กำเนิดปลัดขิก ของขลังของไทย
ในสมัยก่อนนั้นชาวบ้านอุบาสก อุบาสิกาศานิกชนคนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ใกล้ชิดกับวัดวาอารามมากแทบจะกล่าวได้ว่า ชาวบ้านและชาววัดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก นับตั้งแต่การเกิดจนกระทั่งการตายละจากโลกนี้ไปเป็นภารธุระของพระสงฆ์องค์เจ้าแทบทั้งสิ้น เป็นทำนองพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะการแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะทางพระท่านถือว่าเป็นมงคลอย่างหนึ่ง
ในหนังสือชีวิตของชาววัดของท่านเสถียร โกเศศกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ถ้าว่าถึงสมภารเจ้าวัดซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ที่เรียกกันว่าหลวงพ่อ มักเป็นผู้ทรงคุณความรู้ขลังมาก เป็นที่นับถือของชาวบ้านทั่วไป ไม่ว่าที่ไหนใคร ๆ ก็นับถือ เขาเล่าให้ฟังว่าหลวงพ่อท่านเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านไม่ขาด เวลาบ้ายท่านสรงน้ำแล้ว เป็นครองผ้าเรียกเอาย่ามบรรจุหยูกยาและน้ำมนต์ออกจากวัดไปยังหมู่บ้านใครป่วยไข้ไม่สบายท่านก็ให้ยากินบ้างรดน้ำมนต์ให้บ้าง
ยิ่งกว่านั้นชาวบ้านผิดพ้องหมองใจกันไปขอร้องให้ท่านเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย แม้เป็นเรื่องลักหาพาหนีกันซึ่งไม่ใช่กิจของสงฆ์ ชาวบ้านก็ยังไปกวนให้ช่วยเหลือ ทำความประนีประนอมกัน ตลอดจนเรื่องอาจไปฟ้องร้องกันยังโรงศาล หรือให้นายบ้านนายอำเภอเป็นผู้เปรียบเทียนไกล่เกลี่ย ไม่ยากอะไรก็ไม่เอา สมัครใจแต่ให้สมภารท่านตัดสิน ท่านตัดสินว่าอย่างไร ดูก็เป็นที่พอใจยอมกันได้ง่ายเมื่อท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ไม่ใช่แต่ทางธรรมอย่างเดียวดังนี้ จะไม่ให้ชาวบ้านนับถือท่านมากอย่างไรได้
เมื่อหลวงพ่อพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ท่านมีเมตตาธรรมประจำใจนอกเหนือไปจากการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนดังกล่าวแล้ว ยามที่เกิดการเจ็บป่วยขึ้นแก่ลูกเด็กเล็กแดงในหมู่บ้าน ผู้คนก็คงจะต้องไปของร้องให้ท่านปัดเป่าป้องกันภัยตรายแก่ลูกเต้าของตน มีการขอให้แคล้วคลาดจากภยันตรายอันจะเกิดจากความไข้ได้ป่วยอันตรายอันเกิดขึ้นจากเขี้ยวงาของสัตว์ซึ่งมีอยู่ชุกชุมในถิ่นชนบทห่างจากตัวเมือง
ดังนั้นพระเถระผู้เป็นคณาจารย์ผู้ถือเอาความกรุณาและการสงเคราะห์มนุษย์อย่างไม่มีสิ้นสุด ไม่มีการเลือกชาติ ชั้นวรรณะ ไม่มีการถือเขาถือเรา มีแต่ความเตตากรุราเป็นที่ตั้งแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นท่านจึงได้ประกอบรูปเคารพขึ้นอย่างหนึ่งจากวัตถุ คือไม้เหลาเป็นรูปท่อนกลมยาวตรงปลายคือรูปเหรียญของพระศิวะตรงโคนเจาะรูสำหรับร้อยเชือก สำหรับผูกเอวเด็กป้องกันภยันตรายและเสนียดจัญไรต่าง ๆ โดยท่านถือเอาเป็นอุปเท่ห์ตามคติของพราหมณ์พฤฒิบาศ ผู้ถือลึงค์ศาสนาสิ่งดังกล่าวนั้นก็คือศิวะลึงค์นั่นเอง
แต่พระคณาจารย์เจ้าผู้ฉลาดท่านเปลี่ยนนามเรียกเสียใหม่ว่า ท่านปลัด แปลว่าผู้อยู่เคียงข้าง (ปลัดคือปรัศวะข้าง) ก็โดยที่วัตถุสิ่งนั้นมีรูปลักษณะคล้ายลึงค์ผู้ใดเห็นผูกอยู่กับเด็ก ๆ ไร้เดียงสาก็เกิดอาการขบขันหัวเราะกันคิกคักเล่นเป็นที่สนุก วัตถุสิ่งนั้นหรือท่านปลัด เลยมีชื่อเรียกกันว่า “ปลัดขิก” ต่อมา (ขิกคือเสียงหัวเราะ) เพราะใครเห็นท่านปลัดเข้าเป็นต้องหัวเราะคิกคักนั่นเอง นาม “ปลัดขิก” (ผู้อยู่เคียงข้างที่เรียกเสียงหัวเราะ) ก็เกิดขึ้นด้วยประการดังนี้ ตาลทราง ภูตผีปิศาจและแม่ซื้อ นอกจากนั้นแล้วตอนส่วนก้นของปลัดขิกยังใช้ฝนกับสุรากินแก้พิษผิดสำแดงอันเกิดจากอาการไข้สารพัดได้อีกด้วย