หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 8

    ๑๐ มิถุนายน ๒๔๒๕
                บริษัท เดอลอง ของฝรั่งเศส ขอขุดคอคอดกระ แบบเดียวกับการขุคคลองสุเอช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบ่ายเบี่ยง เพราะต้องพิจารณาประโยชน์ของฝ่ายไทยก่อน เพราะถ้าผิดพลาดจะเสียความสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับอังกฤษ

    ๒๓ มกราคม ๒๔๒๕
                วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นทหารช่าง ทรงแต่งตำราวิชาการทหารช่างขึ้น อันเป็นรากฐานของทหารช่างมาถึงปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้ทรงตั้งตำแหน่ง จเรทหารช่าง และจเรทหารปืนใหญ่ เมื่อมีการจัดตั้งแผนกรถไฟและแผนกการบินทหารบกขึ้นในกองทัพบก ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สองหน่วยงานนี้อยู่ในบังคับบัญชาของพระองค์ ได้ทรงนำรถจักรดีเชลมาใช้เป็นประเทศแรกในเอเชีย ทรงริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกในไทย

    พ.ศ.๒๔๒๖
                สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ถึงแก่พิราลัย

    ๑๘ มิถุนายน ๒๔๒๖
                กงสุลฝรั่งเศส ทูลทาบทามสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เพื่อขอทหารไทย ๕๐๐ คน ไปช่วยฝรั่งเศสรบในตั๋งเกีย ซึ่งพระองค์ทรงบ่ายเบี่ยง

    ๒ กรกฎาคม ๒๔๒๖
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้น โดยรับช่วงการโทรเลขจากกรมกลาโหม

    ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๒๖
                อนุญาตให้ห้าง บี กริม แอนด์โก ปักเสาโทรศัพท์ในถนนเจริญกรุง เครื่องโทรศัพท์ได้นำเข้ามาในเมืองไทย ได้ถวายพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๔๒๐ ปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ มีสายโทรศัพท์ระหว่างกรุงเทพ ฯ กับบางปะอิน ส่วนกรุงโตเกียว เริ่มมีโทรศัพท์ใช้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ กรุงปักกิ่งมีโทรศัพท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓

    ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๒๖
                ไทยได้เปิดสายโทรเลขสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ เริ่มจากกรุงเทพ ฯ ผ่านปราจีนบุรี กบินทร์บุรี อรัญประเทศ จนถึงคลองกำปงปลัก ในพระตะบอง และติดต่อกับสายโทรเลขอินโดจีน เชื่อมโยงกับไซ่ง่อน

    ๔ สิงหาคม ๒๔๒๖
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขขึ้นเป็นครั้งแรก เปิดบริการในพระนครเป็นปฐม ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข เข้าด้วยกัน เป็นกรมไปรษณีโทรเลข ขึ้นกับกระทรวงโยธาธิการ

    พ.ศ.๒๔๒๗
                ราชทูตไทยคนแรก ที่ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาและยื่นพระราชสาส์นตราตั้งต่อประธานาธิบดี เชสเตอร์ อลัน อาเธอร์ ณ กรุงวอชิงตัน คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ (สมัยดำรงยศเป็น กรมหมื่น)

    ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗
                เปิดตึกอาคารกรมทหารหน้า คือที่ตั้งกระทรวงกลาโหมในขณะนี้ สร้างในเนื้อที่ ๑๗ ไร่ สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๗๐,๐๐๐ บาท

    ๒๐ กันยายน ๒๔๒๗
                เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นผู้ริเริ่มกิจการไฟฟ้า โดยสั่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาติดตั้ง และเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นทางการในวันนี้

    ๒ ตุลาคม ๒๔๒๗
                กำเนิดโรงเรียนหลวง สำหรับราษฎรแห่งแรก ที่วัดมหรรณพาราม ในสมัยรัชกาลที่ ๕

    ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๗
                วันจัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โดยมีบาทหลวง กลอมเบต์ ชาวฝรั่งเศส อธิการแห่งโบสถ์อัสสัมชัญ รับเฉพาะนักเรียนชายล้วน

    พ.ศ.๒๔๒๘
                ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของสหภาพไปรษณีย์

    ๑๙ มิถุนายน ๒๔๒๘
                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์ ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า ศาลาการต่างประเทศ นับเป็นกระทรวงแรกที่มีสำนักงานขึ้นต่างหากจากที่เคยใช้วังหรือบ้านเสนาบดีกระทรวงนั้น ๆ เป็นที่ทำการ

    ๓ กันยายน ๒๔๒๘
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง กรมแผนที่ขึ้น เดิมเป็นโรงเรียนแผนที่ ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ และเป็นหน่วยงานของทหารช่าง กองทหารมหาดเล็ก พระวิภาคภูวดล ชาวอังกฤษ เป็นเจ้ากรมแผนที่ทหารคนแรก กรมแผนที่ได้ย้ายไปขึ้นกับกระทรวงเกษตราธิการ แล้วกลับโอนมาสังกัด กระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ วันนี้ถือเป็นวันสถาปนา กรมแผนที่ทหาร

    ๔ กันยายน ๒๔๒๘
                ยุบกองทหารวังหน้า มารวมกับกองทหารวังหลัง บางส่วนจัดเป็นกองตระเวนทางน้ำ

    ๔ กันยายน ๒๔๒๘
                มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศยกเลิกตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทิวงคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘

    ๒๖ ตุลาคม ๒๔๒๘
                พันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ผู้บังคับการกรม ทหารรักษาพระราชวัง เป็นแม่ทัพ กองทัพฝ่ายใต้ ไปปราบพวกฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ โดยตั้งกองบัญชาการที่เมืองหนองคาย

    ๓๐ ตุลาคม ๒๔๒๘
                เป็นวันเกิดมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ต้นสกุลนี้ได้รับราชการตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง อธิบดีศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา องคมนตรี อุปนายกสภากาชาดไทย นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งของไทย

    ๓ พฤศจิกายน ๒๔๒๘
                นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารม้า เป็นแม่ทัพกองทัพฝ่ายเหนือ (ซึ่งต่อมาคือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ผู้บัญชาการทหารบกคนแรก) ไปปราบพวกฮ่อในแคว้นหัวพันห้าทั้งหก ได้ใช้เมืองซ่อนเป็นฐานปฏิบัติการ ซึ่งในการยกทัพไปครั้งนี้ พระวิภาคภูวดล (เจ้ากรมแผนที่คนแรก) ได้เขียนแผนที่แสดงพระราชอาณาเขตของไทย ทางภาคเหนือจนถึงแคว้นสิบสองจุไทย และได้มอบแผนที่ให้ นายพันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เพื่อเป็นหลักฐานกรณีโต้แย้งกับฝรั่งเศส

    ๑๒พฤศจิกายน ๒๔๒๘
                วันประสูติ พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสองค์ที่ ๕๒ ในรัชกาลที่ ๕ ต้นราชสกุลรังสิต พ.ศ.๒๔๕๔ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นองคมนตรี หลังจากจบการศึกษาที่เยอรมัน เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ เป็นอธิบดีสาธารณสุขคนแรก ทรงลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นประธานองคมนตรี ใน พ.ศ.๒๔๙๓ สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระหทัยใน พ.ศ.๒๔๙๔

    ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๘
                ได้บรรจุการทำบัญชีเข้าในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นครั้งแรก โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวิชาหนึ่งในแปดอย่างของประโยคสอง ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของ โรงเรียนหลวงในสมัยนั้น

    ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๘
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช ไปเยี่ยมเรือรบอังกฤษ คือ เรือออเคเซียส เรืออะกาเมนอน เรือวิจิแลนด์ และเรือแดริง ซึ่งเดินทางมาจากฮ่องกง มาทอดสมออยู่ที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา

    ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น โดยรวมกิจการทหารบกและทหารเรือไว้ด้วยกัน เป็นการจัดกำลังทหารให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และให้หน่วยทหารต่าง ๆ ในกรมทหารมหาดเล็ก ฯ ไปขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหม

    ๘ เมษายน ๒๔๓๐
                ได้มีประกาศจัดการทหาร ในประเทศนี้ได้รวมบรรดากองทหารบก กองทหารเรือ ทั้งหมด มาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชา ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แต่ในระหว่างที่ทรงพระเยาว์อยู่นั้น ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร

    ๕ พฤษภาคม ๒๔๓๐
                กำเนิดรถรางไทย ได้เริ่มเดินรถรางในไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เส้นทางบางคอแหลม (ถนนตก) ถึงพระบรมราชวัง

    ๗ มิถุนายน ๒๔๓๐
                ชาวเมืองไลเจาและพวกฮ่อจากแคว้นสิบสองจุไท ได้ยกทัพเมืองหลวงพระบาง ภายหลังที่กองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกทัพกลับออกจากเมืองหลวงพระบาง เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๔๓๐

    ๕ สิงหาคม ๒๔๓๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาโรงเรียนนายร้อย จปร.ขึ้นข้างวังสราญรมย์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมแผนที่ทหารปัจจุบัน เรียกว่า Cadet School ทหาร เป็นการรวมโรงเรียนคาเดททหารมหาดเล็ก และโรงเรียนคาเดททหารหน้าเข้าด้วยกัน ถือเป็นกำเนิดของสถาบัน ต่อมาขนานนามใหม่ว่า โรงเรียนทหารสราญรมย์ พ.ศ.๒๔๔๕ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโรงเรียนนายร้อยที่ถนนราชดำเนินนอก พ.ศ.๒๔๙๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช (รัชกาลที่ ๙) โปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.๒๕๒๙ พระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อย จปร.แห่งใหม่ ที่เขาชะโงก นครนายก

    ๒๖ กันยายน ๒๔๓๐
                วันร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยพระราชไมตรีและพาณิชย์ (Declaration of Amity and Commerce) เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่มีประวัติศาสตร์มิตรภาพและความร่วมมือระหว่างไทย – ญี่ปุ่น มาตั้งแต่สมัยกรุงงศรีอยุธยา

    ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๓๐
                นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกกองทัพออกจากกรุงเทพ ฯ ไปปราบพวกฮ่อเป็นครั้งที่ ๔ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย

    ๒๔ มีนาคม ๒๔๓๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศให้ยิงปืนเที่ยงบอกเวลา ๑๒.๐๐ น. โดยใช้สนามหลวงเป็นที่ตั้งยิง

    พ.ศ.๒๔๓๑
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา พระราชบัญญีติว่าด้วยศักดินาทหาร และ พระราชบัญญัติว่าด้วยลำดับยศทหารบก

    ๑๔ มกราคม ๒๔๒๙
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมาร เป็นตำแหน่งรัชทายาท นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แทนตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือที่เรียกว่าวังหน้า ซึ่งมีมาแต่สมัยอยุธยา
    ๓๐ เมษายน ๒๔๒๘
                วันเกิด พระยากัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานชิส บี แชร์) ชาวอเมริกันคนที่ ๒ ที่เข้ามารับราชการในไทย และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ได้เดินทางมารับราชการในไทยเมื่อปี ๒๔๖๖ เป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศด้านกฎหมาย สมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตผู้มีอำนาจเต็ม ไปเจรจาขอแก้ไขสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส สเปน เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน การเจรจาบรรลุผลสำเร็จเรียบร้อย ในปี ๒๔๒๘ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาวภรณ์ ท.จ. และ ท.ช. เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนไทยไปประจำศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก เมื่อลาออกแล้วได้ไปรับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการฟิลิปปินส์ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ช่วยงานเสรีไทยด้วย
    พ.ศ.๒๔๒๕
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้าให้เจ้าหมื่นไววรนารถ (เจิม แสง-ชูโต) จัดสร้างโรงทหารหน้าเป็นการถาวร ที่ฉางข้าวหลวงและวังเจ้านายมีกรมเก่าใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยสร้างเป็นตึกสามชั้นเพื่อบรรจุทหารให้ได้หนึ่งกองพลน้อย แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ สิ้นค่าก่อสร้าง ๗,๐๐๐ ชั่ง (๕๖๐,๐๐๐ บาท)

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch