หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เงินตราของไทย-เงินพดด้วง
    จากหลักฐานที่ค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน มีเงินตราในยุคแรก ได้แก่เหรียญฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย ทางภาคเหนือมีเงินล้านนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินล้านช้าง ดังนั้นเงินตราของไทยจึงมีความหลากหลายในรูปลักษณะ และมีที่มาที่น่าสนใจ แม้ว่าเงินตราดังกล่าว จะมีมา ก่อนที่จะตั้งประเทศไทย หรือรัฐไทยก็ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย และจีนผสมผสานกัน แต่ก็ได้หล่อหลอมกันมา จนปรากฎเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และยืนยงคง อยู่นานกว่าหกศตวรรษ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาผ่านสมัยอยุธยา สืบต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่งมาเลิกใช้ในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ เงินตราดังกล่าวได้แก่ เงินพดด้วง
    หลังจากนั้น ประเทศไทยก็หันมาใช้เหรียญกษาปณ์แบบประเทศตะวันตก โดยได้มีการริเริ่มตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยัง ไม่ทันได้ออกใช้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้สร้างโรงกษาปณ์เพื่อผลิต เหรียญกษาปณ์ออกใช้ ตั้งอยู่ที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรม มหาราชวัง พระราชทานนามว่า โรงกษาปณ์สิทธิการเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๐๓
    หลังจากเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ประมาณครึ่งศตวรรษ ความไม่พอเพียงต่อการใช้งาน เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการค้าทำให้รัฐบาลต้อง ออก ธนบัตรเงินตรากระดาษ ไปใช้ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ทั้งเหรียญกษาปณ์และธนบัตรได้มีวิวัฒนาการมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน
      เงินพดด้วง  
    เงินพดด้วงของไทย เป็นเงินตราที่เป็น เอกลักษณ์ของไทย โดยเฉพาะไม่ซ้ำแบบของชาติใด มีค่าในตัวเอง เพราะทำด้วย โลหะมีราคา โดยมีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า รูปทรงกระทัดรัด ทนทาน ผลิตด้วยมือ ทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ ทุบปลายทั้งสองข้าง ให้โค้งงอเข้าหากัน ทำให้มีรูปร่างกลมคล้าย ลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศจึงเรียกว่า Bullet Coin ในสมัยอยุธยา ได้มีการ ประทับตราแผ่นดิน และตราประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ แต่ละพระองค์ รวมเป็น ๒ ตราใบ เงินพดด้วงแต่ละอัน
    เงินตราไทยก่อนใช้เงินพดด้วง
    ในสมัยน่านเจ้า เงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ส่วนมากเป็นเงินบริสุทธิ์ นำมาหล่อหลอม หรือ ตีเป็นแท่ง เป็นก้อน หรือเป็นกำไล ชาวต่างประเทศ เรียก Bracelet Money มีรูปร่างแตกต่างไปจาก เงินตราของจีน เงินในสมัยนี้มีขนาดหนึ่ง และ สองตำลึง มีตราหลายตราตีประทับบนเนื้อเงิน

    อาณาจักรล้านนาไทย ได้ทำเงินตราด้วย โลหะเงิน เป็นรูปวงกลมเรียกว่าเงินเจียง ทางภาคกลางเรียก เงินขาคีม ลักษณะยังอยู่ในประเภท เงินกำไล แต่ขาเหลี่ยม เงินเจียงส่วนใหญ่มีราคาตั้งแต่หนึ่งตำลึงลงมา

    อาณาจักรล้านช้าง ทำเงินเป็นแท่งยาว ปลายเรียว มีตราประทับก็มี ไม่มีตราประทับก็มี เรียกว่า เงินฮ้อย เงินลาด และเงินเฮือ ทางภาคเหนือเรียกว่า เงินปลิง เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายตัวปลิง ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า Bar Money เพราะมีลักษณะเป็นแท่ง

    กำเนิดเงินพดด้วง
    กำเนิดเงินพดด้วง น่าจะเริ่มมีในปลายสมัยน่านเจ้า และก่อนสมัยสุโขทัยเล็กน้อย อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ โดยการดัดแปลงเงินกำไลแบบขากลมของอาณาจักรน่านเจ้ามาทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด มาเป็นเงินพดด้วงของไทย ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งก็คือเงินพดด้วงนี้ดัดแปลงมาจากเงินฮ้อย หรือเงินลาดขนาดเล็ก เมื่อนำมางอหัวท้ายเข้าหากันก็มีรูปร่างเป็นเงินพดด้วง

    ผู้ผลิตเงินพดด้วง 
    สมัยสุโขทัย  
    พระเจ้าแผ่นดินจะเป็นผู้ผลิตแต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้ครองนคร พ่อค้า และประชาชนผลิตได้ ดังนั้นเงินพดด้วงในยุคกรุงสุโขทัย จึงไม่มีมาตรฐานแน่นอนในเรื่องขนาด น้ำหนัก เนื้อเงิน และการตีตรา
    สมัยอยุธยา  
    ทางราชการเป็นผู้ทำเงินพดด้วงทั้งหมด ดังมีหลักฐานปรากฎอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และจดหมายเหตุของจีน เงินพดด้วงจึงมีมาตรฐานแน่นอนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    รูปร่างลักษณะ


    รูปร่างลักษณะ   มีสัณฐานกลม มี ๖ ด้าน คือ ด้านบนใช้เป็นที่ตีตราปรจำแผ่นดิน ด้านหน้าเป็นที่ตีตราประจำรัชกาล บริเวณปลายทั้งสองข้าง ที่เป็นรอยผ่าบาก หรือประทับรอยเม็ดข้าวสาร ด้านหลังมักปล่อยว่าง ด้านข้างทั้งขวาและซ้ายเป็นรอยค้อนที่ตีลงไป เพื่อให้ของอ ด้านล่างมักใช้เป็นที่ประทับรอยเม็ดข้าวสาร

    ขนาดและน้ำหนัก
    ขนาดและน้ำหนัก  มีตั้งแต่ หนึ่งบาท สองบาท สิบสลึง สี่บาท หรือหนึ่งตำลึง สิบบาท ยี่สิบบาท สี่สิบบาท และ แปดสิบบาท หรือหนึ่งชั่ง  แต่ที่ผลิตใช้กันมากคือขนาดหนึ่งบาท ที่ราคาต่ำกว่าหนึ่งบาท ในสมัยอยุธยามีขนาด สองสลึง หนึ่งเพื้อง สองไพ และหนึ่งไพ มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีขนาดสามสลึง และครึ่งไพอีกด้วย
    ตราที่ประทับ
    สมัยสุโขทัย การประทับตราไม่แน่นอน ไม่มีแบบอย่างที่เป็นมาตรฐาน ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาจะมีตราประทับ อยู่สองตราคือ ตราประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาล สมัยอยุธยาจะใช้ตราจักร หรือตราธรรมจักร เป็นตราประจำแผ่นดิน ตรานี้จะประทับไว้ด้านหน้าของเงินพดด้วง ส่วนตราประจำรัชกาลจะประทับไว้ด้านหลัง
    ตราประจำรัชกาลสมัยอยุธยา
    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  เป็นรูปสังข์ทักขิณาวัฏ
    สมเด็จพระราเมศวร  ไม่มีหลักฐาน
    สมเด็จพระบรมราชาธิที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)  เป็นรูปรัศมีเจ็ดแฉก มีอุณาโลมอยู่ด้านบน
    สมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช  เป็นรูปทรงข้าวบิณฑ์ ลักษณะคล้ายใบโพธิ
    สมเด็จพระอินทราชาที่ ๑  ลักษณะคล้ายดอกไม้เรียงกันสามดอก ดอกที่สี่อยู่ข้างบน ใต้ดอกไม้มีจุดกลม สำหรับดอกบนมีจุดซ้ายขวาด้วย
    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีลักษณะคล้ายอักษร ต.เต่าห้าตัว  ซ้อนกันสามแถว
    สมเด็จพระอินทราชาที่ ๒  มีลักษณะรูปจุดใหญ่อยู่กลาง ด้านบนมีจุดกลมอยู่ในกรอบ ด้านล่างมีจุดเล็กหนึ่งจุดทั้งสองข้างเป็นมีรูปคล้ายกลีบดอกไม้ข้างละกลีบ
    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  เป็นรูปจุดสิบจุดไม่มีกรอบ
    สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูร  เป็นรูปกลมมีรัศมีด้านบนสามแฉก ด้านล่างตัวละสองแฉก
    สมเด็จพระชัยราชาธิราช  เป็นรูปจุดกลมใหญ่สามจุด มีแฉกขึ้นไปด้านบนจุดละแฉก และมีเส้นสองเส้นจากจุดบนทอดลงล่างสองข้าง เส้นคู่นี้ มีจุดเล็กอยู่ข้างละจุด
    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์  เป็นรูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย
    สมเด็จพระมหินทราธิราช  ไม่ปรากฎหลักฐาน
    สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช  เป็นรูปคล้ายช่อดอกไม้
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เป็นจุดคล้ายพระแสงดาบสองเล่มไขว้กัน และมีรูปอุณาโลม อยู่ระหว่างมุมทั้งสี่ของดาบไขว้ทั้งสอง
    สมเด็จพระเอกาทศรถ  เป็นเส้นขีดตามแนวนอนห้าเส้น ด้านบนเป็นรูปคล้ายใบโพธิ
    สมเด็จพระเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์  เป็นรูปจุดสี่จุด วางเป็นรูปทรงของชฎา
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  เป็นรูปคล้ายดวงไฟมีเปลวเพลิงลอยอยู่โดยรอบ มีกรอบล้อม
    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  เป็นรูปจุดเจ็ดจุด เรียงกันแถวละสามจุดสองแถว บนสุดมีหนึ่งจุดอยู่ภายในกรอบ
    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เป็นจุดหกจุดมีกรอบล้อมรอบ ลักษณะเหมือนดอกบัว
    หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ นอกจากนั้นยังมีตราครุฑอีกตราหนึ่ง

    สมเด็จพระเพทราชา  เป็นรูปคล้ายดอกจันทน์อยู่ในกรอบกนก
    สมเด็จพระเจ้าเสือ  รูปร่างคล้ายสังข์มีกนก
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  เป็นรูปคล้ายดอกไม้สามกลีบ บนกลีบกลางมีอีกหนึ่งกลีบ ใต้กลีบกลางมีจุดกลม
    สมเด็จพระบรมโกษฐ  เป็นรูปคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม มียอด ข้างกล่องมีจุดข้างละสองจุด
    สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  เป็นจุดสี่จุดอยู่ในกรอบกนกเปิดล่าง
    สมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์  เป็นรูปจุดเก้าจุดอยู่ในกรอบทรงสามเหลี่ยมมุมมน
    ตราประจำรัชกาลสมัยกรุงธนบุรี
      ตราแผ่นดินเป็นรูปจักรห้าแฉกระหว่างแฉกมีจุด ซึ่งต่างออกไปจากตราแผ่นดิน สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งส่วนมากเป็น แปดจุดล้อมจุดกลาง สำหรับตราประจำรัชกาล เป็นรูปซ่อมสองง่าม ปลายด้ามซ่อมมีจุด
      รูปร่างลักษณะของเงินดพดด้วง เหมือนกับเงินพดด้วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ ขาสั้นปลายขาอยู่ห่างกัน ไม่มีช่องระหว่างขา ไม่มีรอยบาท และมีรอยค้อนกลมข้างลงหนึ่งรอย

    ตราประจำรัชกาลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
    เงินพดด้วงมีใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ผลิตเพื่อ เป็นที่ระลึกสองครั้ง แล้วไม่มีการผลิตอีก เนื่องจากเลิกใช้ เพราะใช้เงินแปหรือเงินแบน อันเป็นเหรียญกษาปณ์ ซึ่งเริ่มผลิตขึ้นไปตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    ในระยะแรก มีตรารูปจักร และตรารูปกรี อย่างละหนึ่งตรา ต่อมาเมื่อได้มีพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ ตรารูปบัวผันแทนตรา รูปตรี สำหรับตรารูปจักรจะเป็นจักรแบบ แปดกลีบ กลางจักรมีจุดเหมือนกงจักร จึงมีรูปร่างคล้าย กงจักร อันเป็นอาวุธของพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ ผิดกับจักรในสมัย อยุธยา ซึ่งมีลักษณะเหมือนธรรมจักรในพุทธศาสนา
    ตราประจำรัชกาลมีอยู่สองตรา คือ ตราตรีศูล หรือ เรียกกันว่า ตรี หรือ กรี อันเป็นอาวุธของพระศิวะ หรือพระอิศวร  รูปร่างเป็นสามง่าม มีกรอบล้อมรอบ  อีกตราหนึ่งคือ ตราบัวผัน หรือตราบัวอุณาโลม  มีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบ มีพื้นเป็นลายกนก
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    ตราแผ่นดินเป็นรูปจักรหกกลีบ กลางจักร และ ระหว่างกลีบ มีจุดตราประจำรัชกาล เป็นรูปครุฑ ซึ่งมีอยู่สองแบบ คือ ครุฑอกยาวคล้ายครุฑสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และครุฑอกสั้น  ลักษณะโดยทั่วไปของเงินพดด้วงเหมือนกับที่ ผลิตในสมัยพระพุทธยอดฟ้า ฯ

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    มีการผลิตเงินพดด้วงออกมาหลายตรา ในโอกาสต่าง ๆ กัน มีดังต่อไปนี้  ตราประจำรัชกาล เป็นตรามหาปราสาท ลักษณะเป็นปราสาทหลังคายอดแหลม ยอดแหลมอยู่ในกรอบ ใช้กับเงินพดด้วงขนาดหนึ่งบาท หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง
    ตราครุฑเสี้ยว ใช้กับเงินพดด้วงขนาดสิบสลึง
    ตราดอกไม้  ใช้กับเงินพดด้วงขนาด ตั้งแต่หนึ่งบาท จนถึงขนาดหนึ่งไพ
    ตราหัวลูกศร  ใช้กับเงินพดด้วง ตั้งแต่ขนาดหนึ่งสลึงลงมา
    ตราใบมะตูม  ใช้กับเงินพดด้วงที่ออกมาเป็นที่ระลึก มีขนาดหนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง สองไพ และหนึ่งไพ
    ตราเฉลว  ใช้กับเงินพดด้วงขนาดหนึ่งบาท ไม่มีตราแผ่นดิน

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ตราแผ่นดินเหมือนรัชกาลที่ ๒ และที่ ๓ สำหรับตราประจำพระองค์ ที่ใช้ประทับบนเงินพดด้วงมีดังนี้
    ตราพระมหามงกุฎ  รูปร่างคล้ายชฎายอดแหลม  ใช้กับเงินพดด้วง ขนาดหนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง สองไพ และหนึ่งไพ
    ตราพระมหามงกุฎเถา  สร้างเป็นที่ระลึงมีหลายขนาดตั้งแต่ ๑ ชั่งลงมา มีกึ่งชั่ง สิบบาท สี่บาท และสองบาท
    ตราพระมหามงกุฎทองคำ  ใช้กับเงินพดด้วงขนาดหนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง มีรูปร่างแปลกออกไปจากเงินพดด้วงทั่วไป คือไม่พับขา เรียกว่าทองเม็ดขนุน  เงินพดด้วงที่ทำด้วยทองคำ มีราคาสูงกว่าที่ทำด้วยเงินที่มีขนาดเดียวกับ ๑๖ เท่า
    ตราพระเต้า  ใช้กับเงินพดด้วงขนาด หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง สองไพ และหนึ่งไพ ทำด้วยเงินและทองคำ ไม่มีตราแผ่นดินประทับ
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    มีการผลิตเงินพดด้วงเพียง ๒ ครั้ง  เพื่อใช้เป็นที่ระลึก ไม่ได้ทำออกใช้ทั่วไป มีตราประทับอยู่ดังนี้
    ตราพระเกี้ยว  ไม่ทราบแน่ชัดว่า ทำขึ้นกี่ขนาด ที่พบมีขนาดหนึ่งบาท
    ตราพระเกี้ยวพานรองและช่อรำเพย  ทำขึ้นมีขนาด แปดสิบบาท สี่สิบบาท ยี่สิบบาท สิบบาท สี่บาท และสองบาท

    • Update : 15/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch