หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การสร้างพระบรรจุกรุเรื่องของ...พลังศรัทธา ความเชื่อ และค่านิ

    การสร้างพระบรรจุกรุเรื่องของ...พลังศรัทธา ความเชื่อ และค่านิยม

     ชั่วโมงเซียนโดย อรรถภูมิ บุญเกียรติ"

                  " การสร้างพระเครื่องให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆ พังทลายยังสามารถพบรูปสมมติของพระพุทธเจ้า เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา เป็นหลักฐานทางวัตถุว่า ที่นี่มีพระพุทธศาสนา มีผู้ศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตาม เป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ รวมทั้งเป็นสิ่งระลึกอันประเสริฐของบุคคล ผู้คนรุ่นแต่ก่อน ปัจจุบันและต่อไปในอนาคต "

                      ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความเชื่อและคตินิยม ในการสร้างพระเครื่อง ซึ่งอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ พระอริยสงฆ์ และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วยบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ หรือฝังลงดินไว้ตามสถานที่ต่างๆ

                      พระกรุจึงถือเป็นมรดกของชาติ ที่เพียบพร้อมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ อันบริสุทธิ์ของพลังอำนาจแห่งพระพุทธคุณ ที่มิได้แฝงด้วยพุทธพาณิชย์

                      ในอดีตที่ไม่นำนิยมนำพระพุทธรูปมาไว้ในบ้าน แต่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในสังคมไทย ก็เริ่มนำพระพุทธรูปมาไว้ในบ้าน มีการสร้างห้องพระหรือหอพระเพื่อใช้เป็นที่บูชาและเก็บรักษาพระพุทธรูปและพระพิมพ์ อีกทั้งมีการสร้างพระพุทธรูปขนาดเล็กที่ใช้นำติดตัวพกพาไปไหนมาไหนระหว่างการเดินทาง เพื่ออาศัยอำนาจพุทธานุภาพขององค์พระที่อธิษฐานจิตในการช่วยปกป้องให้พ้นจากอันตราย ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

                     สำหรับพระกรุอันเลื่องชื่อนั้นมีนับร้อยๆ กรุ แต่มีอยู่กรุหนึ่งที่มีประวัติการสร้างพระ นำลงบรรจุกรุ รวมทั้งมีการเปิดกรุอย่างชัดเจน คือ "พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม" ซึ่งเป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้สร้างและบรรจุกรุไว้ให้เมื่อกว่าศตวรรษมาแล้ว ปัจจุบันแม้แต่เศษชิ้นส่วนที่แตกหักก็ยังเป็นที่ต้องการของผู้คน มีราคาเช่าหาสูงและหายาก

                      สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ท่านสร้างพระพิมพ์สมเด็จฯ ไว้ ๓ แห่ง คือ ๑.พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม กทม. ๒.พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม กทม. และ ๓.พระสมเด็จฯ วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง

                     ตามประวัติการสร้างพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ขึ้นแจกชาวบ้านในราว พ.ศ.๒๔๐๙ หลังจากท่านได้สมณศักดิ์ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ได้ ๒ ปี ต่อจากนั้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๓ ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์ประธานที่วัดบางขุนพรหม เรียกกันว่า “พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม”

                      ผู้อาราธนาให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างพระพิมพ์เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ก็คือ เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล “ธนโกเศศ” ข้าราชการเสมียนตราในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตามคติของคนโบราณด้วย ด้วยความคิดนี้ประกอบกับเสมียนตราด้วง ผู้ปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม ได้อาราธนาให้ท่านสร้างพระพิมพ์บรรจุในพระเจดีย์ที่เสมียนตราด้วงสร้างที่วัดบางขุนพรหม

                      รายละเอียดการเปิดกรุพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม มีการเปิดได้กระทำ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐ โดยมี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการเปิดกรุ มีอธิบดีกรมศาสนา เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ ตำรวจ ทหาร ร่วมด้วยในพิธีนี้

                       รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน คณะกรรมการก็ได้ทำการนับจำนวนพระที่ขุดได้ ปรากฏว่าได้พระสมเด็จ (ที่สมบูรณ์) ทั้งหมด ๒,๙๕๐ องค์ นอกจากนั้นก็ได้พระสมเด็จตะกั่วถ้ำชา ๑ องค์ สำหรับตะกรุดคงเป็นของคนสมัยนั้นนำเอามาบรรจุไว้ด้วย ส่วนพระสมเด็จที่หักชำรุดมีมากมายพระที่ได้ขึ้นมาในครั้งนั้นเรียกว่า “พระกรุใหม่” ส่วนพระสมเด็จฯ ที่ถูกลักลอบนำออกมาก่อนหน้านั้น เรียกกันว่า “พระกรุเก่า” ซึ่งความจริงเป็นพระขึ้นมาจากกรุเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่ระยะเวลาออกมาไม่พร้อมกัน 

                      พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม มีทั้งหมด ๑๐ พิมพ์ทรง ๕ พิมพ์แรกนี้ตรงกับพิมพ์ของพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ ประกอบด้วย ๑.พิมพ์ทรงใหญ่ ๒.พิมพ์ทรงเจดีย์ ๓.พิมพ์ทรงเกศบัวตูม ๔.พิมพ์ทรงฐานแซม ๕.พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ (มีน้อย) และยังมีพิมพ์อื่นเพิ่มขึ้นอีก ๕ พิมพ์ทรง คือ ๑.พิมพ์ทรงฐานคู่ ๒.พิมพ์ทรงสังฆาฏิ ๓.พิมพ์ทรงเส้นด้าย ๙.พิมพ์อกครุฑ และ ๑๐.พิมพ์ไสยาสน์

     

    สมเด็จบรรจุกรุวัดพระบรมธาตุฯ


                      การสร้างพระเครื่องเพื่อบรรจุกรุในยุคปัจจุบัน หลายวัดหลายแห่งได้ทำตามคติความเชื่อของคนโบราณ ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พระอารามหลวง) ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ซึ่งมีพระครูศรีปริยัติอุเทศ หรือหลวงพ่อช้าง เป็นเจ้าอาวาส มีโครงการก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ และสร้างพระสมเด็จเพื่อบรรจุลงในกรุ

                      ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ทางวัดได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และประกอบพิธีกดพิมพ์นำฤกษ์ โดยพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

                     ในการจัดสร้างพระสมเด็จครั้งนี้มีทั้งหมด ๕ พิมพ์ ประกอบด้วย ๑.พิมพ์ใหญ่ ๒.พิมพ์ทรงเจดีย์ ๓.พิมพ์เกตุบัวตูม ๔.พิมพ์ปรกโพธิ์ และ ๕.ฐานแซม พิมพ์ละ ๘๔,๐๐๐ องค์ โดยใช้มวลสารในการจัดสร้างตามตำรับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เช่น ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ ผงตรีนิสิงเห ผงใบลานเผา เกสรดอกไม้ ว่านมหามงคล ทรายเงินทรายทอง เถ้าธูปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น้ำมันจันทน์ ข้าวสุก เนื้อกล้วย รวมทั้งพระผงสมเด็จที่ชำรุด

                      ทั้งนี้ ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง พิธีพุทธาภิเษกพระรุ่นดังกล่าว ณ วัดระฆังโฆสิตาราม โดยส่วนหนึ่งเปิดให้ประชาชนเช่าบูชา เพื่อนำรายได้ไปบูรณะพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น พ.ศ.๒๔๔๔ และพ.ศ.๒๔๔๙ อีกส่วนหนึ่งจะบรรจุกรุในพระธาตุเจดีย์


    • Update : 26/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch