|
|
พระราชนิพนธ์ ใน ร.๖-5
เห่ชมพระที่นั่ง พระตำหนัก และพระบรมมหาราชวัง
- เหลือบแลชะแง้พิศ
|
ดูดุสิตวนารมย์ |
เคยเที่ยวลดเลี้ยวชม |
ดมบุปผาสารพัน |
- ชมวัดดังวิมาน
|
ถิ่นสถานมัฆวัน |
เพลินพิศไพจิตรสรร |
พะงามเนตรวิเศษชม |
- สล้างปรางค์มหันต์
|
อนันตสมาคม |
อัมพรสถานสม |
เป็นสถานพิมานอินทร์ |
- สถานวิมานเมฆ
|
เอกอาสน์โอ่ท้าวโกสินทร์ |
อภิเษกดุสิตภิญ |
โญยศยงองค์ภูบาล |
- ตำหนักสำนักตา
|
จิตรลดารโหฐาน |
ที่พระอวตาร |
สำราญรมย์ภิรมยา |
- สะพรั่งวังอนุช
|
ผู้ทรงสุดเสน่หา |
ปารุสก็สุดเพลินตา |
สวนกุหลาบปลาบปลื้มใจ |
- ตำหนักพระชนนี
|
มีนามว่าพญาไท |
อยู่ทาง บ่ ห่างไกล |
ใกล้ดุสิตวนาภา |
- นาวาผ่านนิเวศน์
|
พระทรงเดชจอมประชา |
พินิจพิศเพลินตา |
ตระการตรูดูเลิศดี |
- สล้างปรางค์ปราสาท
|
ประกอบมาศมณีศรี |
รยับจับรพี |
สีสว่างกลางอัมพร |
- ปราสาทราชฐาน
|
อวตารสโมสร |
ยงยอดสอดสลอน |
ยอนยั่วฟ้าน่านิยม |
- จักรีพระที่นั่ง
|
สามยอดตั้งตรูตราชม |
สำราญสถานสม |
สถิตถิ่นปิ่นนรา |
- ดุสิตปราสาทตั้ง
|
พระมนังคศิลา |
พิมานรัถยา |
อุดมอาสน์ราชฐาน |
- มณเฑียรเสถียรศักดิ์
|
จักรพรรดิ์พิมาน |
เคียงใกล้คือไพศาล |
ทักษิณที่สุขาลัย |
- ฝ่ายหน้าสง่าสิ้น
|
อมรินทร์วินิจฉัย |
พระโรงภูวนัย |
ธ ประศาสน์ราชการ |
- อารามวัดพระศรี
|
รัตนศาสดาคาร |
มงคลมหาสถาน |
ปูชนีย์ที่นิยม |
- อันกรุงรุ่งเรืองกิตติ์
|
ที่สถิตพิโรดม |
เลิศล้วนชวนจิตต์ชม |
สมเกียรติ์เลื่องเมืองสยาม |
เห่ชมชายทะเล
- สีชังชังชื่อแล้ว
|
อย่าชัง |
อย่าโกรธพี่จริงจัง |
จิตต์ข้อง |
ตัวไกลจิตต์ก็ยัง |
เนาแนบ |
เสน่ห์สนิทน้อง |
นิจโอ้อาดูร |
- สีชังชังแต่ชื่อ
|
เกาะนั้นฤาจะชังใคร |
ขอแต่แม่ดวงใจ |
อย่าชังชิงพี่จริงจัง |
- ตัวไกลใจพี่อยู่
|
เป็นคู่น้องครองยืนยัง |
ห่างเจ้าเฝ้าแลหลัง |
ตั้งใจติดมิตร์สมาน |
- บางพระนึกถึงพระ
|
ปูชนีย์ที่สักการ |
แต่งตั้งยังสถาน |
แทบหัวนอนขอพรครอง |
- ผ่านทางบางปลาสร้อย
|
จิตต์ละห้อยละเหี่ยหมอง |
นึกสร้อยสายเพ็ชรทอง |
คล้องศอเจ้าเย้ากะมล |
- บางนี้บุรีงาม
|
อันออกนามว่าเมืองชล |
แลท้องทะเลวน |
ชลนัยน์ไหลลงธาร |
- อ่างหินนึกอ่างหิน
|
ที่ยุพินเคยสนาน |
โอ้ว่ายุพาพาล |
จะอ้างว้างริมอ่างหิน |
- เรือผ่านเกาะกระดาษ
|
แม้สามารถจะพังภิน |
จะเขียนสาราจิน |
ตนาส่งถึงนงเยาว์ |
- ถึงอ่าวพุดซาวัน
|
ริกริกลั่นสิอกเรา |
คิดถึงพุดซาเจ้า |
เคยเก็บไว้ให้พี่ยา |
- คลุกพริกกับเกลือดี
|
ไว้ให้พี่จิ้มพุดซา |
เสร็จงานกลับบ้านมา |
พอได้ลิ้มชิมชอบใจ |
- ครั้นถึงทุ่งไก่เตี้ย
|
ยิ่งละเหี่ยละห้อยใจ |
นึกยามเจ้าทรายวัย |
ปรุงแกงไก่ให้พี่กิน |
- เดินผ่านร้านดอกไม้
|
ก็ยิ่งใฝ่ใจถวิล |
เคยชวนโฉมยุพิน |
ชมดอกไม้ที่ในสวน |
- เกาะยอเหมือนยอเจ้า
|
ยุพเยาว์อนงค์นวล |
แสร้งยอ บ่ มิควร |
เพราะนิ่มเนื้อเหลือเลิศชม |
- เข้าถึงสัตหีบ
|
รีบหลบลี้หนีคลื่นลม |
นึกยามเจ้าทรามชม |
จัดผ้าจีบลงหีบน้อย |
- ขบวนเรือประพาส
|
ดูดาดาษกลาดเกลื่อนลอย |
ชิงชังดังหนึ่งคอย |
จะต่อสู้ศัตรูผลา |
- จอดห้อมล้อมเป็นวง
|
รอบเรื่ององค์พระราชา |
ดูเหมือนเดือนสง่า |
อยู่ท่ามกลางหว่างหมู่ดาว |
- ดูพลางทางรำพึง
|
นิ่งคำนึงถึงเนื้อขาว |
นึกนึกรู้สึกราว |
ไปงานดึกพิลึกใจ |
- แม้มีศึกสงคราม
|
ถึงสยามในวันใด |
จำพรากจากทรามวัย |
ไปต่อสู้ศัตรูพาล |
- เกิดมาเป็นชาวไทย
|
ต้องทำใจเป็นทหาร |
รักเจ้าเยาวมาลย์ |
ก็จำหักรักรีบไป |
- จะยอมให้ไพรี
|
เหยียบย่ำยีแผ่นดินไทย |
เช่นนั้นสิจัญไร |
ไม่รักชาติศาสนา |
- เพราะรักประจักษ์จริง
|
จึงต้องทิ้งเจ้าแก้วตา |
จงรักภักดีมา |
อาสาต้านราญริปู |
ธรรมาธรรมสงคราม
- ดูราประชาราษฎร์
|
ท่านอาจเห็นคติดี |
แห่งการสงครามนี้ |
อย่าระแวงและสงสัย |
- ธรรมะแลอะธรรม
|
มะทั้งสองสิ่งนี้ไซร้ |
อันผลจะพึงให้ |
บ่ มิมีเสมอกัน |
- อะธรรมย่อมนำสู่
|
นิราบายเป็นแม่นมั่น |
ธรรมะจะนำพลัน |
ให้ถึงสุคตินา |
- เสพธรรมะส่งให้
|
ถึงเจริญทุกทิวา |
แม้เสพอะธรรมพา |
ให้พินาศแลฉิบหาย |
- ในกาลอนาคต
|
ก็จะมีผู้มุ่งหมาย |
ข่มธรรมะทำลาย |
และประทุษมนุษโลก |
- เชื่อถือกำลังแสน
|
ยะจะขึ้นเป็นหัวโจก |
หวังครองประดาโลก |
และเป็นใหญ่ในแดนดิน |
- สัญญามีตรามัน
|
ก็จะเรียกกระดาษชิ้น |
ละทิ้งธรรมะสิ้น |
เพราะอ้างว่าไม่จำเป็น |
- หญิงชายและทารก
|
ก็จะตกที่ลำเค็ญ |
ถูกราญประหารเห็น |
บ่ มิมีอะไรขวาง |
- ฝ่ายพวกอะธรรมเหิม
|
ก็จะเริ่มจะริทาง |
ทำการประหารอย่าง |
ที่มนุษมิเคยใช้ |
- ฝ่ายพวกที่รักธรรม
|
ถึงจะคิดระอาใจ |
ก็คงมิยอมให้ |
พวกอะธรรมได้สมหวัง |
- จักชวนกันรวบรวม
|
พลกาจกำลังขลัง |
รวมทรัพย์สพรึบพรั่ง |
เป็นสัมพันธไมตรี |
- ช่วยกันประจันต่อ
|
พวกอะธรรมเสนี |
เข้มแข็งคำแหงมี |
สุจริตะธรรมสนอง |
- ลงท้ายฝ่ายธรรมะ
|
จะชำนะดังใจปอง |
อะธรรมะคงต้อง |
ปะราชัยเปนแน่นอน |
- อันว่ามนุษโลก
|
ยังโชคดีไม่ย่อหย่อน |
อะธรรมะราญรอน |
ก็ชำนะแต่ชั่วพัก |
- ภายหลังข้างฝ่ายธรรม
|
จะชำนะประสิทธิศักดิ์ |
เพราะธรรมะย่อมรักษ์ |
ผู้ประพฤติ ณ คลองธรรม |
- อันคำเราทำนาย
|
ชนทั้งหลายจงจดจำ |
จงมุ่งถนอมธรรม |
เกิดจะได้เจริญสุข |
- ถึงแม้อะธรรมข่ม
|
ขี่อารมณ์ให้มีทุกข์ |
ลงท้ายเมื่อหมดยุค |
ก็จะได้เกษมสานต์ |
- คือธรรมะผ่องใส
|
จึงจะได้สุขสราญ |
ถือธรรมะเที่ยงนาน |
ก็จะได้ไปสู่สวรรค์ |
|
Update : 16/5/2554
|
|