ประวัติและตำนานของพระพรหม
จตุรพักตรพรหมา (ท้าวมหาพรหม) สุดยอดทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด
ในพระพุทธศาสนานั้นยอมรับว่าพระพรหมเป็นเทพที่ปกป้องพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระบรมศาสดาหลายหนด้วยกัน เห็นง่าย ๆ ก็คือ การอาราธนาให้แสดงธรรมเป็นเจ้าแรก ดังปรากฏในบทอาราธนาเทศน์ว่า “พรหมาจโลกาธิปติ สหัมปติ” อันเป็นการระลึกถึงการอาราธนาธรรมของพระสหัมบดีพรหมนั่นเอง อีกทั้งหลักธรรมในพระพุทธศาสนาข้อหนึ่งก็เป็นพรหมวิหารคือ ธรรมะที่พระพรหมถือปฏิบัติเป็นประจำและผู้ที่จะได้ไปเป็นพรหมก็ต้องปฏิบัติเช่นนั้นคือ 1. เมตตา 2. กรุณา 3. มุฑิตา 4. อุเบกขา
1. เมตตา คือ มีความสงสารและเห็นใจผู้ที่ด้อยกว่าและร้องขอความช่วยเหลือ
2. กรุณา คือ ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่กรณีที่จะทำได้
3. มุฑิตา คือ ให้ด้วยความบริสุทธิ์ไม่หวังในสิ่งตอบแทนภายหลังและให้โดยทั่วกัน
4. อุเบกขา คือ ความเที่ยงธรรมไม่ลำเอียงเห็นแก่หน้าหรือการให้ความเสมอภาคนั่นเอง
พระพรหมจึงมีบทบาทในเครื่องรางของขลังของไทยตั้งแต่โบราณมาและสิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือ ผ้ายันต์พระพรหม อันมีลักษณะสองอย่างคือ
ก. เขียนเป็นใบพระพักตร์ของพระพรหมสี่หน้าซึ่งอยู่ในมุมผ้ายันต์แล้วกำชับด้วยอักขระทั้งปวง
ข. เป็นรูปพระมหาพรหมธาดา ประทับนั่งบนแท่นและมองเห็นพระพักตร์สามด้านแล้วลงอักขระกำกับเอาไว้
สำหรับผ้ายันต์รูปพระพรหมสี่พักตร์นั้น ท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัลย์ ท่านได้สร้างเอาไว้หลายแบบด้วยกัน แต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่จะขอกล่าวถึงเหรียญพระพรหม ซึ่งนับว่าเป็นเหรียญที่ได้รับค่านิยมแพร่หลายเป็นอย่างยิ่งและมีเรื่องที่จะต้องทำความเข้าใจกันตรงนี้ก็คือ มีหลายคนเข้าใจผิดว่าเหรียญพระมหาพรหมธาดาของท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัลย์ ทุกรูปแบบนั้นจะเป็นแบบพรหมณ์ทั้งสิ้นหามิได้ครับท่านผู้อ่าน และเพราะอะไรหรือครับก็เพราะท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัลย์ท่านได้บอกเอาไว้เลย
ท่านได้สร้างตามแบบตำรับไทยแบบพุทธเวทย์ทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การปลุกเสกและลงอักขระ แบบที่เรียกว่า เป็นสุดยอดแก่งความเมตตาทั้งปวง และท่าออกแบบมาในลักษณะเหรียญแบบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดหรือแบบกลม แบบอาร์ม และแบบรูปไข่นั้น ล้วนแต่มองเห็นพระพักตร์ครบทั้งสี่ด้านทั้งสิ้น
ส่วนการผูกพระคาถาและลงเหล็กจารนั้นเป็นแบบพุทธเวทย์ตามตำรับที่ถ่ายทอดมาจากวัดพระญาติการาม เพราะท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัลย์นั้น เมื่อบวชอยู่ได้เล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จนสำเร็จวิชาชาตรีและพระเวทย์ทางเมตตามหานิยมครบถ้วน
ส่วนลักษณะของเหรียญท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัลย์นั้นจะมีแต่ด้านหน้าด้านเดียวส่วนด้านหลังว่างเอาไว้ลงเหล็กจารเท่าที่เห็นก็มีดังนี้
ก.ตาตารางตรีนิสิงเห
ข.เม อะ มะ อุ นะ ทรงธรณี
ค.ยันต์ห้า
พุทธคุณและวิธีอาราธนา
และเครื่องรางชุดพระมหาพรหมธาดาสี่พระพักตร์ของท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัลย์นั้นไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ใช้ทางเมตตาและป้องกันตัวแบบครอบจักรวาล การอาราธนาโดยใช้คาถาดังต่อไปนี้คือ ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพระหมานะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปัณนานัง ปิยินทรียัง มะนุสสานัง เอหิจิตตังปิยังมามะ (ท่องสามจบ) แล้วอาราธนาว่า ขอเดชะพระพุทธคุณนัง พระธัมมะคุณนัง พระสังฆะคุณนัง มาติปิตาคุณนัง คุรุอาจาริยาคุณนัง จตุพักตรพรหมาวิหารัง เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ มะอะอุ จากนั้น อธิษฐานจิตได้เลยว่าจะให้เมตตาให้แคล้วคลาด ให้เป็นมหาอุดหรือคงกระพันก็จงนึกเอาเวลาเกิดเรื่องตีกัน ให้เอามือตบผ้ายันต์หรือเหรียญพระพรหมให้รู้ตัวมีสติอย่างเผอเรอและเจริญภาวนาว่าในใจว่า
“โอม จตุพักตรพรหมา นะมามิหัง”
และจะรอดปลอดภัยทุกประการเลยทีเดียว แต่จิตต้องมั่น ใจมั่น และเครื่องรางจะขลัง และไม่ว่าใครก็ทำอะไรไม่ได้หรือท่านผู้อ่านจะใช้พระคาถาบทนี้ก็ได้
พระคาถาบูชาพระพรหม
โอม ปะระเมสะนะมัสการัม
องการะนิสสะวะ รัง พระหมเรสสะยัม ภูปัสสวะ วิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม ทะระมา ยิกยานังยะไวยะลา คะมุลัม สะทานันตะระ วิมุสะตินัน นะมัติเตนะมัตเต
จะ อะการัง ตะโถวาจะ เอตามาระยัต ตะมันตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระจะปะติตัม สัมโภพะกลโก ทิวะทิยัม มะตัมยะ