หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประวัติของวัดอรุณราชวราราม -6
     

    Image
    พระวิหาร


    • พระวิหาร

    พระวิหารตั้งอยู่ระหว่างมณฑปพระพุทธบาทจำลองกับหมู่กุฏิคณะ ๑
    สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เช่นกัน
    เป็นพระวิหารยกพื้นสูงเช่นเดียวกับพระอุโบสถ หลังคาลด ๓ ชั้น
    มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันสลักด้วยไม้มีรูปเทวดาถือพระขรรค์ยืนอยู่บนแท่น
    ประดับด้วยลายกระหนก ลงรักปิดทองประดับกระจก
    มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้ามีประตูเข้า ๓ ประตู ด้านหลังมี ๒ ประตู
    ผนังด้านนอกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลายก้านแย่งกระบวนไทย
    เป็นกระเบื้องที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ทรงสั่งมาจากเมืองจีนเพื่อใช้ประดับผนังด้านนอกพระอุโบสถ
    แต่ไม่งามพระราชหฤทัย จึงทรงโปรดให้เอามาประดับผนังด้านนอกพระวิหารนี้
    ด้านนอกของประตูและหน้าต่างทั้ง ๑๔ ช่อง ทำขึ้นใหม่ เป็นลายรดน้ำรูปดอกไม้
    ผนังด้านใน เดิมคงมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เพราะเสาสี่เหลี่ยมข้างใน
    และเรือนแก้วหลังพระประธานและบนบานประตูและหน้าต่างด้านใน
    ยังมีภาพสีปรากฏอยู่ แต่ปัจจุบันผนังได้ฉาบด้วยน้ำปูนสีเหลืองเสียหมดแล้ว
    ยังเห็นเป็นรอยเลือนลางได้บางแห่ง แต่น้อยเต็มที
    ปัจจุบันได้ใช้พระวิหารหลังนี้เป็น ศาลาการเปรียญ ของวัดด้วย

    Image
    พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร พระประธานในพระวิหาร

    Image
    พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร อีกมุมหนึ่ง


    พระประธานในพระวิหาร มีนามว่า
    ‘พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร’
    เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทอง
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้หล่อขึ้นในคราวเดียวกันกับ ‘พระพุทธตรีโลกเชษฐ์’
    พระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖
    ทางวัดได้พบพระบรมธาตุ ๔ องค์บรรจุอยู่ในโกศ ๓ ชั้น อยู่ในพระเศียร

    ที่ฐานชุกชีด้านหน้าพระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร
    ได้ประดิษฐาน ‘พระอรุณ’ หรือ ‘พระแจ้ง’ พระพุทธรูปปางมารวิชัย
    หล่อด้วยสำริด ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร
    ซึ่งองค์พระพุทธรูปและผ้าทรงครองได้หล่อด้วยทองต่างสีกัน

    ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๔
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้อัญเชิญพระอรุณหรือพระแจ้งมาจากเมืองเวียงจันทน์
    โดยมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญมาประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง
    แต่ภายหลังพระองค์ได้มีพระราชดำริที่จะย้ายพระอรุณหรือพระแจ้ง
    มาประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม แทน ด้วยเหตุที่นามพระพุทธรูปพ้องกับชื่อวัด
    ดังปรากฏหลักฐานจากพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๔
    เมื่อปีมะเมีย จุลศักราช ๑๒๒๐ (พุทธศักราช ๒๔๐๑) ความตอนหนึ่งว่า

    Image
    ซุ้มบานหน้าต่างพระวิหาร


    “...ยังมีพระที่มีชื่อเอามาแต่เมืองเวียงจันทน์อีกสองพระองค์
    พระอินแปลงน่าตัก ๒ ศอกเศษ พระอรุณน่าตักศอกเศษ...พระอรุณนั้น
    ฉันคิดว่าจะเชิญลงมาไว้ในพระวิหารวัดอรุณ เพราะชื่อวัดกับชื่อพระต้องกัน
    สมควรแต่จะให้จัดแจงที่ฐานเสียให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะเชิญลงมาต่อน่าน้ำ...”


    จากพระราชดำริดังกล่าว ในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ
    พระอรุณหรือพระแจ้งมาประดิษฐานในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม
    โดยโปรดให้ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ด้านหน้าพระพุทธชัมภูนุทฯ
    ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหาร นับแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    ช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ในวันที่ ๑๒ เมษายน
    วัดอรุณฯ จะอัญเชิญพระอรุณองค์จำลองแห่เวียน
    ตั้งแต่ถนนอรุณอมรินทร์ไปจนถึงถนนอิสรภาพ
    และในวันที่ ๑๓ เมษายน จะอัญเชิญพระอรุณองค์จำลอง
    ออกมาให้ประชาชนสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี

    Image
    ซุ้มบานหน้าต่างพระวิหาร

    Image
    ซุ้มบานหน้าต่างพระวิหาร ด้านข้างมีระฆังแขวนไว้ที่เสาไม้

    Image
    พระพุทธมงคลญาณลักษณ์ปทุมพิมานเนรมิต ประดิษฐานอยู่ด้านข้างพระวิหาร

    Image
    พระพุทธมงคลญาณลักษณ์ปทุมพิมานเนรมิต อีกมุมหนึ่ง



    • Update : 19/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch