกันจนชั้นขุน...." |
ระหว่างที่เล่นหมากรุก ศรพระยาก็เล่าว่า ที่ในวังเขาลือกันว่าขุนแผนไปทูลขอนางลาวทองถูกกริ้วจำคุกอยู่ ขุนช้างน่าจะใช้โอกาสนี้ไปหานางวันทอง อาจจะยอมกลับมาอยู่ด้วยก็ได้ ขุนช้างดีใจรีบขี่ช้างมาพักช้างที่วัดธรรมาใหญ่ แล้วให้บ่าวไพร่เจ็ดคนไปดูนางวันทองที่บ้านจมื่นศรี หากพบแล้วให้พาตัวมา ฝ่ายนางวันทอง เมื่อเห็นเช้าแล้วก็จะไปเยี่ยมขุนแผน พวกบ่าวของขุนช้างจึงเข้าล้อมแล้วบอกว่า นางวันทองกู้เงินมาห้าชั่ง แล้วหลบหนีมาจะต้องจับไป นางร้องให้คนช่วย แต่ทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องของเงินหลวง จึงไม่มีใครช่วย นางวันทองจึงถูกจับไปหาขุนช้าง เมื่อขุนช้างเห็นนางวันทองก็ดีใจมาก บอกว่าตนมารับกลับไปบ้าน แล้วก็ได้นางเป็นเมียอีก
|
Update : 18/5/2554
|
|