หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
    พระนครคีรี หรือที่เรียกโดยสามัญว่าเขาวัง อยู่ที่ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เดิมเป็นพระราชฐาน พระบาทสมเด็จพระจอมเเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบนยอดเขาสมณ หรือเขามหาสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๑ สำหรับใช้ประทับแรม ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเเกล้าฯ ทรงใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะ จากต่างประเทศ
    พระนครคีรี ประกอบด้วยพระที่นั่งหลายองค์ กลุ่มอาคาร และพระอารามประจำพระราชฐาน นับเป็นพระราชฐานแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สร้างบนยอดเขา สิ่งก่อสร้างเป็นการผสมผสานศิลป และสถาปัตยกรรมตะวันตกและของไทย เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนและงดงามเป็นอย่างยิ่ง
    บนยอดเขามหาสวรรค์ มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างอยู่เดิม มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นมาใหม่ ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๒๐ เมตร สูง ๔๐ เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน พระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
    ยอดเขาด้านทิศตะวันออก สร้างเป็นวัดประจำพระราชวังบนพระนครคีรี พระราชทานนามว่า วัดพระแก้ว ประกอบด้วยพระอุโบสถ พระสุทธเสลเจดีย์ พระปรางค์แดง และศาลาจีน อยู่ในส่วนของพุทธาวาส สัดส่วนและขนาดของสิ่งก่อสร้าง เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
    พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน เป็นสามห้องขนาดย่อม ผนังประดับหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี มีมุขลดด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันเป็นตราพระมหามงกุฎปูนปั้น
     
    พระสุทธเสลเจดีย์ อยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๓ เมตร องค์เจดีย์สูง ๙ เมตร ทำด้วยหินอ่อนสีเทาอมเขียว
    ศาลาและพระปรางค์แดง อยู่ด้านหน้า พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน แบบสถาปัตยกรรมจีนผสมฝรั่ง ส่วนพระปรางค์เป็นแบบไทย ย่อมุม ภายในโปร่ง มีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ

    พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่และสำคัญที่สุด เพราะเป็นที่ประทับ มีห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ ห้องเสวย และห้องโถงออกขุนนาง

    พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์ อยู่ติดกับพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งสองชั้น ประกอบด้วยห้องบรรทม และห้องโถง

    พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์สูง ๑๔ เมตร มีมุข ๔ ด้าน มุขทั้งสี่มีปรางค์ขนาดเล็ก ล้อมยอดปรางค์องค์ใหญ่ที่อยู่กลาง เป็นปราสาทขนาดเล็กเพื่อให้สัมพันธ์กับพระราชวัง ภายในปราสาทประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ประทับยืนอยู่ใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร

    พระที่นั่งราชธรรมสภา อยู่ต่อจากพระที่นั่งเวชยันต์ฯ เป็นพระที่นั่งชั้นเดียวคล้ายเก๋งจีน แต่มีสถาปัตยกรรมแบบโรมันผสม ภายในพระที่นั่งประดิษฐานพระพุทธรูป

    หอชัชวาลเวียงชัย เป็นอาคารทรงกลมคล้ายกระโจมไฟ หลังคาเป็นรูปโดม มุงด้วยกระจกโค้ง ภายในห้อยโคมไฟ ซึ่งเมื่อจุดตอนกลางคืนแล้วจะเห็นได้ไกลถึงชายทะเล ชาวเรืออาศัยแสงจากโคมนี้เป็นประภาคาร นำเรือเข้าอ่าวบ้านแหลมในเวลากลางคืน หอนี้ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งธรรมศาลา ชาวบ้านเรียกว่ากระโจมแก้ว หรือหอส่องกล้อง เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างหอนี้ขึ้นด้วยพระประสงค์จะใช้เป็นที่ส่องกล้องตรวจดูดวงดาว ที่ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในด้านนี้อย่างยิ่ง ณ ที่หอแห่งนี้สามารถชมทัศนียภาพเมืองเพชรบุรี ได้อย่างทั่วถึง
    หอพิมานเพชรมเหศวร์ ตั้งอยู่บนยอดเขาเล็ก ๆ หน้าพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นหอขนาดเล็ก ๓ หอ หอกลางมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ หอด้านขวาเป็นศาลเทพารักษ์ หรือที่เรียกกันว่าศาลพระภูมิเจ้าที่ หอด้านซ้ายใช้เป็นที่ประโคมสังคีต
    หอพิมานฯ นี้เคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีโสกันต์ ที่หอกลางใหญ่ได้กั้นผนังไว้สำหรับใช้เป็นห้องบรรทมของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในวันที่พระองค์ทรงถืออุโบสถศีล ขณะที่ประทับอยู่ที่พระราชวังแห่งนี้ เช่นเดียวกับหอเสถียรธรรมปริต ในพระบรมมหาราชวัง
    ตำหนักสันถาคารสถาน เป็นหมู่ตำหนักขนาดใหญ่ อยู่ทางขวามือของทางขึ้น ก่อนถึงพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ ใช้สำหรับแขกเมืองที่มาพักแรม ณ พระราชวังแห่งนี้
    อาคารประกอบอื่น ๆ
     
    ศาลาเย็นใจ อยู่ทางซ้ายมือของทางขึ้น ใช้เป็นที่พักผ่อน
     
     
    ศาลาลูกขุน อยู่ทางขวามือของทางขึ้น ใช้เป็นที่ประชุมลูกขุนที่ตามเสด็จ
     
     
    โรงรถ อยู่ทางซ้ายมือของทางขึ้นเขา รถในที่นี้คือรถม้า
     
     
    โรงม้า อยู่ทางขวามือทางขึ้น เหนือวัดมหาสมณาราม
     
     
    ราชวัลลภาคาร เป็นที่พักมหาดเล็ก และข้าราชบริพาร
     
     
    โรงมหรสพ อยู่ด้านพระตำหนักสันถาคารสถาน 

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch