หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
    อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
     
    ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในเขตอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นประสาทขอมที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างไปจากประสาทขอมอื่น ๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
     
    ปราสาทนี้สร้างขึ้นเป็นพุทธสถานฝ่ายมหายานและศาสนาพราหมณ์ ดังจะเห็นได้จากภาพศิลาจำหลักภายใน และภาพนอกปรางค์ประธาน จะมีภาพพุทธประวัติอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อศึกษาจากลวดลายของปรางค์ประธานสันนิษฐานได้ว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ได้สร้างปราสาทนี้ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก่อนที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ จะสร้างปราสาทนครวัดในกัมพูชา รูปแบบทางศิลปกรรมส่วนใหญ่เป็นศิลปเขมรแบบบาปวน ซึ่งมีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘
     
    แผนผังของปราสาทหินพิมายทั้งหมด เป็นการจำลองจักรวาลของความเชื่อโบราณขึ้นในโลก จะเห็นว่าตั้งแต่สะพานนาคราชที่ทอดจากพื้นดินไปสู่ตัวปราสาท ซึ่งเปรียบเหมือนยอดเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บรรดาลวดลายที่จำหลักอยู่บนหน้าบันและทับหลัง แสดงถึงเรื่องเทพปกรนับที่สำคัญ ส่วนลวดลายประดับอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ที่โครงสร้างของอาคาร ทั้งหมดก็ทำได้งดงาม และน่ายำเกรงไปพร้อม ๆ กันราวกับอยู่ในสรวงสวรรค์
    ประสาทหินพิมาย ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและบรรดาอาคารต่าง ๆ รวมทั้งกำแพงสองชั้น คือ กำแพงชั้นนอกและชั้นใน ปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางเป็นปรางค์ประธาน ประตูเข้าจากองค์ปรางค์มีทั้งสี่ทิศ ถัดออกไปเป็นระเบียงคด และกำแพงล้อมอยู่สองชั้นดังกล่าวแล้ว สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีสระน้ำอยู่สี่มุม หอไตร (บรรณาลัย) และหอพราหมณ์   นอกกำแพงทางประตูซุ้มด้านใต้มีคลังเงินและธรรมศาลา
     

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch