หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 2

    พ.ศ.๒๑๓๓
                หลักจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ได้แปดเดือน พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยมีพระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาพะสิมและพระยาพุกาม เป็นกองหน้า ยกทัพมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงยกทัพไปรับศึกที่เมืองสุพรรณบุรี ฝ่ายพม่าเสียที พระยาพุกามเสียชีวิต พระยาพะสิม ถูกจับได้ พระมหาอุปราชา บาดเจ็บต้องถอนทัพกลับไป

    ๒๙ กรกฎาคม ๒๑๓๓
                วันขึ้นครองราชย์ของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    พ.ศ.๒๑๓๕
                สงครามไทย – พม่า คราวสงครามยุทธหัตถี พระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่า ทรงให้พระมหาอุปราชา ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงยกทัพไปรอรับทัพพม่าที่หนองสาหร่าย สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ทรงฟันพระมหาอุปราชาด้วยพระแสงของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พม่าต้องถอยทัพกลับไป พระแสงของ้าวนี้ต่อมามีนามว่า พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย

    พ.ศ.๒๑๓๖
                สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพไปตีเขมร ทรงตีหัวเมืองรายทางไปจนถึงเมืองละแวก เมืองหลวงของเขมร จับนักพระสัตถา กษัตริย์เขมรได้

    พ.ศ.๒๑๔๒
                สมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นแม่ทัพไปปราบปรามความไม่สงบที่เมืองเชียงใหม่

    พ.ศ.๒๑๔๗
                สมเด็จพระเอกาทศรถ ยกทัพไปช่วยเมืองแสนหวี แคว้นไทยใหญ่

    ๒๒ กันยายน ๒๑๕๑
                สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดให้ทูตานุทูตอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญ ทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ามอริสในราชวงศ์ ออเรนซ์ แห่งประเทศฮอลันดา นับเป็นคณะทูตไทยคณะแรกที่เดินทางไปทวีปยุโรป

    พ.ศ.๒๑๕๓
                พระเจ้าเจมส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นถึงพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระบรมราชานุญาตให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาได้สะดวก

    ๒๓ มิถุนายน ๒๑๕
                เรือสำเภาอังกฤษชื่อ โกลบ เดินทางมาถึงปัตตานี นับเป็นเรืออังกฤษลำแรกที่เดินทางมาไทยในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

    ๑๗ กันยายน ๒๑๕๕
                พ่อค้าอังกฤษคนแรกซึ่งเดินทางโดยเรือ Globe เข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าเจมส์ที่ ๑ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่อังกฤษและไทยมีความสัมพันธ์กัน

    ๑๒ ธันวาคม ๒๑๗๑
                พระเจ้าทรงธรรมสวรรคต เมื่อพระชนม์พรรษาได้ ๓๘ มีพระราชโอรส ๓ องค์ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และพระอาทิตยวงศ์ แต่จดหมายเหตุ วันวลิตว่ามีราชโอรส ๙ องค์ พระราชธิดา ๘ องค์

    พ.ศ.๒๑๗๕
                สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศน์และวัดชุมพลนิกายารามขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นที่ประสูติ ไว้สำหรับเป็นที่แปรพระราชฐาน

    พ.ศ.๒๑๘๑
                สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิธีลบศักราช ให้เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน โดยแจ้งให้บรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุคขึ้น

    ๙ ตุลาคม ๒๑๙๙
                สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปราบดาภิเษก เสวยราชสมบัติ

    ๒๒ สิงหาคม ๒๒๐๕
                สังฆราชแห่งเบริตกับบาทหลวงอีก ๒ คน ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวฝรั่งเศสพวกแรกที่เดินทางมายังประเทศไทย

    ๒๔ ธันวาคม ๒๒๒๓
                สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดคณะราชทูตไทยคณะแรก นำพระราชสาส์นไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส และสันตปาปา ณ กรุงโรม คือ ออกญาพิพัฒน์ราชไมตรี กับผู้ช่วยอีก ๒ คน คือ หลวงศรีวิสารสุนทร กับ ขุนนางวิชัย และคณะอีกกว่า ๒๐ คน โดยมีบาดหลวงเกยเมอเป็นล่าม และเป็นผู้นำทางการเดินทางครั้งนี้ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา และได้สูญหายไประหว่างทาง ไปไม่ถึงประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากเรือถูกพายุ อัปปางบริเวณเกาะมาดามัสกัส

    พ.ศ.๒๒๒๖
                สมเด็จพระนารายณ์ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดคณะทูตเดินทางไปฝรั่งเศส แต่มิได้จัดเป็นทางการ เพราะมุ่งหมายให้ไปสืบสาวดูทูตคณะแรกเท่านั้น

    ๒๖ กันยายน ๒๒๒๗
                ราชทูตไทยชุดที่ ๒ ได้เข้าเฝ้า พระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ นับเป็นทูตคณะแรกที่ไปขอเจริญสัมพันธไมตรี กับราชสำนักอังกฤษ

    ๒๕ มกราคม ๒๒๒๗
                คณะทูตไทยคณะที่ ๒ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังประเทศฝรั่งเศส (คณะแรกสูญหายในระหว่างเดินทาง)

    พ.ศ.๒๒๒๘
                สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต พระวิสูตรสุนทร เป็นอุปทูต หลวงกัลยาณไมตรี เป็นเลขานุการเอก ขุนศรีวิศาลวาจา เป็นนายเวร เดินทางไปฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔

    ๒๓ กันยายน ๒๒๒๘
                คณะราชทูตฝรั่งเศส ประกอบด้วย เชวาเลีย เดอโชมองต์ ราชทูตและบาทหลวงฟรังซัวส์ ดิโมเลออง เดอชัวสี อุปทูต เดินทางมาถึงไทยโดยทางเรือ ๒ ลำ เชิญพระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการ จากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มาเจริญทางพระราชไมตรียังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พยายามชักชวนให้พระองค์เปลี่ยนศาสนา แต่ไม่สำเร็จ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ตกลงกันได้ด้วยดี

    ๑๘ ตุลาคม ๒๒๒๘
                เชอวาเลียร์ เดอโชมองต์ ถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

    ๒๒ ธันวาคม ๒๒๒๘
                ราชทูตไทย ชุดที่ ๓ มีออกพระวิสูตรสุนทร คือโกษาปานเป็นราชทูต ออกเดินทางไปฝรั่งเศสได้เฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ ๑ กันยายน ๒๒๒๙ เดินทางกลับถึงปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐

    ๒๘ มิถุนายน ๒๒๒๙
                ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็นราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางถึงเมืองเบรสต์ นำเด็กไทยไปด้วย ๑๒ คน

    ๑๔ สิงหาคม ๒๒๒๙
                วันที่คณะทูตไทยถวายพระราชสาส์น แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวซายส์

    ๑ กันยายน ๒๒๒๙
                คณะทูตไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ มีออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะ เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ แด่พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ นับเป็นคณะทูตไทยชุดที่ ๓ ที่เดินทางไปฝรั่งเศส

    ๑ มีนาคม ๒๒๓๐
                ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็น ราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางกลับถึงประเทศไทย ฝรั่งเศสได้ส่งกองทหาร ๖๓๖ คน ในบังคับนายพลเดฟาร์ช มาประจำที่ป้อมเมืองมะริด ตามคำร้องขอของฟอลคอน และมีหัวหน้าทูตเข้ามา ๒ คน คือ เดอลาลูแบ และ คลอดเซเบแต้ดูบูลเย

    ๑๑ สิงหาคม ๒๒๓๐
                สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงประกาศสงครามกับบริษัทอินเดียของอังกฤษ

    ๒๗ กันยายน ๒๒๓๐
                คณะราชทูตไทยมีออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยคณะราชทูตฝรั่งเศส ชุดที่สองมี เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้า มาถึงประเทศไทย

    ๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑
                สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต ที่ลพบุรี พระราชสมภพ พ.ศ. ๒๑๗๕ เปิดอนุสาวรีย์ที่ลพบุรี ๒๕๐๙ พระองค์เป็นโอรสพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์อยู่ ๓๑ ปี ๙ เดือน ๒ วัน

    ๒๓ ธันวาคม ๒๒๓๑
                ราชทูตไทยชุดที่ ๔ ได้เข้าเฝ้า สันตะปาปา อินโดเนเซนต์ที่ ๑๑ ณ กรุงโรม

    พ.ศ.๒๒๓๔
                เขมรได้ส่งทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามาถวาย เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร

    พ.ศ.๒๒๓๘
                พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ราชทูตนำพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอกองทัพไทย ไปช่วยต้านทานการรุกรานของกองทัพจากหลวงพระบาง พระองค์โปรดให้จัดทัพไปช่วย แต่ไม่ได้มีการรบ เพียงแต่ช่วยไกล่เกลี่ยจนทั้งสองเมืองเป็นมิตรกัน

    พ.ศ.๒๒๔๕
                เกิดความวุ่นวายภายในเขมร เจ้าเมืองละแวก ขอมาอยู่ในพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงให้ส่งกองทัพไปถึงเมืองอุดรมีชัย ราชธานีเขมร ทำให้เขมรมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยตามเดิม

    ๖ ตุลาคม ๒๒๔๖
                พระเพทราชา เสด็จสวรรคต

    ๑๗ เมษายน ๒๒๗๗
                วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (เปิดอนุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ๒๔๙๗ ) ทรงกู้เอกราชได้หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าไปเพียง ๗ เดือน และได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้ทรงดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การศึกษา การศาสนา และศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นอันมาก

    ๒๐ มีนาคม ๒๒๗๙
                วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระราชสมภพ ณ ที่ปัจจุบันคือ วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

    ๘ กันยายน ๒๒๘๖
                วันประสูติ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ ครั้งสงคราม ๙ ทัพ ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นจอมทัพไปตั้งรับพม่า ที่ตำบลลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี จนพม่าแตกกลับไป ทรงดำรงอิสริยศนี้ นาน ๒๑ ปี ระหว่าง ๒๓๒๕ - ๒๓๔๖ (สวรรคต ๓ พฤศจิกายน ๒๓๔๖) เปิดดอนุสาวรีย์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๒

    พ.ศ.๒๒๙๖
                พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทราบว่า พระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก จึงส่งทูตมาขอพะมหาเถระและคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมไประยะหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะทูตไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบทให้กับชาวลังกาและได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกาและเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓

    ๑ มิถุนายน ๒๓๐๑
                เจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิต) กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๒ เสวยราชย์ได้ ๒ เดือนเศษ ได้ถวายราชสมบัติให้กับเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักขมนตรี) พระเชษฐา ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๙ ปี ทั้งสองพระองค์เป็นโอรสพระเจ้าบรมโกศ กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๑ ก่อนเสด็จสวรรคตได้ทรงตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็น รัชทายาท ไม่ตั้งเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้พี่ ซึ่งทรงเห็นว่าโฉดเขลา จะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้

    พ.ศ.๒๓๐๓
                พม่าส่งกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา

    พ.ศ.๒๓๐๗
                พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ยกกองทัพเข้ามาทางเมืองทะวาย และตีหัวเมืองรายทางมาตามลำดับ แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา

    ๒๐ มิถุนายน ๒๓๐๙
                วันค่ายบางระจันแตก

    ๓ มกราคม ๒๓๐๙
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ นำกำลัง ๕๐๐ คน ตีฝ่ากองทหารพม่า ออกจากกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวันออก

    ๔ มกราคม ๒๓๐๙
                วันวีรกรรมบ้านพรานนกของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ขณะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ทรงสู้รบกับทหารม้าของพม่าที่บ้านพรานนก (อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม
     


    ๗ เมษายน ๒๓๑๐
                กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่ ๑ ปี ๒ เดือน

    พ.ศ.๒๓๑๐
                ศึกพม่าที่บางกุ้ง

    มิถุนายน ๒๓๑๐
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกพลขึ้นบกที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ เข้าตีค่ายพม่าได้ และเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี

    ๔ มิถุนายน ๒๓๑๐
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ นำกองทัพเข้าตีเมืองจันทบุรี

    ๑๔ มิถุนายน ๒๓๑๐
                พระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ายึดเมืองจันทบุรี

    ๓ สิงหาคม ๒๓๑๐
                ทัพพม่ายกเข้าตีไทย ก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๒

    ๕ พฤศจิกายน ๒๓๑๐
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกทัพทางเรือ มีกำลังพลประมาณ ๕,๐๐๐ คน เรือรบ ๑๐๐ ลำ เข้าตีเมืองธนบุรีได้

    ๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ตีค่ายพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น และค่ายอื่น ๆ แตกทุกค่าย สุกี้แม่ทัพใหญ่ตาย ถือเป็นวันกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ในเวลาเพียง ๗ เดือน

    ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐
                วันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระนามเดิม ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โต ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ และกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการรบ และด้านศิลปะเป็นอันมาก ได้ทรงติดตามพระชนกนาถ ครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปทำสงครามด้วยทุกครั้ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณกรรมชั้นเลิศ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นบทละครในยอดเยี่ยม งานด้านการช่างประเภท แกะสลักด้วยฝีพระหัตถ์ อันเป็นผลงานของพระองค์ ซึ่งยังมีปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ได้แก่ ภาพแกะสลักบานประตูโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม

    ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือพระบรมราชา ที่ ๔ ทางราชการได้กำหนดให้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    พ.ศ.๒๓๑๒
                ศึกเขมรครั้งที่ ๑

    ๑๗ กันยายน ๒๓๑๒
                โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาอินทวงศา มาจัดการปักเขตที่ดินให้แก่พวกคริสตังที่บางกอก คือ ตำบลกุฎีจีน

    พ.ศ. ๒๓๑๓
                ชาวฮอลันดา จากเมืองปัตตาเวีย และแขกเมืองตรังกานู เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ นำปืนคาบศิลามาถวาย จำนวน ๒,๒๐๐ กระบอก

    ๘ สิงหาคม ๒๓๑๓
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลกครั้งที่ ๒ (ครั้งแรก พ.ศ.๒๓๑๑) หลวงโกษา (ยัง) ผู้รักษาเมืองหนีไปเมืองสวางคบุรี

    ๔ ตุลาคม ๒๓๑๓
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี

    พ.ศ.๒๓๑๔
                ศึกเมืองเชียงใหม่

    พ.ศ.๒๓๑๔
                ศึกเขมรครั้งที่ ๒

    พ.ศ.๒๓๑๕ - ๒๓๑๖
                ศึกพม่าตีเมืองพิชัย

    ๕ มกราคม ๒๓๑๖
                พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัย ยกทัพต่อสู้โดยถือดาบ ๒ เล่ม เข้าทะลวงฟันพม่าอย่างไม่ลดละ จนดาบหักทั้ง ๒ เล่ม และทัพพม่าแตกกระเจิงไป เกียรติคุณพระยาพิชัยจึงเลื่องลือ และได้รับนามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"

    พ.ศ.๒๓๑๔
                ศึกเมืองเชียงใหม่

    ๑๕ มกราคม ๒๓๑๗
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงตีเมืองเชียงใหม่จากพม่า

    พ.ศ.๒๓๑๘
                ศึกบางแก้ว

    ๑๓ มีนาคม ๒๓๑๘
                เป็นวันที่อะแซหวุ่นกี้ ขอดูตัว เจ้าพระยาจักรีที่พิษณุโลก ขณะนั้นอะแซหวุ่นกี้อายุ ๗๒ ปี เจ้าพระยาจักรีอายุ ๓๘ ปี และพม่าล้อมพิษณุโลก ๔ เดือน จึงจะเข้าตีพิษณุโลกได้

    ๑๖ มีนาคม ๒๓๑๘
                เจ้าพระยาจักรีรบพุ่งกับอะแซหวุ่นกี้ พม่าล้อมพิษณุโลก ๔ เดือน จึงจะเข้าเมืองพิษณุโลกได้

    พ.ศ.๒๓๑๙
                ศึกเมืองจำปาศักดิ์

    พ.ศ.๒๓๑๙
                ศึกพม่าตีเมืองเชียงใหม่

    พ.ศ.๒๓๑๙
                ฟรานซิส ไลท์ ชาวอังกฤษ ถวายเครื่องราชบรรณาการและปืนนกสับ จำนวน ๑,๔๐๐ กระบอก แด่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ

    พ.ศ.๒๓๒๑
                ศึกตีเวียงจันทร์

    พ.ศ.๒๓๒๒
                พวกโปตุเกสและพวกแขกมัวร์จากเมืองสุวัต ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ได้เดินทางมาติดต่อค้าขายกับไทย และไทยได้ส่งสำเภาหลวงติดต่อค้าขายกับอาณานิคมของโปรตุเกสด้วย เช่น อินเดีย

    ๑๓ กันยายน ๒๓๒๒
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อครั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) แม่ทัพไทยสมัยกรุงธนบุรี ได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ได้ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกต จากเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี

    พ.ศ.๒๓๒๓
                ศึกเมืองเขมร ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๓๒๓

    พ.ศ.๒๓๒๔
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงส่งทูตไปประเทศจีน

    พ.ศ.๒๓๒๔
                สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปปราบปรามเขมร แต่ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากกรุงธนบุรีเกิดจลาจล

    ๓ เมษายน ๒๓๒๕
                วันที่สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากเขมร

    ๖ เมษายน ๒๓๒๕
                สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบกบฎที่กรุงธนบุรีสำเร็จ ราษฎรและบรรดามหาอำมาตย์พร้อมใจกันเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา

    ๖ เมษายน ๒๓๒๕
                พระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต

     

    พ.ศ.๒๑๖๕
                พม่ายกทัพมาตีเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าสำคัญเมืองหนึ่งทางทิศตะวันตกของไทยได้
    ๑๖ พฤษภาคม ๒๑๔๘
                สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพไปตีเมืองอังวะ ขณะที่พระองค์เสด็จไปถึงเมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) ซึ่งเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขต พระองค์ทรงพระประชวร เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ เมื่อพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์อยู่ ๑๕ ปี
    พ.ศ.๒๑๔๒
                สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพบกและทัพเรือ เพื่อไปตีกรุงหงสาวดี ได้ทรงปราบหัวเมืองมอญอยู่สามเดือน แล้วจึงยกทัพไปตีกรุงหงสาวดี แต่ทางพระเจ้าตองอูได้อพยพผู้คน และพระเจ้านันทบุเรง ไปตั้งมั่นอยู่เมืองตองอู พระเจ้ายะไข่ปล้นสดมภ์ และเผาเมืองหงสาวดีหมดสิ้นจนเป็นเมืองร้าง ก่อนที่สมเด็จพระนเศวร ฯ จะยกไปถึง สมเด็จพระนเรศวร ฯ ยกทัพตามไปล้อมเมืองตองอู แต่ตีไม่ได้ เนื่องจากขาดเสบียงต้องยกทัพกลับ
    ๒๕ มกราคม ๒๑๓๕
                สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะจาก สมเด็จพระมหาอุปราชา พร้อมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ชัยชนะจากมางจาชะโร ณ พื้นที่ระหว่าง ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี กับ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็น วันกองทัพไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ เป็นต้นมา

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch