หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ความรู้เรื่องเมืองสยาม จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ 5

    บทที่หก การแสดงการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม
                ๑. วิธีจับช้างเถื่อน  สถานที่จัดให้ช้างอยู่เพื่อเลือกจับคล้ายสนามเพลาะขนาดกว้างและยาวพอใช้ ใช้ในการพูนดินเป็นพนังขึ้นมา เกือบจะตรงเป็นทางดิ่งทุกด้าน บนเนินดินเป็นที่นั่งชมของคนดู ที่ตรงกลางวงล้อมเนินดินปักเสาไม้รายรอบสองแถวสูง ๑๐ ฟุต ลงในดิน เสามีขนาดใหญ่พอที่จะทานกำลังช้างดันได้ และห่างกันพอที่คนจะลอดช่องเสาได้สะดวก  ระหว่างเสาเพนียดสองชั้นนี้ ใช้เป็นที่ช้างพังเชื่อง ซึ่งเขาส่งเข้าไปในป่าเพื่อล่อช้างพลายเถื่อนมา หมอช้างที่ขี่ไปนั้น ใช้ใบไม้บังไพรกำบังตนเพื่อกันมิให้ช้างเถื่อนในป่าหวาดตื่น  เมื่อช้างพลายเข้าไปในฉนวนแล้ว ประตูที่มันใช้งวงเปิดผลักผ่านเข้าไปก็กลับปิดลง  ส่วนประตูด้านหน้าทางที่ช้างเถื่อนออกไปได้ เขาก็ปิดกั้นให้แน่นหนา คนที่แฝงอยู่ตามรอบนอกริมเสาเพนียดโดยช้างเถื่อนเข้าไม่ถึงตัวก็จะเข้าช่องเสารุมล้อม
    กันทุกด้านเพื่อล่อกวนผัดช้างให้ไล่  เมื่อช้างไล่ คนก็หนีลอดหลบออกมานอกเสาเพนียด  คนอื่น ๆ ก็เอาเชือกบาศก์เหวี่ยงทอดไปอย่างชำนาญ คล้องตีนหลังช้างตีนใดตีนหนึ่งไว้ ดึงปลายเชือกบาศก์รัดข้อตีนช้างไว้  เชือกบาศก์นี้เป็นเชือกเส้นใหญ่ผูกเป็นบ่วงเชือกกระทบ เมื่อเชือกบาศก์รัดข้อตีนช้างแล้วก็ปล่อยผ่อนเชือกไป  เมื่อช้างเถื่อนคืนสู่สภาพปกติ เขาก็ใช้ถังตักน้ำเย็นราดตัวมันให้ชุ่มเย็น จัดการผูกปลายเชือกบาศก์เข้ากับเสาเพนียด แล้วนำช้างพลายที่ฝึกไว้ดีแล้วเดินถอยหลังเข้าไปในซองฉนวน ผูกล่ามคอมันกับคอช้างเถื่อน ปลดเชือกบาศก์ออกจากเสาเพนียดแล้วใช้ช้างต่ออีกสองเชือกเข้ามาช่วยผนึกกำลัง สองเชือกเข้าขนาบช้าง เชือกที่สามเข้ารุนด้านหลัง ขะโลงช้างเถื่อนไปสู่ปะรำใกล้ ๆ กันนั้น ผูกล่ามมันไว้และผูกคอผนึกแน่นกับเสาปะโคมใหญ่ ผูกอยู่เพียง ๒๔ ชั่วโมง ระหว่างนี้จะนำช้างต่อมาอยู่เป็นเพื่อน และปลอบใจ ๒ - ๓ เที่ยว จากนั้นนำมันไปยังโรงที่จัดไว้ให้อยู่ ๘ วันก็จะเชื่อง
                ๒. ชาวสยามคิดเห็นช้างเป็นอย่างไร
                ๓. ชาวสยามลาช้างสารเชือกที่พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานส่งไปเมืองฝรั่งเศส
                ๔. ช้างเป็นสัตว์น่ากลัวอันตรายมาก
                ๕. การชนช้าง  ได้เห็นช้างศึกสองเชือกชนกัน ตีนหลังของช้างศึกทั้งคู่ถูกผูกเชือกพวนไว้ มีหลายคนยืดหางเชือกพวนและมัดหางเชือกไว้กับหลัก ไว้ระยะห่างกัน จนจากที่ช้างทั้งสองเชือกจะประสานงวง ในขณะเข้าปะทะกันได้  ช้างแต่ละเชือกมีหมอควาญประจำคอยบังคับ  เมื่อปล่อยให้สู้กัน ๕-๖ พัก ก็เป็นอันจบ  แล้วจัดช้างพังเข้ามาล่อแยกช้างศึกออกจากกัน
                ๖. การชนไก่  ชาวสยามชอบการชนไก่มาก  การชนไก่ลงเอยด้วยการตายของคู่ต่อสู้  พระเจ้ากรุงสยามจึงได้ทรงให้ออกประกาศห้ามการชนไก่เสีย
                ๗. ละครจีน (งิ้ว)  คนสยามชอบไปดูทั้ง ๆ ที่ฟังไม่รู้เรื่อง
                ๘. การแสดงหุ่นกระบอก  เป็นใบ้ไม่ออกเสียง หุ่นกระบอกจากลาว คนชอบดูมากกว่า
                ๙. นักไต่ลวด และการเล่นไม้สูง  นับว่าดีมาก ราชสำนักมักจัดให้มีการแสดงถวายเสมอ  เมื่อเสด็จไปเมืองละโว้
                ๑๐. พระเจ้ากรุงสยามโปรดการแสดงไม้สูงมาก  เคยมีการตายกันขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้ว
                ๑๑. งูเลี้ยงจนเชื่อง  สัตว์จำพวกเดียวที่ชาวสยามฝึกไว้คือ งูขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งว่ากันว่าดุร้ายนัก ต้องนับว่าเป็นกระบวนกรเล่นกลมากกว่า
                ๑๒. งานมหรสพทางศาสนา ตามไฟในน้ำ บนบก และในพระบรมมหาราชวัง   ชาวสยามมีมหรสพเนื่องในการพระศาสนาด้วย ถึงฤดูน้ำเริ่มลดประชาชนพลเมือง จะแสดงความขอบคุณแม่คงคา ด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ)  อยู่หลายคืน  ทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ  (กระทง)  น้อยใหญ่ และมีกระดาษสีต่าง ๆ ประดับประดากระทง  เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแม่พระธรณี ที่ช่วยให้เก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหาร ได้อุดสมบูรณ์  ในวันต้น ๆ ของปีใหม่ ชาวสยามจะตามประทีปโคมไฟอย่างมโหฬารอีกครั้ง ที่เมืองละโว้ได้เห็นกำแพงเมืองตามประทีปโคมไฟ สว่างไสวเรียงรายอยู่เป็นระยะ ๆ  ภายในพระราชวังยิ่งงดงามขึ้นไปอีก
                ๑๓. ดอกไม้เพลิงที่งามมาก   ไม่เคยเห็นดอกไม้เพลิงที่ไหนจะดีเท่าที่พวกชาวจีนที่อยู่ในสยามทำขึ้น พวกจีนตามประทีปโคมไฟอย่างมโหฬารในเทศกาลขึ้นปีใหม่
                ๑๔. ว่าวกระดาษ  เป็นการละเล่นสนุกของราชสำนักทุกแห่งในชมพูทวีปในฤดูหนาว บางทีก็ผูกโคมประทีปขึ้นไปกับว่าว ดูเหมือนดวงดาว ว่าวของพระเจ้ากรุงสยามปรากฎในท้องฟ้าทุกคืนตลอดเวลาสองเดือน ของฤดูหนาว และทรงตั้งขุนนางให้คอยเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้
                ๑๕. มหรสพสามอย่างของชาวสยาม  ประเภทเล่นโรงมีอยู่สามอย่าง เรียกว่า โขน  ผู้แสดงสวมหน้ากากและถืออาวุธ แสดงบทหนักในทางสู้รบกันมากกว่าการร่ายรำ  หน้ากากส่วนใหญ่น่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่ก็เป็นหน้าปีศาจ (ยักษ์)  มหรสพที่เรียกว่า ละคร  เป็นบทกวีนิพนธ์สุดดีความกล้าหาญแกมนาฎศิลป์ ใช้เวลาแสดงถึงสามวัน ตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงเจ็ดโมงเย็น  ตัวเรื่องนั้นเป็นคำกลอนแสดงให้เห็นเป็นจริงจัง ตัวแสดงที่อยู่ในฉากนั้นหลายคนจะผลัดกันร้อง เมื่อถึงบทของตัว ตัวละครตัวหนึ่งขับร้องในบทของตัวชื่อเรื่อง ตัวแสดงอื่น ๆ ก็ขับร้องตามบทของบุคคลที่เรื่องนั้นกล่าวพาดพิงถึง ตัวละคนชายเท่านั้นที่ขับร้อง ตัวละครหญิงไม่ขับร้องเลย ส่วนระบำ เป็นการฟ้อนรำร่วมกันทั้งชายและหญิง ไม่มีบทรบราฆ่าฟัน  มีแต่เชิงโอ้โลมปฎิโลมกัน  นักระบำชายหญิงสวมเล็บปลอมยาวมาก  ทำด้วยทองเหลืองเขาร้องไปรำไปพร้อม ๆ กัน  มีชายสองคนมาเจรจากับคนดูดด้วยถ้อยคำตลกโปกฮา  คนหนึ่งกล่าวในนามของผู้แสดงฝ่ายชาย อีกคนในนามฝ่ายหญิง ผู้แสดงดังกล่าวไม่มีเครื่องแต่งตัวแปลกอะไร  โขนกับระบำมักไปแสดงในงานปลงศพ อาจไปเล่นในงานอื่น ๆ บ้าง ละครมักไปเล่นในงานฉลองอุโบสถ หรือวิหาร ที่สร้างใหม่ ในโอกาสอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน
                ๑๖. มวยปล้ำและมวยชก  การฉลองวัดมีการวิ่งวัว และการกีฬาเครื่องสนุกสนานอย่างอื่นด้วย เช่น มวยปล้ำ และมวยที่ต่อสู้กันด้วยศอกและหมัด  นักมวยพันมือด้วยด้ายดิบสามหรือสี่รอบ แทนกำวงแหวนทองแดง เช่นที่พวกลาวใช้ในการชกมวยประเภทนี้
                ๑๗. การวิ่งวัว  จะจัดพื้นที่ขนาดประมาณ ๕๐๐ วา  กว้างประมาณสองวา  ด้วยเสาสี่ต้นปักไว้มุมละต้น เป็นหลักเขต การวิ่งวัวทำกันนอกหลักเขตนี้ ตรงกลางพื้นที่ที่จัดไว้สร้างร้านสำหรับผู้ตัดสิน และเป็นที่หมายศูนย์กลางของจุดเริ่มต้นของวัว ที่จะออกวิ่งด้วย  บางทีก็เป็นการวิ่งแข่งระหว่างวัวคู่หนึ่ง ตัวต่อตัวแต่ละตัวมีพี่เลี้ยงจูงวิ่งมาสองคน ถือสายเชือกที่สนตะพายจมูกไว้ ขนาบมาข้างละคน และวางคนไว้เป็นระยะ ๆ คอยผลัดเปลี่ยนคนวิ่ง แต่โดยมากมักให้วัวคู่หนึ่งเทียมคันไถ แข่งกับวัวอีกคู่หนึ่งเทียมคันไถเช่นกัน  มีคนวิ่งตามทั้งขวาและซ้ายเหมือนอย่างแข่งวัวตัวต่อตัว มีอีกคนหนึ่งคอยยกไถแล้ววิ่งตามด้วย คนที่จะเข้าผลัดเปลี่ยนคนยกไถระยะถี่กว่าพวกจูง  การวิ่ง จะวิ่งเวียนขวาไปในทางเดียวกัน วิ่งเวียนไปรอบหลักทั้งสี่หลายรอบ จนฝ่ายหนึ่งวิ่งทับอีกฝ่ายหนึ่ง ผู้ดูล้อมวงอยู่รอบนอก การวิ่งวัวนี้มีการพนันขันต่อด้วย การแข่งขันบางทีก็เปลี่ยนเป็นวิ่งควายด้วย

                ๑๘. การแข่งเรือ  การแข่งเรือเป็นกีฬามากกว่าการละเล่น  ชาวสยามเลือกเรือยาวสองลำมาเปรียบสัดส่วน ให้เท่ากันทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ แล้วแบ่งออกเป็นสองพวก เพื่อพนันขันต่อกัน พวกกรรมการลุกขึ้นยืนทำจังหวะเร่งเร้า พวกฝีพายส่งเสียงร้องอย่างน่าเกรงขาม  คนดูก็เปล่งเสียงร้องและออกท่าทาง
                ๑๙. การรักที่จะเล่นการพนัน  ชาวสยามรักการเล่นการพนันมาก จนฉิบหายขายตน หรือไม่ก็ขายบุตรธิดาของตน (ไปเป็นทาส)   การพนันที่ชอบเล่นมากที่สุดคือ สกา  ซึ่งดูเหมือนจะได้เรียนการเล่นมาจากชาวปอร์ตุเกศ ชาวสยามไม่เล่นไพ่เลย  เขาเล่นหมากรุกตามแบบของเราและแบบของจีน
                ๒๐. ชาวสยามชอบยาเส้น  พวกผู้หยิงก็นิยมสูบกัน  ชาวสยามได้ยาสูบมาจากเมืองมนิลา เมืองจีน และที่ปลูกขึ้นเอง
                ๒๑. การใช้ชีวิตตามปกติของชาวสยาม  ชายชาวสยามรักลูกเมียมาก  ในระหว่างที่พวกผู้ชายถูกเกณฑ์ไปเข้าเวรยาม มีกำหนดหกเดือนนั้นในทุกปีนั้น เป็นภาระของภรรยา มารดา และธิดา เป็นผู้หาอาหารไปส่งให้ และเมื่อพ้นเกณฑ์แล้วกลับมาอยู่บ้าน ผู้ชายส่วนมากก็ไม่ทำงานอะไรเป็นล่ำเป็นสัน ชีวิตตามปกติของชาวสยามเป็นไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่เที่ยวล่าสัตว์ ได้แต่นั่งเอนหลัง กิน เล่น สูบบุหรี่ แล้วก็นอนไปวัน ๆ  ภรรยาจะปลุกให้เขาตื่นประมาณเจ็ดโมงเช้า เอาอาหารมาให้กิน เสร็จแล้วก็นอนใหม่ พอเที่ยงก็ลุกมากินอีก แล้วเอนหลังใหม่ จนกินอาหารมื้อเย็น  เวลาที่เหลืออยู่นอกนั้นจะหมดไปด้วยการพูดคุย และเล่นการพนัน พวกภรรยาไปไถนา ไปซื้อขายของในเมือง
    บทที่เจ็ด การแต่งงานและการหย่าร้าง
                ๑. การระวังรักษาบุตรี  ประเพณีของประเทศนี้ไม่อนุญาตให้หญิงสาว พูดจาพาทีกับชายหนุ่ม ผู้เป็นแม่จะลงโทษ ถ้าจับได้ว่าลูกสาวของตน แอบไปพูดจาวิสาสะกับผู้ชายตามใจชอบ แต่พวกลูกสาวก็มักจะหนีตามผู้ชายไปเมื่อสบช่อง
                ๒. เขาจัดชายหญิงให้แต่งงานกันเมื่ออายุเท่าใด  หญิงชาวสยามมีบุตรได้ตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี บางทีก็ก่อนหน้านั้น บางคนอายุ ๔๐ ปีแล้วยังมีลูกได้ จึงเป็นธรรมเนียมที่จะให้ลูกสาวแต่งงานแต่อายุยังน้อยกับชายหนุมอายุใกล้เคียงกัน แต่บางคนก็ไม่ยอมแต่งงานตลอดชีวิต แต่ก็ไม่มีใครยอมบวชเป็นภิกษุณี นอกจากแก่มากแล้วเท่านั้น
                ๓. ชายชาวสยามหาหญิงมาเป็นคู่ครองอย่างไร  พ่อแม่ฝ่ายชายจะจัดหญิงเฒ่าแก่ผู้มีชื่อเสียงดีไปสู่ขอต่อพ่อแม่ฝ่ายหญิง ถ้าพ่อแม่ฝ่ายหญิงพอใจ ก็จะให้คำตอบในทางเอื้อเฟื้อ และยังสงวนท่าทีขอไปสอบถามความยินยอมพร้อมใจของลูกสาวก่อน และจะสอบถามเวลาตกฟากของฝ่ายชาย และให้เวลาตกฟากของฝ่ายหญิงไป ทั้งสองฝ่ายจะนำไปให้หมอดูทำนาย เมื่อเป็นที่พอใจของฝ่ายชายจะไปมาหาสู่ฝ่ายหญิงสามครั้ง เอาหมากพลูผลไม้ไปกำนัล ในการไปหาดังกล่าว พ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายจะมาอยู่กันพร้อมหน้า ช่วยกันนับเงินทุนของเจ้าสาวและทรัพย์สินที่จะให้เจ้าบ่าว เจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะได้รับของขวัญ เป็นการรับไหว้จากญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย พระสงฆ์ถูกห้ามไม่ให้มาเกี่ยวข้องในการแต่งงาน ต่อจากนั้นอีก ๒ - ๓ วันจึงไปที่เรือนหอเพื่อประพรมน้ำมนต์ และสวดมนต์เป็นภาษาบาลี ๒ - ๓ บท
                ๔. การฉลองแต่งงาน  งานจัดที่บ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวต้องปลูกโรงพิธีขึ้นหลังหนึ่งในบริเวณที่ห่างจากเรือนใหญ่ จากที่นั่นเขาจะนำคู่บ่าวสาว ไปสู่เรือนหอที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว อีกหลังหนึ่งที่เจ้าบ่าวปลูกสร้างขึ้นตั้งอยู่ภายในรั้วไม้ไผ่ในบริเวณบ้านพ่อแม่ของฝ่ายหญิง ทั้งคู่จะอยู่ในเรือนนี้ ๓ - ๔ เดือน แล้วจึงแยกไปปลูกเรือนในที่แห่งใหม่ตามใจชอบต่อไป เครื่องประดับที่บุตรสาวขุนนางใช้สวมศีรษะในพิธีแต่งงานคือรัดเกล้าทองคำ เครื่องุน่งห่อมของเจ้าสาวเป็นผ้านุ่งที่งดงามกว่าธรรมดา มีบางคนบอกว่าก่อนที่จะตกลงแต่งงานต้องเอาตัวลูกเขยมาใช้งานในเรือนของพ่อตาก่อนหกเดือน เพื่อดูอัธยาศัยใจคอ
                ๕. ความมั่งคั่งของการแต่งงาน  เงินทุนอย่างมากที่สุดคือ ๑๐๐ ชั่ง ตกประมาณ ๑๕,๐๐๐ ลัวร์ ปกติสินเดิมของฝ่ายเจ้าบ่าวต้องมีเท่ากับฝ่ายเจ้าสาว
                ๖. การมีภรรยาได้หลายคน  คนมั่งมีเท่านั้นที่จะมีภรรยามากกว่าคนเดียว
                ๗. อันดับแตกต่างระหว่างภรรยาด้วยกัน  ผู้ที่มีภรรยาหลายคน จะมีภรรยาคนหนึ่งที่สำคัญกว่า ภรรยาคนอื่น เรียกว่า เมียหลวง ภรรยาคนอื่น ๆ เรียกว่า เมียน้อย ซึ่งมักเป็นคนที่สามีช่วยไถ่มาเป็นภรรยา ฉะนั้นลูกที่เกิดจากเมียน้อยจึงเรียกพ่อของตนว่า พ่อเจ้า ส่วนลูกของเมียหลวงจะเรียกพ่อของตนว่าพ่อ
                ๘. ลำดับขั้นญาติอันต้องห้ามในการแต่งงาน และพระเจ้าแผ่นดินสยามทุกพระองค์ละเมิดกฎนี้อย่างไร  การแต่งงานกับญาติสนิทชั้นที่หนึ่งเป็นสิ่งต้องงห้าม (ตามกฎหมาย) แต่อาจแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องของตนได้ ชายอาจแต่งงานกับพี่น้องท้องเดียวกันได้โดยแต่งทีละคราว แม้กระนั้นพระเจ้าแผ่นดินสยามทุกพระองค์ก็ทรงล่วงบทบัญญัตินี้ พระเจ้าอยู่หัวองค์วปัจจุบันก็ได้อภิเษกกับพระขนิษฐภคินีของพระองค์
                ๙. กฎหมายว่าด้วยการรับมรดกแม่ม่ายและลูก ๆ  การรับมรดกในครอบครัวเอกชนทั่วไปตกอยู่กับเมียหลวงแล้วก็ถึงลูกเมียน้อยโดยเสมอภาคกัน เมียน้อยและลูกเมียน้อย ผู้เป็นทายาทอาจขาย (เป็นทาส) ไปเสียก็ได้ จะได้อะไรบ้างก็สุดแท้แต่ผู้เป็นทายาทจะแบ่งให้ หรือเท่าที่บิดาผู้ก่อนตายจะหยิบยกให้ด้วยมือ ด้วยชาวสยามไม่รู้จักทำพินัยกรรม
                ๑๐. ทรัพย์สมบัติของชาวสยาม  ประกอบด้วยอสังหาริมทรัพย์ แม้ใครจะมีที่ดินบ้างก็ไม่มากนัก โดยเหตุที่ไม่สามารถมีกรรสิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ ด้วยถือว่าแผ่นดินเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน แม้จะทรงขายให้เอกชนไปแล้วจะทรงเรียกกลับคืนเมื่อใดก็ได้ แม้กระนั้นกฎหมายของสยามก็ระบุไว้ว่า ที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดกันในตระกูล และเอกชนคนหนึ่งอาจขายที่ดินให้เอกชนอีกคนหนึ่งได้ ด้วยเหตุนี้คนทั้งหลายจึงต่างมีอสังหาริมทรัพย์กันน้อยที่สุด และพยายามปกปิดไว้ และโดยที่เพชรเป็นสิ่งที่ซุกซ่อนได้ง่ายขนย้ายได้ง่าย จึงเป็นที่แสวงหาหากันทั่วไปในชมพูทวีป และซื้อขายกันด้วยราคาแพงมาก
                ๑๑. การหย่าร้าง  การอยู่กินของผัวเมียในเมืองสยาม แทบจะราบรื่นทุกครัวเรือน อันพิจารณาได้จากความจงรักภักดีของภรรยาที่หาเลี้ยงสามี ตลอดระยะเวลาที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรับราชการงานหลวง ไม่เพียงปีละ หกเดือน แต่บางครั้งนาน ๑ - ๒ ปี หรือ ๓ ปี
                ๑๒. กฎหมายการหย่าร้าง  สามีเป็นตัวสำคัญในการหย่าร้าง แต่เขาจะไม่เคยปฏิเสธเมื่อฝ่ายภรรยาจะขอหย่า เขาจะคืนเงินกองทุนสินเดิมให้นางไป พวกลูก ๆ ก็แบ่งกันไป แม่ได้ลูกคนที่ ๑, ๓, ๕ และต่อ ๆ ไปตามจำนวนคี่ ถ้ามีลูกโทนคนเดียวแม่ก็ได้ไป
                ๑๓. ผลการหย่าร้าง  ทั้งสองจะไปแต่งงานใหม่ได้ ฝ่ายหญิงจะแต่งงานใหม่ได้ในวันที่หย่าร้าง โดยไม่คำนึงถึงข้อสงสัยที่จะเกิดกับลูกคนแรก โดยเชื่อเอาตามคำที่ฝ่ายหญิงบอกเป็นประมาณ
                ๑๔. อำนาจของบิดา  สามีเป็นผู้ทรงอำนาจเด็ดขาดในครอบครัว ถึงขนาดขายลูกเมียได้ ยกเว้นเมียหลวง เขาทำได้เพียงขับไล่เท่านั้น แม่ม่ายได้รับช่วงอำนาจจากสามีของนาง แต่นางไม่อาจขายลูกที่นับเป็นจำนวนคู่ได้ ถ้าญาติพี่น้องข้างพ่อคัดค้าน ภายหลังการหย่าร้างพ่อและแม่อาจขายลูกคนที่ได้รับการแบ่งสันปันส่วน
                ๑๕. ความสัมพันธ์ด้านความรัก  การอยู่กินกันโดยไม่ได้แต่งงาน เป็นสิ่งที่น่าอัปยศ โดยเฉพาะในหมู่ราษฎรสามัญ เมื่อไม่พอใจต่างก็แยกกันไป มีผลเท่ากับการหย่าร้าง หญิงชาวสยาม ไม่อาจทอดตัวให้แก่คนต่างประทศโดยง่าย
    บทที่แปด การอบรมของชาวสยาม ข้อแรกคือความสุภาพ
                ๑. ความรักของลูกต่อพ่อแม่  ลูกมีความว่านอนสอนง่ายและอ่อนโยน พ่อแม่ก็รู้จักวางตัวให้เป็นที่รักและเคารพของลูก พ่อแม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกในกรณีที่ลูกไปทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พ่อแม่ต้องนำตัวลูกส่งต่อเจ้าหน้าที่ด้วย เมื่อรู้ว่าลูกทำการมิชอบ ถ้าลูกหนีไปก็มักจะกลับมามอบตัว เมื่อพระมหากษัตริย์ให้เอาตัวพ่อหรือแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ของตนไปลงโทษแทน
                ๒. ความสุภาพเรียบร้อยเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชาวสยาม  เขาหลีกเลี่ยงต่อการพูดจาปราศัยกับชาวต่างประเทศ ถ้าเกิดวิวาทกับชาวต่างประเทศ พวกเขาจะเป็นฝ่ายถูกลงโทษ ฉะนั้นชาวสยามจึงฝึกลูกของตน ให้มีความเสงี่ยมเจียมตัวอย่างที่สุด
                ๓. ความรู้สึกโน้มน้าวของชาวสยามในเรื่องสงบปากสงบคำ   แม้แต่ขุนนางผู้ใหญ่ก็ไม่เว้นการสงบปากสงบคำยิ่งไปกว่าคนอื่น ๆ เลย
                ๔. การสัพยอกในหมู่ชาวสยาม  ชาวสยามไม่มีการสัพยอกล้อเลียนกันเลย  ชาวสยามพูดล้อเลียนกัน ระหว่างคนที่มีฐานะเสมอกัน บางทีว่าเป็นคำประพันธ์ด้วยซ้ำไป  ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างฝึกว่าโต้ตอบกันไปมา เป็นการแข่งฝีปาก
                ๕. ความสุภาพของภาษาสยาม  ภาษาสยามสามารถแสดงออกซึ่งความเคารพและยกย่องได้ดีกว่าภาษาฝรั่งเศส  ศัพท์สำหรับมูลนายพูดกับบ่าวทาส ศัพท์สำหรับบ่าวทาสพูดกับมูลนาย  ศัพท์สำหรับราษฎรสามัญพูดกับเจ้านาย  ศัพท์สำหรับบุคคลที่เสมอกัน ศัพท์สำหรับพระสงฆ์  ในภาษาสยามไม่มีการแบ่งเป็นปุลลึงค์ และอิตถีลึงค์
                ๖. นามของชาวสยาม  ได้ให้ชื่อแก่สรรพสิ่งที่มีค่า  ที่ตระการแห่งธรรมชาติด้วยนามว่า ทองคำ แก้วผลึก ดอกไม้ นางฟ้า เจ้าฟ้า
                ๗. คำที่ชาวสยามใช้เวลาไหว้  คือ ข้าไหว้เจ้า เราไหว้ ข้าไหว้ เมื่อจะถามว่าท่านสบายดีหรือ จะพูดว่าอยู่ ? กินดี ?
                ๘. ชาวสยามได้รับอนุญาตให้ถามพระอาการของพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างไร   ไม่อนุญาตให้ชาวสยามคนหนึ่ง ถามอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้น้อยกว่าตน ถึงข่าวคราวพระอาการของพระเจ้าอยู่หัว
                ๙. ชาวสยามนั่งอย่างไร  คือ นั่งขัดสมาธิ ไม่นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้
                ๑๐. มารยาทของชาวสยาม  เมื่อล้อมวงกันอยู่ ชาวสยามจะไม่ลุกขึ้นยืนเป็นอันขาด แต่เขาจะไม่นั่งท่าขัดสมาธิ หากจะยอบกายหมอบลงเพื่อให้ความเคารพซึ่งกันและกัน  พวกทาสและพวกบ่าวที่อยู่เบื้องหน้าเจ้าขุนมูลนายของตน  และราษฎรสามัญที่อยู่เบื้องหน้าเจ้านาย จะจรดเข่าลงกับพื้นและนั่งทับส้น ศีรษะโน้มมาข้าหน้าเล็กน้อย และพนมมือยกขึ้นเหนือหน้าผาก  ชาวสยามที่เดินผ่านบุคคลที่จะให้ความเคารพ เขาจะเดินก้มตัวพนมมือสูงต่ำตามควร และไม่แสดงการเคารพเป็นอย่างอื่น
                ๑๑. พิธีไปมาหาสู่  ถ้าบุคคลที่มีฐานะต่ำกว่าผู้มาหา เขาจะเดินก้มตัวเข้าไปในห้อง แล้วยอบกายลงเอาเข่าจรดพื้นทับส้น เขาจะไม่ออกปากพูดจาขึ้นก่อน  ถ้าเป็นการเยี่ยมเยียนผู้ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน หรือผู้ใหญ่ไปหาผู้น้อย  เจ้าของบ้านจะต้องออกมารับถึงประตูหน้าเรือน  และเมื่อเสร็จการเยือนแล้ว ก็จะตามออกมาส่งที่นั่นไม่ไกลไปกว่านั้น เขาจะเดินตรงหรือจะเดินก้มหลังค้อม ๆ สุดแต่ขั้นความเคารพที่เจ้าของบ้านจะพึงให้แก่ผู้มาหา  แล้วก็สงวนท่าทีที่จะพูดขึ้นก่อน หรือพูดที่หลังตามธรรมเนียม  แต่เขาจะชี้ที่นั่งให้ผู้มาหา และเชื้อเชิญให้นั่งแล้วนำผลไม้สด ผลไม้กวนมาเลี้ยง บางทีมีข้าวและปลาด้วย  แต่โดยเฉพาะนั้นจะหยิบยื่นหมากพลู และน้ำชา ให้แก่ผู้มาหาด้วยมือของตนเอง  ถ้าเป็นชนชั้นสามัญแล้วก็ไม่ลืมที่จะเลี้ยงเหล้าด้วย เมื่อเสร็จการเยือนแล้ว แขกจะออกปากลาก่อน ดังที่ทำในบ้านเมืองเรา (ฝรั่งเศส)  เจ้าของบ้านก็จะแสดงความยินยอม ด้วยการกล่าวคำไว้อาลัยอย่างอ่อนน้อม

                ๑๒. สถานที่อันมีเกียรติได้รับการเคารพถึงขนาดไหน  สถานที่ใดอยู่ในที่สูงสุด ย่อมได้รับการเคารพอย่างยิ่งไม่มีใครขึ้นไปยังตึกชั้นบน  แม้แต่จะขึ้นไปทำความสะอาด ในขณะที่อัครราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ชุมนุมกันอยู่ ณ ห้องชั้นล่าง ชาวสยามให้ข้อสังเกตว่าภายใต้บันไดนั้นมิพึงใช้เป็นทางเดินเป็นอันขาด ด้วยเกรงว่าจะผ่านลอดใต้เท้าของบุคคลที่กำลังก้าวขึ้นไป  แต่ชาวสยามสร้างเรือนเพียงชั้นเดียว และใต้ถุนก็ไม่ได้ใช้การอะไร ไม่มีใครอยากจะลอดเข้าไป หรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยภายใต้เท้าของคนอื่น
                ๑๓. ชาวสยามนับถือว่าเบื้องขวามีศักดิ์ศรีกว่าเบื้องซ้าย  ฝาห้องด้านในตรงข้ามธรณีประตูทางเข้า มีศักดิ์ศรีมากกว่าฝาห้องด้านอื่น ๆ  และฝาอีกสองด้านนั้นก็มีศักดิ์ศรีเหนือด้านที่มีประตู  และผนังหรือฝาห้องเบื้องขวามือของผู้ที่นั่งหันหลังให้แก่ฝาด้านใน ก็มีศักดิ์ศรีเหนือกว่าผนัง หรือฝาห้องที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ ถ้าใครคนหนึ่งได้รับการเยี่ยมของบุคคลสำคัญ เขาจะเชิญบุลคลผู้นั้นให้นั่งตรงกลางผนัง หรือฝาด้านในของห้องโดดเดี่ยว แต่ผู้เดียว และตัวเจ้าของบ้านก็จะนั่งหันหลังให้ประตู หรือฝาห้องด้านข้างด้านใด้ด้านหนึ่ง
                ๑๔. เหตุใดบ้านเมืองทั้งหลายในเมืองจีนจึงเป็นแบบเดียวกันหมด
                ๑๕. ชาวสยามก็มีพิธีรีตองอย่างนี้เป็นเป็นแบบเดียวกัน  ถ้าที่ไหนมีชาวสยามนั่งชุมนุมกันอยู่หลายคน หากมีอีกผู้หนึ่งเข้าร่วมวงด้วย บ่อยครั้งอิริยาบถของคนในกลุ่มจะเปลี่ยนไป พวกเขารู้ดีว่าต่อหน้าบุคคลชั้นใด และขนาดไหนที่เขาจะพึงหมอบก้มหน้า เงยหน้า หรือนั่งวางท่าอย่างสง่าผ่าเผย และควรจะพนมมือหรือไม่เพียงใด การนั่งนั้นจะพึงเหยียดขาได้ข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรือว่าจะต้องซ่อนขาทั้งสองข้างด้วยการนั่งทับส้นเท้า ความผิดอันเกิดจากกระบวนหน้าที่คารวะอย่างนี้ อาจได้รับโทษถูกโบยด้วยหวาย
                ๑๖. ชาวสยามคุ้นเคยกับธรรมเนียมเหล่านี้มาแต่เยาว์
                ๑๗. ผู้ใหญ่มีทางให้ผู้น้อยเว้นการปฎิบัติตามธรรมเนียมได้อย่างไร  เมื่อผู้ใหญ่ไม่ประสงค์จะให้ผู้น้อยลำบาก และให้ความยกย่องแก่ผู้น้อยมายิ่งขึ้น ผู้ใหญ่จึงพยายามเว้นการพบปะกันกับผู้น้อยในที่สาธาณะ  เพื่อมิให้ผู้น้อยต้องแสดงความอ่อนน้อมแก่ตนต่อหน้าธารกำนัล  การแสดงความเมตตาอารีต่อผู้น้อย หรือการยินยอมให้ผู้น้อยเข้าถึงตัวได้ง่าย ๆ  หรือการออกมาต้อนรับขับสู้ผู้น้อยนั้น ในประเทศอินเดียถือว่าเป็นความอ่อนแออย่างยิ่ง
                ๑๘. สิ่งที่ไม่สุภาพบางประการในหมู่พวกเรา (ฝรั่งเศส)  กลับไม่เป็นสิ่งที่ไม่สุภาพในหมู่พวกเขา (สยาม)   ชาวสยามมิได้บังคับตัวไว้มิให้เรอออกมาเลย ในขณะกำลังสนทนากันอยู่ และไม่ถือว่าเป็นการผิดมรรยาทในการกวาดเม็ดเหงื่อ หรือที่หน้าผากด้วยนิ้วมือแล้วสะบัดลงดิน  ส่วนพวกเราใช้ผ้าเช็ดหน้า ชาวสยามน้อยคนนักที่มีผ้าเช็ดหน้าใช้ เขาไม่กล้าถ่มน้ำลายลงกับเสื่อหรือพรมปูพื้น  จึงมักใช้วิธีบ้วนลงในกระโถนซึ่งถืออยู่ในมือ ถ้าเป็นในพระราชมณเฑียร เขาไม่กล้าไอ ขาก หรือสั่งน้ำมูก หมากที่เขาเคี้ยวอยู่เป็นประจำ และกลืนน้ำหมากเสียได้ ในยามที่ต้องการ อนึ่ง เขาหยิบคำหมากขึ้นมาเคี้ยวใหม่ต่อหน้าพระที่นั่งหาได้ไม่
                ๑๙. อะไรคือสิ่งที่ชาวสยามถือว่าเป็นการสบประมาท  ศีรษะเป็นส่วนสูงที่สุดของร่างกาย ก็ถือกันเป็นอย่างยิ่ง การถูกต้องผู้ใดที่ศีรษะหรือผม หรือเอื้อมมือข้ามศีรษะถือว่าเป็นการดูหมิ่นอย่างยิ่ง การถูกต้องลอมพอกที่เขาถอดวางไว้ ถือว่าเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่งเหมือนกัน
                ๒๐. ท่าทางอย่างไหนเป็นการแสดงความเคารพมากน้อยกว่ากัน  ท่าที่แสดงความเคารพที่สุด หรืออ่อนน้อมที่สุดคือ ขณะเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวของตน ชาวสยามหมอบราบอยู่ด้วยเข่าและศอก พนมมือสูงเสมอหน้าผาก ทอดน้ำหนักตัวไว้บนส้นเท้า จะต้องถวายบังคมสามครั้งติดต่อกัน
                ไม่แต่การนั่งในที่สูง จะเป็นการแสดงศักดิ์ศรีกว่าการนั่งในที่ต่ำเท่านั้น  การยืนยังเป็นการแสดงศักดิ์ศรีมากกว่าการนั่ง เมื่อ มร.เดอ โชมองต์ เข้าเฝ้าครั้งแรก จำเป็นต้องให้พวกขุนนางผู้ดีชาวฝรั่งเศสซึ่งติดตามคณะฑูตไปด้วย เข้าไปนั่งในท้องพระโรงก่อน แล้วจัดให้ลงนั่งทับส้นก่อนที่พรเจ้ากรุงสยามจะเสด็จออก และมีการห้ามไว้ไม่ให้ลุกยืน เพื่อถวายคำนับในขณะเสด็จออก  พระเจ้าอยู่หัวองค์นี้ไม่เคยลดราให้สังฆราช หรือบาทหลวงคณะเยซูอิดคนใดเข้าเฝ้า เฉพาะพระพักตร์ในท้องพระโรงเลย และภายในพระราชมณเฑียรก็ไม่โปรดให้ลุกขึ้นยืน ณ ที่ใด นอกจากเวลาเดินเท่านั้น  แต่ในการเดินทุกครั้ง เมื่อ ค.ศ.๑๖๘๗  เมื่อคณะฑูตผู้มีอำนาจเต็มเข้าเฝ้าครั้งแรก และพวกขุนนางผู้ดีชาวฝรั่งเศส ได้รับเกียรติให้เข้าไปในท้องพระโรง ขณะที่พระเจ้ากรุงสยามเสด็จออกขุนขางแล้วนั้น  ก็เนื่องจากว่าขุนนางที่ติดตามคณะอัครราชทูตสยามไปยังฝรั่งเศสในครั้งกระโน้น  เข้าไปในพระที่นั่งพระราชวังแวร์ซายส์ ในขณะที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้ประทับบนพระราชอาสน์
                ๒๑. พระเจ้ากรุงสยามทรงถ่ายแบบพระราชพิธีในราชสำนักของพระองค์จากราชสำนักฝรั่งเศสอย่างไร พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดถวายความเคารพแต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส โดยทรงขอให้ มร.เดอ โชมองต์ กราบทูลให้ทรงทราบว่า หากแม้มีขนบธรรมเนียมใดในราชสำนักของพระองค์ ไม่มีในราชสำนักฝรั่งเศสแล้ว พระองค์ก็จะได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดเปลี่ยนแปลง และเมื่อคณอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าอยู่หัว เดินทางไปถึงประเทศนั้น (สยาม) แล้ว พระเจ้ากรุงสยามจึงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการรับรองแปลกเปลี่ยนไปหลายประการ จากที่เคยพระราชทานเกียรติยศแก่ มร.เดอ โชมองต์ เมื่อครั้งกระนั้นเพื่อให้ละม้ายเหมือนกับที่ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสพระราชทานเกียรติยศต้อนรับคณะฑูตสยาม อนึ่งพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงกระทำการแปลอย่างหนึ่ง เมื่อ มร.แดร์ ฟาจส์ เข้าเฝ้าอันไม่เคยมีตัวอย่างในกรุงสยามมาก่อน คือพระองค์ทรงโปรดให้ขุนนางทั้งปวงในราชสำนักของพระองค์ลุกขึ้น ยืนเฝ้าต่อหน้าพระที่นั่ง ดังที่ มร.แดร์ ฟาจส์ และคณะนายทหารฝรั่งเศสที่ติดตามมาได้ยืนเฝ้าอยู่
                ๒๒. เหตุใดข้าพเจ้าพอใจที่จะยืนกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามมากกว่านั่ง  มร.เดอ โชมองต์  ได้เคยกราบทูลขอร้องที่จะนั่งกราบทูล แต่พระองค์ได้ทรงทราบว่า คณะฑูต (สยาม)  ได้ยืนเฝ้าและยืนกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส พระองค์จึงทรงอนุญาตให้ข้าพเจ้ายืน หรือนั่งก็ได้ตามพอใจ ข้าพเจ้าจึงเลือกเอาข้างยืน
                ๒๓. ความมีมรรยาทอย่างอื่นของชาวสยาม  การทูนไว้บนศีรษะ ในของที่มีผู้ให้ หรือที่ตนได้รับ ถือกันว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด พระเจ้ากรุงสยามเอง ก็ทรงเคยรับพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ซึ่ง มร.เดอ โชมองต์ นำขึ้นทูลเกล้าถวายจบขึ้นไปเหนือพระนลาต แต่ครั้งได้ทรงทราบจากคณะของคณะฑูตสยามว่า มรรยาทอย่างนี้มิได้กระทำในราชสำนักฝรั่งเศส มาในครั้งนี้พระองค์จึงได้ทรงละเว้นเสีย
                ๒๔. ท่าทางที่ชาวสยามแสดงความเคารพต่อกัน   เขาพนมมือทั้งสองข้าง หรืออย่างน้อยที่สุดมือขวา แต่เพียงข้างเดียว ยกขึ้นเสมอหน้าผาก ทุกครั้งที่กล่าวคำกราบบังคมทูลต่อพระเจ้าอยู่หัว ก็จะเริ่มด้วยคำเหล่านี้ก่อนเสมอ "พระพุทธเจ้าข้า ขอรับพระราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม"
                ถ้าท่านยื่นมือ (ข้างเดียว)  ไปให้ชาวสยามสัมผัส เขาจะกุมมือข้างนั้นของท่านไว้ ด้วยมือของเขาทั้งสองข้าง การยื่นมือไปแต่ข้างเดียวนั้น ชาวสยามถือว่าผิดมรรยาทอย่างเอก ทำนองเดียวกับที่มิได้รับสิ่งของ ที่เขาหยิบยื่นให้ประคองไว้ในมือ ทั้งสองข้าง หรือมิได้รับสิ่งของที่ท่านส่งให้ด้วยมือทั้งสองข้าง
    บทที่เก้า การศึกษาของชาวสยาม
                ๑. ชาวสยามส่งลูกให้ไปอยู่กับพระสงฆ์  เมื่องลูกอายุ ๗ - ๘ ขวบ  ชาวสยามจะส่งให้ไปอยู่วัดกับพระสงฆ์ และให้บวชนุ่งเหลืองห่มเหลือง  จะสึกออกมาเมื่อใดก็ได้ เรียกว่า เณร
                ๒. เรียนอะไรกันบ้าง  พระสงฆ์จะสอนอนุชนเหล่านี้ให้รู้จักอ่าน เขียน และนับจำนวนเป็นสำคัญ ด้วยว่าไม่มีสิ่งใดจะจำเป็นแก่พ่อค้า และชาวสยามยิ่งไปกว่าการค้าขาย  ทั้งสอนศีลธรรมและชาดก แต่ไม่มีการสอนพงศาวดาร กฎหมาย หรือศาสตร์อื่น ๆ ด้วย  นอกจากนั้นยังให้ศึกษาภาษาบาลี อันเป็นภาษาของศาสนา แต่มีคนสยามน้อยคนนักที่จะรู้ภาษาบาลีอย่างแตกฉาน
                ๓. ภาษาบาลีและภาษาสยามเทียบกับภาษาจีน  ตัวหนังสือสยาม และบาลีมีอักษรน้อยตัวเหมือนตัวหนังสือของเรา นำเอามาผสมเป็นพยางค์ และเป็นคำ ภาษาสยามส่วนมากเป็นคำโดด  จะต้องสำเหนียกเสียงแตกต่างกันให้แม่นยำ จึงจะเข้าใจความหมายได้ถนัด
                ๔. ภาษาสยามกับภาษาจีนไม่มีวิภัตติเหมือนภาษาบาลี  คือไม่มีการผันคำ ไม่มีการแจกกริยา และอาจไม่มีรากศัพท์ด้วย ชาวสยามมีกริยานุเคราะห์อยู่ ๔ - ๕ ตัว  บางทีก็ตั้งไว้หน้ากริยา บางทีก็เติมไว้ท้ายกริยา เพื่อบอกพจน์ กาลและมาลา
                ๕. ภาษาสยามมีศัพท์น้อยแต่มากไปด้วยอุปมาอุปไมย
                ๖.  การคิดเลข  ตัวเลขสยามมี ๑๐ ตัว เหมือนของเรา  การเรียงลำดับก็อย่างเดียวกัน จากซ้ายมาขวา จากหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน และหลักอื่น ๆ ที่เพิ่มด้วยกกำลังคูณด้วยสิบ
                ๗. เครื่องมืองที่ชาวจีนใช้เป็นคะแนนในการคิดเลข  ชาวสยามมักคำนวณเลขด้วยปากกา แต่ชาวจีนใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งทำนองเบี้ยคะแนน (ลูกคิด)  ซึ่งมีผู้คิดทำขึ้นระหว่าง ๒๖๐๐ - ๒๗๐๐  ปี ก่อนคริสตศักราช
                ๘. ชาวสยามไม่เหมาะที่จะเรียนวิชาอย่างคร่ำเคร่ง  วิชาต่าง ๆ ที่สอนกันในวิทยาลัยของเรานั้น เกือบจะไม่เป็นที่รู้จักกันในชาวสยาม
                ๙. ชาวสยามเป็นมีสติปัญญา เสียแต่ว่าเกียจคร้าน  ชาวสยามพิเคราะห์อะไรรู้ง่าย และแจ่มแจ้ง แทงตลอด กรเจรจาโต้ตอบก็เฉียบแหลมว่องไว ข้อคัดค้านของเขาก็มีเหตุผลถูกต้อง ในชั้นแรกก็๋พยายามเลียนแบบไปก่อน อีกไม่กี่วันก็เป็นคนงานที่มีฝีมือพอใช้ได้  เชื่อว่าถ้าได้ศึกษาสักหน่อยแล้ว ก็จะเป็นผู้เก่งกาจได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวิทยาการชั้นสูง หรือศิลปวิทยาที่ยากเพียงใด  แต่ความเกียจคร้านได้ทำลายความหวังเสียหมด จึงไม่แปลกใจว่าเขามิได้ประดิษฐ์ คิดค้นอะไรขึ้นมาได้เลย
                ๑๐. ชาวสยามเป็นกวีโดยกำเนิดและบทกลอนของเขามีสัมผัสคล้องจองกันดีมาก
                ๑๑. อัจฉริยลักษณ์ของชาวสยามในการกวี  นอกจากเพลงที่กล่าวถึงความรักแล้ว ก็มีเพลงที่กล่าวถึงเรื่องราวตามพงศาวดาร และเป็นธรรมภาษิตผสมผสานกันไป เพลงเห่เรือ ส่วนเพลงละคร ล้วนเป็นเพลงอบรมศีลธรรม และกล่าวความเกี่ยวกับพงศาวดาร
                ๑๒. ชาวสยามไม่นิยมเป็นนักพูดกันเลย  แม้ชาวสยามจะเกิดมาเป็นกวี  แต่มิได้เกิดมาเป็นนักพูด และไม่มีวันจะเป็นได้  หนังสือที่ชาวสยามแต่ง ถ้าไม่เป็นการบรรยายเรื่องตามแบบง่าย ๆ  แล้วก็เป็นคติพจน์ แบบห้วน ๆ ประกอบภาพมากหลาย ชาวสยามไม่มีทนายความ โจทก์จำเลย ต่างให้การไว้ต่อเสมียนศาล ตุลาการ เสมียนก็ทำบันทึกคำให้การไป เมื่อพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาก็อ่านคำบาลีตามพระคัมภีร์ แล้วก็แปลและอธิบายให้เข้าใจเป็นภาษาง่าย ๆ  ไม่มีการเคลื่อนไหวอิริยาบท
                ๑๓. คำทักทายปราศรัยซ้ำ ๆ กันอยู่เสมอ  ชาวสยามรู้จักที่จะพูดจากปรองดองกิจการ และได้ผลสำเร็จด้วยชั้นเชิงเป็นอันมาก  แต่สำหรับคำโอภาปราศรัยแล้ว เขาทำเป็นแบบเดียวกันทั้งนั้น  ซึ่งนับว่าไพเราะมาก พระเจ้ากรุงสยามก็ทรงมีพระราชปฎิสันถารอันแทบว่า จะท่องได้ในพระราชพิธีเสด็จออกแขกเมืองทุกครั้ง
                ๑๔.  คำปราศรัยครั้งสุดท้ายของอัครราชฑูตสยามในฝรั่งเศส  ข้าพเจ้าไม่ลืมสุนทรพจน์อันไพเราะที่อัครราชฑูตสยามได้กราบบังคลทูลแด่ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสในวันที่เฝ้าถวายบังคลลา สุนทรพจน์นั้นชิ้นเดียวก็ทำให้เราเชื่อว่า คนสยามเป็นนักพูดที่ดี
                ๑๕. ชาวสยามมีธรรมปรัชญาแต่ไม่มีเทววิทยา  ชาวสยามไม่ประสาในปรัชญาแนวต่าง ๆ ยกเว้นหัวข้อะรรมจริยาบางข้อ
                ๑๖. ชาวสยามศึกษากฎหมายกันอย่างไร  ชาวสยามไม่มีสถาาบันศึกษาวิชานิติศาสตร์ เขาศึกษากฎหมายของบ้านเมือง ก็เพื่อเข้ารับราชการฝ่ายตุลาการเท่านั้น มิใช่เป็นการสาธารณะ เพราะไม่มีโรงพิมพ์
    บทที่สิบ สิ่งที่ชาวสยามรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์ และวิชาเคมี
                ๑. พระเจ้ากรุงสยามทรงใช้แพทย์หลวงจากประเทศต่าง ๆ   ส่วนมากเป็นชาวจีน มีชาวสยามและชาวพะโค อยู่บ้าง และใน ๒ - ๓ ปีมานี้ พระองค์ได้ทรงรับครูสอนศาสนาคริสตัง ฝ่ายคฤหัสถ์ชาวฝรั่งเศสไว้เป็นแพทย์หลวง
                ๒. ชาวสยามไม่รู้จักศัลยกรรม และกายวิภาคศาสตร์เลย  จำเป็นต้องพึ่งหมอชาวยุโรป
                ๓. หมอสยามไม่มีหลักในการปรุงยา ได้แต่ปรุงไปตามตำราเท่านั้น  หมอสยามไม่พยายามศึกษาสรรพคุณยา แต่ละชนิด นอกจากจะถือเอาตามตำราที่ปู่ยาตายาย สอนต่อ ๆ กันมา  โดยไม่มีการปรับปรุงอะไร
                ๔. หมอจีนมักเป็นหมอกำมะลอปลิ้นปล้อนเสียโดยมาก
                ๕. ความแตกต่างระหว่างหมอเถื่อนชาวจีนกับชาวเรา  ชาวจีนมักรักษาคนไข้ด้วยอุบายอันสุขุม และค่อยปลุกน้ำใจให้แช่มชื่นอยู่เป็นพื้น  ส่วนหมอชาวยุโรปจะให้คนไข้กินยาต่าง ๆ
                ๖. ในกรุงสยามรักษาไข้กันอย่างไร  ถ้าใครป่วยก็จะเริ่มรักษาด้วยการทำให้เส้นสายยืด โดยให้ผู้ที่ชำนาญในเรื่องนี้ขึ้นไปบนร่างกายของคนไข้ แล้วใช้เท้าเหยียบ ๆ ปัจจุบันชาวสยามใช้วิธีแทงเอาเลือดออก ๆ บางทีก็ใช้วิธีใช้ปลิงดูดเอา  เขามียาระบาย รู้คุณค่าของการทำให้เหงื่อออก  นิยมใช้วิธีเข้าประโจมให้เหงื่อออก
                ยาแก้ไข้ปรุงจากแร่และสมุนไพร หมอชาวยุโรปแนะนำให้เขารู้จักใช้ยาควินนิน ยาของสยามล้วนแต่ร้อนไปเสียทั้งนั้น เขาใช้วิธีอาบน้ำ เมื่อเวลาไข้จับ
                ๗. อาหารคนไข้  กินแต่ข้าวต้มอย่างเดียว  และต้มให้เละมาก ๆ ส่วนน้ำต้มเนื้อนั้นถือว่าเป็นของแสลง เพราะทำให้ท้องอืด  เมื่อคนไข้พอจะกินอาหารหนักได้ ก็จะให้กินเนื้อหมูซึ่งไม่ค่อยแสลง ดีกว่าเนื้อสัตว์อื่น
                ๘. ความเขลาของชาวสยามในวิชาเคมี และนิทานในเรื่องนี้  สมเด็จพระชนกของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ทรงใช้พระราชทรัพย์ถึงสองล้าน ในการแสวงหาหินวิเศษที่ใช้ซัดโลหะให้เป็นทองคำ
    บทที่สิบเอ็ด ชาวสยามรู้วิชาคำนวณเพียงใด
                ๑. ความร้อนจัดในเมืองสยามขัดกับการใช้สติปัญญาอย่างขมักเขม้น  สติปัญญาอันฉับไวของชาวสยาม น่าจะเหมาะมากในการเรียนวิชาคำนวน ยิ่งกว่าศาสตร์ชนิดอื่น ๆ ถ้าเขาไม่เบื่อเร็วนัก
                ๒. ความเขลาของชาวสยามเกี่ยวกับหลักที่สำคัญ ๆ ของวิชาคำนวณ  ชาวสยามไม่มีความรู้ในวิชาเรขาคณิตเลย  และไม่รู้ในวิชากลศาสตร์ วิชาดาราศาสตร์ ก็ใช้ในเชิงพยากรณ์ได้เท่านั้น
                ๓. ปฎิทินสยาม และเหตุใดจึงมีสองอย่าง  เมื่อได้ตั้งโยคเกณฑ์ขึ้นโดยตัวเลขจำนวนหนึ่งแล้ว  ก็ใช้วิธีบวกลบคูณหาร เพื่อคำนวณว่า ในปีต่อไปดาวเคราะห์จะสถิตอยู่ ณ ราศีใด  ซึ่งเกือบจะใกล้เคียงกับที่เราตรวจหาจำนวนวัน  ทางสุริยคติของแต่ละปี โดยการบวกเกณฑ์ ๑๑ เข้ากับจำนวนวันทางจันทรคติของปีก่อน
                ๔.  ศักราชใหม่ที่ตั้งขึ้นน่าจะตั้งขึ้นตามอำเภอใจ  ศักราชใหม่ในสองศักราชของสยามที่ตั้งขึ้น ตรงกับคริสศักราช ๖๓๘
                ๕.  ศักราชเก่าก็น่าจะตั้งขึ้นตามอำเภอใจอีกเช่นกัน  ศักราชเก่าของสยามมาถึงบัดนี้ (ค.ศ.๑๖๘๙)  นับได้ ๒๒๓๓ ปีมาแล้ว
                ๖.  มิใช่จำเดิมแต่วันดับขันธปรินิพพานของพระสมณโคดม  บันทึกประวัติศาสตร์ของสยามนับย้อนต้นขึ้นไป ๙๐๐ ปี หรือประมาณนั้นเท่านั้น ไม่ใช่ ๕๔๕ ปี ก่อนพระเยซูคริสต์เกิด ชาวสยามจะกล่าวอย่างเผิน ๆ ว่า ศักราชเดิมของเขาซึ่งนับถึงปัจจุบันได้ ๒๒๓๐ ปีแล้ว  เริ่มแต่วันดับขันธปรินิพพานขององค์พระสมณโคดม
                ๗. วิธีใช้ศุภมาสด้วยประการต่าง ๆ  มาตรว่า ชาวสยามยังคงใช้ศักราชเก่า (พุทธศักราช)  เป็นศุภมาสของตนอยู่อีก หลังจากที่ได้ทอดทิ้งไปเนื่องจากการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่เดือนแรกของเขาก็คงเป็นไปตามจัทรคติ  ตกอยู่ในเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคม (เดือนอ้าย)  อย่างเดิม เดือนแรกของปีตามศักราชใหม่ ก็ตกอยู่ในเดือนห้า หรือเดือนหก (เมษายน)  ตามแบบเก่า
                ๘. ชาวสยามรู้สึกอย่างใด ในเรื่องพิภพ  ชาวสยามไม่ประสาเลยกับระบบของพิภพอันถูกต้อง เขาจึงมีความเชื่อโดยทำนองเดียวกับชาวตะวันออกทั่วไปว่า สุริยคราสและจันทคราส นั้นเป็นไปด้วยฤทธิ์ของนาคราช กลืนดวงตะวันและดวงเดือนเข้าไป  เขาจะทำเสียงอึกทึกครึกโครม ด้วยการตีเตาเหล็ก และหม้อเหล็ก ดังเซ็งแซ่ เพื่อให้สัตว์ร้ายตกใจกลัวและหนีไป  ช่วยให้ดวงตะวัน และดวงเดือนพ้นภัยไปด้วย
                ชาวสยามเชื่อว่า พิภพของเรานั้น เป็นรูปสี่เหลี้ยมจัตุรัส กว้างใหญ่ไพศาลมาก โค้งเพดานฟ้าจรดสี่มุมโลกคล้ายครอบแก้ว แบ่งออกเป็นสี่ภาค (ทวีป)  ท่ามกลางทวีปทั้งสี่ มีมหาบรรพตเป็นรูปปรางค์ ตั้งอยู่ทั้งสี่ด้านเท่ากัน เรียกว่า เขาพระสุเมรุ พื้นพิภพหรือพื้นทะเลขึ้นไปถึงยอดเขานั้น สูงระฟ้า ถึงดาว สูง ๘๔,๐๐๐ วา จากผิวน้ำทะเลลึกลงไปถึงพื้น จากเขาพระสุเมรุมีความลึกเท่ากับความสูง จากฟากเขาพระสุเมรุทั้งสี่ด้านมีความกว้างด้านละ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ พิภพที่เรียกว่า ชมพู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลายหมุนรอบพิภพนี้ เกิดเป็นกลางวัน และกลางคืน  เหนือยอดเขาพระสุเมรุเป็นสวรรค์ชั้นฟ้า เรียกว่า อินทราธิราช  เหนือขึ้นไปเป็นสวรรค์ของพวกเทวดา
                ๙. ชาวอินเดียเชื่อความขลังเท่า ๆ กับความเขลา   ชาวสยามเชื่อว่ายังมีศาสตร์แห่งการพยากรณ์เชื่อว่า  อาถรรพณเวท เสกเป่าให้คนไข้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้  และเมื่อโหรหลวงของพระเจ้ากรุงสยามทำนายเหตุการณ์ผิดพลาด ก็จะให้ลงอาญาโบย ทำนองเดียวกันก็จะให้ลงอาญาโบยหมอหลวง ถ้าพระโอสถที่ปรุงถวายไม่เกิดสรรพคุณแก่พระประชวร
                ๑๐. อำนาจของหมอดูเหนือชาวสยาม  พระเจ้าอยู่หัวจะไม่เสด็จไปไหนจนกว่าจะได้ศุภฤกษ์ ซึ่งโหราจารย์ซึ่งเป็นพราหมณ์ หรือชาวพะโค จะได้คำนวณและกำหนดโมงยามฤกษ์ผานาทีถวายแล้ว  พระองค์จะไม่เสด็จออกจากราชมณเฑียร หรือว่าได้เสด็จออกไปแล้ว จะยังไม่เสด็จกลับคืน ถ้าโหราจารย์กราบทูลทักท้วงไว้ วันอาทิตย์ดูจะเป็นวันที่มีโชคดีกว่าวันอื่น ๆ  และเชื่อว่าวันข้างขึ้นเป็นหมู่วันที่มีฤกษ์ดีกว่าวันข้างแรม  นอกจากนี้ยังมีปฎิทินที่โปรดเกล้า ฯ ให้โหราจารย์ผู้หนึ่งทำขึ้นไว้เป็นประจำทุกปี  ก็มีคำกำหนดสำหรับกราบถวายบังคมทูล และประกาศแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้รู้ว่าวันใดเป็นวันดี และไม่ดีสำหรับประกอบกิจการสามัญทั่วไป
                ๑๑.  ทำนายลาง   ชาวสยามถือว่าเสียงเห่าหอน หรือเสียงคำรามของพาลมฤค เสียงร้องอันโหยหวนของเนื้อ ละมั่ง กวาง ทราย และลิง ค่าง บ่าง ชะนี ว่าเป็นลางร้าย งูที่เลื้อยผ่านตัดทางเดิน สายฟ้าที่ผ่าบ้านเรือน สิ่งใดสิ่งหนึ่งตกลงมาโดยไม่มีสาเหตุ ถือว่าเป็นลางที่น่าหวั่นเกรง เป็นเหตุให้เลิกงดการงาน หรือจะเริ่มทำกิจการใดต่อไปอีก
                ๑๒. ชาวอินเดียหาว่าเป็นพ่อมด และเพราะอะไร
                ๑๓. ความเชื่อทางไสยศาสตร์ขณะหญิงคลอดบุตร   ชาวสยามจะให้หญิงแม่ลูกอ่อน อยู่ไฟนานหนึ่งเดือน มีกองไฟติดอยู่เสมอ และกองค่อนข้างใหญ่  คอยให้กลับตัวผิดตลอดเวลา
                ๑๔. ยาเสน่ห์เป็นผลของมายาศาสตร์
                ๑๕. อาการใดที่ดูจะเป็นผลของมายาศาสตร์  ชาวสยามเป็นโรคหลายชนิดที่อาการแปลก เชื่อกันว่าเนื่องจากถูกเวทย์มนตร์คุณไสย
                ๑๖. การถือผีถือลางหรือการอวดอ้างเกี่ยวกับกำแพงเมือง  วันหนึ่งคณะฑูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้รับการเยี่ยมคำนับจากคณะฑูตจากเมืองปัตตานี  เมืองกัมพูชา และจากราชสำนักประเทศข้างเคียง กับผู้แทนของชาวชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในเมืองสยาม



    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch