หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระพุทธรูปทรงเครื่อง เรื่องของ...คติความเชื่อ และพลังศรัทธา


    พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นพระพุทธรูปที่ฉลองพระองค์ทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์ เช่น สวมมงกุฎ กรองศอทับทรวง ฉลองพระบาท ฯลฯ เกี่ยวกับคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องนี้ มีข้อสันนิษฐานไว้หลายประการด้วยกัน คือ ประการแรกสร้างตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาท สร้างตามพระพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระมหาชมภู ซึ่งเป็นเรื่องราวการอธิบายทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูปทรงเครื่อง ตามเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในมหาชมภูบดีสูตรว่า

     "พระมหาชมภู เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบุญญาธิการและมีฤทธานุภาพมาก ไม่ยอมรับนับถือพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตพระองค์เป็นอย่างพระมหาจักรพรรดิ ทรงแสดงธรรมโปรดจนพระมหาชมภูลดทิฐิมานะ หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา"

     ประการที่สอง หมายถึง คติที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะเทวราชา ผสมผสานกับพุทธราชา ตามลัทธิเทวราช และอีกประการหนึ่ง ตามคติพุทธศาสนามหายาน อาจจะหมายถึง อนาคตพุทธเจ้า



     พระพุทธรูปทรงเครื่องเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓) ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔) พระพุทธรูปทรงเครื่องแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบทรงเครื่องใหญ่ และแบบทรงเครื่องน้อย นอกจากนี้แล้วยังนิยมทำพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืนประทานอภัย ๓ แบบ คือ ๑.ประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ เรียก ปางห้ามสมุทร ๒.ประทานอภัยพระหัตถ์ขวา เรียก ปางห้ามญาติ และ ๓.ประทานอภัยพระหัตถ์ซ้าย เรียก ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ส่วนพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับนั่ง นิยมทำปางมารวิชัย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

     อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ได้ทรงสร้าง พระพุทธรูปจำนวนมาก เช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระเสรฐตมมุนี พระพุทธไตร รัตนายก (หลวงพ่อโต) พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นพระนอนที่มีความงดงามโดยเฉพาะที่ฝ่าพระบาท ทำเป็นลายประดับมุกภาพมงคลร้อยแปด และพระองค์ยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปางห้ามสมุทรถือเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเป็นพุทธลักษณะทรงเครื่องใหญ่เต็มยศ ประดับกระจกหรือเนาวรัตน์ทั้งองค์

     พระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนมากนิยมทำปางห้ามสมุทร พระพักตร์ดูเรียบเฉยเหมือนหน้าหุ่นตัวพระของโขน ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประทับอยู่บนฐานที่ลดหลั่นกันหลายชั้น ลวดลายละเอียด งดงาม มีผ้าทิพย์ประกอบดูรับกับองค์พระทรงเครื่องทั้งยังมีฉัตรประกอบทุกองค์ แม้แต่พระสาวกส่วนบัวที่อยู่ชั้นในสุดมีการทำลวดลายอย่างละเอียด เชื่อว่าได้แรงบันดาลจากพระแก้วมรกตในเครื่องทรงชุดประจำฤดูร้อน ยังมีปรากฏพระพุทธรูป แบบจีวรดอก คือลวดลายดอกดวงที่จีวร เชื่อว่าได้รับอิธิพลมาจากพระแก้วมรกตในเครื่องทรงชุดประจำฤดูฝน



     สำหรับประพุทธรูปทรงเครื่องอันเป็นที่รู้จักทั่วโลก คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต  เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว นอกจากนี้แล้วยังมีพระพุทธรูปทรงเครื่องอันเป็นที่รู้จักของชาวไทย เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระประธานในอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถื่อเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ หลวงพ่อพุกกะยาภรณ์มณีศรีปทุม พระพุทธรูปในวิหาร วัดพระธาตุจอมศีล ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ในขณะที่พระพุทธไสยาสน์ทรงเครื่อง หรือพระนอน ซึ่งเข้าใจว่ามีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทยคือ พระพุทธรูปทรงเครื่องโนรา วัดพระทอง หรือวัดพระผุด จ.ภูเก็ต และพระทรงเครื่องในอุโบสถวัดนางนอง เขต บางขุนเทียน กทม.สร้างโดยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้น  ส่วนสถานที่จัดพระพุทธรูปทรงเครื่องมากที่สุดคือ ในพิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม กทม. ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          บินไทยฯ สร้างทรงจักรเครื่องพรรดิ 

      นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายโครงการสุวรรณภูมิ และอุปนายกสมาคมสโมสรพนักงานการบินไทย บอกว่า เนื่องจากพระวิเทศโพธิคุณเจ้าอาวาสได้ปรารภว่า วัดไทยลุมพินี ยังไม่มีพระประธานประจำอุโบสถ ต่อมามหาเถรฯ มีมติอนุญาตให้บริษัท เป็นประธานในการจัดหาทุนเพื่อสร้าง พระประธานพุทธปฏิมาสุวรรณภูมิสิริโชค ภ.ป.ร.ขนาดหน้าตัก ๔๕.๙ ซม.ทรงเครื่องจักรพรรดิ แกะสลักจากหยกแท้ ประเทศพม่า พร้อมบุษบก เพื่อประดิษฐานประจำอุโบสถ วัดไทยลุมพินี ทั้งได้ให้นายนิยม กลิ่นบุบผา นายช่างศิลปกกรรม และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (ช่างสิบหมู) ผู้ออกแบบ เป็นผู้ออกแบบเครื่องทรงจักรพรรดิ พระพุทธปฏิมาสุวรรณภูมิสิริโชค ภ.ป.ร.

     อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะอัญเชิญพระพุทธปฏิมาสุวรรณภูมิสิริโชค ภ.ป.ร.ทรงเครื่องจักรพรรดิ ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ อุโบสถ วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล คณะกรรมการดำเนินงานได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงโดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระประธานในพิธี และมีพระราชครูวาเทพมุณีหัวหน้าคณะพราหมณ์ประจำสำนักพระราชวังเป็นเจ้าพิธี  ในเช้าวันนี้ (อังคารที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑) เวลา ๐๙.๐๐



     ส่วนความเป็นมาของการจัดสร้างนั้นเมื่อปี ๒๕๔๗ การบินไทย มีการสำรวจเส้นทางวัดทัวร์ศาสนา ตามรอยพระบาท การซ่อมแซม Kakani Park และการจัดผ้าป่าสามัคคีวัดสิริกิติ์ ณ รัฐเนปาล  โดยจากการเดินทางสำรวจดังกล่าว บริษัทได้พิจารณาเรื่องการจัดสร้างพระประธาน ประดิษฐาน ณ วัดไทยลุมพินี รัฐเนปาลด้วย ต่อมามหาเถรสมาคมมีมติอนุญาตให้บริษัทเป็นประธานในการจัดหาทุนเพื่อสร้าง เมื่อวันที่ ๑๘  ตุลาคม ๒๕๔๘ โดยบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อดำเนินการจัดสร้างพระ เมื่อสร้างแล้วเสร็จบริษัทการบินไทย จัดพิธีอัญเชิญพระพุทธปฏิมาสุวรรณภูมิสิริโชค ภ.ป.ร. ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ อุโบสถวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล ในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นี้

     

    เรื่องและภาพ "ไตรเทพ ไกรงู"


    • Update : 4/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch