ปลาตะเพียนเงิน-ปลาตะเพียนทอง ดีทางโชคลาภ เมตตามหานิยม
ในครั้งอดีตกาลเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการติดต่อกันในระหว่างกลุ่มชนแล้วนั้น สิ่งหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาาและถือว่า เป็นพื้นฐานของการค้าขาย ก็คือ “การแลกเปลี่ยน” ในระยะเริ่มแรกก็คงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประเภท อาหาร เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในเวลาต่อมา สิ่งของฟุ่มเฟือยบางชนิด เช่น เครื่องประดับหรือสิ่งของแปลก ๆ ที่มาจากแดนไกลก็คงถูกนำมาใช้เป็นของแลกเปลี่ยน เช่นเดียวกัน
สิ่งหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเริ่มต้นสะสมทรัพย์ดังกล่าว ก็คือความเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลให้ประสบความสำเร็จในการ
ค้าขาย ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏเด่นชัดในช่วงเริ่มแรกก็ตาม แต่ในระยะต่อมาเริ่มปรากฏหลักศาสนาต่าง ๆ เข้ามาสู่ชุมชนแล้ว ความเชื่อในด้าน “เทพ” หรือ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” หรือพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง ในแบบของรูปเคารพผสานกับความเชื่อดั่งเดิม ในเรื่องของภูติผี และธรรมชาติก็ทำให้เกิดการยกย่องบูชาว่าเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภและความร่ำรวยไปในที่
สุด
สำหรับดินแดนของไทยเรานั้น พบหลักฐานที่แสดงถึงความเชื่อ และการนับถือรูปเคารพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะดลบันดาลให้เกิดความร่ำรวยหลายประเภท
ซึ่งมีทั้งรูปเคารพที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ เช่น อินเดีย, จีน ตลอดจนรูปเคารพ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเราเองก็ตาม เรื่องราวของสิ่งเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ชอบ โชคลาภ และความร่ำรวย ที่น่าจะได้รับรู้เกล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางประการเกี่ยวกับผู้อ่าน กราบไหว้เคารพบูชาอยู่ทุกวันนี้
ผู้เขียนขอนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับเครื่องรางของขลัง ปลากตะเพียนที่พระเกจิอาจารย์ที่ทำขึ้นเพื่อ ให้ไว้เป็นหลักในการค้าขายของพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย ให้ถูกโฉลกดีขึ้นและถ้าท่านผู้อ่านมองเข้าไปในร้านค้าสักแห่งหนึ่งที่หิ้งพระประจำร้
าน หรือที่เพดานร้านจะมีปลาตะเพียนคู่หนึ่งผูกห้อยอยู่ บ้างก็ปิดทองเสียเหลืองอร่าม บ้างก็หาพวงมาลัยมาห้อยบูชาเต็มไปหมด เพื่อบูชาให้เกิดความคลัง ส่วนพระเกจิอาจารย์บางท่านไม่ทำเป็นรูปปลาตะเพียนก็ให้เขียนหรือพิมพ์เป็นยันต์รูปปล
าตะเพียนก็มีครับท่าน
ถ้าพูดถึงปลาตะเพียนนั้น เป็นสัตว์น้ำที่หากินคล่อง อาหารของมันก็กินง่ายและก็ว่ากันว่า มันปราดเปรียว คล่องแคล้วยิ่งนัก อีกทางหนึ่งท่านผู้เฒ่าผู้แก่ให้คติแก่ผู้เขียนว่า “การที่เอารูปปลาตะเพียนมาเป็นเครื่องหมายการค้าขาย ก็ด้วยถือเอาคำท้ายของคำว่า เพียน ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า เพียร อันหมายถึงให้เป็นคนขยันทำมาหากิน ขยันหมั่นเพียรนั่นเอง
พระเกจิอาจารย์จึงคิดอุปเท่ห์ของการค้าขายว่า เอารูปปลาตะเพียนมาเป็นสัญลักษณ์แล้วลงอักขระกำกับเสีย และปลุกเสกด้วยคาถาเมตตามหานิยม มอบให้กับผู้ทำการค้าขายไปบูชา
ปลาตะเพียนนั้นมีมากมายหลายสำนัก ทั้งเป็นรูปปลา และเป็นยันต์ ที่ผู้เขียนสดับรับฟังและติดตามมาตลอด ก็สรุปได้ว่าที่โด่งดังและขึ้นชื่อในอดีตก็ได้ แก่ปลาตะเพียน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม ส่วนหลวงพ่อน้อยนั้นพอหาได้ แต่ของหลวงพ่อจงแล้ว ใครมีไว้เป็นหวงขาดใจ เพราะมักจะประสบความสำเร็จทางการค้าขายร่ำรวยเสียเป็นส่วนมาก ผู้เขียนก็อยู่ในจังหวัดใก้เคียงสมัยที่เรือโยงยังขึ้นชื่อลือชา เรือโยงร้อยละแปดสิบ จะมีปลาตะเพียนของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกแขวนกันประจำเรือเลยทุกลำ แต่ก่อนมานั้น พระเกจิอาจารย์ผู้จะทำปลาตะเพียนนี้ จะต้องตัดแผ่นโลหะออกเป็นรูปปลาเสียก่อน เพราะสมัยโบราณปั้มยังไม่เจริญ ลงอักขระตามสูตรเป็นคู่ ๆ กันไป ต่อมาใช้ปั้มแทน เพราะความเจริญก้าวหน้าไปมาก และการทำผ้ายันต์ปลาตะเพียนก็เช่นกัน
ซึ่งแต่ก่อนใช้เขียน ต่อมาก็ใช้พิมพ์ซะเลย ส่วนยันต์ที่ลงมันจะใช้ดังต่อไปนี้
1. ตรี นิ สิงเห
2. นะ ชา ลี ติ
3. อุ อา กะ สะ
4. นะ มะ พะ ทะ
เท่าที่เคยพบจะมีการลงดันนี้ นะ มะ พะ ทะ ธาตุ ทั้งสี่นี้ลงที่ปากครีบบน ครีบล่างและหางเป็น การหนุนให้ธาตุเกิดเสียก่อน ตรงกลางตลอดลำตัววจะลงว่า นะ ชา ลี ติ หรือ อุ อา กะ สะ ดังนี้เป็นต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งจะลงตรีนิสิงเห ด้วยนะครับ และการทำปลาตะเพียนนั้น พระเกจิอาจารย์ท่านจะนิยมทำเป็นคู่เพราะ
ปลาตะเพียนนั้นจะจับคู่กันเพื่อสืบพันธ์ อันเป็นความหมายของการครองชีวิตร่วมกัน ร่วมมือร่วมใจกันในการประกอบอาชีพ ทำมาหากิน ท่านจะแจก ปลาตะเพียนให้ไปด้วย
นะ ชา ลี ติ นั้นเป็นหัวใจของพระสิวลีอันอุดมลาภเหมาะสำหรับการค้าขาย
อุ อา กะ สะ นั้นเป็นหัวใจของมหาเศรษฐีมีความหมายถึง ให้ผู้ได้รับไปแล้วคิดดังนี้
อุ ย่อมาจากคำว่า อุฎฐานสัมปทา หมายถึง ความเป็นคนขยันหมั่นเพียร ในการทำมาหากิน คนขี้เกียจจะหาความเจริญไม่ได้เลย
อา ย่อมาจาก อารักขสัมปทา หมายถึง หมั่นอดออมในทรัพย์สินที่ตนเองอุตส่าห์มาได้ด้วยความยากลำบากไว้ให้ได้เป็นกอบเป็นกำ
กะ ย่อมาจากคำว่า กัลยาณมิตรตะตา หมายถึง การคบเพื่อนที่ดีชักชวนไปในทางที่ดี ไม่ชี้ชวนไปในทางที่ชั่ว
สะ ย่อมาจากคำว่า สมชีวิตา หมายถึง การหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ไม่คดโกง
เมื่อพระเกจิอาจารย์ได้เรียกสูตรและปลุกเสกนั้น ก็จะให้ผู้ที่ต้องการไปเพื่อนำไปแขวนไว้ในที่อันสมควร เพื่อความเจริญก้าวหน้า ในทางค้าขายและไม่ใช่ว่าจะมีปลาตะเพียนแล้วจะค้าขายดีเสมอไปก็หาไม่ หากตัวคนขายเอง จะต้องปฏิบัติตามคาถาที่ปรากฏในตัวปลาตะเพียนด้วย คือ ขยันหมั่นเพียร เช่น เปิดร้านตามเวลาแต่เช้ายิ้มแย้มแจ่มใสรับลูกค้า เอาอกเอาใจ นั่นแหละครับที่เขาเรียกว่า เมตตา นะชาลีติ ได้ทรัพย์มาแล้วก็หมั่นเก็บหมอรอบริบไม่สุรุ่ยสุร่าย คนดีไม่ผลาญทรัพย์ ประการสุดท้าย คือมีความซื่อตรงไม่คดโกงลูกค้า เช่น โกงตาชั่ง เอาของปลอมมาขายหรือ โก่งราคา ฉวยโอกาสขึ้นราคา อะไรเหล่านี้