หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระผุด วัดพระทอง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ




    "พระผุด" หรือ "พระทอง" เป็นพระพุทธรูปผุดจากดินโผล่แค่พระศอ สูงถึงพระเกศ 1 ศอก หรือ 244.5 เซนติเมตร วัสดุทองคำภายนอก ก่ออิฐถือปูนเป็นพระครึ่งองค์สวมทับอีกชั้นหนึ่ง

    องค์เดิมไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด มีการปฏิสังขรณ์ครอบองค์เดิมหลายครั้ง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่มากับเมืองถลาง

    ตามประวัติพระผุด เล่าว่า เดิมเป็นบริเวณทุ่งนาเรียกว่าบ้านนา วันหนึ่งมีเด็กนำกระบือไปเลี้ยงเอาเชือกผูกเข้ากับสิ่งหนึ่งมีลักษณะเหมือนแก่นไม้มีโคลนติดอยู่ เมื่อกลับไปบ้านเด็กก็เป็นลมตาย ส่วนกระบือก็ตายอยู่ตรงนั้น

    พอตกกลางคืน พ่อของเด็กผู้ตายฝันว่า ที่เด็กและกระบือตายเนื่องจากไปผูกเชือกไว้กับพระเกศของพระพุทธรูป มีเกศเป็นทองคำงดงามยิ่ง จึงพากันไปแจ้งให้เจ้าเมืองทราบ

    เจ้าเมืองถลางสมัยนั้นอยู่ที่บ้านดอน ระยะทางจากสถานที่พบพระผุดไปยังบ้านดอน ห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตร เมื่อเจ้าเมืองทราบได้สั่งให้ขุดมาประดิษฐานบนดิน แต่ขุดอย่างไรก็ไม่สามารถขุดได้ ด้วยมีเหตุมหัศจรรย์เกิดขึ้นราวกับปาฏิหาริย์ ปรากฏว่ามีตัวต่อตัวแตนจำนวนนับพันนับหมื่นตัว บินขึ้นมาจากใต้พื้นดินอาละวาดไล่ต่อยผู้คนที่ขุด และยังต่อยแต่เฉพาะคนที่ขุดเท่านั้น ส่วนพวกที่ไม่ได้ขุด เพียงแต่เอาดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้ ลูบคลำเกศพระผุด ตัวต่อแตนก็จะไม่ทำอันตรายเลย เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็นมาก

    ต่อมาได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง เดินธุดงค์มาจากเมืองสุโขทัยมาปักกลดในบริเวณดังกล่าว ท่านได้เห็นหลวงพ่อพระผุด เป็นพระพุทธรูปโผล่เพียงพระศอขึ้นมาเป็นทองคำ ท่านเกรงว่าหากพวกโจรเห็นแล้วจะตัดไปขายเสีย ท่านจึงคิดว่าควรจะสร้างวัดที่นี่ เพื่อเป็นการรักษาพระพุทธรูปองค์นั้นเอาไว้ ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวถลางสืบต่อไป

    วัดพระทองแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นในสมัยดังกล่าว โดยมี "หลวงพ่อสิงห์" เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้ ท่านได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันสร้างกุฏิ วิหาร และสร้างอุโบสถ โดยมีหลวงพ่อพระผุดเป็นประธานในอุโบสถแล้วก่อสวมให้สูงขึ้นเพื่อสะดวกแก่พิธีสังฆกรรมของสงฆ์

    การก่อสวมสมัยนั้นก่อเพียงแต่พระพักตร์เท่านั้น วัดนี้เมื่อสร้างเสร็จชาวบ้านเรียกว่า "วัดพระผุด"

    คนจีนโบราณเล่าขานกันว่า สมัยเมื่อครั้งที่ทิเบตรุกรานจีนและตีได้เมืองเซี่ยงไฮ้ มีพระพุทธรูปทองคำชื่อว่า "กิ้มมิ่นจ้อ" ถูกชาวทิเบต นำลงเรือมาทางทะเลจีนเข้ามายังมหาสมุทรอินเดีย เพื่อต่อไปยังประเทศทิเบต เรือเกิดถูกพายุพัดเข้ามายังฝั่งพังงาและจมลงตรงจุดนี้ ทำให้พระพุทธรูปได้จมลงหายไป

    นอกจากเพื่อป้องกันโจรภัยแล้ว ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีความประสงค์ที่จะประดิษฐานอยู่ในพื้นดินต่อไป จึงพากันสร้างพระพุทธรูปเพียงครึ่งองค์สวมทับพระทองคำที่อยู่ใต้ชั้นพื้นดินอีกชั้นหนึ่ง

    อีกตำนานหนึ่ง บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งพม่ายกทัพมาตีเมืองถลาง เมื่อปี พ.ศ.2352 ได้พยายามขุดดินลงไปเพื่อหวังจะเอาพระผุดกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปเจอมด ตัวต่อ แตนขบกัดทำร้าย แม้จะพยายามเอาไฟเผาดินร้อน แต่ก็ขุดไม่ได้ พอดีทหาร ไทยยกทัพมาช่วย พม่าจึงหนีไป

    เวลาผ่านไปอีกเนิ่นนาน จนเหลือแต่พระผุดที่พอกปูนไว้ เมื่อถึงปี พ.ศ.2440 พระครูจิตถารสมณวัตร์ (หลวงพ่อฝรั่ง) แห่งวัดพระนางสร้าง ท่านสามารถแก้ปริศนาได้ จึงบูรณะวัดพระผุดขึ้นมา โดยได้เป็นเจ้าอาวาส จำพรรษาอยู่ถึง 61 พรรษา จนมรณภาพ

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรา วุธมกุฎราชกุมาร พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสจังหวัดภูเก็ตและได้เสด็จมาทอดพระเนตรพระผุดองค์นี้

    พระองค์ทรงมีพระราชวิจารณ์ไว้ว่า "การก่อพระพุทธรูปสวมพระผุดนี้ก่อด้วยอิฐถือปูนมีแต่เศียรกับพระองค์เพียงเท่าทรวง เพื่อให้ดูเหมือนผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ฝีไม้ลายมือทำก็กระนั้นแหละ แต่ต้องชมว่าเขากล้า มีคนน้อยคนที่จะกล้าทำพระครึ่งองค์เช่นนี้ เพราะฉะนั้นก็จะต้องยอมรับว่าเป็นของควรดูอย่างหนึ่ง"

    ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า "วัดพระทอง"

    ในปัจจุบัน พระผุด เป็นพระประธาน ที่ชาวบ้านต่างมากราบไหว้ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา

    • Update : 6/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch