หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การปลกูกล้วยนาํ้วา

    การปลูกกล้วยน้ำว้า

    กล้วยน้ำว้าเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าสีน้ำตาลแข็ง ลำต้นสูง ลำต้นที่อยู่เหนือดิน รูปร่างกลม เป็นส่วนของกาบใบหุ้มกันแน่น ใบสีเขียวใหญ่ ก้านใบยาวและเห็นชัดเจน ดอกออกที่ปลาย ลำต้นเป็นช่อใหญ่ ลักษณะห้อยลง ช่อดอกยาวประมาณ 1/2 -3/4 ศอก เรียกว่า ปลี มีดอกย่อย ออกเป็นแผง ผลจะติดกันเป็นแผง เรียกว่า หวี ซ้อนกัน หลายหวี เรียกว่า เครือ ใช้หน่อปลูก ปลูกได้ทั่วไป กล้วยเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์ประจำวันมาก ใบกล้วยที่เรียกว่า ใบตอง ใช้ห่อขนม ต้นกล้วยใช้เลี้ยงหมู ทำแพ เป็นอุปกรณ์ในการทำกระทง ใส้ในต้นกล้วยที่ยังไม่ออกเครือ ใช้ทำอาหาร เช่น แกงกับกะทิ รับประทานเป็นผักสด หรือกับขนมจีนน้ำยา หัวปลีใช้แกงเลียง ทำเป็นขนมหวานหลายรูปแบบ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยฉาบ กล้วยปิ้ง กล้วยตากอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยทอด

     

    วิธีปลูกการปลูกกล้วยน้ำหว้า :

     

    - ปลูกในช่วงฤดูฝน

    - ปลูกด้วยหน่อใบแคบ หรือต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อ

    - เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม.

    - ผสมดินปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟส จำนวน 50 กรัม เข้าด้วยกันใน หลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

    - ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

    - ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)

    - ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก

    - กลบดินที่เหลือลงในหลุม

    - กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น

    - คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง

    - รดน้ำให้ชุ่ม

     

     

     

    ระยะปลูกกล้วยน้ำหว้า:

     

    2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร

     

    จำนวนต้นต่อไร่ : จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น/ไร่ , 250 ต้น/ไร่

     

    การดูแลรักษากล้วยน้ำหว้า:

     

    การใส่ปุ๋ย   ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ๆ ละ 250 กรัม ดังนี้

     

    ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15

    ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15

    ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15

    ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21

     

     

    การให้น้ำกล้วยน้ำหว้า:

     

    ประมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่าน จะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จึงทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต

     

     

    การตัดแต่งหน่อกล้วยน้ำหว้า :

     

    การตัดแต่งหน่อ หลังจากปลูกประมาณ 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคนให้ตัด ไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี หรือหลังปลูกแล้วประมาณ 7-8 เดือน ควรมีการไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดย เลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม

     

     

    การตัดแต่งใบกล้วยน้ำหว้า :

     

    การตัดแต่งใบ ควรทำการตัดแต่งช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่ และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7-12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบของผลกล้วย

     

     

    การเก็บเกี่ยวกล้วยน้ำหว้า :

     

    การเก็บเกี่ยวกล้วยระยะใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกล ๆ อาจตัดกล้วยเมื่อความแก่ประมาณ 75% การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลีในการตัดจะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ย ถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียงลงมา โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร ก็นำไปยังโรงเรือนเพื่อคัดขนาดบรรจุต่อไป

     

    การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว :

     

    - นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้ง

     

    - ทำความสะอาดถูกผล หรือบริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมอ

     

    - ชำแหละเครือกล้วยออกเป็นหวี ๆ อย่างระมัดระวังอย่าให้รอยตัดช้ำ

     

    - คัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออก

     

    - จุ่มในน้ำผสมสารไธอาเมนตาโซล แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้ง

     

    - บรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่ง โดยมีใบตองรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ

     >> รักบ้านเกิด.คอม


    • Update : 23/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch