หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 17
    ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕
                มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นทางหลวงพหลโยธิน เพื่อเป็นอนุสรณ์ของผู้ที่กล้าหาญของชาติ ที่ได้เสียชีวิตไปในการรบ เรียกร้องการปรับปรุงเส้นเขตแดนกับอินโดจีนฝรั่งเศส ชื่อของวีรชนไทยดังกล่าวจำนวน ๑๖๐ คน ได้จารึกไว้ ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้

    ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๕
                ยกฐานะเมืองปราณบุรีเป็น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระราชทานไว้

    ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๕
                ได้มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างผู้บัญชาการทหารเรือไทย กับทูตทหารเรือญี่ปุ่นประจำกรุงเทพ ฯ เกี่ยวกับการปฏิบัติการของกองทัพเรือไทย กับ จักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ในบริเวณอ่าวไทยและน่านน้ำภาคใต้ของอินโดจีนฝรั่งเศส สงครามมหาเอเชียบูรพา

    ๑๔ กันยายน ๒๔๘๕
                เป็นวันที่ทางราชการเริ่มกำหนดให้ข้าราชการหยุดยืนเคารพธงชาติ ในเวลา ๐๘.๐๐ น.

    ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๕
                ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มดำเนินกิจการ โดยมี ม.จ.วิวัฒนไชย ไชยยันต์ เป็นผู้ว่าการองค์แรก โดยมีทุนเริ่มแรก ๒๐ ล้านบาท จากรัฐบาล

    ๒๘ ธันวาคม ๒๔๘๕
                เปิดการศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารหญิง

    ๒๒ มกราคม ๒๔๘๖
                ประกาศให้ใช้คำว่า สวัสดี เมื่อแรกพบ

    ๙ เมษายน ๒๔๘๖
                ยกฐานะกรมทหารอากาศขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ขึ้นกับกระทรวงกลาโหม

    ๑๐ มิถุนายน ๒๔๘๖
                ตั้งมณฑลทหารเรือที่ ๒ ที่สัตหีบ แล้วยุบลงเหลือเป็นสถานีทหารเรือสัตหีบ เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๔

    ๔ กรกฎาคม ๒๔๘๖
                พลเอก โตโจ (ญี่ปุ่น) ได้มาพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่กรุงเทพ ฯ มอบดินแดนเดิมของไทยที่กองทหารญี่ปุ่นตีได้ ลงนามในสัญญา เมื่อ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๘๖ คือ รัฐเชียงตุง รัฐเมืองพาน และรัฐมาลัย (กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส) ดินแดนเหล่านี้ต้องคืนไปเมื่อสงครามสงบ เพราะไทยแพ้สงครามญี่ปุ่นไปด้วย

    ๙ กรกฎาคม ๒๔๘๖
                กระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งแบ่งเขตอำเภอในรัฐไทยใหญ่ (เชียงตุง) เป็น ๑๒ อำเภอ คือ อำเภอเชียงตุง เมืองเลน เมืองโก เมืองสาด เมืองพยาค เมืองยอง เมืองปิง เมืองมะ เมืองยาง เมืองหาง เมืองขาก เมืองยู้ เป็นดินแดนที่ได้จากการเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่น แต่แล้วก็ต้องคืนให้อังกฤษไป

    ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๖
                ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยอาณาเขตของประเทศไทยในรัฐมาลัยและภูมิภาคฉาน โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเป็นผู้ลงนามฝ่ายญี่ปุ่น มีสาระสำคัญคือ ญี่ปุ่นยอมรับการรวมรัฐกลันตัน ตรังกานู เคดาห์ (ไทรบุรี) ปะลิส และบรรดาเกาะที่ขึ้นแก่รัฐนั้น ๆ รัฐเชียงตุงและเมืองพาน ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคฉาน เข้าเป็นอาณาเขตของประเทศไทย

    ๒๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
                ไทยกับญี่ปุ่น ได้ลงนามในสนธิสัญญา มอบดินแดนของไทยที่ญี่ปุ่นตีได้ จากอังกฤษ คือ รัฐเชียงตุง รัฐเมืองพาน และรัฐมาลัย (กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปาลิส) ให้แก่ไทย ณ ทำเนียบสามัคคีชัย

    ๕ มิถุนายน ๒๔๘๗
                มีพระราชกำหนดสร้างพุทธบุรีมณฑล โดยใช้บริเวณพระพุทธบาทสระบุรี เป็นพุทธบุรีมณฑล

    ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๗
                จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากพระราชกำหนดจัดระเบียบราชการบริหาร นครบาลเพชรบูรณ์ และพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑลที่จังหวัดสระบุรี ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ต่อมารัฐบาลชุดใหม่โดยมี พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และแปรสภาพกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นกองทัพใหญ่

    ๕ สิงหาคม ๒๔๘๗
                ประกาศให้ประชาชนทำการปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรก

    ๑ ธันวาคม ๒๔๘๗
                ธนาคารกรุงเทพจำกัด เปิดดำเนินการครั้งแรกโดยมีเงินทุนจดทะเบียนสี่ล้านบาท แบ่งออกเป็นสี่หมื่นหุ้น โดยมีเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นประธานกรรมการ

    ๑ มกราคม ๒๔๘๘
                ไทยได้ยินยอมลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร และอินเดีย รวมทั้งบันทึกแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับ ออสเตรเลีย เพื่อเลิกสถานะสงคราม ความตกลงสมบูรณ์แบบมี ๒๔ข้อ เน้นเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากสหรัฐไทยเดิม และสี่รัฐมาลัย การคืนดินแดนให้อังกฤษ และไทยต้องส่งข้าวจำนวน ๑.๕ ล้านตันให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า

    ๑๖ มกราคม ๒๔๘๘
                รัฐบาลซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติครูขึ้นเป็นฉบับแรก ด้วยความมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ
                    ๑. เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณครูอาจารย์
                    ๒. เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู
                    ๓. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน ทางราชการได้กำหนดให้วันนี้เป็น วันครู ขึ้นเป็นครั้งแรก

    ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘
                ประกาศใช้เครื่องแบบทหารเรือฉบับแรก

    ๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘
                รถไฟสายท่าจีน - แม่กลอง หมดสัมปทาน โอนกิจการเป็นของการรถไฟ รถไฟสายท่าจีน - แม่กลอง เปิดเดิน เมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๔๘ ระยะทางเมื่อเปิดเดินครั้งแรก ๓๓ กิโลเมตร

    ๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘
                ญี่ปุ่นยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศไทยประกาศทันทีว่าไทยอยู่ในฐานะสันติภาพและให้ถือว่าคำประกาศสงครามต่อประเทศสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นโมฆะ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ต้องด้วยเจตนารมย์ของปวงชนชาวไทย

    ๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๘
                ญี่ปุ่นยอมประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไข

    ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘
                ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพไทยจะมีพันธมิตรทุกประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีใจความว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา และบริเตนใหญ่ของอังกฤษ เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นโมฆะ ไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย เนื่องจากการประกาศสงครามครั้งนั้นเป็นการกระทำอันผิด จากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประเทศไทยได้ตัดสินใจให้กลับคืนมา ซึ่งสัมพันธไมตรีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ เมื่อก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ บรรดาดินแดนซึ่งญี่ปุ่นได้มอบให้ไทยครอบครอง ประเทศไทยไม่ปรารถนาที่จะได้ดินแดนเหล่านั้น และพร้อมที่จะจัดการส่งมอบคืนให้ดังเดิม

    ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๘
                รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลอังกฤษประกาศรับรองการประกาศสันติภาพของไทย หลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง โดยการยอมจำนนของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘ และรัฐบาลไทยได้ประกาศ เมื่อ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘

    ๒๑ สิงหาคม ๒๔๘๘
                นายเจมส์ เบิร์นส์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐ ฯ ได้ประกาศรับทราบคำประกาศอิสระภาพของไทย

    ๒ กันยายน ๒๔๘๘
                ประธานาธิบดี ทรูแมน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกคำสั่งทั่วไปที่ ๑ กำหนดให้กองกำลังญี่ปุ่นตลอดทั่วประเทศไทย ให้ยอมจำนนต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด ฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ผู้เดียว

    ๓ กันยายน ๒๔๘๘
                อังกฤษส่งกองพลที่ ๗ (อินเดีย) เข้ามาปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย และพลเรือเอก ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน ได้ยื่นร่างข้อตกลงทางทหาร ( Preliminary Military Agrement ) รวม ๒๑ ข้อ ต่อคณะผู้แทนทางทหารของไทย ที่เดินทางไปทำความตกลงกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เมืองแคนดี ในเกาะลังกา ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขการยอมแพ้โดยรวม ยิ่งกว่าเรื่องการทหารโดยตรง

    ๗ กันยายน ๒๔๘๘
                ประกาศยกเลิกคำว่า "ประเทศไทย" (ไทยแลนด์) ให้ใช้คำว่า "สยาม" "ไทย" กับ "สยาม" ต่างกัน ไทยเป็นชื่อเชื้อชาติ คำว่า "สยาม" เป็นชื่อดินแดน

    ๘ กันยายน ๒๔๘๘
                ได้มีการลงนามในข้อตกลงทางทหารชั่วคราว ระหว่างแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และหัวหน้าคณะผู้แทนทางทหารของไทย ณ เมืองแคนดี เกาะลังกา มีสาระเกี่ยวกับ การปลดอาวุธกำลังทหารญี่ปุ่นในไทย การกักกันบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นและเยอรมันในไทยการช่วยเหลือเชลยศึก และผู้ถูกกักกัน

    ๑๔ กันยายน ๒๔๘๘
                รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกกติกาพันธไมตรีกับประเทศญี่ปุ่น และต่อมาได้ประกาศยับยั้งความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น

    ๒๒ กันยายน ๒๔๘๘
                ไทยได้ส่งมอบรัฐเชียงตุง และรัฐเมืองพาน ให้กับกองพลอินเดียที่ ๗

    ๒๓ กันยายน๒๔๘๘
                ข้าหลวงใหญ่ประจำสี่รัฐมาลัยของไทย ได้ทำพิธีมอบสี่รัฐมาลัยให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ

    ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘
                พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนคร หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระหว่างนั้นกองทัพพันธมิตรภายใต้การบังคับบัญชาของ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย

    ๑ มกราคม ๒๔๘๙
                ได้ตกลงทำสัญญาที่เรียกว่า ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร ประกอบด้วยสัญญา ๒๔ ข้อ

    ๓ เมษายน ๒๔๘๙
                คณะผู้แทนไทยได้ลงนามในความตกลงเลิกสถานะสงคราม กับ ผู้แทนออสเตรเลีย ที่สิงคโปร์ โดยอนุโลมตามความตกลงที่ไทยทำไว้กับอังกฤษ

    ๓ มิถุนายน ๒๔๘๙
                พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จประพาสอย่างเป็นทางการ เป็นการสมานรอยร้าวระหว่างชาวไทยกับชาวจีน ที่เกิดขึ้นตอนปลายสงครามมหาเอเชียบูรพา ให้กลับเป็นไปดังเดิม

    ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙
                พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ พระที่นั่งบรมพิมาน (ประสูติ ๒๐ กันยนยน ๒๔๖๙) พระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๒ ปี

    ๑๙ มกราคม ๒๔๘๙
                พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นประธานในการตรวจพลสวนสนามของกองทัพพันธมิตร พร้อมกับลอร์ด หลุยส์ เมาท์ แบดแทม
    ๒ มกราคม ๒๔๘๘
                สะพานพระรามหก ถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตร
    ๑๒ มกราคม ๒๔๘๗
                สถานีหัวลำโพงถูกโจมตีทางอากาศ ในห้วงสงครามมหาเอเซียบูรพา
    ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖
                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคชราและโรคพระหทัย ที่วังวรดิส กรุงเทพ ฯ พระชนมายุ ๘๒ พรรษา
    ๑๔ มกราคม ๒๔๘๖
                กองทัพพายัพ ได้เคลื่อนที่เข้าประชิดชายแดน พม่า – จีน ตั้งแต่เหนือสุดตามแนวทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองป๊อก เมืองแผน เมืองมะ เมืองลา เมืองปัน เมืองวะ เมืองยู้ เมืองหลอย เมืองแฮะ เมืองนัม เมืองฮุน และเมืองกันไว่ได้โดยตลอด
    ๑๖ กันยายน ๒๔๘๕
                ลงนามข้อตกลงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายพม่า (สายมรณะ) ญี่ปุ่นขอยืมเงินไทย ๔ ล้านบาท สร้างเสร็จเมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๘๖ และเปิดใช้เมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๘๖ เป็นระยะทางยาว ๓๐๒ ก.ม. มีสถานี ๓๗ สถานี ใช้แรงงานกรรมกรและเชลย ๖๐,๐๐๐ คน เชลยตาย ๘,๗๒๒ คนทางรถไฟสายนี้เมื่อเสร็จสงครามแล้วรัฐบาลไทยต้องจ่ายเงินให้กับอังกฤษเป็นเงิน ๕๐ ล้านบาท เพื่อซื้อมาเป็นของไทย เมื่อ มกราคม ๒๔๙๐

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch