หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระศรีศากยะทศพลญาณฯ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ




    ณ บริเวณใจกลางของพุทธมณฑล ต.ศา ลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ยืนเด่นเป็นสง่า คือ "พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่ พุทธมณฑล"

    นามของพระประธานประจำพุทธมณฑล ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม มีศัพท์ทางพุทธศาสตร์ 2 คำปรากฏอยู่ในนามนี้ "ศรีศากยะ" มาจากคำว่า ศากย, ศากยะ ความหมาย [สากกะยะ] น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่าศากยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ. สืบเชื้อสายมาจากผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าเป็น กษัตริย์วงศ์นี้ ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็นสักกะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย

    "ทศพลญาณ" พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อธิบายไว้ว่า (บาลี เรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง)

    1.ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและ อฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไร เป็นไปไม่ได้ )

    2.กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ)

    3.สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐ ธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง)

    4.นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง)

    5.นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน)

    6.อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย)

    7.ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย)

    8.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้)

    9.จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม)

    10.อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)

    "พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" เป็นนามพระราชทาน ประดิษ ฐานใจกลางพุทธมณฑล พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทรงเททองพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2524 ระหว่างกำลังดำเนินการสร้างอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการสร้างองค์พระพุทธรูปด้วย

    พระศรีศากยะทศพลญาณฯ เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริดหนัก 17,543 กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระ รวม 137 ชิ้น แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป เพื่อเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระ พุทธรูปสูง 15.875 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลาหล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงาม และ มีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์

    ประยุกต์พุทธลักษณะมาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาลี เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งในตอนแรกที่ออกแบบไว้นั้น พระพุทธรูปมีความสูงเพียง 2.14 เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธศาสนาอายุครบ 2,500 ปี จึงได้มีการขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น 2,500 กระเบียด (1 กระ เบียดเท่ากับ 1/4 นิ้ว) ดังนั้นพระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุ บัน จึงมีความสูงถึง 15.875 เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ 7.5 เท่า

    ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนี้มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ไม้ปาริฉัตตกะ ณ ดาวดึงส์เทวโลก เมื่อออกพรรษามหาปวาร ณาแล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลก ในการเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า "เทโวโรหณสมาคม"

    พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจชาว พุทธสืบเนื่องมาจวบกาลปัจจุบัน

    • Update : 6/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch