หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา (ศาสนากับยุคโลกาภิวัตน์) (5)
    ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา (ศาสนากับยุคโลกาภิวัตน์) (5)

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความดีความชั่วเราจะยกไว้ก่อน จะพูดกว้างๆ ออกไปว่าในโลกแห่งวัตถุทั้งหลายนี้เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไร ที่เห็นชัด คือ เทคโนโลยีเป็นปัจจัยตัวเอกของความเจริญทางอุตสาหกรรม ในยุคที่ผ่าน มา ประเทศไทยพยายามพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม จนบางคนอาจจะภาคภูมิใจว่า เราจะได้เป็น NIC เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ แต่ก็ได้มีการถกเถียงกันมาก ว่าจะมีผลดีคุ้มกับผลเสียหรือไม่

    การพัฒนาอุตสาหกรรมจะทำให้เกิดผลผลิตพรั่งพร้อม มนุษย์มีความสุขในความหมายว่ามีวัตถุอุดมสมบูรณ์ เมื่อความเจริญก้าวไปจนถึงขั้นหนึ่งแล้ว เขาก็บอกว่าพ้นยุคอุตสาหกรรมไปเลย อย่างปัจจุบันนี้ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา ได้เจริญจนเป็นสังคมพ้นยุคอุตสาหกรรม (post-industrial society) มาเป็นสังคมยุคบริโภค (consumer society) หรือว่าตามสภาพโลกาภิวัตน์ก็เป็นสังคมยุค Information Age อย่างที่กล่าวมานี้

    เทคโนโลยีนี้หนุนอุตสาหกรรม และในทำนองเดียวกันอุตสาหกรรมก็หนุนเทคโนโลยี โดยเป็นปัจจัยเอื้อซึ่งกันและกัน คืออุตสาหกรรมเจริญได้เพราะอาศัยเทคโนโลยี เสร็จแล้วอุตสาหกรรมก็ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นอีก เทคโนโลยีเหล่านี้ก็มีทั้งเทคโนโลยีฝ่ายเพื่อการผลิต ซึ่งเป็นตัวปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรม แล้วก็มีเทคโนโลยีเพื่อการบริโภคอีกด้านหนึ่ง

    เทคโนโลยีสำคัญ ที่เป็นระบบใหญ่คือ การสื่อสารและขนส่งคมนาคม ที่ทำให้ข่าวสารกระจายไปทั่วโลก และทำให้สิ่งบริโภคผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแพร่หลายไปในที่ต่างๆ ให้คนเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและทั่วโลก นี่ก็คือสภาพโลกาภิวัตน์ ในด้านสิ่งบริโภคต่างๆ สืบเนื่องจากการที่ว่า เทคโนโลยีหนุนอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมหนุนเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจึงนำความเจริญไปทั่วอย่างรวดเร็ว ด้วยความถี่สูงขึ้นทุกที

    สมัยแรกเริ่มที่เกิดเทคโนโลยีขึ้นมา กว่าความเจริญจะแพร่จากตะวันตก เข้ามาถึงเมืองไทยต้องใช้เวลานาน ยกตัวอย่างเช่น ทีวีเกิดขึ้นในโลกเมื่อ พ.ศ. 2469 หรือ ค.ศ. 1926 แล้วได้ออกรายการเป็นประจำในเยอรมันเมื่อ พ.ศ. 2478 หรือ ค.ศ. 1935 ต่อมาอีก 3 ปี จึงได้ออกรายการประจำในอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2481 หรือ ค.ศ. 1938 ทีวีเข้ามาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2498 หรือ ค.ศ. 1955 ห่างจากอเมริกา 17 ปี ทีวีเราเพิ่งมีได้ 40 ปี เดี๋ยวนี้เจริญไปมากมายแล้ว สภาพความรวดเร็วจะสูงขึ้นทุกที เวลานี้เทคโนโลยีอะไรที่เกิดขึ้นในเมืองฝรั่งจะมาถึงเมืองไทยได้รวดเร็วขึ้น

    สภาพโลกาภิวัตน์มีความเจริญไม่เฉพาะกว้างขวางทั่วโลกอย่างเดียว แต่มันรวดเร็วขึ้นด้วย จนกระทั่งฝรั่งบอกว่าจะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นทันกาลทันเวลา จนเรียกว่าถึงยุค real time หมายความว่าทันทีทันใดในขณะนั้นเลย ฉะนั้นเรื่องโลกาภิวัตน์จึงไม่ใช่เป็นโลกาภิวัตน์อย่างเดียว แต่เป็น "กาลาภิวัตน์" ด้วย อันนี้น่าสังเกต บางทีเราไม่ได้นึกถึงในแง่ของกาลเวลา ซึ่งสำคัญมาก

    โลกาภิวัตน์อย่างเดียว ยังไม่สำคัญเท่าไร ที่เพิ่มความสำคัญก็คือความเร็ว ถ้าไม่เร็วเรายังคิดทัน แม้ว่ามันจะเกิดขึ้นทั่วโลก สมมติว่าเกิดในอเมริกา กว่าจะถึงเมืองไทย 17 ปี เราก็ยังมีเวลาคิดว่าจะทำอย่างไรกับมัน แต่เวลานี้มันเร็วจนเราไม่มีเวลาคิดแล้ว มันถึงตัวทันที ดังนั้นน่าจะคิดศัพท์ใหม่มาคู่กับโลกาภิวัตน์ อาจจะเรียกว่า "กาลาภิคัต" หรืออะไรทำนองนี้ อันนี้อย่าเพิ่งถือวˆาลงตัว เป็นศัพท์ที่พูดกึ่งเล่นๆ ไปหน่อย แต่เป็นอันว่าปัจจุบันนี้ ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ประเทศตะวันตกมีอะไร เดี๋ยวเดียวเมืองไทยก็รู้แล้วก็มีด้วย และความเร็วก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ ขณะนี้ความเร็วยังไม่เต็มที่ ต่อไปจะเร็วกว่านี้

    เอาละที่ว่ามานี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ควรตั้งเป็นข้อสังเกต



    • Update : 27/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch