ประวัติเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
เขี้ยวเสือกลวง คงกระพันและมหาอุด
เขี้ยวเสือ จัดอยู่ในประเภทเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่โด่งดังมาก คือ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ แม้แต่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระราชนิพนธ์ถึงหลวงพ่อปานกับเขี้ยวเสือมาแล้วด้วยพระองค์เอง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประตูน้ำหลวงที่ตำบลคลองด่านนั้น ในขบวนผู้ตั้งแถวรับเสด็จมีสามเณรน้อยและพระภิกษุรูปร่างล่ำสันผิวคล้ำด้วยแดดเผาประ
ปนอยู่ด้วย ในมือของสามเณรน้อยประคองพานแว่นฟ้าอย่างระมัดระวัง ทว่าด้วยความประหม่า เมื่อได้ยินเสียงเจ้าพนักงานประโคมเป็นเครื่องบอกให้รู้ว่าเสด็จพระราชดำเนินมาถึงปา
กทางดังขึ้น สามเณรก็ทำท่าลุกลนเท้าสะดุดกันเอง จนเสียหลักทำให้พานแว่นฟ้าในมือเอียงจนวัตถุชิ้นเล็ก ๆ สี่ห้าชิ้นที่วางอยู่บนพานก็หล่นลงน้ำ
เมื่อพระภิกษุชราเห็นจึงไม่แสดงท่าทีว่าโกรธเคืองหรือทำโทษ ทว่ากลับเอื้อมมือไปลูบหัวสามเณรน้อยแล้วเป่าเรียกขวัญแล้วหันไปกระซิบกับเด็กวัดที่
ยืนอยู่ถัดออกไป ปรากฏว่าเด็กวัดหายไปไม่นานก็กลับมาพร้อมด้วยหมูสามชั้นดิบ ๆ แบะหนึ่ง มีเชือกผูกมัดไว้อย่างดี พระภิกษุชราชี้มือให้หย่อนเชือกที่ผูกเนื้อหมูลงไปตรงที่ของตกในน้ำ หมูสามชั้นจมไปในน้ำเพียงปริ่ม ๆ พระภิกษุรูปนั้นพนมมือหลับตา ปากขมุบขมิบท่องมนต์ เมื่อมองเห็นขบวนเสด็จพระราชดำเนินมาแต่ไกล และเคลื่อนใกล้เข้ามา
ดึงขึ้นได้แล้วเสียงพระภิกษุชราผิวคล้ำร้องสั่งเด็กวัด เมื่อหมูสามชั้นด้านที่มีหนังโผล่พ้นน้ำ ปรากฏว่ามีวัตถุชิ้นเล็ก ๆ สีเหลือง ๆ ติดมาด้วยสี่ห้าตัวเด็กวัดค่อย ๆ ประคองชิ้นหมูมาส่งให้ท่านเอามือลูบผ่านวัตถุนั้นไป มันก็ร่วงลงมาฝ่ามือข้างที่ท่านแบรองอยู่ ท่านก็หัวเราะฮิ ๆ พึมพำพอได้ยินว่า “กัดติดเชียวนะไอ้พวกนี้ดุนัก”
สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปตัวเสือสำเร็จรูปซึ่งบรรจุอาคมของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (มงคลโคธาวาส) ถึงแม้จะตกน้ำไปแล้ว ท่านก็ภาวนาเรียกแล้วก็ล่อด้วยหมูมันก็กระโดดขึ้นจากน้ำงบติดหนังหมูขึ้นมาทันควัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนทนากับหลวงพ่อปานอยู่ชั่วครู่จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ และทรงให้สังฆการีนิมนต์ให้เข้าไปรับพระราชทานฉันในพระบรมมหาราชวัง ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” และทรงรับสั่งเรียกเป็นการส่วนพระองค์ว่า “พระครูป่า”
สมเด็กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระดำรัสถามท่านพระครูป่า “ทำไมจึงสร้างเสือด้วยเขี้ยวเสือ เสือมีดีอะไร” ท่านพระครูอธิบายถวายว่า “อันว่าเสือนั้นเป็นเจ้าป่ามีมหาอำนาจราชศักดิ์เพียงคำราม สัตว์ทั้งหลายก็ตกใจไม่เป็นอันสมประดี กลิ่นสาปลอยไปกระทบจมูกสัตว์ตกใดก็มีอาการกะปลกกะเปลี้ยเพลียแรง และเสือนั้นแม้จะดุร้ายก็มีเสน่ห์ ใคร ๆ อยากเห็นอยากชม เอามาใส่กรงก็มีคนไปดู จึงนับว่าเสือเป็นสัตว์ที่น่านิยมอย่างยิ่ง”
หลวงพ่อนก วัดสังกะสี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดนาคราช) เล่าให้ศิษย์ฟังว่า “เมื่อข้าออกเดินธุดงค์กับพระอาจารย์ท่านนั้น ท่านมักจะเอาเขี้ยวเสือที่แกะสำเร็จรูปแล้วติดย่ามของท่านไปด้วยเวลาดึกสงัดกลางคืนย
ามดึกเงียบสงัดพระที่ร่วมธุดงค์หลับไปหมดแล้ว ท่านก็จะจุดตะเกียงแล้วเอาเสือที่แกะแล้วนั้นมาลงเหล็กจาร และก่อนหน้านี้ที่จะลงเหล็กจารนั้น ป่าทั้งป่าได้ยินแต่เสียงจักจั่นและนกกลางคืนตลอดจนเสือสางดังระงม ทว่าเมื่อเหล็กจารสัมผัสกับตัวเสือแกะและเริ่มลงอักขระสรรพสิ่งทั้งหลายก็เงียบสงบลง
ไปพร้อมกับการเป่าลมหายใจของท่านพระอาจารย์
เมื่อเหล็กจารยกขึ้นเสียงเหล่านั้นก็เงียบหายไปด้วยอย่างน่าอัศจรรย์ใจ บางครั้งข้าก็เห็นท่านเอาเสือที่ท่านจารสำเร็จมาปลุกเสกในบาตร ข้าเห็นมันกระโดดออกจากบาตรกันเป็นแถว เหมือนข้าวตอกแตก ท่านกวักมือเรียกเสียงเบา ๆ ว่า “พ่อเสืออย่าซนนะ กลับเข้าบาตรนะพ่อนะ พวกมันก็กระโดดกันเป็นแถว”
สาเหตุที่เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานมีอิทธิฤทธิ์ก็เพราะว่าท่านสร้างตามตำรับโบราณ อันว่าด้วยเขี้ยวงาซึ่งกำหนดอาถรรพณ์ด้วยกันสองชนิดเอาไว้ดังนี้คือ 1. เขี้ยวหมูตัน 2. เขี้ยวเสือกลวง
1. เขี้ยวหมูตัน เป็นที่นิยมเอามาทำเครื่องรางถือว่าดีตามธรรมชาติอันได้แก่ เขี้ยวหมูป่าที่งอกยาวออกมาจากปากตันตลอดตั้งแต่โคนถึงปลาย ป้องกันอันตรายได้หลายอย่างและตันหมูเขี้ยวตันเองนั้นยิงไม่ค่อยถูกหรือถูกก็ไม่เข้า
2. เขี้ยวเสือกลวง ก็เป็นที่นิยมเอามาทำเครื่องรางและจะต้องกลวงตั้งแต่โคนถึงปลาย จึงจะใช้ได้และไม่ได้ทำแจกเป็นมาตรฐานและถ้าใครมีปัญญาหาเขี้ยวเสือกลวงมาได้ก็มาให้
ช่างแกะเป็นรูปเสือในท่าหมอบช่างจะแกะให้ ส่วนมากจะเป็นช่างแถววัดคลองด่านเพราะคุ้นเคยกับรูปทรงขนาดใหญ่เรียกว่า เขี้ยวเต็มเขี้ยวจะตัดปลายเป็นส่วนฐาน หรือปล่อยปลายแหลมไว้ก็แล้วแต่จะชอบแบบไหน
ส่วนผู้ที่จะประหยัดหรือเสียดายก็ให้แกะหลายเขี้ยวก่อนเป็นตัวเล็ก ๆ แล้วก็แบ่งเขี้ยวที่เหลือออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า เขี้ยวซีกและเป็นตัวย่อม ๆ หรือจิ๋วลงไป จึงมันจะพบเสือกลวงพ่อปานลักลักษณะดังกล่าว ทว่าอนุมานได้เป็นแบบเดียวกันคือ ไม่มีหน้าตาคล้ายเสือ แต่จะคล้ายแมวมากกว่า
ข้าราชการ ประชาชน จะนิยมหาเขี้ยวเสือมาแกะแล้วถวายไว้ให้หลวงพ่อปาน นำไปทำการปลุกเสกลงเหล็กจารอักขระตอนออกธุดงค์ พอเข้าพรรษาก็เอาดอกไม้ธูปเทียนมารับจากมือท่านไปจึงเป็นอันเสร็จพิธี
เนื่องจากกาลเวลาที่ผ่านมาร้อยกว่าปีเศษ ทำให้เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานนั้นมีความเก่า เขี้ยวจะเหลือฉ่ำเป็นเงาใสคล้ายเคลือบมุก มีรอยลึกกร่อนการใช้ให้เห็น ส่วนของปลอมจะไม่ฉ่ำ แต่ใช้การทอดน้ำมันเดือน ๆ หรือคั่วกับทรายร้อน ๆ จะเกิดรอยไหม้เกรียมดำ ให้สักเกตจะเช่าจะหากันก็ต้องระวังกันเป็นพิเศษ เพราะของเทียมมีมากกว่าของแท้
ลักษณะการแกะนั้นจะถือเอาเป็นมาตรฐานไม่ได้ เพราะเป็นการแกะทีละตัว ๆ แม้คนคนเดียวกันแกะก็ใช่ว่าจะเหมือนกันเป๊ะ ย่อมเพี้ยนไปเป็นธรรมดา โดยให้ดูความเก่าและฝีมือการแกะให้มีเค้าเหมือนกันกับตัวครูที่มีประวัติการตกทอดมาจ
ากตำราโบราณอย่างแน่นอน จะมียันต์ รึ รือ (ฤ ฤๅ) ตรงตะโพนซ้ายขวา กลาง หลังก็มี ข้อนี้ไม่อาจยุติ ซึ่งอาจจะมีตรงโน้นตรงนี้บ้างก็ได้ ส่วนที่สำคัญคือ การลงเหล็กจารอักขระนั้นจะต้องลงที่ใต้ฐานเสือ จะมียันต์แบบเหรียญหลวงพ่อกลั่น ด้านหลังเรียกกันว่า ยันต์กอหญ้า หรือที่เรียกว่า นะขมวด (อุณาโลม) กำกับเอาไว้ ส่วนที่อื่นนั้นมักจะไม่ค่อยได้เห็นเพราะลงเอาไว้เบา ถูกเสียดสีหน่อยก็เลือนหายไป
พุทธคุณนั้นดีทางมหาอำนาจควรติดตัวไว้จะได้เป็นที่เกรงขามของสัตว์ป่าและสัตว์หน้าขน
ทั้งหลาย และเวลาเข้าไปในป่าก็อาราธนาให้คุ้มกันภัยได้ แถมยังเอาแช่น้ำทำน้ำมนต์แก้ไข้ป่า ส่วนเขี้ยวขนาดใหญ่ที่กลวงตลอดนั้น ใช้เป่าให้ดังวี้ด วี้ด ๆ ๆ สะกดภูตผีปิศาจได้ทุกชนิด และเป็นคงกระพันชาตรีมหาอุดเป็นที่สุดแล และตามธรรมเนียมเมื่อปิดท้ายของเรื่องจะต้องมีคาถากำกับเสือเป็นมหาอำนาจซึ่งมีดังต่
อไปนี้
พระคาถาพญาเสือมหาอำนาจใช้ภาวนากำกับเขี้ยวเสือดังนี้
ตั้งนะโมสามจบแล้วอาราธนาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และกล่าวถึงหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (หรือผู้เป็นเจ้าของเขี้ยวเสือ) เป็นที่ตั้ง และจะมีเขี้ยวเสือหรือไม่มีเขี้ยวเสือก็ได้แล้วภาวนาพระคาถาว่า
" ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ตัวกูคือพญาพยัคโฆ สัตถา อาหะ พยัคโฆจะวิริยะ อิมังคาถามะหะ อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม "
เคล็ดลับ การภาวนาพระคาถาให้ภาวนาตั้งแต่ ตะมัตถัง มาจนถึง อิมังคาถามะหะ ให้กลั้นลมหายใจเวลาท่องให้มั่น ทำจิตให้ดุเหมือนเสือแล้วจึงย้ำว่า อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม จึงผ่อนลมหายใจ เวลาจะบู๊หรือจะเข้าตีกัน ให้ว่าพระคาถานี้ให้ใจกล้ายิ่งมีเขี้ยวเสือยิ่งดี บุกเข้าไปเถิด