หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    วันสารทไทย

    วันสารทไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ปีนี้ตรงกับวันที่ 27 ต.ค. ถือเป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของไทย 

    คำว่า "สารท" เป็นคำอินเดีย หมายถึง "ฤดู" ตรงกับฤดูในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า "ออตอม" หรือ ฤดูใบไม้ร่วง 

    สำหรับในพจนานุกรมไทย สารท มีความหมายว่า เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน 10 โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์ และข้าว มธุปายาส ถวายแด่พระสงฆ์ จะตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งมักจะตรงกับปลายเดือนก.ย.ถึงเดือนต.ค.

    ในประเทศไทย การทำบุญวันสารทมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์แพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีวันสารทมาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย 

    ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5

    สาเหตุที่ต้องมีพิธีสารทไทย เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ เพราะเชื่อกันว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ และญาติจะได้รับส่วนบุญเต็มที่ 

    หรือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ หรือผีไร่ ผีนาที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำนาเป็นอาชีพหลัก ในช่วงเดือน 10 นี้ ข้าวกล้ากำลังงอก งาม และรอเก็บเกี่ยว จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงขอบคุณตอบแทน 

    กิจกรรมในวันสารทไทย คือ การนำข้าวปลาอาหาร และที่ขาดไม่ได้ คือ ขนมกระยาสารท ไปทำบุญตักบาตรที่วัด 

    การตักบาตรมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ตักบาตรน้ำผึ้ง ของชาวไทยมอญ 

    การทำบุญตักบาตรในวันสารทไทยนั้น มีความเชื่อว่า เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ นอกจากนี้ ยังมีการฟังธรรมเทศนา ถือศีล ปล่อยนก ปล่อยปลา

    ประเพณีสารทไทยในภาคต่างๆ โดยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันคือ 

    ภาคกลาง เรียกว่า "สารทไทย" 

    ภาคเหนือ เรียก "งานทานสลากภัต" หรือ "ตานก๋วยสลาก"

    ภาคอีสาน เรียก "ทำบุญข้าวสาก" 

    สำหรับอีสานใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เรียกเทศกาลนี้ว่า "แซนโฎนตา" เป็นวันรวมญาติอย่างพร้อมหน้าโดยอย่างแท้จริง เพื่อร่วมกันอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ

    ภาคใต้ เรียก "งานบุญเดือนสิบ" หรือ "ประเพณีชิงเปรต" 

    ถึงแม้ว่าการทำบุญเดือนสิบในแต่ละท้องที่ จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การทำบุญกลางปี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ที่มีชีวิตผ่านพ้นเวลามาได้ถึงกึ่งปี และเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

    ขนมประจำวันสารทไทย เป็นขนมในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ด้วยมีความเชื่อว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญที่ทำในวันนั้น 

    ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้


    • Update : 27/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch