หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

       
    อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

    อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

    เมืองสิงห์เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย ตำบลเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเมืองปากทางบนเส้นทางที่ไปยังดินแดนตอนใต้ของพม่า
    ตัวเมืองสิงห์และบรรดาศาสนสถานภายในเมืองเป็นศิลปสมัยเดียวกัน มีอายุอยู่ประมาณพุทธศวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ ตัวเมืองมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมอยู่หลายชั้น ตัวปราสาทเมืองสิงห์เป็นศาสนสถานตั้งอยู่กลางเมือง ภายในเมืองยังมีซากศาสนสถานอีกสามแห่ง สร้างขึ้นตามแบบขอม และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ ไร่
     
     
    ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเป็นลักษณะของการวางทิศตัวอาคารในศิลปขอม สร้างด้วยศิลาแลงบนฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๔๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร มีปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลาง มีระเบียงคดก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบมีประตูซุ้ม ยอดเป็นปรางค์ทั้งสี่ด้าน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธานมีบรรณศาลาตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ตัวปราสาทมีกำแพงแก้วสร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบ นอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีซากโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง ภายในกำแพงเมืองมีร่องรอยของ สระน้ำอยู่ ๖ แห่ง
     
    จากการสันนิษฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ พอเชื่อได้ว่า ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ เป็นห้วงระยะเวลาที่อาณาจักรทวาราวดีเสื่อมอำนาจลง อิทธิพลของศิลปขอมได้แพร่ขยายเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ปัจจุบันค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากสร้างขึ้นในบริเวณนี้ในห้วงเวลาดังกล่าว
       
    ณ ที่ตั้งปราสาทเมืองสิงห์ ได้พบประะติมากรรมอันเนื่องจากพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก คือ รูปพระอวโลกิเตศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา และชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ประะติมากรรมดังกล่าวมีอายุอยู่ในห้วงศิลปขอม แบบบายน จึงอนุมานว่าปราสาทเมืองสิงห์น่าจะสร้างขึ้นเป็นศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๗๕๐
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมี พระราชนิพนธ์เกี่ยวกับปราสาทเมืองสิงห์ ไว้ตอนหนึ่งว่า " ถึงปราสาททิศ 4 ด้าน ทางที่ไปนั้นเป็นต้นไผ่ครึ้ม ไม่สู้รกนัก พอเดินไปได้ แต่รอบนอกปราสาทนั้น ไม้ขึ้นรกชิดเดินไม่ได้ เราเข้าช่องปรางค์ด้านปีนขึ้นไป ตามก้อยแลงที่หักพังลงมา ถึงยอดกลางที่ทลาย เป็นกองอยู่แล้วเลียบลงไปข้างมุมทิศที่ปราสาทนี้ ให้พระพลลองวัดดูยาวด้านทิศตะวันตกไปตะวันออก 20 วา เหนือไปใต้ 18 วา มีปรางค์อยู่กลางยอด 1 แต่ทลายเสียแล้ว ไม่เห็นว่าเป็นอย่างไร ปรางค์ทิศ 4 ทิศ
    รูปร่างเห็นจะเหมือนกับปรางค์ใหญ่ชักกำแพงแก้วติดกัน ข้างด้านหน้าสามด้าน ด้านหลังทิศต่อปรางค์ทิศกลางทั้งสองข้างนั้น มีหลังคายาวเป็นที่เรือนจันทน์ ในร่วมกลางสัก 4 ศอก ที่ปรางค์ และกำแพงแก้วเรือนจันทน์ทั้งปวงก่อด้วยแลงแผ่นใหญ่"
    ตัวเมืองสิงห์ มีคันดินเตี้ย ๆ อยู่รอบเมือง ทั้งสองด้านอยู่ประมาณ 7 แนว ส่วนด้านทิศใต้ ติดกับแม่น้ำแควน้อยไม่มีคันดิน ภายในตัวเมือง มีคันดินจากกำแพงเมืองด้านทิศใต้ผ่านหน้า ด้านทิศตะวันออกของปราสาทวกไปทางทิศใต้ ขนานกับตัวโบราณสถาน ทางด้านเหนือไปสุดที่ กำแพงเมืองด้านตะวันตก
    ภายในกำแพงเมืองมีสิ่งก่อสร้างโบราณอันเนื่องในทางศาสนาอยู่ 4 พื้นที่ ด้วยกันคือ
    โบราณสถานแห่งที่หนึ่ง
     
    คือตัวปราสาท มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง ประดับลวดลายปูนปั้น หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตรงกลางเป็นปรางค์องค์ใหญ่ ที่เป็นปรางค์ประธาน ฐานย่อมุม ส่วนยอดพังทลายหมด ล้อมรอบด้วยโคปุระสี่ทิศ ยังเหลืออยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือและทิศใต้ ส่วนบนพังหมด เหลือเพียงเรือนธาตุ
    มุมแต่ละมุมสร้างเป็นซุ้มทิศสี่ซุ้ม ระหว่างซุ้มทิศแต่ละซุ้มกับโคปุระ มีแนวระเบียง ทางเดินที่มีผนังสองด้าน และมีหลังคาเชื่อมต่อ มีบราลีประทับบนสันหลังคา 
    ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ปประธาน มีบรรณาลัยขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูเข้าทางด้านทิศตะวันตก อยู่หนึ่งหลัง
    หน้าปรางค์ประธานเป็นระเบียงเครื่องไม้รูปกากบาท ยื่นไปถึงมุขด้านในของโคปุระ ถัดจากทางขึ้นด้านหน้าของโคปุระเป็นลาน ปูด้วยแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดประมาณด้านละ 30 เมตร ที่มุมลานทั้งสี่มุมทำเป็นแอ่งตื้น ๆ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
    มีกำแพงแก้วรอบตัวปราสาท รวมไปถึงลานด้านหน้าของโคปุระด้านตะวันออก กำแพงแก้วนี้เป็นกำแพงแลง ถัดจากโคปุระเป็นทางเดินรูปกากบาท ยาวยื่นไปทางทิศตะวันออก ที่จะตรงกับประตูเมืองด้านนั้น
    โบราณสถานแห่งที่สอง สร้างด้วยแลง ประดับลายปูนปั้น ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซ้อนกันสองชั้น กว้างประมาณ 34 เมตร ยาวประมาณ 54 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ตรงกลางเป็นดินลูกรังหรือแลงเม็ดเล็กอัดแน่น
    สิ่งก่อสร้างบนฐานนี้ เป็นปรางค์หนึ่งองค์ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านตะวันออก อยู่ห่างจากองค์ปรางค์มากกว่าโคปุระอื่นซึ่งอยู่ติดกับองค์ประธาน มีระเบียงเชื่อมระหว่างโคปุระด้านทิศเหนือกับโคปุระด้านทิศตะวันตก และต่อไปยังโคปุระด้านทิศใต้ ระเบียงคดจากโคปุระด้านทิศเหนือและทิศใต้ มาทางทิศตะวันออกมีเพียงพื้น ไม่มีผนังและหลังคาคลุมอย่างที่ควรจะเป็น
    บริเวณโบราณสถานแห่งนี้ มีแท่นฐานประติมากรรมหินทรายจำนวนมาก
     
    โบราณสถานแห่งที่สาม อยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานแห่งที่หนึ่ง เป็นแนวโบราณสถานขนาดเล็ก ภายในกลวงก่อด้วยแลงและอิฐ ฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยแลง ถัดขึ้นมาเป็นฐานปัทม์ก่อด้วยอิฐ ส่วนชั้นบนสุดก่อด้วยแลง
     
    โบราณสถานแห่งที่สี่ อยู่ห่างจากกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกของโบราณสถานแห่งที่หนึ่ง ประมาณ 240 เมตร ก่อด้วยแลงเป็นพื้นชั้นเดียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียงเป็นระยะสี่ส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละส่วนกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 7 เมตร อยู่ห่างกันประมาณครึ่งเมตร พื้นบางส่วนปูด้วยศิลาแลง มีกรวดและทรายอัดแน่น

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch