หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ถนอมอาหาร ช่วงน้ำท่วม แนะเคล็ดเก็บได้นาน...ปลอดภัย

    เหตุการณ์น้ำท่วมได้แผ่ขยายไปในทุกพื้นที่ของประเทศ สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้นอกจากข้าว ของที่สูญเสียแล้วยังมีปัญหาเรื่องปากท้อง ดังนั้น การถนอมอาหารแบบไทย มีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทันที
       
    ผศ.พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า เหตุการณ์น้ำท่วมไม่มีผลกระทบต่อการถนอมอาหารแบบไทย ๆ เพราะขั้นตอนสำคัญคือ การใช้ เกลือและแสงแดด ที่จะเป็นปัจจัยหลักในการถนอมอาหารแม้น้ำจะท่วม แต่สามารถนำวัตถุดิบที่เหลืออยู่ในบ้านหรือไปซื้อมาทำเองได้ 
       
    เช่นอาหารสดซึ่งสามารถเสียได้ง่ายถ้าไม่แช่ในตู้เย็น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์สามารถทำให้เก็บไว้ได้นาน เช่น หมูควรรวนให้สุก และปรุงให้มีรสชาติออกเค็มเล็กน้อย หรือไม่ก็ทำแดดเดียวโดยใช้น้ำปลา หรือเกลือ ตากหนึ่งแดดหรือตากแห้ง เพื่อจะเก็บไว้ได้นานกว่าเดิมหลายเท่า
       
    สำหรับช่วงน้ำท่วมวัตถุดิบเช่น ปลา หาได้ง่ายเพราะสามารถจับได้ตามลำคลองที่มากับกระแสน้ำ ซึ่งสามารถถนอมได้โดยการนำมาทำปลาเค็มล้างให้สะอาดแล้วคลุกเคล้ากับเกลือแล้วตากแดด
       
    ส่วนการทำ ปลาต้มเค็ม ให้ทำปลาก่อน ผ่าท้องเอาเครื่องในออก ระวังดีแตก ไม่ขอดเกล็ด ใช้ทั้งตัวไม่ต้องตัดหั่น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะเตรียมไว้ ต่อมาทำความสะอาดอ้อยหวาน ตัด 15 ซม. ผ่า 4 เอาชิ้นอ้อยวางบนเขียง เอาสากทุบให้พอแตก วางเรียงลงก้นหม้อจนเต็ม แล้ววางขวางอีกชั้น จากนั้นนำปลาวางเรียงลงไป ใส่น้ำให้ท่วมตัวปลา ใส่เกลือซอสปรุงรส น้ำมะขามเปียก น้ำตาล ต้มไฟแรง ไม่ต้องคน พอเดือดลดไฟลง เคี่ยวไปเรื่อย ๆ ระวังน้ำจะแห้งปลาโผล่ ถ้าน้ำน้อยให้เพิ่มน้ำอีก ต่อมาเอากระเทียม พริกไทย รากผักชีผัดน้ำมันให้หอม ตักลงหม้อ เคี่ยวต่อจนเกล็ดปลาและก้างนุ่ม อาจจะ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่ปลา
       
    ด้านการทำ ปลาส้ม ซึ่งสามารถถนอมอาหารไว้ได้นานทำโดยล้างทำความสะอาดปลา เอาไส้ออกให้หมด ใช้มีดบั้งที่ตัวปลาแล้วผสมเกลือกับน้ำเปล่า คนให้ละลาย นำปลามาแช่ในน้ำเกลือประมาณ 2-3 ชั่วโมง ใช้มือจับดูให้ปลามีลักษณะแข็ง ๆ พอแช่ได้ที่นำมาล้างน้ำเปล่าทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ คลุกกับข้าว กระเทียม ผงปรุงรส นำไปบรรจุลงในถุงพลาสติกทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน จนเปรี้ยว แล้วนำไปทอดก่อนรับประทาน
       
    นอกจากการถนอมเนื้อปลาจากที่เล่ามาแล้วสามารถนำปลาที่มีอยู่ไปทำปลาร้า ปลาข้าวคั่ว หรือ แหนมปลา ได้อีกด้วย
       
    ส่วนผักใบและผักหัวที่มีอยู่ที่บ้าน ควรใช้ผักใบก่อนผักหัว แต่ถ้าใช้ผักใบไม่หมด ให้นำไปต้มผักรวม เคล้ากับเกลือตากแห้ง แล้วนำมาต้มกับกระดูกหมู
       
    ด้านผักหัว เช่น หัวไชเท้า เคล้ากับเกลือหมักไว้ 2-3 วัน แล้วนำมาตากแห้ง กะหล่ำปลี ซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคล้ากับเกลือใส่ข่าโขลกเล็กน้อย หมักไว้ประมาณ 1 เดือน จะเป็นตั้งฉ่ายสำหรับใส่ข้าวต้ม หรือใส่ก๋วยเตี๋ยว
       
    ช่วงน้ำท่วมเมนูที่ทำควรปรุงให้สุกโดยใช้ความร้อน 100 องศาฯ และไม่ควรทำเมนูที่มีส่วนผสมเป็นกะทิ เพราะจะ
    ทำให้เสียง่าย ควรเป็นอาหารประเภท ผัด ทอด ต้ม
       
    สำหรับเด็กและผู้สูงอายุเมนูที่ควรทำเพราะง่ายและไม่เผ็ดมาก เช่น แกงจืดไข่น้ำ ไข่เจียว ผัดวุ้นเส้น ซึ่งควรมีการล้างวัตถุดิบด้วยน้ำสะอาด ขณะเดียวกันภาชนะต่าง ๆ ควรล้างให้เรียบร้อยก่อนนำมาใส่อาหารเพื่อความปลอดภัยของเด็กและผู้สูงอายุที่ภูมิต้านทานน้อย
       
    ขณะที่ การหุงข้าวให้อยู่ได้นานควรหุงข้าวสวย โดยใช้อัตราส่วน ข้าว 1 ถ้วยต่อน้ำ 1 1/4 ถ้วย ซึ่งจะทำให้ข้าวที่หุงแล้วอยู่ได้นานกว่าที่เป็นอยู่ หลักง่าย ๆ ในการเลือกรับประทานอาหารที่จะเสียง่าย เช่น กินผักใบก่อนผักหัว และกินอาหารทะเลก่อนเนื้อสัตว์ และการปรุงอาหารควรใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำประปา
       
    ในส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในการปรุงอาหารช่วงน้ำท่วมต้องตรวจเช็กให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานอยู่ได้จริง เพราะมิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
       
    การปรุงอาหารเป็นเรื่องสำคัญในภาวะวิกฤติเช่นนี้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราไม่ทันระวังอาจเป็นผลร้ายต่อสุขภาพและชีวิตได้.

    วิธีปฏิบัติตนช่วงน้ำท่วม

    1. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือเข้าใกล้เสาไฟฟ้าทั้งนอกและในบ้านเพราะอาจโดนไฟฟ้าดูด
       
    2. ไม่เข้าใกล้ทางน้ำไหลหรือร่องน้ำเพราะอาจเกิดผืนดินถล่ม
       
    3. หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำหรือจับปลาเพราะอาจโดนน้ำพัดพาจมน้ำได้ หากระดับน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นให้รีบตัดไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
       
    4. ในการช่วยเหลือคนตกน้ำ ให้ใช้ห่วงยาง ลูกมะพร้าว หรือเชือก โยนให้คนตกน้ำยึดตัวเองไว้ จะปลอดภัยมากกว่าลงไปช่วยด้วยตนเอง
       
    5. หากสถานการณ์น้ำท่วมมีความรุนแรงจนถึงขั้นต้องอพยพออกนอกสถานที่ ให้ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ และควรให้ความช่วยเหลือคนชราหรือเด็กก่อน โดยปฏิบัติตามแผนการอพยพหนีภัยไปยังสถานที่ปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เช่น อยู่บนที่สูง อย่ามัวแต่ห่วงทรัพย์สิน
       
    6. ห้ามใช้ยานพาหนะสัญจรบนถนนที่น้ำท่วมและไหลเชี่ยวกราก เพราะความแรงเชี่ยวของกระแสน้ำอาจพัดพาหนะจมน้ำก่อให้เกิดอันตรายได้
       
    7. ในการหนีน้ำท่วมควรหลีกเลี่ยงการอพยพหนีด้วยการข้ามลำน้ำที่มีระดับน้ำสูงเหนือเข่า เพราะอาจเกิดอันตรายได้ กรณีเกิดเหตุการณ์หรือดินโคลนถล่ม ให้ระมัดระวังก้อนหินหรือต้นไม้ที่หักโค่น
       
    8. นอกจากนี้ ผู้ประสบภัย ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง ท้องเสีย
       
    9. เก็บขยะไว้ในถุงขยะ เมื่อน้ำลดแล้วให้นำมาเผา ฝัง หรือทิ้งในที่เหมาะสมปลอดภัย เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคระบาดได้ เช่น ฉี่หนู อหิวาตกโรค
       
    10. หมั่นติดตามข่าวสารเกี่ยวกับน้ำท่วมอย่างใกล้ชิด หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจะได้เตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที
       
    11. สุดท้ายนี้ หากประชาชนประสบเหตุอุทกภัย วาตภัย หรือโคลนถล่ม สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางโทรศัพท์ สายด่วน 1784 (รับแจ้งเหตุสาธารณภัยและอุบัติเหตุทางถนนทุกประเภท) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือต่อไป.

    ทีมวาไรตี้


    • Update : 27/10/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch