หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    นิ่วในถุงน้ำดี (Gall stone)

    ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เก็บน้ำดี (Bile) และบีบตัวนำน้ำดีมาสู่ลำไส้เล็ก  (Duodenum) ผ่านทางท่อทางเดินน้ำดีและเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นถุงคล้ายถุงกาแฟ ตำแหน่งอยู่บริเวณช่องท้องด้านขวาบนและอยู่ใต้ท่อตับกลีบขวา  นอกจากนี้น้ำดียังมีหน้าที่ช่วยในการย่อยไขมัน เวลารับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ

    นิ่วในถุงน้ำดีเกิดขึ้นได้อย่างไร?


    เกิดจากความผิดปกติของส่วนประกอบท่อน้ำดีที่มีคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และ บิลิรูบิน (Bilirubin) คือ ส่วนประกอบที่เกิดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดสภาพการทำงานแล้ว ในสัดส่วนที่ผิดปกติไป นิ่วในถุงน้ำดีนั้นสามารถพบได้ 10–15% ในผู้ใหญ่ โดยส่วนมากจะพบในผู้หญิง 10.5% และผู้ชาย 6.5%  โดยเพียงแค่ 30% ในผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดีเท่านั้นถึงจะมีอาการ

    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีมีอะไรบ้าง?

    -    เพศหญิง มีน้ำหนักมาก ดัชนีมวลกายมากกว่า 30% และผู้ที่ลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว  (ลดความอ้วน)

    เมื่อไรต้องมาพบแพทย์ (มีอาการอย่างไร) ?

    -มีอาการปวดท้องบริเวณท้องด้านขวา ส่วนบนอยู่นานเป็นชั่วโมงถึงจะดีขึ้น ซึ่งมักจะมีอาการเวลากลางคืนหลังทานอาหารเย็น มีอาการปวดร้าวที่เอวด้านขวา หรือสะบักขวา มีอาการปวดร้าวทะลุหลังตรงกลางท้อง มีอาการตาเหลืองตัวเหลืองร่วมด้วยหรือมีดีซ่าน ร่วมกับมีไข้

    สามารถตรวจพบได้อย่างไร ?
         
    เมื่อมาพบแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด และส่งตรวจอัลตราซาวด์  (ultrasound) ช่องท้อง เพื่อดูว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่ ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่ายและไม่เจ็บตัว สามารถตรวจได้ในโรงพยาบาลทั่วไป

    เมื่อตรวจพบว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว  จะรักษาอย่างไร ?
        
    เมื่อตรวจพบว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีแล้วนั้นไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกรายจะรักษาโดยการผ่าตัดก็ต่อเมื่อมีอาการของนิ่วในถุงน้ำดีหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว อย่างเช่น  ถุงน้ำดีอักเสบ  นิ่วตกมาอยู่ในท่อน้ำดีเกิดท่อน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบจากนิ่ว

    การรักษาโดยการผ่าตัดนั้นจะตัดถุงน้ำดีออกทั้งหมด ไม่ใช่แค่เอานิ่วออกอย่างเดียวเท่านั้นเพราะการเอานิ่วออกอย่างเดียวไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น

    1. การส่องกล้องผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก  (Laparoscopic cholecystectomy) ซึ่งเป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบันนี้ในกรณีนิ่วในถุงน้ำดีที่มีอาการและแม้กระทั่งในกรณีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน  (Acute cholecystitis) โดยมีวิธีการคร่าว ๆ คือ ผู้ป่วยนั้นต้องดมยาสลบและมีแผลหน้าท้องขนาด 1.0-1.5 เซนติเมตร และขนาด 5 มิลลิเมตร จำนวน 3-4 แผล ทั้งนี้ก็แล้วแต่เทคนิคของศัลยแพทย์แต่ละคน ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้จะทำให้แผลมีขนาดเล็ก การฟื้นตัวของผู้ป่วยจะเร็ว กลับบ้านได้เร็ว

    2.  การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง  (Open cholecystectomy) ในกรณีที่ไม่สามารถทำผ่านการส่องกล้องได้ เช่น เกิดอันตรายต่อท่อน้ำดีหรือเส้นเลือด  หรือทำการผ่าตัดเปิดท่อน้ำดี (Common bile duct) ร่วมด้วย  ร่วมกับทำผ่าตัดทำทางเชื่อมท่อน้ำดีกับลำไส้ (Biliary-enteric anastomosis) ใหม่ก็จะมีแผลบริเวณใต้ชายโครงขวาขนาดใหญ่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงนั้นไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกราย ยกเว้นในกรณีที่มีนิ่วขนาดใหญ่มากกว่า 2.5–3 เซนติเมตร หรือมีแคลเซียม (Calcium) เกาะอยู่ที่ผนังถุงน้ำดี หรือพบว่ามีติ่งเนื้อในถุงน้ำดี  (Gall bladder polyp) หรือมีโรคเลือดบางชนิด (Sickle cell anemia)

    หลังผ่าตัดถุงน้ำดีจะไม่มีถุงน้ำดีแล้ว จะมีผลต่อชีวิตประจำวันหรือไม่ ?
        
    โดยปกติน้ำดีจะสร้างมาจากตับและเก็บในถุงน้ำดี เมื่อไม่มีถุงน้ำดีแล้วก็สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ในกรณีที่กินอาหารที่มีไขมันสูงอาจทำให้มีอาการปวดจุกแน่นท้องได้ หรือมีท้องอืดได้เล็กน้อย

    มะเร็งถุงน้ำดี (CA gall bladder)
       
    มะเร็งถุงน้ำดีนี้เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย แต่ว่าเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับที่ 5 ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเมื่อตรวจพบคนไข้ก็มักจะมีอาการลุกลามไปมากแล้ว อย่างเช่น อาการตาเหลืองตัวเหลืองจากตัวมะเร็งลุกลามเข้าทางเดินน้ำดี หรือมีการกระจายไปที่อวัยวะอื่นแล้ว เช่น ปอด หรือต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง หรือเหนือไหปลาร้าด้านซ้าย ดังนั้นเมื่อตรวจพบมักจะเป็นในระยะสุดท้ายแล้วจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันเนื่องจากการทำผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy) นั้นทำกันมากขึ้นจึงทำให้มีการตรวจพบมะเร็งถุงน้ำดีได้ตั้งแต่ในระยะแรก คือการตรวจโดยบังเอิญหากพบชิ้นเนื้อที่ติดถุงน้ำดีไป

    ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้เกิดมะเร็งถุงน้ำดี ?

       
    - นิ่วขนาดมากกว่า 2.5-3.0 เซนติเมตร, ถุงน้ำดีที่มีแคลเซียม (Calcium) เกาะที่ผนัง, มีติ่งเนื้อในถุงน้ำดีขนาดมากกว่า 1.0 เซนติเมตร, เป็นโรคถุงน้ำในท่อน้ำดีแต่กำเนิด (Choledochal cyst)

    มะเร็งถุงน้ำดีจะมีอาการอย่างไร ?
       
    มะเร็งถุงน้ำดีระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่เมื่อมีอาการแสดงให้เห็นมักจะพบว่าโรคได้ลุกลามไปมากแล้ว ซึ่งเมื่อโรคนี้ไม่แสดงอาการให้เห็นดังกล่าวจึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัยให้ได้ในระยะแรก ๆ และไม่มีการเจาะเลือดเพื่อหาค่ามะเร็งที่เฉพาะเจาะจงได้
     
    อาการที่มักพบได้ในระยะกลาง เช่น ตาเหลืองตัวเหลือง คลำเจอก้อนที่ท้อง อาการปวดท้อง บางรายจะมีอาการของถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น
       
    การวินิจฉัยทำได้อย่างไร ?

            
    มักจะตรวจพบได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasound) และทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (CT scan) หรือตรวจพบโดยบังเอิญหลังผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว
      
    การรักษาทำได้อย่างไร ?
           

    โรคนี้การรักษาที่สามารถทำให้หายขาดได้นั้นมีอยู่วิธีเดียวคือ การผ่าตัด ซึ่งมีตั้งแต่การตัดแค่ถุงน้ำดีออกเพียงอย่างเดียวไปจนถึงร่วมกับการผ่าตัดเอาตับและอวัยวะข้างเคียงที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกร่วมด้วย ซึ่งการรักษาแต่ละอย่างนั้นขึ้นกับระยะของโรคที่ตรวจพบด้วย ถ้าโรคนี้สามารถตรวจพบได้ในระยะแรกการรักษาเพียงแค่ตัดถุงน้ำดีออกก็มักจะให้การพยากรณ์โรคที่ดี โอกาสหายขาดมีได้ถึง 80-100% แต่ถ้าตรวจพบได้ช้าโอกาสที่จะสามารถผ่าตัดให้หายขาดได้นั้นมักจะน้อย หรือในบางกรณีก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากโรคลุกลามไปมากแล้ว ดังนั้นการตรวจพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ข้างต้นแล้วรีบรักษานั้นน่าจะเป็นการรักษาที่ได้ผลดี
       
    ข้อมูลจาก นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ รุ่งสกุลกิจ ศัลยศาสตร์ตับ ตับอ่อน  และทางเดินน้ำดี ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

    นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์


    • Update : 25/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch