หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระไตรปิฎก
    loading picture

    พระไตรปิฎก
    เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า  ไว้เป็นหมวดหมู่   แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ
    ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ 1,2 และ 3 ในอินเดีย   และครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ในลังกา  ซึ่งกระทำเมื่อ  พ.ศ. 238,  พ.ศ. 433,  พ.ศ. 956 และ พ.ศ. 1587  รวมกันเป็น 7 ครั้ง
    การสังคายนาครั้งที่ 8
    การสังคายนาครั้งที่ 9  ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ 218 รูป  กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน 5 เดือน  นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
    การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
    สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน  กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า
    สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน  กระทำที่กรุงเทพ ฯ  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน  หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง
    สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม  กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑  ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน  เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข  แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป  ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย  ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด  ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ
    สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม  กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ   พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ    พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
                    ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ  อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ   ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
    ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
    พระไตรปิฎก  เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า  พระบาล
    อรรถกถาหรือวัณณนา  เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก  เป็นหลักฐานชั้น ๒  มีขึ้นเมื่อประมาณ  พ.ศ. ๙๕๖
    ฎีกา  เป็นคำอธิบายอรรถกถา  เป็นหลักฐานชั้น ๓  มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗
    อนุฎีกา  เป็นคำอธิบายฎีกา  เป็นหลักฐานชั้น ๔
    การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
    การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย  ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก   ในรัชสมัยต่อ ๆ มา  การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว  ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย  สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
                    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช (แพ  ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี  ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง  ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน  ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง  ในต่างประเทศ  ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท  ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว  สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต  ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง  ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์  และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่  เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้   จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ   จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ  ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย  ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้  ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์  พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
                คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
                ๑.  แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ  สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า  "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
                ๒.  แปลโดยสำนวนเทศนา  สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง"   แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์   พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
                ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
    คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร  จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย  ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล   และกำลังตรวจสำนวน  ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น  เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย
    จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ  เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
                ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔  กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม  เพื่อให้ไม่หนาเกินไป  และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า   แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม    และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี  ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ   จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า  "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม
    loading picture

    พระวินัยปิฎก เล่ม 1 มหาวิภังค์ ปฐมภาค
    นะโม ตสส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺ ธสฺส
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    เวรัญชกัณฑ์

    เรื่อง เวรัญชพราหมณ์
    (1)  โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ โคนไม้สะเดา เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป  เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าว ทราบกิติศัพท์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ บรรลุวิชชาและจรณ  เสด็จไปดี ทราบโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพุทธะ เป็นพระผู้มีพระภาค  ทรงนำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา อันยิ่งของพระองค์เอง แล้วสอนหมู่สัตว์  พร้อมสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงานในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่งการเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นความดี

    เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
    (2)  เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ทูลปราศัยกับพระผู้มีพระภาค ฯลฯ แล้วจึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า ข้าพเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ พวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาตามลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ในโลกทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
    ว. ท่านพระโคดม มีปกติไม่ใยดี
    พ. จริงเช่นนั้น เพราะความใยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ  เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดานี้แหละนี้แหละที่เขากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
    ว. พระโคดมไม่มีสมบัติ
     พ. จริงเช่นนั้น เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
    ว. พระโคดมกล่าวการไม่ทำ
    พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
    ว. พระโคดมกล่าวการขาดสูญ
    พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
    ว. พระโคดมช่างรังเกียจ
    พ. จริงเช่นนั้น เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อจำกัดสภาพที่เป็นบาปกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
    ว. พระโคดมช่างเผาผลาญ
    พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต   ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ซึ่งผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
    ว. พระโคดมไม่ผุดเกิด
    พ. จริงเช่นนั้น เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ

    ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
    (3)  ดูกร พราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไข่หลายฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว ลูกไก่ตัวใด ทำลายฟองไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง
    ว.  ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา

    ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม
    พ.  เราก็เหมือนอย่างนั้น เมื่อประชาชนตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายฟองคือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    ปฐมฌาน   เรานั้นแลสงัดแล้วจากกาม จากอกุศลกรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
    ทุติยฌาน   เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ* ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปิติและสุข ซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่
    ตติฌาน   เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป ได้บรรลุตติยญาณ ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติมีสุขอยู่
    จตุตถฌาน   เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    บุพเพนิวาสานุสสติญาณ   เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้วได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เเป็นอันมาก คือ ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง...แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขอย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นแล้ว ได้เกิดมาในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ วิชชาที่หนึ่งนี้เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดส่งจิตไปแล้ว ฉะนี้ ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เเป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น
    จุตูปปาตญาณ   เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ดังนั้น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตใจเพื่อญาณเครื่องรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ หมู่สัตว์ที่เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผุ้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการฉะนี้  วิชชาสองนี้ เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สองเรานี้ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น
    อาสวักขยญาณ   เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ  ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เป็นเหตุได้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรารู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี วิชชาสามนี้ เราได้บรรลุในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้ ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

    เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
    (4)  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูลว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ไพเราะนัก ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด
            พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นพราหมณ์ทราบแล้ว ได้ลุกจากที่นั่งกราบบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไป

    เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
    (5)  สมัยนั้น  เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้นพวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะ ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุ รูปละแล่งไว้ที่คอกม้า เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตรในเมือง เมื่อไม่ได้บิณฑบาตร จึงเที่ยวไปบิณฑบาตรที่คอกม้า รับข้าวแดงรูปละแล่งนำไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนพระอานนท์บดข้าวแดงแล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสวยพระกระยาหารนั้น และได้สดับเสียงครกอยู่

    พระพุทธประเพณี
    พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถามก็มี พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระองค์ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่างคือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอีกอย่างหนึ่ง ครั้งนั้น พระองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่านั่นเสียงครกหรือหนอ พระอานนท์จึงทราบทูลให้ทรงทราบ ฯลฯ

    พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
    (6)  ครั้งนั้น  พระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบบังคม แล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   ได้กราบทูลพระผุ้มีพระภาคว่า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ฯลฯ พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินใหญ่นี้ สมบูรณ์ ฯลฯ  ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดินภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน  พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกร โมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่าเธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น ฯลฯ
    ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่ง ให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
    พ. อย่าเลย การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจักพึงได้รับผลตรงกันข้าม
    ม. ขอภิกษุทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตรในอุตรกุรุทวีป
    พ. ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจะทำอย่างไรกับภิกษุเหล่านั้น
    ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้
    พ. อย่าเลย การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตรถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย

    เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
    (7)  ครั้งนั้น พระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ครั้น เวลาเย็นท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลความปริวิตกนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า พระศาสนาของพระผู้มี พระภาค พระนาม วิปัสสี พระนาม สิขีและพระนาม เวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ส่วนพระผู้มีพระภาค พระนาม กกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน
    ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคทั้งสามดังกล่าวไม่ดำรงอยู่นาน
    พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิตวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ฯลฯ
    ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระศาสนาของพระผู้มีประภาคทั้งสาม ดำรงอยู่นาน
    พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม โดยพิศดารแก่สาวกทั้งหลายอนึ่งสุตตะ ฯลฯ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามนั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก จึงดำรงพระศาสนาไว้ได้ตลอดระยะกาลนาน

    ปรารภให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
    (8)  ลำดับนั้น  พระสารีบุตรลุกจากอาสนะ นำผ้าอุตรสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้วที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมข์แก่สาวกอันจำเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน ยับยั้งก่อน ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีนั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้  ตลอดเวลาที่สงฆ์ ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย  ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และอาวาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฎในหมู่สงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น  ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมอง บริสุทธิ์ผุดผ่อง ตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุห้าร้อยรูป ผู้ทรงคุณธรรมอย่างต่ำก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ผู้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า

    เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
    (9)  ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคเรียกพระอานนท์มารับสั่งว่า พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบททั้งนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย
    ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จไปสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย
    เวรัญชพราหมณ์กราบบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระองค์รับสั่งว่า ดูกร พราหมณ์เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท
    เวรัญชพราหมณ์ ทูลขอให้พระองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์รับภัตตาหารเพื่อเจริญบุญกุศล และปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ตัวเขาเอง
    พระองค์ทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณียภาพแล้วทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง  สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ
    เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวฉันอันประณีตในนิเวศน์ตน ผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่ พระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว
    ขณะนั้น เป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเสด็จสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ถึงแล้วประทับนั่งเหนือที่ประทับพร้อมภิกษุสงฆ์    เวรัญชพราหมณ์อังคาสพระภิกษุสงฆ์ อันมีพระผู้มีพระภาคเป็นประมุขด้วยขาทนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่ พระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และถวายผ้าคู่ ให้ภิกษุครองรูปละสำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ    ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมือง เวรัญชาตามพระพุทธารมย์แล้ว เสด็จไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จถึงพาราณสี    ครั้นประทับอยู่ที่พาราณสีแล้ว เสด็จจาริกไปนครเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเวสาลี

    จบเวรัญชกัณฑ์
    loading picture

    พระสุตตันตปิฎกเล่ม 1 ฑีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    นะโมตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺ ธสฺส
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    1 พรหมชาลสูตร

    เรื่อง  สุปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ
                ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมือง นาลันทา พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  สุปปิยปริพาชกได้เดินทางพร้อมกับพรหมทัตตมาณพ ผู้เป็นอันเตวาสิก สุปปิยปริพาชกได้กล่าวติเตียน  พระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์ โดยเอนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพกลับกล่าวชม  ทั้งสองได้เดินตาม  พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง  พระผู้มีพระภาคเข้าไปประทับแรมราตรีหนึ่ง  ณ พระตำหนักสวนหลวง ในอุทยานอัมพลัฏฐิกา พร้อมภิกษุสงฆ์  สุปปิยปริพาชกก็ได้เข้าพักแรม ณ ที่ใกล้กันพร้อมศิษย์  ครั้งนั้นภิกษุหลายรูปลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง  นั่งประชุมกันอยู่  ณ ศาลานั่งเล่น  สนทนากันว่า  พระผู้มีพระภาค  ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้อย่างดีนี้  น่าอัศจรรย์นักไม่เคยมีมา  ความจริงสุปปิยปริพาชกผู้นี้กล่าวติ ฯลฯ ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวชม ฯลฯ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำสนทนานั้นเสด็จไปยังที่นั้นประทับ  ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย  แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้นกราบทูล เนื้อความให้ทรงทราบ  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา  ติพระธรรม  ติพระสงฆ์ก็ตาม  เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาตโทมนัสน้อยใจ  แค้นใจในคนเหล่านั้น  ถ้าเธอทั้งหลายขุ่นเคือง    หรือ โทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงรู้คำที่เขาพูดถูกหรือผิดได้หรือ  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้อนั้นเป็นไปไม่ได้    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา  พระธรรม  พระสงฆ์  ในคำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ไขให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า  นั้นไม่จริง  ไม่แท้ ไม่มีในเราทั้งหลาย  หาไม่ได้ในตัวเราทั้งหลาย  คนพวกอื่นจะพึงกล่าว ชมเรา  พระธรรม  พระสงฆ์  เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ  ดีใจ  กระเหิมใจในคำชมนั้น  เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น  อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลายเพราะเหตุนั้นเป็นแน่  คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา  พระธรรม  พระสงฆ์   ในคำชมนั้น  คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั้นจริง นั้นแท้ มีในเราทั้งหลาย หาได้ในเราทั้งหลาย
    จุลศีล
            เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต  จะพึงกล่าวด้วยประการใดนั้น  มีประมาณน้อยนัก  ยังต่ำนัก  เป็นเพียงศีล เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต  พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
                1. พระสมณโคดม  ละการฆ่าสัตว์  เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ  วางศาสตรา  มีความละอาย  เอ็นดู  กรุณา  หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
                2. ละเว้นจากการลักทรัพย์  รับแต่ของที่เขาให้  ต้องการแต่ของที่เขาให้  ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย  เป็นผู้สะอาดอยู่
                3. ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์  ประพฤติพรหมจรรย์  ประพฤติห่างไกล  เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน
                4. ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ  พูดแต่คำจริง  ดำรงคำสัตย์  มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน  ควรเชื่อได้  ไม่พูดลวงโลก
                5. ละเว้นขาดจากคำส่อเสียด    สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง  ส่งเสริมคนที่พร้อมเพียงกันแล้วบ้าง  ชอบคนยินดีในคน  เพลินเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน  กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน
                6. ละเว้นขาดจากคำหยาบ   กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รักจับใจ
                7. ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ  พูดถูกกาล  พูดแต่คำที่เป็นจริง  อิงอรรถ  อิงธรรม  อิงวินัย  พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง  มีที่กำหนด  ประกอบด้วยประโยชน์  โดยกาลอันควร
                8. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
                9. ฉันหนเดียว  เว้นการฉันในราตรี  งดการฉันในเวลาวิกาล
               10. เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง  ประโคมดนตรีและดูการเล่น  อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
               11. เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว  อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว
               12. เว้นขาดจากการนั่นนอนบนที่นั่ง  ที่นอนอันสูงใหญ่
               13. เว้นขาดจากการ รับทองและเงิน
               14. เว้นขาดจากการับธัญญาหารดิบ
               15. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
               16. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
               17. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
               18. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
               19. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
               20. เว้นขาดจากการรับช้าง  โค  ม้า  และลา
               21. เว้นขาดจากการรับไร่  นาและที่ดิน
               22. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้
               23. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
               24. เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง  ของปลอม  เครื่องตวงวัด
               25. เว้นขาดจากการรับสินบน  การล่อลวงและการตลบแตลง
               26. เว้นขาดจากการตัด  การฆ่า  การจองจำ  การตีชิง  การปล้น  และการกรรโชก
    มัชฌิมศีล
            เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต  ถึงกล่าวเช่นนี้ว่า
                1. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม  เช่นอย่าง สมณพราหมณ์บางจำพวก ฯลฯ
                2. เว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้ ฯลฯ
                3. เว้นขาดจากการดูการเล่น ฯลฯ
                4. เว้นขาดจากการขวนขวายเล่นพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท  ฯลฯ
                5. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
                6. เว้นขาดจากการประดับตกแต่งร่างกาย ฯลฯ
                7. เว้นขาดจากติรัจฉานกถา ฯลฯ
                8. เว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน  ฯลฯ
                9. เว้นขาดจากการประกอบฑูตกรรมและการรับใช้  ฯลฯ
               10. เว้นขาดจากการพูดหลอกลวงการพูดเลียบเคียง  ฯลฯ
    มหาศีล
           ติรัจฉานวิชา    เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต  พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
                1. พระสมณโคดม  เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา  เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์บางจำพวก ฯลฯ ทายอวัยวะ  ฯลฯ
                2. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา  เช่นอย่างที่   ฯลฯ  ทายลักษณะแก้วมณี ฯลฯ
                3. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา  เช่นอย่างที่  ฯลฯ ดูฤกษ์ ฯลฯ
                4. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา  เช่นอย่างที่  ฯลฯ พยากรณ์  ฯลฯ
                5. เว้นขาดจาก การเลี้ยงชีพโดยทางผิดดด้วยติรัจฉานวิชา  เช่นอย่างที่   ฯลฯ  พยากรณ์  ฯลฯ
                6. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ  โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา  เช่นอย่างที่  ฯลฯ ให้ฤกษ์  ฯลฯ
                7. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยดิรัจฉานวิชา  เช่นอย่างที่ ฯลฯ  ทำพิธีบนบาน ฯลฯ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต  จะพึงกล่าวด้วยประการใด  ซึ่งมีประมาณน้อย  ยังต่ำนัก  เป็นเพียงศีลเท่านั้น
    ทิฐิ 62
            ยังมีธรรมอื่นอีกที่ลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  สงบ  ปราณีต  คาดความเอาไม่ได้  ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งซึ่งปัญญาอันยิ่งเอง  แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง  ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ  ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน
           ปุพพันตกัปปิถาทิฐิ 18    มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์  มีความเห็นไปตามขันธ์  ปรารภขันธ์  ส่วนอดีต  กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ  18  ประการ  เขาเหล่านั้นอาศัยอะไร  ปรารภอะไร  จึงเป็นเช่นนั้น
           สัสสตทิฐิ 4   มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง  มีทิฐิว่า  เที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง  ด้วยเหตุ  4  ประการ  เขาเหล่านั้นอาศัยอะไร  ปรารภอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
           ปุพเพนิวาสานุสสติ
                1. สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้  อาศัยความเพียร  ที่ตั้งมั่น  ความประกอบเนือง  ๆ  ความไม่ประมาท  มนสิการโดยชอบ  แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ  คือการระลึกชาติได้หนึ่งชาติ  สอง  สาม .....  สิบชาติบ้าง  หลายร้อยชาติบ้าง  หลายแสนชาติบ้าง  ว่าในภพโน้น  เรามีชื่อ  มีโคตร  มีผิวพรรณ  มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขทุกข์อย่างนั้น  มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น  ได้ไปเกิดในภพโน้น ฯลฯ  ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  หลายประการ  พร้อมทั้งอาการและอุเทศ  เขากล่าวว่า  อัตตาและโลกเที่ยง  คงที่  ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา  ดุจเสาระเนียด  ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  จุติ  เกิด  แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงที่มีอยู่แท้  ข้อนั้น เพราะเหตุว่า  ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ฯลฯ  ด้วยการได้บรรลุวิเศษนี้  ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง  คงที่  นี้เป็นฐานะที่หนึ่ง  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง  อาศัยแล้ว  ปรารภแล้ว  จึงมีทิฐิว่าเที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
                2. อนึ่งในฐานะที่ 2  สมณพราหมณ์บางคน  อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ฯลฯ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  สังวัฎฎวิวัฎฎกัปหนึ่งบ้าง  สอง  สาม ....  สิบบ้าง  ว่าในกัปโน้น  เรามีชื่ออย่างนั้น  ฯลฯ  ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง
                3. ในฐานะที่ 3  สมณพราหมณ์บางคน  อาศัยความเพียร  ฯลฯ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  สิบสังวัฎฎวิวัฏฏกัปบ้าง  ยี่สิบ  สี่สิบบ้าง  ว่าในกัปโน้น  เรามีชื่ออย่างนั้น  ฯลฯ  ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
                4. ในฐานะที่ 4  สมณพราหมณ์บางคน  เป็นนักตรึก  นักค้นคิด  กล่าวแสดงปฏิภาณของตน  ตามที่ตรึกได้ที่ค้นคิดได้ว่าอัตตาและโลกเที่ยงคงที่ ฯลฯ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง  พวกมีทิฐิว่าเที่ยง  ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงด้วยเหตุ  4  ประการนี้ เท่านั้น  หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง  นอกจากนี้ไม่มี  เรื่องนี้ตถาคตรู้ว่า  ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิเหล่านี้  อันบุคคลถือไว้แล้ว  ย่อมมีคติอย่างหนึ่งนั้น  มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น  และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น  ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย  เมื่อไม่ถือมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น  ดับไป  คุณและโทษของเวทนาทั้งหลายกับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น  ตามความเป็นจริง  จึงทราบความดับได้  เฉพาะตนเพราะไม่ถือมั่นตถาคตจึงหลุดพ้น
          เอกัจจสัสสติทิฐิ 4    มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง  มีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง  จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า  บางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ  4  ประการ เขาเหล่านั้นอาศัยอะไร  ปรารภอะไร  จึงเป็นเช่นนั้น
                5. มีสมัยบางครั้ง  โดยระยะกาลช้านาน  ที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่โดยมากเหล่า
    สัตว์ย่อมเกิดในขั้นอาภัสสรพรหม  สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ  มีปีติเป็นอาหาร  มีรัศมีซ่านออกจากกายตน  สัญจรไปในอากาศอยู่ในวิมานอันงาม  สถิตอยู่ในภพนั้น  สิ้นกาลช้านาน  มีสมัยบางครั้ง  โดยระยะกาลช้านานที่โลกนี้กลับเจริญ  เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่  วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า  ครั้งนั้นสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม  เพราะสิ้นอายุสิ้นบุญย่อมเข้าถึง วิมานพรหมที่ว่างเปล่า  แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ  มีปิติเป็นอาหาร  ฯลฯ  เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน  จึงเกิดความกระสันความดิ้นรนขึ้นว่า  แม้สัตว์เหล่าอื่น ก็ฟังมาเป็นอย่างนี้บ้าง  ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม ฯลฯ บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน  ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นว่า  เราเป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ไม่มีใครข่มได้  เห็นถ่องแท้  เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ  เป็นผู้สร้าง  เป็นผู้นิรมิต  เป็นผู้ประเสริฐ  เป็นผู้บงการ  เป็นผู้ทรงอำนาจ  เป็นบิดาของหมู่สัตว์  ผู้เป็นแล้ว  และกำลังเป็น  สัตว์เหล่านี้เรานิรมิต  ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุว่า  เราได้มีความคิดก่อนว่า  แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ฟังมาเป็นอย่างนี้บ้าง  ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้  และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว  แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดเห็นว่า  ท่านผู้เจริญนี้แลเป็พรหม  เป็นมหาพรหม  ฯลฯ  ข้อนั้นเพราะเหตุว่าพวกเราได้เห็นพระพรหม  ผู้เจริญนี้เกิดในที่นี้ก่อน  พวกเราเกิดที่หลัง  บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน  ผู้นั้นมีอายุยืนกว่า  มีผิวพรรณกว่า  มีศักดิ์มากกว่า  ผู้เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า ฯลฯ  ก็เป็นฐานะที่จะมีได้  ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้  เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วก็ออกเรือนบวช เป็นบรรพชิต  อาศัยความเพียร  ฯลฯ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  แต่หลังนั้นไป ระลึกไม่ได้  เขาจึงกล่าวว่า  ผู้ใดแลเป็นพรหมเป็นมหาพรหม ฯลฯ  พระพรหมใดที่นิรมิตพวกเรา
    พระพรหมผู้นั้นเป็นผู้เที่ยง  ยั่งยืน  คงทน  มีอันไม่ผันแปรเป็นธรรมดา จัดตั้งอยู่เที่ยงเสมอไป  ส่วนพวกเราที่พรหมนั้น นิรมิตเป็นผู้ไม่เที่ยง  ไม่ยั่งยืน  มีอายุน้อย  ยังต้องจุติมาเป็นดังนี้ นี้เป็นฐานะที่ 1  ซึ่งสมณพราหมณ์พวก หนึ่งอาศัยแล้วปรารภแล้วจึงมีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง  ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าบางอย่าง เที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง
                6. ในฐานะที่ 2  สมณพราหมณ์  อาศัยอะไร  ปรารภอะไร  จึงมีทิฐิว่า  บางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง  พวกเทวดาชื่อว่า  ขิททาปโทสิถะ  มีอยู่  พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์  เมื่อเป็นเช่นนั้นสติย่อมหลงลืม  เพราะสติหลงลืม  จึงพากันจุติจากชั้นนั้น  สัตว์ผู้ใดผุ้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้ว มาเป็นอย่างนี้แล้ว  จึงออกเรือนบวชเป็นบรรพชิต  อาศัยความเพียร  ฯลฯ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ กาลก่อนได้หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้  จึงกล่าวว่า  พวกเทวดาผู้มิใช่เหล่านี้  ย่อมไม่มัวเพ่งโทษ  ฯลฯ  พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้นเป็นผู้เที่ยง  ฯลฯ  นี้เป็นฐานะที่ 3  ที่มีทิฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ฯลฯ
               8.  ในฐานะที่ 4   สมณะพราหมณ์บางคนเป็นนักตรึก  นักค้นคิด  กล่าวตามตนตรึกได้  ค้นคิดได้ว่า  สิ่งที่เรียกว่า  จักษุ,  โสตะ,  ฆานะ  ชิวหา  กาย  เหล่านี้ได้ชื่อว่า  อัตตา  เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ  ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณนี้ชื่อว่า  อัตตาเป็นของเที่ยง  ฯลฯ  นี้เป็นฐานะที่ 4 ที่มีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง
           สมณะพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง  ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ  4  ประการ  นี้หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง  นอกจากนี้ไม่มี
        (เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ  ธรรมเหล่านี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  สงบ  ปราณีต  คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด ฯลฯ)
           อันตานันติกทิฐิ 4    มีสมณะพราหมณ์พวกหนึ่ง  มีทิฐิว่า  โลกมีที่สุดและหาที่สุดไม่ได้  จึงบัญญัติไปตามนั้น  ด้วยเหตุ  4  ประการ
               9. สมณพราหมณ์บางคน  อาศัยความเพียร ฯลฯ  แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต  ย่อมสำคัญโลกมีที่สุด  กลมโดยรอบ นี้เป็นฐานะที่ 1
               10. ในฐานะที่ 2  สมณพราหมณ์บางคน  อาศัยความเพียร ฯลฯ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ
    มีความสำคัญว่าโลกนี้ไม่มีที่สุด  หาที่สุดรอบมิได้  พวกที่พูดว่าโลกนี้มีที่สุดกลมโดยรอบนั้นเท็จ  นี้เป็นฐานะที่ 2 ที่มีทิฐิว่าโลก มีที่สุดและหาที่สุดมิได้
               11. ในฐานะที่ 3  สมณพราหมณ์บางคน  อาศัยความเพียร  ฯลฯ  แล้วบรรลุเจโตสมาธิ
    มีความสำคัญในโลกว่า  ด้านบนด้านล่างมีที่สุด  ด้านขวางหาที่สุดมิได้  จึงกล่าวว่าโลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด  พวกที่กล่าวว่าโลกนี้มีที่สุดกลมโดยรอบนั้นเท็จ  และพวกที่ว่าโลกนี้ไม่มีที่สุด  หาที่สุดรอบมิได้นั้นก็เท็จ  นี้เป็นฐานะที่ 3 ที่มีทิฐิว่า โลกมีที่สุด  และหาที่สุดมิได้
               12. ในฐานะที่ 4  สมณพราหมณ์บางคน เป็นนักตรึก นักค้นคิด กล่าวตามที่ตนตรึกและค้นคิดได้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่  ไม่มีที่สุดก็มิใช่  พวกที่กล่าวอย่างอื่นเป็นเท็จ  นี้เป็นฐานะที่ 4  ที่มี ทิฐิว่า  โลกมีที่สุดและหาที่สุดไม่ได้
           พวกที่มีทิฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้  ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ  4  ประการนี้  หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง  นอกจากนี้ไม่มี  เรื่องนี้  ตถาคตรู้ชัดว่า  ฯลฯ  ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง ฯลฯ
           อมราวิกเขปีกทิฐิ 4    สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง  มีทิฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว  ด้วยเหตุ  4  ประการ
                13. สมณพราหมณ์บางพวก  ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล  นี้เป็นอกุศล  เขาจึงเห็นว่า  ถ้าพยากรณ์ไป  คำพยากรณ์นั้นจะเป็นเท็จ  จึงไม่กล้าพยากรณ์  จึงกล่าววาจาดิ้นได้ว่า  ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่    อย่างนั้นก็มิใช่     อย่างอื่นก็มิใช่  ไม่ใช่ก็มิใช่  มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่  นี้เป็นฐานะที่ 1
                14. ในฐานะที่ 2  สมณพราหมณ์บางคน  ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล  นี้เป็นอกุศล  เขาเห็นว่า  ถ้าเราไม่รู้ชัด ฯลฯ  แล้วพยากรณ์ไปจะเป็นอุปาทาน จึงไม่กล้าพยากรณ์  จึงกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายดัวว่า  ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่  อย่างนั้นก็มิใช่  อย่างอื่นก็มิใช่  ไม่ใช่ก็มิใช่  มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่  นี้เป็น ฐานะที่ 2
                15. ในฐานะที่ 3  สมณพราหมณ์บางคนไม่รู้ชัด ฯลฯ  เขาเห็นว่าถ้าเราไม่

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch