หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ 6
    ผ้าทอ
    ในล้านนาและเชียงใหม่ แม้จะทอผ้ากันได้เกือบทุกครัวเรือน แต่ทุกท้องที่ก็ไม่สามารถปลูกฝ้ายได้ จะปลูกกันเฉพาะที่ราบค่อนข้างแห้งแล้งเท่านั้น เพื่อนำไปแลกสินค้าหรือข้าว รวมทั้งนำมาทอเป็นผ้าใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าปูที่นอน ผ้าขาวม้า ย่าม หรือผ้าทอที่ใช้ทำบุญ เช่น ทอและย้อมผ้าสบง จีวร ตุง ผ้าห่อคัมภีร์
    ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าพื้น ไม่มีลวดลาย หรืออาจเป็นลายง่าย ๆ เช่น ลายตาราง ส่วนการทอผ้าที่มีลวดลายสวยงาม ส่วนใหญ่เป็นลายเฉพาะของกลุ่มคน เช่น ลายน้ำไหล ของไทลื้อ ซิ่นลัวะ ซิ่นยาง เป็นต้น ทำให้ผ้าทอของเชียงใหม่มีหลากหลาย จนยากที่จะกำหนดว่าผ้าแบบใด ลายอย่างไรเป็นเอกลักษณ์ที่แท้จริงของเชียงใหม่ ปัจจุบันผ้าทอของเชียงใหม่ที่เป็นที่นิยมมีอยู่หลายแห่ง คือ ตีนจกแม่แจ่ม ผ้าทอบ้านไร่ไผ่งาม และผ้าไหมสันกำแพง เป็นต้น
    ผ้าทอตีนจกแม่แจ่ม
    ผ้าทอตีนจกแม่แจ่มมีอายุกว่า 200 ปีมาแล้ว เป็นผ้าซิ่นตีนจกทอแทรกด้วยไหมเงินไหมทอง
    ผ้าทอบ้านไร่ไผ่งาม
    ผ้าทอของบ้านไร่ไผ่งาม ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง เป็นผ้าทอด้วยมือจากฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง แล้วย้อมด้วยสีธรรมชาติของพืชพรรณต่าง ๆ ตามธรรมชาติ เช่น มะเกลือ คราม ดอกไม้ และใบไม้
    ผ้าไหมสันกำแพง
    เป็นงานหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของเชียงใหม่ เกือบศตวรรษมาแล้ว ซึ่งเดิมนั้นเป็นงานฝีมืชั้นสูงที่ทำกันในหมู่เจ้านายผู้หญิง ด้วยเจ้าหลวงเป็นผู้ผูกขาดการค้าผ้าไหหม และสามัญชนยังถือจารีตประเพณีไม่ใช้ผ้าไหมเช่นเดียวกับเจ้านาย จนกระทั่งปี 2453 จึงได้มีพ่อค้าเริ่มทอผ้าไหมขายแก่คนทั่วไป

    เครื่องปั้นดินเผา
    การผลิตเครื่องปั้นดินเผาของล้านนาและเชียงใหม่ รุ่งเรืองมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 และผลิตโดยใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อน และใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น มีทั้งแบบไม่เคลือบและแบบเคลือบ สำหรับสินค้าเครื่องปั้นดินเผาที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในอดีต ได้แก่ เครื่องถ้วยจากเตาสันกำแพง ที่มีลายสัญลักษณ์ คือ "ปลาคู่" คล้ายกับเครื่องถ้วยสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ้วยจากเตา เวียงกาหลง และในสันป่าตองยังพบเศษเครื่องปั้นดินเผาแบบหริภุญไชย เป็นอันมาก
    หม้อดินเผาที่ใช้ในครัวเรือนของชาวเชียงใหม่ ปัจจุบันมีอยู่หลายชนิด เช่น หม้อนึ่ง หม้อแจ่ง (เป็นหม้อทรงสูงใช้ต้มน้ำ) หม้อต่อม (หม้อใบเล็กใช้ต้มหรือแกง) หม้อต้มยา หม้อข้าวพม่า น้ำต้น (คนโท) โดยมีแหล่งการผลิตอยู่หลายแห่ง เช่น บ้านกวน หารแก้ว บ้านเหมืองกุง และเครื่องถ้วยเตาขุนเส เป็นต้น

    ร่มบ่อสร้าง
    ร่มบ่อสร้าง ได้มีการเริ่มทำขึ้นเมื่อ 100 ปี มาแล้ว มีพระภิษณุจากสำนักวัดบ่อสร้าง ชื่อพระอินถา ได้เดินธุดงค์ไปถึงชายแดนพม่า ได้พบกลดลักษณะแปลกคล้ายร่ม จึงเดินทางไปศึกษาวิชาทำร่มที่พม่า แล้วกลับมาสอนวิชาที่บ้านบ่อสร้าง ซึ่งจะใช้ไม้บง (ไม้ไผ่) หัวและตุ้ม (จุกร่ม) ใช้ไม้สัมเห็ด คันร่มใช้ไม้รวก เมื่อประกอบเป็นร่มแล้ว จึงใช้ยางตะโกเป็นกาว แล้วใช้น้ำมันยางทาบนกระดาษสา กันแดด กันฝน
    ปัจจุบันได้ใช้กระดาษจีน มีลวดลายพิมพ์จากโรงงาน และราคาถูกกว่า แทนกระดาษสา คงใช้แต่กระดาษสารองชั้นแรกเท่านั้น

    กระดาษสา
    การทำกระดาษสาที่เชียงใหม่ ทำกันมากที่หมู่บ้านต้นเปา ซึ่งมีอายุการทำมาประมาณ 100 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่พระอินถา นำวิชาทำร่ม และมีการดาษสาเป็นส่วนสำคัญ จากพม่ามาสอนแก่ชาวบ่อสร้าง
    เดิมบ้านต้นเปา มีต้นปอสาในป่ามากมาย จึงทำให้ชาวบ้านต้นเปา ยึดอาชีพ ทำเยื่อกระดาษสาเป็นอาชีพรองจากการทำนา และการทำอาชีพนี้จะทำกันในฤดูแล้ง เมื่อว่างจากงานไร่นา

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch