หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 3

    ๑๓ มิถุนายน ๒๓๒๕
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้น เป็นกษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ๑๗ มิถุนายน ๒๓๒๕
                ตรากฎหมายลงโทษข้าราชการที่กินเหล้า เล่นเบี้ย โดยใช้เฆี่ยนหลัง ๓ ยก (๙๐ ที)

    พ.ศ.๒๓๒๗
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรากฎหมาย เพื่อให้ไพร่ทุกข์ยากได้มีเวลาประกอบอาชีพเลี้ยงตน โดยผ่อนผันให้ทำราชการให้แก่หลวง ๑ เดือน ทำงานให้เจ้า ๑ เดือน และประกอบอาชีพของตน ๑ เดือน

    ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๗
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) จากพระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี ข้ามฟากลำน้ำเจ้าพระยา นำไปประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำ ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

    พ.ศ.๒๓๒๘
                พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงเทพ ฯ จัดเป็นสงครามเก้าทัพ มีกำลัง ๑๔๔,๐๐๐ คน แยกย้ายกันเข้ามาถึงสี่ทาง

    ๑๕ กันยายน ๒๓๒๘
                เป็นวันตั้งชื่อ "กรุงเทพมหานคร"

    ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๘
                สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ ๑ ได้โปรดให้ยกพลเข้าตีค่ายพม่าพร้อมกันทุกด้านในสงครามเก้าทัพ ที่ตำบลลาดหญ้า กาญจนบุรี

    ๒๔ มีนาคม ๒๓๒๘
                พม่าถอยทัพออกจากเมืองถลาง หลังจากที่ล้อมอยู่เดือนเศษ แต่ตีเมืองถลางไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก คุณหญิงจันท์ ภรรยาพระยาเจ้าเมืองถลาง กับคุณหญิงมุก น้องสาว ช่วยกันป้องกันเมืองไว้ วีรกรรมครั้งนี้ รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาคุณหญิง จันท์ เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณหญิงมุก เป็นท้าวศรีสุนทร

    พ.ศ.๒๓๒๙
                โปรตุเกตุได้ส่งเรือสลุปพร้อมด้วย Autonio Vicente ราชทูตโปรตุเกส เข้ามากรุงเทพ ฯ

    พ.ศ.๒๓๒๙
                สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาท ได้ปืนพญาตานี จากเมืองปัตตานี นำมาทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อเดือนตุลาคม

    ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙
                วันสุนทรภู่ ท่านเกิด พ.ศ.๒๓๒๙ ถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ.๒๓๙๘ อนุสาวรีย์ประดิษฐานที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

    ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๙
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ยกทัพหลวง ตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดง ส่วนทัพหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เข้าตีค่ายพม่าที่ตำบลสามสบ รบอยู่ ๓ วัน ไทยได้รับชัยชนะ

    พ.ศ.๒๓๓๐
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สร้างเมืองปากลัดพร้อมทั้งสร้างป้อมศิลปาคม ซึ่งนับว่าเป็นป้อมสำหรับป้องกันศึกทางทะเล เป็นป้อมแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    ๘ มีนาคม ๒๓๓๐
                เจ้าพระยามหาเสนาและเจ้าพระยารัตนาพิพิธ ยกทัพเข้าตีเมืองกะลิอ่อง ของพม่าได้สำเร็จ

    ๓๑ มีนาคม ๒๓๓๐
                วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงเป็นราชโอรสองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อนขึ้นครองราชย์ได้ทรงรับราชการหลายหน้าที่ด้วยกันคือ กำกับราชการกรมท่าและกรมตำรวจ ทรงว่าราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ เป็นแม่กองกำกับลูกขุน ณ ศาลหลวงและตุลาการทุกศาล ทรงค้าขายทางสำเภาจีน นำเงินรายได้เข้าท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา รวบรวมสรรพตำราวิทยาการต่าง ๆ พัฒนาการเศรษฐกิจไทยหลาย ๆ ด้าน ทำให้รัฐมั่งคั่งเป็นอันมาก

    พ.ศ.๒๓๓๑
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎก

    ๑๗ เมษายน ๒๓๓๑
                วันสมภพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ที่บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ อยุธยา บวชเป็นสามเณรแล้วมาอยู่วัดระฆัง จนได้เป็นเจ้าอาวาส มรณะภาพเมื่ออายุได้ ๘๕ ปี

    ๒๓ ธันวาคม ๒๓๓๑
                ราชทูตไทย ชุดที่ ๔ ได้เข้าเฝ้าสันตะปาปา อินโนเชนต์ ที่ ๑๑ ณ กรุงโรม

    ๗ กันยายน ๒๓๓๓
                ชาวเมืองยอง ๕๘๕ ครัวเรือน ในแคว้นไทยใหญ่อพยพมาอยู่เมืองน่าน

    ๑๑ ธันวาคม ๒๓๓๓
                วันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (สวรรคต เมื่อ ๙ ธันวาคม ๒๓๙๖) เป็นพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๗

    ๒๒ กันยายน ๒๓๓๔
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าราชบุตรพระตา เป็นพระยาพิชัยราชสุริยวงศ์ขัตติยราช เมืองจำปาศักดิ์ ขึ้นกรุงเทพ ฯ นครจำปาศักดิ์ เคยเป็นพระราชอาณาเขต ต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ เพื่อให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดจันทบุรี ให้ไทย ซึ่งได้เคยยึดไว้แต่เมื่อ กรณี ร.ศ.๑๑๒

    ๑๐ มีนาคม ๒๓๓๔
                เมืองทะวาย กลับมาอยู่ในอิทธิพลของไทย หลังจากตกไปเป็นของพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๒

    พ.ศ.๒๓๓๕
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงออกกฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดกักตุนข้าว และกำหนดอัตราซื้อขายข้าวในอัตราที่เหมาะสม พร้อมทั้งกำหนดโทษผู้ละเมิดถึงขั้นประหารชีวิต ผู้รู้เห็นเป็นใจให้ลงโทษเฆี่ยนคนละสามยก จากนั้นให้นำตัวไปแห่ประจานทางบกสามวัน ทางเรือสามวัน แล้วส่งตัวไปตะพุ่นหญ้าช้าง

    ๑๖ มกราคม ๒๓๓๖
                ไทยเสียเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี ให้แก่พม่า

    ๑๐ กรกฎาคม ๒๓๔๕
                กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ทรงบวชเป็นพระภิกษุ

    ๑๓ มีนาคม ๒๓๔๕
                กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากเชียงใหม่มากรุงเทพ ฯมกราคม ๒๔๑๗ แล้วอินก็ตายตามไป

    ๑๑ เมษายน ๒๓๔๖
                วันเกิดแฝดสยาม อิน – จัน ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่แม่กลอง จันถึงแก่กรรมเดือน มกราคม ๒๔๑๗ แล้วอินก็ตายตามไป

    ๒๗ กันยายน ๒๓๔๖
                ราชทูตไทยไปเมืองญวน นำเครื่องยศกษัตริย์ ๑๘ อย่าง ไปพระราชทานให้พระเจ้าเวียดนาม ยาลอง (องเชียงสือ) พระเจ้าเวียดนามรับของ ๑๗ อย่าง เว้นแต่พระมาลาเบี่ยงถวายคืน ไม่กล้ารับพระราชทาน อ้างว่าเป็นของสูง สมัยก่อนญวนเป็นเขตอิทธิพลของกรุงรัตนโกสินทร์ ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง

    ๓ พฤศจิกายน ๒๓๔๖
                สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระอนุชาธิราชของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ สิ้นพระชนม์ด้วยโรคนิ่ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามกับพม่าหลายครั้ง จนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่อริราชศัตรู สงครามครั้งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ คือสงครามเก้าทัพ ณ ตำบลลาดหญ้า แขวงกาญจนบุรี พระองค์ทรงสามารถยับยั้งข้าศึกไว้ได้จนได้รับชัยชนะ โดยใช้ทหารเพียงสามหมื่นคนสกัดกั้น กำลังของข้าศึกที่มีถึงเก้าหมื่นคน

    ๑๒ มิถุนายน ๒๓๔๗
                กองทัพเมืองเชียงใหม่ ของพระเจ้ากาวิลละ ยึดเมืองเชียงแสนได้ในวันนี้ เมืองเชียงแสนอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำโขง ขณะนั้นยังอยู่ในอิทธิพลพม่า

    ๑๖ กันยายน ๒๓๔๗
                เจ้าฟ้าเชียงตุง ลงมากรุงเทพ ฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ขณะนั้นเชียงตุง เป็นขัณฑสีมา อยู่ชั่วระยะหนึ่ง

    ๑๘ ตุลาคม ๒๓๔๗
                วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระนามเดิมสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอยู่ ๒๗ ปี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ วันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๔ ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงรับวิทยาการของชาติตะวันตกเข้ามาใช้ในไทยเป็นอันมาก พระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงความรอบรู้ ความเป็นไปทางวิชาการ ทั้งทางโลกและทางพุทธศาสตร์ ทรงรอบรู้ทั้งในทางการเมือง ศาสนาวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ทรงเชี่ยวชาญทั้ง ภาษาอังกฤษ ภาษามคธ และบาลี

    ๑๕ มีนาคม ๒๓๔๙
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชผู้รับรัชทายาท

    ๔ กันยายน ๒๓๕๑
                วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมเจ้าฟ้าน้อย ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๔ ทรงพระปรีชาสามารถในงานต่าง ๆ ทั้งทางทหารและการช่าง ทรงหล่อปืนใหญ่ไว้ใช้ในราชการ เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ชำนาญในด้านการต่อเรือกลไฟใช้เป็นเรือรบและเรือพาหนะ ได้รับแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๓ ยกทัพไปปราบญวนที่เมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน) เมื่อรัชกาลที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบวรเจ้า (วังหน้า) จัดพิธีอุปภิเศกมีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าอยู่หัว

    ๘ พฤษภาคม ๒๓๕๒
                อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากแพขึ้นประตูท่าช้าง รัชกาลที่ ๑ ทรงประชวร เสด็จ ฯ ด้วยพระบาทเปล่า ชักลากขึ้นบทแท่น ต่อมาอีก ๔ เดือน ก็เสด็จสวรรคต

    ๗ กันยายน ๒๓๕๒
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุ ๗๔ พรรษา ครองราชย์ ๒๗ ปี เศษ

    ๑๑ กันยายน ๒๓๕๒
                พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์ ซึ่งได้ราชสมบัติต่อจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ

    ๑๔ กันยายน ๒๓๕๒
                วันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นพระมหาสมณเจ้า องค์ที่ ๒ ของไทย ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรในปี ๒๔๐๙ และเมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุในปี ๒๔๑๖

    ๒ ธันวาคม ๒๓๕๓
                ตราพระราชกำหนดสักเลก ในรัชกาลที่ ๒ บังคับให้ชายฉกรรจ์ ทำงานหลวงปีละ ๓ เดือน คือ เข้า ๑ เดือน เป็นการเกณฑ์แรงงานและเพื่อความพร้อมรบในยามปกติ

    ๒๗ เมษายน ๒๓๕๔
                วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ณ ท้องพระเมรุ

    ๓ สิงหาคม ๒๓๕๔
                ตราพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ซึ่งในสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษเฆี่ยนหลัง ๙๐ ที ให้ตระเวนบก ๓ วัน ตระเวนเรือ ๓ วัน ริบราชบาตรทรัพย์สินบุตรภรรยาเป็นของหลวง แล้วส่งตัวไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมินำเอาความมาแจ้ง ให้เฆี่ยนหลัง ๖๐ ที

    ๒๔ เมษายน ๒๓๕๕
                พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดขบวนไปรับพระพุทธรูปแก้วผลึกองค์สำคัญคือ พระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งอัญเชิญมาจากนครจำปาศักดิ์ มาพักรออยู่ที่สระบุรี แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในพระบรมมหาราชวัง

    ๒ มิถุนายน ๒๓๕๘
                วางหลักเมือง เมืองนครเขื่อนขันธ์ พระประแดง ขณะนั้นมีมอญ ๔๐,๐๐๐ คน อยู่ที่เมืองปทุมธานี และให้มอญ ๓๐๐ คน มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์

    ๒๓ สิงหาคม ๒๓๕๘
                มอญ เมืองเมาะตะมะ หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

    พ.ศ.๒๓๖๐
                พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้รูปช้างสีขาวไม่ทรงเครื่องอยู่ในวงจักรบนพื้นธงสีแดง เป็นธงราชนาวี ใช้เฉพาะเรือหลวงเท่านั้น ส่วนเรือเอกชนคงใช้ธงพื้นแดงล้วน

    ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๒
                วันยกเสาหลักเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เวลา ๑๐.๓๕ น. และสร้างป้อมขึ้นใหม่ ๖ ป้อม เพื่อป้องกันทางทะเล

    พ.ศ.๒๓๖๓
                โปรตุเกส เป็นฝรั่งชาติแรกที่ได้ตั้งกงสุลมาประจำที่กรุงเทพ ฯ คือ คาร์โลส เดอ ซิลเวรา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพานิช และได้รับพระราชทานที่อยู่คือบ้านที่องเชียงสือ เคยอยู่มาก่อน

    ๑๖ มิถุนายน ๒๓๖๓
                เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรียกว่า ห่าปีระกา มีผู้เสียชีวิต ๓๐,๐๐๐ คน ให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ ที่พระที่นั่งดุสิตา ทำคล้ายพิธีตรุษ คือ ยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดรุ่ง ๑ คืน แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุออกเวียนรอบพระนคร มีพระราชาคณะในขบวนแห่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั้งทางบกและทางเรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรักษาอุโบสถศีลพร้อมพระวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั่วไปได้รับพระบรมราชานุญาติให้รักษาศีล ทำบุญให้ทานตามใจสมัคร ไม่ต้องเข้าเฝ้า และทำราชการที่ไม่จำเป็น

    ๑๕ ธันวาคม ๒๓๖๓
                พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็น ๒ กองทัพ ไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี เนื่องจากได้ข่าวว่าพระเจ้าอังวะจักกายแมง เตรียมยกทัพมาตีไทย แต่ไม่ได้ยกเข้ามา

    พ.ศ.๒๓๖๔
                เรือกำปั่นของชาวอเมริกันลำแรกได้แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรือลำนี้ได้บรรทุกสินค้าและปืนคาบศิลาที่ทางราชการไทยต้องการ กับตันเรือได้ถวายปืนคาบศิลา ๕๐๐ กระบอก จึงได้รับพระราชทานสิ่งของตอบแทนจนคุ้มราคาปืน ได้รับการยกเว้นภาษีส่วนหนึ่ง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ขุนภักดีราช

    ๕ กรกฎาคม ๒๓๖๕
                วันเกิดพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงแก่อนิจกรรม ๑๖ ตุลาคม ๒๔๓๔

    ๗ กรกฎาคม ๒๓๖๗
                เจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ที่วัดมหาธาตุ ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สวรรคต ๗ วัน แล้วไปประทับอยู่ที่วัดสมอราย (ราชาธิวาส)

    ๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗
            พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงประชวรและสวรรคต พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี (พระราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐)

     

    ๒๔ มีนาคม ๒๓๒๘
                วันที่พม่าถอยทัพออกจากถลาง (เปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐)
    ๘ เมษายน ๒๓๒๗
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้างเสาชิงช้า ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม
    ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองพระนครขึ้น และได้พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา ซึ่งเรียกกันต่อมาในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร
    ๖ เมษายน ๒๓๒๕
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ตามคำกราบบังคมทูลอันเชิญของบรรดาราษฎร และข้าราชชั้นผู้ใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้จัดให้มีพระราชพิธีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ และประกาศให้เป็นวันที่ระลึกมหาจักรี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch