หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
    เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่อีกเมืองหนึ่ง มีอายุไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ ปีมาแล้ว มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงและเมืองพญามหานคร ของอาณาจักรสุโขทัยมาตามลำดับ
    ก่อนที่จะมีชื่อว่ากำแพงเพชร เมืองนี้มีชื่อเดิมอยู่ ๒ ชื่อ คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม ทั้งสองชื่อนี้มีปรากฏอยู่ใน ศิลาจารึกหลักที่ ๒ และศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ เมืองทั้งสองนี้ตั้งอยู่ใกล้กัน คืออยู่ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำปิง คนละฝั่งกับเมืองปัจจุบัน ในสมัยพญาเลอไทยแห่งกรุงสุโขทัยได้มาบูรณะเมืองชากังราว เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง เช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัยและได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมืองนี้ ต่อมาแม่น้ำปิงได้เปลี่ยนทางเดิน เป็นผลให้ซากเมืองเก่าพังทะลายหมดไปจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ
    เมื่อพระเจ้าอู่ทองได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ล่วงมาถึงรัชสมัยของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) รัชกาลที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัยได้  ผลจากสงครามเขตการปกครองของกรุงสุโขทัยได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง  ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราวและเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเมืองกำแพงเพชร ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้  ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี และโปรดเกล้า ฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๒ เป็นเจ้าเมือง
    ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงพิจารณาเห็นว่าการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วน และต่างไม่ขึ้นแก่กันดังกล่าวเกิดผลเสีย มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงได้รวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๘๑ โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว
    วัดมหาธาตุนครชุม
     
    วัดนี้พญาเลอไท สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๕๘ ได้มีการบูรณะกันหลายครั้ง จนเกือบไม่เหลือร่องรอยของ ศิลปสุโขทัยที่สร้างไว้แต่เดิม องค์พระมหาธาตุสันนิษฐานว่า เดิมน่าจะเป็นพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญ
    วัดพระแก้ว
     
    วัดนี้เป็นวัดใหญ่และสำคัญมากในอดีต แต่ปัจจุบันเป็นวัดร้างจากหลักฐานพบว่า เมื่อพระยายุธิษฐิระ ราชบุตรบุญธรรมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว) ได้ครองเมืองกำแพงเพชร สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ได้พระราชทานพระแก้วมรกต ให้มาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร จึงได้บูรณวัดนี้จากวัดเดิมให้ใหญ่โตสวยงาม
    วัดช้างรอบ
     
    เป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีพระเจดีย์ใหญ่อยู่กลางลานวัด ที่ฐานทักษิณซึ่งมีรูปช้างครึ่งตัว ยืนอยู่โดยรอบองค์พระเจดีย์ มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงล้อมอยู่โดยรอบ สูงประมาณเมตรครึ่ง
    ป้อมและประตูเมืองกำแพงเพชร
     
    สร้างด้วยศิลาแลง นอกกำแพงมีคูกว้างและลึก มีอยู่ ๘ ห้อมด้วยกัน สร้างติดกับกำแพงเมือง ๗ ป้อม อีกป้อมหนึ่งอยู่ใกล้สะพานกำแพงเมือง บนสันกำแพงมีทางเดินกว้างพอให้ทหารเดินสวนกันได้ ใต้ใบเสมาของกำแพงมีช่องรูปสี่เหลี่ยมสำหรับใช้ยิงปืนออกมา ประตูเมืองมีอยู่ ๘ ประตู
    วัดเก่ายุคสุโขทัยอื่น ๆ  ได้แก่วัดธาวาสใหญ่ วัดตึกพระพมณ์ วัดสี่อริยาบท หรือวัดมณฑปสี่หน้า
    เมืองไตรตรึงส์    ตั้งอยู่ห่างจากตรีเมืองกำแพงเพชรไปทางใต้ประมาณ ๑๒ กม. อยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ตามตำนานสิงหนวัติกุมารมีว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๑๕๔๗ พระเจ้าไชยศิริ กษัตริยเมืองเชียงรายได้อพยพผู้คนหนีภัยสงคราม มาสร้างเมืองไตรตรึงส์ ใช้เป็นเมืองชั่วคราว ต่อมาภายหลังเมื่อมีผู้อพยพลงมามากขึ้นเห็นว่าทำเลดีจึงได้สร้างเป็นเมืองใหญ่ ปัจจุบันยังพบซากกำแพงเมืองคูเมืองและพระเจดีย์เก่า ๆ อยู่มากเมืองเทพนคร    ตามตำนานกล่าวว่า ท้าวแสนปมได้สร้างเมืองนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๖๒ ปัจจุบันยังค้นไม่พบซากเมืองเก่า แต่มีหมู่บ้านชื่อบ้านเทพนคร อยู่ห่างตัวเมืองประมาณ ๙ กม.ทุ่งเศรษฐี    อยู่ใกล้ตัวเมืองกำแพงเพชรปัจจุบันติดกับถนนพหลโยธิน บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของบรรดาวัดวาอารามเก่าแก่หลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดพิกุล วัดหม่องกาเล วัดฤาษี เป็นต้น เป็นบริเวณที่พบพระเครื่องที่มีชื่อของเมืองกำแพงเพชร คือพระซุ้มกอและพระปางลีลาเม็ดขนุน ชื่ออื่นของพระเครื่องดังกล่าวคือพระทุ่งเศรษฐี ซึ่งคงจะมีที่มาจากที่ได้มาจากทุ่งเศรษฐี และพระกำแพงเขย่งซึ่งน่าจะมีที่มาจากเป็นพระเครื่องที่พบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นปางลีลา ซึ่งมีอากับกิริยาคล้ายกำลังเขย่งพระบาท

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch