หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
     
      ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ตำบลตาแป๊ด อำเภอนางรอง ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีขนาดรูปแบบและที่ตั้งซึ่งอยู่ในบริเวณและสิ่งแวดล้อมพอเหมาะ ยากที่จะหาที่ใดเทียมได้ นับเป็นโบราณสถานที่สำคัญและสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
     
     
      สิ่งก่อสร้างประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมที่สร้างเสริมกันมาหลายศตวรรษ   เริ่มตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๕,๑๗ และ ๑๘ เรียงรายจากลาดเชิงเขาไปจนถึงยอดเขา มีแบบแผนการก่อสร้างที่เป็นระเบียบได้สัดส่วนและลงตัวอย่างยอดเยี่ยม นับตั้งแต่บันไดทางขึ้นไปจนถึงปราสาทหลัก
     
     
      ปราสาทหินเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นตามนัยของศาสนสถาน เป็นตัวอย่างสุดท้ายของศาสนสถานเขมร บนยอดเขา เหนือดินแดนเขมรสูง ในพื้นที่ของไทย ลักษณะศิลปะสถาบัตยกรรมของศาสนสถานแห่งนี้ แสดงให้เห็นว่า ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยของพระศิวะ สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างหลวง มีความสวยงามทัดเทียบกับบรรดาปราสาทที่พบในเมืองนครวัด ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตามคติทางศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ ถนนปูลาดด้วยแผ่นศิลาลงจากประสาท ผ่าน สถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมที่เรียกว่า โรงช้างเผือก ลงไปสู่ที่ราบลุ่มเชิงเขา มีสระบาราย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เก็บน้ำจากลำธารที่ไหลลงจากเขา มีประสาทขนาดเล็กอยู่ใกล้ ๆ และมีคันดินที่เป็นทั้งถนนและคันชักน้ำ ขนาบไปกับลำธารที่มาจากยอดเขาพนมรุ้งไปยังชุมชนเมืองต่ำ
     
     
      ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมหินทรายและศิลาแลง ห้าหลัง สี่ชาลา หนึ่งทางเดิน ระเบียงคด และกำแพงล้อมรอบ รวมทั้งซากของฐานอาคารที่ก่อด้วยอิฐอีกสองหลัง
     
     
      กลุ่มของอาคารหลักที่ตั้งอยู่บนยอดเขาประกอบด้วย ปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยระเบียงคด ซึ่งมี โคปุระ หรือพลับพลาทางเข้าประกอบทั้งสี่ด้าน ภายในระเบียงคด มีอาคารขนาดเล็กหลายขนาด ประกอบด้วย ปรางค์น้อย บริเวณมุมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีบรรณาลัยอยู่สองหลัง มีซากอาคารอีกสองหลัง อยู่ทางทิศเหนือของปราสาทประธาน
      ระเบียงคดที่ล้อมรอบอาคารเหล่านี้ ยังมีกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันคงเหลือแต่เพียง ฐานของกำแพงเท่านั้น
      ปราสาทประธาน
      มีทางเข้าสี่ทิศคือ ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าสำคัญ มีมุขกระสันเชื่อมต่อกับมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า ส่วนที่เหลืออีกสามทิศคือ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ มีลักษณะเหมือนกันคือ ทำเป็นทางเข้าโดยตรง
      ส่วนประกอบที่สำคัญของปราสาทนี้ได้แก่ ฐาน เรือนธาตุ เครื่องบน และเครื่องประดับ
      ฐาน
       
      ประกอบด้วยฐานบัวและฐานเขียง ฐานนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นเครื่องแสดงถึงชั้นของลวดบัว และชั้นของลูกแก้วโดยรอบ
      ฐานของมุขปราสาทและฐานของตัวปราสาท ประกอบด้วยชั้นสองชั้น มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีชั้นประดับลวดลายตกแต่งโดยตลอด ทำเป็นลายนูนเช่น ลายลูกแก้ว ลายลวดบัว ลายบัวหงาย ลายใบไม้สลัก ลายหน้ากระดาน ลายประจำยาม ชั้นบัวคว่ำ สลักเป็นลายใบไม้ม้วนแนวกลับบัว ท้องไม้ ลายใบไม้ม้วน ลายลวดบัวกุมุท ลายกรวยเชิงรูปใบไม้ ตกแต่งด้วยลายรูปหงส์ เหนือลายใบไม้มีแนวลายลูกประคำ
      เรือนธาตุ
       
      ปราสาทประธาน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกมุม มีมุขปราสาททั้งสี่ด้าน ทำให้แผนผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท มุมใหญ่ทั้งสี่ของเรือนธาตุแสดงถึง รูปทรงสี่เหลี่ยมหลัก อันเป็นของดั่งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร ต่อมาได้มีการออกมุมเพิ่มในแต่ละด้าน มุมใหญ่อันเป็นมุมหลักของเรือนธาตุ ตั้งอยู่บนชั้นที่สองของฐานของตัวปราสาท ส่วนมุมย่อยตั้งอยู่บนฐานชั้นแรกของมุขปราสาท
      แผนผังด้านในของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่นเดียวกับ ด้านนอก 
      ภายในปราสาทมีผนังก่อด้วยหินทราย ตั้งตรงในแนวดิ่ง จนถึงชั้นเชิงบาตร จึงเริ่มก่อเป็นหลังคาโค้ง แบบสันเหลื่อมเข้ามาบรรจบกัน 
      มุขปราสาทด้านทิศตะวันออกที่เรียกว่ามณฑป สร้างแยกออกจากตัวปราสาท ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่จะต่อเชื่อมกับปราสาท โดยมีมุขกระสันเป็นตัวเชื่อม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของปราสาทเขมร
      สำหรับมุขปราสาทด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก คงมีลักษณะเช่นเดียวกับด้านตะวันออก แต่สร้างติดกับตัวปราสาท
      เครื่องบน
       
      ประกอบด้วยชั้นเชิงบาตรห้าชั้น ประดับด้วยกลีบขนุนปราสาท รูปสามเหลี่ยมแทนการประดับด้วยรูปจำลองปราสาทที่มุมบน ชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้น ทำให้รูปทรงของเครื่องบนลอยเข้าคล้ายรูปพุ่ม ยอดบนสุดของเครื่องบนมี กลศ ปักด้วย ตรีศูล หรือปัญจศูลโลหะ
      ชั้นเชิงบาตรชั้นแรก เรียกว่าชั้นครุฑ รองรับกลีบขนุนปราสาท แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกประดับด้วยลายหน้ากระดาน สลักลายพรรณพฤกษา ขนาบด้วยลายลูกประคำทั้งด้านบนและด้านล่าง 
      มีรูปครุฑขนาดเล็กประคองอัญชลีที่แต่ละมุม   ส่วนที่สองสลักเป็นแนวกลีบบัวด้านล่าง ประดับครุฑคล้ายส่วนแรก
       
      เหนือชั้นครุฑและชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้น ประดับด้วยซุ้มบัญชร ตกแต่งด้วยภาพสลักรูปบุคคลและลายพรรณพฤกษา ด้านหน้าของซุ้มบัญชรมีกลีบขนุน  ปราสาทจำหลักรูปปาทิก ปาลก ที่กึ่งกลางของแต่ละด้าน โดยกลีบขนุนที่มุมเรียงจากถึงกลางสลักเป็นรูปเทพธิดา ฤษี และนาคห้าเศียร ประดับเรียงรายบนชั้นเชิงบาตรทั้งห้าชั้น
      ซุ้มบัญชรเหนือชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้นมีรูปทรงปีกกา ปลายกรอบของซุ้มสลักเป็นรูปนาคห้าเศียรคาบพวงอุบะ
      ปรางค์น้อย
       
      อยู่ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ภายในระเบียงคด มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส สร้างด้วยหินทราย ภายในกรุด้วยศิลาแลง ลวดลายบัวเชิงประกอบด้วยลายบัวคว่ำ ลูกแก้วอกไก่ซ้อนกันสามชั้น ชั้นล่างเป็นแนวกลีบบัว ชั้นกลางเป็นบัวกุมุท ชั้นบนไม่มีลวดลาย
      เรือนธาตุมีบัวรัดเกล้าเช่นเดียวกับบัวเชิงที่ฐาน แต่ละด้านมีเครื่องประดับที่สำคัญได้แก่ เสาติดกับผนัง เสาประดับกรอบประตู ทับหลังหน้าบัน และประตูหลอก ซึ่งส่วนใหญ่ยังสลักลวดลายไม่เสร็จ

      ปราสาทอิฐ
       
      มีอยู่สองหลัง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ปราสาทประธาน ภายในระเบียงคด มีผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ปราสาทดังกล่าวคงเหลือเฉพาะฐาน
      บรรณาลัย
       
      มีอยู่สองหลัง อยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ภายในระเบียงคด มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง ส่วนกรอบหน้าต่างใช้หินทราย ไม่ปรากฏร่องรอย เครื่องประดับตกแต่งมากนัก และอยู่ในสภาพทรุดโทรม
      ชาลารูปกากบาท

      เป็นตัวเชื่อมโคปุระกับมณฑปของปราสาทประธาน ประกอบด้วยรูปนาคเป็นขอบโดยรอบตั้งอยู่บนฐานโปร่ง โดยมีเสาขนาดสั้นรองรับเป็นช่วง ๆ

      โคปุระและระเบียงคด
       
      สิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในระเบียงคดคือ ปราสาทประธาน ปรางค์น้อย ปราสาทอิฐ และบรรณาลัย ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมเขมร
      บริเวณกึ่งกลางของระเบียงคดแต่ละด้าน จะมีโคปุระ หรือประตูทางเข้า ซึ่งส่วนใหญ่ยังสร้างไม่เสร็จ ยกเว้นด้านทิศตะวันออก
      ตัวโคปุระกระหนาบด้วยห้องสองห้อง และมีโคปุระ รองถัดจากห้องดังกล่าวประกอบอยู่ทั้งสองข้าง โคปุระดังกล่าวประดับด้วยหน้าบันจำหลักภาพเล่าเรื่อง มีทับหลัง เสาติดผนัง และเสาประดับกรอบประตูเป็นองค์ประกอบ

      ผนังระเบียงมีช่องหน้าต่าง กรอบหน้าต่างทำด้วยหินทราย เสาลูกกรงของหน้าต่างกลึงจากหินทราย มุมทั้งสองข้างปลายสุดของระเบียงคดตกแต่งด้วยซุ้มประตู้ ซึ่งส่วนใหญ่ยังสร้างไม่เสร็จ

      ชาลาบันใดทางขึ้นและทางเดิน

       
      จากยอดเนินเขามาสู่ทางเดินเบื้องล่าง มีบันใดทางขึ้นทำด้วยหินทราย มีชานพักห้าแห่งเรียกว่า กระฟัก ซึ่งตกแต่งด้วย ชั้นลวดบัว บริเวณเชิงบันใดทางขึ้นมีชาลารูปกากบาท เรียกว่า สะพานนาค คล้ายกับชาลาหน้าโคปุระแต่มีขนาดใหญ่กว่า ชาลาดังกล่าวนี้สร้างด้วยหินทราย
      ชาลาเหล่านี้ล้อมรอบด้วยนาคราวลูกกรง เป็นนาคห้าเศียร พื้นชาลาสลักรูปดอกบัวขนาดใหญ่ บริเวณขั้นบันใดทางขึ้นชาลา มีอัฒจันทร์รูปปีกกาแต่ยังสร้างไม่เสร็จ ทางเดินเชื่อมระหว่างชวาลาปูด้วยแผ่นหินทราย สองข้างมีเสานางเรียง หรือนางจรัล หรือเสาเทียนตั้งเป็นระยะ
      พลับพลา (โรงช้างเผือก)
      เป็นอาคารสร้างด้วยหินทรายปนศิลาแลง มีระเบียงคดล้อมยกเว้นทิศใต้ ซึ่งเป็นด้านหน้าของพลับพลา มีขั้นบันใดสองข้างที่ปลายระเบียงคด และมีกำแพงศิลาแลงล้อมระเบียงคดอยู่สามด้าน

      ประติมากรรม

       
       
      มีอยู่สองประเภทคือ ประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมนูนต่ำ
      ประติมากรรมลอบตัว มีพวกเทพเจ้า อันได้แก่ พระพรหม พระคเณศ พระวิษณุ พรหมณี เทวนารี รูปอื่น ๆ ได้แก่ ศิวลึงค์ และทวารบาล พวกรูปสัตว์ มีโคนนทิ ช้าง ระมาด กระบือ หงส์ ม้า คชสีห์ สิงห์ และนาค
      ประติมากรรมนูนต่ำ มีพวกเทพเจ้าและฤษี และรูปสัตว์ มี หงส์ ครุฑ สิงห์ วานร และนกแก้ว

      ภาพเล่าเรื่อง

      จะมีปรากฏอยู่ที่หน้าบัน หน้าบันชั้นลด ทับหลัง ซุ้มบัญชร และฐานเสาติดผนัง มีภาพพระศิวะในอิริยาบทต่าง ๆ พระอุมา ครุฑ พระวิษณุ ซึ่งรวมถึงบางปางที่อวตาร ได้แก่ วามนาวตาร สำหรับ รามาวตาร หรือ พระรามที่เป็นตัวเอกเรื่องรามเกียรติ์นั้น จะมีเรื่องราว ตั้งแต่พระรามเดินดง จนถึงเสร็จกลับเมืองอโยธยา ส่วนกฤษณาวตาร ก็มีเรื่องตั้งแต่พระกฤษณะต่อสู้กับนาคกาลิยะ ไปจนถึงสงครามระหว่างกษัตริย์เการพ กับกษัตริย์ปาณฑพ
      นอกจากนั้นก็มีเรื่องราวของพระอินทรและเทพประจำทิศทั้งสี่ คือ พระอินทร์ พระยม พระวรุณ และท้าวกุเวร ส่วนเทพอื่น ๆ อันได้แก่ พระอัคคี พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราหู พระเกตุ พระยม เป็นต้น
      สำหรับภาพแสดงเรื่องราวอื่น ๆ ยังมีอีกมากที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิต

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch