หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เที่ยว เชียงคาน ขานรับหัวใจใหม่ดื่มดำวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น

    ถ้าเปิดปูมประวัติศาสตร์จะพบว่า “เชียง คาน” ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอขนาดเล็ก อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเลยนั้น มีอายุอานามนับ 1,154 ปี ด้วย “ขุนคาม” โอรสของ “ขุนคัว” แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1400 โดยเริ่มแรกเชื่อว่าน่าจะตั้งอยู่ที่เมือง “ชะนะคาม” ซึ่งมีความหมายว่า ชนะสงคราม ในดินแดนล้านช้าง
       
    แต่เพราะล้านช้างมีความจำเป็นต้องแยกการปกครองออกเป็นสองอาณาจักร ในปี พ.ศ.2250  คือ อาณาจักรหลวงพระบาง ที่มีเขตแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไป กับอาณาจักรเวียงจันทน์ที่อยู่ใต้แม่น้ำเหืองลงมา ในยามนั้นเองที่หลวงพระบางได้ลงมือสร้างเมืองปากเหือง ซึ่งอยู่ตรงฝั่งขวาแม่น้ำโขงขึ้นเป็นเมืองหน้าด่าน ขณะที่เวียงจันทน์เองก็ตั้งเมืองเชียงคานเดิม ขึ้นเป็นเมืองหน้าด่าน
       
    ปี พ.ศ. 2320 เป็นปีที่อาณาจักรล้านช้าง ถูกรวมเข้ากับราชอาณาจักรไทยในฐานะประเทศราช บรรดาผู้คนได้ถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ยังเมืองปาก
    เหืองกันมากขึ้น
       
    กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ คิดจะกอบกู้เอกราชโดยเข้ายึดเมืองนครราชสีมา แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะถูกคุณหญิงโมนำชาวบ้านลุกขึ้นต่อต้าน ครั้งนั้นฝ่ายไทยยังได้มีการกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เข้าไปยังเมืองปากเหืองกันเพิ่มมากขึ้น ต่อมาก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระอนุพินาศ (ต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองคนแรก พร้อมกับพระราชทานชื่อเมืองเสียใหม่ว่า “เชียงคาน”
       
    ประวัติศาสตร์ยังระบุถึงความเป็นมาเป็นไปของเมืองเชียงคานอีกว่า ในกาลต่อมาจีนฮ่อฮึกเหิมคิดยกกองทัพเข้าไปตีเมืองเวียงจันทน์ กับหลวงพระบาง โดยได้เข้าไปปล้นสะดมเมืองเชียงคานเดิม ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นผลให้ชาวเชียงคานเดิม ต้องอพยพผู้คนไปอาศัยอยู่ยังเมืองเชียงคานใหม่ หรือก็คือ เมืองปากเหือง
       
    หลังจากนั้นไม่นานเกิดพบว่าเมืองเชียงคานใหม่ไม่มีความเหมาะสม จึงได้พากันอพยพไปอยู่ กันที่บ้านท่านาจันทร์ ซึ่งใกล้กันกับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน พร้อมกับตั้งชื่อเสียใหม่ด้วยว่า “เมืองใหม่เชียงคาน”
       
    ในคราวที่ไทยจำต้องเสียพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้กับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส คนไทยที่ติดอยู่ในฝั่งดังกล่าว จำต้องหลีกลี้หนีภัยเข้ามายังเมืองใหม่เชียงคาน ซึ่งก็คืออำเภอเชียงคาน ที่คนต่างถิ่นต่างจับจ้องตาเป็นมันกันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง
       
    ถ้าย้อนกลับไปก่อนช่วงปี พ.ศ. 2518 ก่อนที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมเต็มรูปแบบ ดินแดนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับอำเภอเชียงคาน คือ บ้านตากแดด เมืองสารคาม แขวงเวียงจันทน์ ขณะนั้นยังเป็นถิ่นที่ตั้งของโรงเลื่อยไม้แปรรูป มีพ่อค้าไม้มากหน้าหลายตา วนเวียนเข้าไปทำธุรกิจกันไม่ขาดสาย
       
    ขณะที่ฝั่งเชียงคานเอง ก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่าสำคัญริมฝั่งโขง ที่เหล่าเรือบรรทุกสินค้าจากเมืองเวียงจันทน์และหนองคาย จะล่องลงมาแวะพักแรมคืน ก่อนที่จะนำสินค้าทั้งหมดเดินทางต่อไปยังเมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ใกล้กันกับเมืองหลวงพระบาง เพื่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน
       
    เชียงคานในยุคสมัยนั้น จึงถูกกล่าวขานกันว่า เป็นเมืองท่าที่คึกคักด้วยบรรดาพ่อค้าผ่านเข้ามาไม่เว้นแต่ละวัน นั่นจึงเป็นที่มาของการลงทุนสร้างโรงแรมขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงด้านเชียงคาน และเพราะการซื้อหาไม้แปรรูปได้ง่ายจากโรงเลื่อยฝั่งตรงข้ามอีกเช่นกัน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนธุรกิจโรงแรมในยุคนั้น จึงถูกออกแบบให้เป็นบ้านเรือนไม้แบบเรียบง่าย ตลอดแนวฝั่งโขงระยะทางยาวเกือบ  3 กิโลเมตร หรือเรียกขานกันว่าถนนชายโขงในปัจจุบันนี้
       
    หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝั่งเพื่อนบ้าน ความเป็นเมืองท่าของเชียงคานได้ถูกลบเลือนไปในที่สุด ชาวท้องถิ่นเชียงคานจึงต้องหันมาใช้ชีวิตกันแบบสำรวม คือปลูกพืชสวนครัวไว้แค่พอทำกินบางรายก็หันมาค้าขายกับผลผลิตทางเกษตรเล็ก ๆ น้อย ๆ มีบางครัวเรือนลงทุนปิดประตูเรือนไม้ แบบทิ้งถิ่นชั่วคราวไปแสวงหารายได้กันในเมืองหลวง
       
    นี่คือภาพของเชียงคานในอดีตที่ผ่าน ๆ มา...แต่มีอยู่ช่วงหนึ่ง หรือเมื่อประมาณปี พ.ศ.2551 เกิดมีนักท่องเที่ยวกลุ่มนิยมชมชื่นในวิถีที่เรียบง่ายของชุมชนเชียงคานเดินทางมาถึง พวกเขาหลงใหลกับการขอพักแรมคืนอยู่ในบ้านเก่า ๆ หรือ โรงแรมเรือนไม้ ที่ยังคงสภาพไม่ต่างโรงเตี๊ยมของเหล่าพ่อค้าวานิชในอดีต โดยยินดีจ่ายค่าเช่าพักคืนละ 60-100 บาท ห้องน้ำห้องท่าก็ยินดีที่จะใช้แบบรวมกันภายนอกห้องนอน
       
    พวกเขาพอใจกับการได้สัมผัสวัฒนธรรมชาวท้องถิ่นที่ดูเป็นมิตร และใช้ภาษาพูดจากันด้วยถ้อยคำสำเนียงที่ฟังแล้วนุ่มนวลอ่อนหวานไม่ต่างสุ้มเสียงชาวหลวงพระบาง เมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง ที่บรรพบุรุษเชียงคานเคยพัวพันถึงกันมาก่อน เสน่ห์อันน่าจับต้องยิ่งกว่านั้น ก็ตรงถิ่นนี้แม้แต่วันนี้ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นดินแดนสงบร่มเย็น ชาวประชายังคงหันหน้าเข้าหาความสุข กับการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี
       
    เห็นได้จากความขยันตื่นกันแต่เช้าตรู่ เพื่อออกไปรอ ใส่บาตรข้าวเหนียว แม้อากาศยามเช้าจะหนาวเพราะไอหมอกกับละอองน้ำค้างจะยังกรุ่นอยู่ แต่พวกเขาก็ไม่รู้สึกสะท้าน วัดวาอารามที่ขนาบอยู่รอบข้างชุมชนยังดูเป็นศาสนสถานซึ่งหมายถึงถิ่นรวมตัว เพื่อทำนุบำรุงศาสนา และฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามเอาไว้ไม่ให้ตกหล่น
       
    ที่น่าสนใจในสายตาของนักอนุรักษนิยมด้านศิลปะสถาปัตยกรรม เฉพาะที่วัดศรีคุณเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของชุมชนย่านถนนชายโขงตรงนั้น นับเป็นวัดที่มีพระอุโบสถสวยสดงดงาม ละม้ายคล้ายกันกับพระอุโบสถวัดเชียงทอง แห่งเมืองหลวงพระบาง อีกทั้งสถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้แต่ละหลัง ก็ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
       
    ไม่นานนับจากวันนั้น...เสียงลือเสียงเล่าอ้างที่กล่าวขานกันไป ทำให้ขบวนนักท่องเที่ยวรสนิยมดังกล่าวเริ่มต้นหักเหทิศทาง จากที่เคยเดินทางท่องเที่ยวแถบเมืองปาย ในเมืองสามหมอก และนันทบุรี ศรีนครน่าน แห่งอาณาจักรล้านนา ก็หันมาเที่ยวชมเมืองชะนะขาม ของพ่อขุนคามแทนถิ่นนั้น ๆ
       
    นี่จึงเป็นที่มาของบานประตูบ้านเรือนไม้หลังเก่า ๆ แทบจะทุกหลังของเชียงคาน ได้ถูกเปิดอ้าออกรับคนต่างถิ่นที่เดินทางมาเพื่อท่องเที่ยวและสัมผัส โดยมีการบรรจุสินค้าทั้งประเภทบริการ อาทิ โรงแรม เกสต์เฮาส์ โฮมสเตย์ หรือไม่ก็เป็นร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกทั้งเก่าและใหม่ จักรยานให้เช่า รวมถึงร้านกินดื่มประเภทของว่าง ชา กาแฟ ซึ่งทั้งหมดปรากฏอยู่ภายในบ้านเรือนไม้หลังเก่า ๆ ที่ถูกอนุรักษ์ไว้
       
    กับเป็นที่รับรู้กันว่าคนที่เคยทิ้งถิ่นไปทำมาหากินยังถิ่นอื่น ได้เวลาที่จะย้อนกลับมาปัดกวาดบ้านเรือนที่เปื้อนฝุ่น ให้เป็นสถานประกอบการเหมือนครัวเรือนอื่น  จนแทบจะหาห้องว่างไม่เจอ
       
    และก็เพราะเป็นการตื่นตัวของคนต่างถิ่น ที่พากันเดินทางเข้าไปมากมายทั้งวันหยุดปกติ และวันหยุดยาวนาน ที่รัฐบาลประชานิยมประเคนให้ จนถนนชายโขงแน่นขนัดไปด้วยคนเดินทาง ทำให้ห้องพักที่มีอยู่จำนวน 300 ห้อง ถูกจองเต็มล่วงหน้า ส่งผลให้องค์กรส่วนท้องถิ่น คือเทศบาลตำบลเชียงคาน ต้องลุกขึ้นมาตราเทศบัญญัติ ว่าด้วยการควบคุมอาคารเรือนไม้เหล่านั้นเอาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ โดยการกำหนดข้อห้ามที่ว่าความสูงต้องไม่เกิน 2 ชั้น มิให้มีเพิงหรือแผงลอย ที่น่าดีใจคือ ป้องกันสถานบริการแบบสร้างความเสื่อมโทรมทุกชนิด เว้นไม่ให้มีอู่ซ่อมรถ โกดังสินค้า สถานเก็บเชื้อเพลิง ฯลฯ
       
    นี่คือความรับผิดชอบของท้องถิ่นที่ดูน่าชื่นใจ และน่ายกย่องก็ตรงที่คนเชียงคานเองก็มีค่านิยมอยู่ว่าบ้านเรือนทุกหลัง แผ่นกระดานทุกแผ่น ล้วนเป็นมรดกที่บุพการีถ่ายโอนไว้ให้เป็นทรัพย์สินตกทอด ถ้าใครคิดขายเปลี่ยนมือ คน ๆ นั้น สมควรที่จะถูกประณามหยามเหยียดจากคนเชียงคานด้วยกัน!
           
    ซึ่งก็สอดรับกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามแผนการท่องเที่ยวประจำปี 2555 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเริ่มใช้กันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปีนี้ โดยแผนดังกล่าวเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนวัฒนธรรมและวิถีชุมชนเป็นสำคัญ ภายใต้แคมเปญ ที่ว่า “เที่ยวหัวใจใหม่...เมืองไทยยั่งยืน”
             
      แต่ในขณะเดียวกัน ถึงวันนี้ชาวเชียงคานจะมีลมหายใจผูกพันอยู่กับนักท่องเที่ยว พวกเขาก็ยังมีวิตกอยู่บ้างเหมือนกัน กับนักท่องเที่ยวต่างเมืองที่โหมกระหน่ำกันเข้าไป เพราะทุกวันนี้คนหลายกลุ่มเริ่มเป็นกลุ่มท่องเที่ยวแฟนซี คือมีแต่ข้อเรียกร้องเป็นเงื่อนไข เช่น อยากได้ห้องพักติดเครื่องปรับอากาศ ปฏิเสธห้องน้ำรวมภายนอก ต้องมีโทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น น้ำร้อน อยู่ภายในห้องพัก สถานบันเทิงเริงรมย์ ยามค่ำคืนก็เป็นสิ่งที่ถูกเรียกหา
       
    “เราอยากได้นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเห็นวิถีชีวิตของพวกเรา ไม่ใช่ให้เรามาปรับวิถีเพื่อความสบายของพวกเขา”
       
    นี่คือคำยืนยันจากชาวเชียงคาน!.

    ทีมวาไรตี้


    • Update : 8/10/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch