หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-15

    แนวทางการผลิตกุ้งขาวแวนนาไม

    เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมให้ผลผลิตสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับกุ้งกุลาดำและระยะเวลาในการเลี้ยงน้อยกว่ากุ้งกุลาดำผลผลิตจากการเลี้ยงโดยใช้น้ำความเค็มปกติทางภาคใต้โดยเฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามันสูงถึง 3-4 ตันต่อไร่ในขณะที่ประเทศจีนเลี้ยงกุ้งขาวชนิดนี้ในลักษณะความหนาแน่นสูงมากๆ (super intensive) มากกว่า 120 ตัว/ตารางเมตร เนื่องจากราคาลูกกุ้งถูกมากแต่ส่วนใหญ่ผลผลิตที่ได้จะเป็นกุ้งขนาดเล็กประมาณ 8-12 กรัม ส่วนในรายที่ปล่อยลูกกุ้งน้อยกว่าก็อาจจะเลี้ยงกุ้งได้ขนาดที่โตขึ้นแต่โดยส่วนใหญ่แล้วผลผลิตกุ้งขาวจะเป็นกุ้งขนาดเล็กระหว่าง 80-120 ตัว/กิโลกรัม แต่บางช่วงเวลาที่มีผลผลิตออกมามากคือระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคมจะมีกุ้งตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาด 20 กรัมหรือ 50 ตัว/กิโลกรัมมากมีผลทำให้ราคากุ้งขาวตกต่ำมากแนวโน้มโอกาสที่ราคาจะตกต่ำในลักษณะเช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกปีดังนั้นเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวจะต้องมีการวางแผนการผลิตให้รอบคอบว่าจะผลิตกุ้งขนาดอะไรผลผลิตจะออกมาเมื่อไรและราคาในช่วงนั้นจะเป็นอย่างไร เช่นผลผลิตออกมาดีมากประมาณ 2 ตัน/ไร่แต่ขนาดกุ้ง 60 ตัว/กิโลกรัม และเป็นช่วงที่ราคาต่ำมากไม่มีกำไรหรือมีกำไรน้อยมาก ถ้ามีบ่อใดบ่อหนึ่งเสียหายการเลี้ยงรอบนั้นแทบจะไม่ได้อะไรเลย
    ขนาดของกุ้งขาวที่ควรจะผลิตขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของแต่ละฟาร์มและช่วงเวลาเช่นในช่วงตันปีจนถึงประมาณเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่อากาศหนาวมากประเทศคู่แข่งหลายประเทศไม่สามารถผลิตกุ้งได้ แม้ว่าจะมีความพยายามเลี้ยงในลักษณะโรงเรือน (green house) ที่สามารถควบคุมหรือป้องกันอุณหภูมิต่ำได้แต่ก็มีไม่มากพอที่จะมีผลกับตลาดโดยรวมดังนั้นขนาดของกุ้งขาวที่จะผลิตออกมาไม่จำเป็นต้องโตมากราคาก็น่าจะอยู่ในระดับที่ยอมรับได้แต่เมื่อผ่านช่วงกลางปีไปแล้วปริมาณกุ้งจะผลิตออกมามากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะเมื่อช่วงเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายขนาดกุ้งที่จะผลิตจะต้องให้โตขึ้นกว่าในระยะต้นปีเพราะในช่วงนี้กุ้งขนาดเล็กจนถึงขนาด 50 ตัว/กิโลกรัมราคาอาจจะต่ำมาก จะต้องวางแผนผลิตกุ้งขาวให้ได้ขนาด 40-45 ตัว/กิโลกรัม จึงจะขายได้ราคาดีพอที่จะมีกำไรและเป็นธุรกิจได้
                สำหรับการเลี้ยงกุ้งขาวขนาดเล็กในอนาคตอาจจะมีความเป็นไปได้มากว่าฟาร์มเลี้ยงกุ้งจะต้องร่วมมือกับทางห้องเย็นเพื่อผลิตกุ้งตามขนาดที่ห้องเย็นต้องการ หรือในลักษณะการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งอาจจะเป็นกุ้งขนาดเล็ก 100-120 ตัว/กิโลกรัมที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง ดังนั้นอาจจะต้องปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นและเลี้ยงกุ้งเพียง 70-75 วันเท่านั้นก็ได้
     
       6.10.1 การผลิตกุ้งขาวแวนนาไมขนาดใหญ่
                โดยทั่วไปแล้วการเลี้ยงกุ้งขาวชนิดนี้จะผลิตกุ้งตั้งแต่ขนาด 100 ตัว/กิโลกรัม จนถึง 50 ตัว/กิโลกรัม แต่ในช่วงที่มีปริมาณกุ้งผลิตออกมามากในตลาดโลกส่งผลให้กุ้งขนาด 50 ตัว/กิโลกรัม ราคาค่อนข้างต่ำ แต่ในขณะนี้กุ้งขนาด 40-45 ตัว/กิโลกรัม ราคาจะสูงกว่ากุ้งขนาด 50 ตัว/กิโลกรัมมาก มีความพยายามที่จะผลิตกุ้งขาวให้ได้ ขนาด 40-45 ตัว/กิโลกรัม แต่ส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจาก
                1) ไม่ได้วางแผนมาก่อน โดยปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นมากเมื่อเห็นว่ากุ้งในขนาดที่ใกล้เคียงกับขนาดของกุ้งในบ่อกำลังจะผลิตออกมาราคาต่ำมากผู้เลี้ยงจึงเปลี่ยนแผนการผลิตจะมีการยืดเวลาให้เลี้ยงนานขึ้นเพื่อให้ได้ขนาดกุ้งที่โตขึ้นส่วนใหญ่ไม่สามารถทำได้เพราะการเลี้ยงกุ้งที่หนาแน่นมากมาเป็นเวลานานของเสียที่สะสมในบ่อมีมากต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่มีคุณภาพดีค่อนข้างมากบางฟาร์มไม่ได้เตรียมพื้นที่ของบ่อพักน้ำไว้พอเพียงจึงถ่ายน้ำได้ไม่เต็มที่กุ้งที่ยืดเวลาการเลี้ยงนานออกไปอีกจึงโตขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการ
                2) คุณภาพลูกกุ้งไม่ดีพอ ในการเลี้ยงกุ้งขาวให้ประสบความสำเร็จคือได้ผลผลิตและขนาดตามที่ต้องการนั้นถ้าลูกกุ้งไม่มีคุณภาพดีพอเช่นมีการติดเชื้อไวรัส IHHNV มากซึ่งไวรัสชนิดนี้ถ้ามีปริมาณมากจะมีผลทำให้กุ้งมีลักษณะตัวพิการเช่นกรีกุดสั้นและโตช้าแม้ว่าจะมีการจัดการในด้านคุณภาพน้ำและด้านอื่นๆอย่างดีแล้วกุ้งก็โตช้ากว่าปกติมาก
                3) คุณภาพอาหารไม่ดีพอ เนื่องจากกุ้งขาวสามารถเลี้ยงโดยใช้อาหารที่มีปริมาณโปรตีนต่ำกว่ากุ้งกุลาดำแต่การเลี้ยงกุ้งขาวอย่างหนาแน่นและต้องการผลิตกุ้งขนาดใหญ่ขึ้นโดยต้องเลี้ยงเวลานานเพิ่มขึ้นคุณภาพอาหารต้องดีด้วย ถ้าเกษตรกรใช้อาหารที่มีโปรตีนต่ำแต่เลี้ยงอย่างหนาแน่น   โอกาสจะผลิตกุ้งขนาดใหญ่เป็นไปได้น้อย
       4) จับกุ้งบางส่วนออกช้าเกินไป การเลี้ยงกุ้งขาวอย่างหนาแน่นบางฟาร์มจะจับกุ้งบางส่วนออกไปขายก่อนเมื่อเลี้ยงกุ้งได้ประมาณ 90 วัน และควรจะจับกุ้งออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ส่วนที่เหลือมีโอกาสโตได้ แต่บางครั้งการจับกุ้งออกบางส่วนหลังจากเลี้ยงนานเกินไป แม้ว่าจะจับกุ้งออกบางส่วนแล้ว กุ้งที่เหลือในบ่อยังไม่สามารถเลี้ยงให้ได้ขนาดใหญ่ตามที่ต้องการได้ หรือบางครั้งจับกุ้งออกไปน้อยเกินไป ส่วนที่เหลือในบ่อยังมีมากทำให้การเลี้ยงกุ้งส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการ
    ที่กล่าวมาทั้ง 4 ข้อนี้เป็นปัญหาที่พบอยู่เสมอในการเลี้ยงที่ผ่านมาดังนั้นถ้าต้องการจะเลี้ยงกุ้งขาวให้ได้ขนาด 40-45 ตัว/กิโลกรัมต้องมีการวางแผนตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มเลี้ยงในความเห็นของผู้เขียนถ้าต้องการผลิตกุ้งขนาดใหญ่ควรจะลดอัตราความหนาแน่นของลูกกุ้งที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มต่ำในพื้นที่ภาคกลางหรือน้ำความเค็มปกติทางพื้นที่ภาคใต้ก็ตาม
     
    6.10.1.1 การเลี้ยงในน้ำความเค็มต่ำ
                ในพื้นที่ภาคกลางที่เลี้ยงกุ้งด้วยน้ำความเค็มต่ำระหว่าง 2-5 พีพีที ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์อุณหภูมิของน้ำจะต่ำกว่าระดับการเจริญเติบโตตามปกติ ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งขาวผ่านช่วงเวลาดังกล่าวการเจริญเติบโตช้ากว่าการเลี้ยงระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมมากถ้าต้องการเลี้ยงให้ได้กุ้งขนาดใหญ่ในเวลาดังกล่าวคงเป็นไปได้ยากแม้ว่าจะได้ลูกกุ้งที่ปลอดเชื้อและมีการจัดการอย่างดีแล้วก็ตาม
                การเลี้ยงในเวลาที่เหมาะสมคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมเพราะเป็นช่วงเวลาที่อากาศไม่ร้อนมากมีฝนตกสม่ำเสมอทำให้อุณหภูมิของน้ำไม่สูงมาก ส่วนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม-เมษายนอุณหภูมิน้ำในตอนกลางวันจะสูงมากถึง 34 องศาเซลเซียสกุ้งขาวจะไม่กินอาหารทำให้เจริญเติบโตช้าและโดยทั่วไปบ่อเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ภาคกลางน้ำจะตื้นเกินไปคือมีความลึกประมาณ 1.0-1.20 เมตรเท่านั้นไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งขาวบ่อน้ำที่ตื้นในช่วงอากาศร้อนอุณหภูมิของน้ำจะสูงมากในตอนกลางวันกุ้งจะเครียดจัดและไม่กินอาหาร
     ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการเลี้ยงกุ้งทุกชนิดทั้งกุ้งกุลาดำกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม ช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคกลางที่เลี้ยงด้วยน้ำความเค็มต่ำหรือน้ำจืดได้รับความเสียหายมากเนื่องจากอุณหภูมิน้ำสูงมากและแนวโน้มอุณหภูมิของอากาศทั่วโลกจะสูงขึ้นเรื่อยๆดังนั้นเกษตรกรจะต้องวางแผนการเลี้ยงให้รอบคอบติดตามสถานการณ์ภูมิอากาศในแต่ละช่วงเวลาถ้าจะเลี้ยงในช่วงที่อากาศร้อน บ่อควรจะมีความลึกไม่ต่ำกว่า 1.40 เมตรและต้องมีบ่อพักน้ำอย่างพอเพียง
     
    อัตราการปล่อยที่เหมาะสม
    ฟาร์มที่มีความพร้อมควรเลี้ยงในลักษณะบ่อเลี้ยง 1 บ่อมีบ่อพักน้ำ 1 บ่อในขนาดเท่ากันแล้วเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียนจะได้ถ่ายน้ำได้มากและไม่ต้องกลัวปัญหาที่จะนำเชื้อไวรัสจากภายนอกเข้าไปในบ่อเลี้ยงด้วย ถ้าตลอดระยะเวลาในการเลี้ยงน้ำมีความเค็มไม่ต่ำกว่า 2-5 พีพีที ค่าอัลคาไลน์ไม่ต่ำกว่า 90 พีพีเอ็ม และความกระด้างไม่ต่ำกว่า 1,000 พีพีเอ็มสามารถเลี้ยงกุ้งขาวให้มีขนาดใหญ่ได้แต่ลูกกุ้งจะต้องมาจากสายพันธุ์ที่ดีและปลอดเชื้อมีระบบการเลี้ยงที่ป้องกันโรคไวรัสได้ และระดับความลึกของน้ำไม่ควรต่ำกว่า 1.40เมตรอัตราการปล่อยลูกกุ้งที่เหมาะสมสำหรับลูกกุ้งระยะพี 12 ที่ปรับความเค็มลงมาแล้วประมาณ 80,000 ตัว/ไร่ ถ้าลูกกุ้งขาวที่มีคุณภาพดีอัตรารอดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะมีกุ้งเหลือจำนวน 64,000 ตัว/ไร่ตามเป้าหมายคือเลี้ยงให้ได้ขนาด 40 ตัว/กิโลกรัมคือน้ำหนัก 25 กรัมดังนั้นเมื่อจับกุ้งจะได้ผลผลิตเท่ากับ 64,000´25 = 1,600 กิโลกรัม /ไร่ ซึ่งผลผลิตระดับนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมากแต่ถ้าการเจริญเติบโตของกุ้งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นได้ขนาด 50 ตัว/กิโลกรัมน้ำหนัก 20 กรัมผลผลิตรวมจะเท่ากับ 64,000´20 = 1,280 กิโลกรัม /ไร่ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
    ฟาร์มที่มีความพร้อมน้อยเช่นไม่มีบ่อพักน้ำหรือใช้น้ำความเค็มต่ำมาก 1-2 พีพีทีตลอดการเลี้ยงระดับน้ำตื้นคือมีความลึกประมาณ 1.0-1.2 เมตรเท่านั้นโอกาสที่จะเลี้ยงให้ได้กุ้งขนาดใหญ่และผลผลิตมากกว่า 1,000 กิโลกรัม /ไร่ทำได้ยาก เนื่องจากกุ้งขาวมีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่ากุ้งกุลาดำ ต้องการแร่ธาตุเพียงพอในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต ดังนั้นควรเสริมแร่ธาตุในน้ำเป็นระยะๆ เนื่องจากความเค็มต่ำมีแร่ธาตุต่างๆน้อย อาจจะมีผลต่ออัตรารอด และการเจริญเติบโตได้ นอกจากนั้นควรผสมเกลือแร่กับอาหารสำเร็จรูปให้กุ้งกินด้วย ระยะที่ต้องเสริมแร่ธาตุมากเป็นพิเศษคือช่วงที่กุ้งลอกคราบ คือ วันโกนและวันพระ หรือเมื่อมีฝนตกหนักเพราะน้ำจืดจะทำให้เกลือแร่ต่างๆในน้ำเจือจางลง
     
     
    ภาพที่ 6.68 บ่อเลี้ยงที่มีบ่อเลี้ยง 1 บ่อและบ่อพักน้ำ 1 บ่อ
     
    การเลี้ยงกุ้งขาวด้วยน้ำความเค็มต่ำส่วนใหญ่จะไม่สามารถผลิตกุ้งขนาดใหญ่ได้เนื่องจากน้ำความเค็มต่ำปริมาณอิออนที่สำคัญๆได้แก่แมกนีเซียมโซเดียมแคลเซียมโพแทสเซียมคลอไรด์ไบคาร์บอเนตและซัลเฟตมีปริมาณน้อยจะมีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตระดับต่ำสุดของอิออนที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงกุ้งขาวยังไม่มีการศึกษากันอย่างจริงจังดังนั้นระดับความเค็มเริ่มต้นสำหรับปล่อยลูกกุ้งไม่ควรจะต่ำกว่า 5 พีพีที    ซึ่งปริมาณอิออนที่สำคัญต่างๆไม่ควรต่ำกว่าที่แสดงไว้ดังนี้
    แคลเซียม                       58 มิลลิกรัม/ลิตร
    แมกนีเซียม                    196 มิลลิกรัม/ลิตร
    โพแทสเซียม                   54 มิลลิกรัม/ลิตร
    โซเดียม                      1,522 มิลลิกรัม/ลิตร
    ไบคาร์บอเนต                  92 มิลลิกรัม/ลิตร
    คลอไรด์                     2,755 มิลลิกรัม/ลิตร
    ซัลเฟต                          392 มิลลิกรัม/ลิตร
    ที่มา : Boyd et al. (2003)
     
     
    6.10.1.2 การเลี้ยงในน้ำความเค็มปกติ
    กุ้งขาวมีความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงที่น้ำมีความเค็มปกติถ้าไม่มีปัญหาเรื่องโรคการเลี้ยงกุ้งขาวในน้ำที่มีคุณภาพดีเปลี่ยนถ่ายได้มากจะ ทำให้การเจริญเติบโตดี ได้ผลผลิตสูงการปล่อยลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีในอัตราความหนาแน่นประมาณ 100,000 ตัว/ไร่อัตรารอดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะมีกุ้งเหลือ 80,000 ตัว/ไร่ถ้าเลี้ยงได้ขนาดน้ำหนัก 25 กรัมจะได้ผลผลิต 2,000 กิโลกรัม/ไร่หรือไร่ละ 2 ตัน ผลผลิตในระดับนี้น่าจะพอเพียงแล้วและน่าจะได้ผลตอบแทนดีกว่าการปล่อยลูกกุ้งไร่ละ 150,000 ตัวแต่เลี้ยงได้กุ้งขนาดเล็กกว่าแม้ว่าจะได้ผลผลิตสูงแต่ผลตอบแทนคงจะไม่สูงกว่าการเลี้ยงได้กุ้งขนาดโตกว่า การปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นไร่ละ 150,000 ตัวหรือมากกว่า ควรจะทยอยจับกุ้งออกบางส่วน เพื่อให้กุ้งที่เหลือในบ่อมีโอกาสโตได้ น่าจะได้ผลตอบแทนดีกว่าจับกุ้งทั้งหมดเพียงครั้งเดียว
    การเลี้ยงกุ้งขาวส่วนใหญ่เพื่อการส่งออกและต้องการผลตอบแทนที่ดีแต่เกษตรกรบางรายยังให้ความสำคัญกับปริมาณผลผลิตมากกว่าผลตอบแทนที่ได้ต้องอย่าลืมว่ากุ้งชนิดอะไรก็ตามกุ้งขนาดโตกว่าย่อมได้ราคาและผลตอบแทนที่ดีกว่ากุ้งขนาดเล็ก

    • Update : 19/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch