หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประวัติของวัดอรุณราชวราราม -2

    Image
    พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณราชวราราม


    ๏ ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า

    สิ่งสำคัญที่น่าสนใจในวัดอรุณราชวรารามนั้น มีมากมายนับตั้งแต่

    • พระปรางค์ใหญ่

    พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณราชวราราม เป็น พระเจดีย์ทรงปรางค์
    ซึ่งดัดแปลงมาจากพระปรางค์ แต่เดิมเป็นสถาปัตยกรรม
    ที่สร้างขึ้นเพื่อสักการบูชาในศาสนาพราหมณ์และฮินดู
    แต่สำหรับพระปรางค์ใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสืบเนื่องมาจาก
    ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาผสมผสานไปกับศิลปกรรมแบบฮินดู
    วัตถุประสงค์หลักนั้นสร้างด้วยความศรัทธาในคตินิยมของพุทธศาสนา
    จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งของพระปรางค์ใหญ่ว่าเป็น พระพุทธปรางค์

    พระปรางค์ใหญ่ ตั้งอยู่หน้าวัดทางทิศใต้ ซึ่งหันไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา
    โดยอยู่ด้านหลังโบสถ์น้อยและวิหารน้อย (พระวิหารเล็ก)
    และเป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์และวิหารน้อย
    เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและงดงามยิ่งนักของวัดอรุณราชวราราม
    ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ก่อด้วยอิฐถือปูน
    ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ และ
    บนส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์
    มีมงกุฎปิดทองประดิษฐานครอบอยู่เหนือ ‘ยอดนภศูล’ อีกชั้นหนึ่งด้วย


    Image
    พระปรางค์ใหญ่

    Image
    พระมณฑปทิศ และพระปรางค์ทิศ

    Image
    พระมณฑปทิศ พระปรางค์ใหญ่ และพระปรางค์ทิศ


    พระปรางค์องค์นี้เดิมสูงเพียง ๘ วา เท่านั้น ซึ่งไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในสมัยใด
    แต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
    ทรงมีพระราชศรัทธาจะให้เสริมสร้างก่อเพิ่มเติมขึ้น
    ให้สูงใหญ่สมเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ประจำกรุงรัตนโกสินทร์
    แต่ทรงกระทำได้เพียงฐานรากคือกะเตรียมที่ขุดรากไว้เท่านั้นก็สิ้นรัชกาล

    ถึงในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวรารามแห่งนี้เป็นการใหญ่อีกครั้ง
    เริ่มแต่ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างกุฏิสงฆ์เป็นตึกใหม่ทั้งหมด เป็นต้น
    และทรงมีพระราชดำริเพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ
    จึงโปรดเกล้าฯ ให้เสริมสร้างองค์พระปรางค์ต่อตามแบบที่ทรงคิดขึ้น
    จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์สูงถึง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว
    หรือประมาณ ๖๗ เมตร แล้วยกยอดนภศูล (ลำภุขันหรือฝักเพกา)
    แต่ไม่ทันฉลองก็เสด็จสวรรคต
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลที่ ๔
    จึงมีรับสั่งให้จัดการต่อเติมจนเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด

    Image
    ‘พระปรางค์ใหญ่’ สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและงดงามยิ่งนัก


    ลักษณะของพระปรางค์ใหญ่ที่รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์มีดังนี้
    พระปรางค์ใหญ่อยู่ภายในวงล้อมของพระวิหารคด และเก๋งจีน ๓ ด้าน
    (เว้นด้านหน้า) มีประตูเข้า ๙ ประตู บริเวณลานจากพระวิหารคดและเก๋งจีน
    ถึงฐานพระปรางค์ใหญ่ชั้นล่างปูด้วยกระเบื้องหิน มีบันไดขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ ๑
    ระหว่างพระปรางค์ทิศและพระมณฑปทิศ ด้านละ ๒ บันได รวม ๔ ด้าน
    เป็น ๘ บันได เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๑ นี้นี้เป็นฐานทักษิณชั้นที่ ๒
    รอบฐานมี รูปต้นไม้ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ
    เหนือขึ้นไปเป็นเชิงบาตร ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีลายดอกไม้ ใบไม้
    มีบันไดขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ ๒ ตรงหน้าพระมณฑปทิศมณฑปละ ๒ บันได
    คือทางซ้ายและทางขวาของแต่ละพระมณฑปทิศ รวม ๘ บันได

    เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๒ นี้เป็นฐานทักษิณชั้นที่ ๓ มี
    ช่องรูปกินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ ที่เชิงบาตรมี รูปมารแบก
    และมีบันไดตรงจากหน้าพระมณฑปทิศแต่ละมณฑปขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ ๓
    อีกด้านละบันได รวม ๔ บันได ที่เชิงบันไดมี เสาหงส์หิน บันไดละ ๒ ต้น

    เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๓ นี้เป็นฐานทักษิณชั้นที่ ๔ มี
    ช่องรูปกินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ เว้นแต่ตรงย่อมุม ๔ ด้าน
    เป็น รูปแจกันปักดอกไม้ เพราะเป็นช่องแคบๆ
    ที่เชิงบาตรมี รูปกระบี่แบก มีบันไดขึ้นไปยังทักษิณชั้นที่ ๔
    อีก ๔ บันไดตรงกับบันไดชั้นที่ ๓ ดังกล่าวแล้ว
    และมี เสาหงส์หิน อยู่เชิงบันไดอีกด้านละ ๒ ต้น เช่นเดียวกัน

    เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๔ มี ช่องรูปกินรีและกินนร สลับกันโดยรอบ
    และตรงย่อมุมเป็น รูปแจกันปักดอกไม้ ที่เชิงบาตรมี รูปพรหมแบก
    เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหา ๔ ด้านมี รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
    อยู่ในคูหาทั้ง ๔ คูหา เหนือซุ้มคูหารูปพระอินทร์เป็น ยอดปรางค์ขนาดย่อม
    และมี รูปพระนารายณ์ทรงครุฑแบกพระปรางค์ใหญ่ อยู่โดยรอบ
    ส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์ใหญ่เป็น ยอดนภศูลและมงกุฎปิดทอง

    Image
    เสาหงส์หิน ที่เชิงบันไดของพระปรางค์ใหญ่

    Image
    ซุ้มคูหารูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

    Image
    กระเบื้องเคลือบสีต่างๆ ประกอบกันเข้าเป็นดอกไม้


    สำหรับ ยอดพระปรางค์ ตามแบบแผนแต่โบราณจะเป็น ‘ยอดนภศูล’
    แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำ มงกุฏปิดทอง
    สำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดนางนอง
    มาสวมครอบต่อจากยอดนภศูลอีกชั้นหนึ่ง คนสมัยนั้นจึงโจษจันกันว่า
    รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ให้คนทั้งหลายเข้าใจโดยนัยว่า
    สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) จะเป็น “ยอดของแผ่นดิน”
    หมายถึงจะเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์

    องค์พระปรางค์ใหญ่ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ
    อย่างงดงามประณีตบรรจง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่นๆ
    กระเบื้องเคลือบสีที่ใช้ประดับเหล่านี้ บางแผ่นเป็นรูปลายที่ทำสำเร็จมาแล้ว
    บางชิ้นบางแผ่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยนำมาประกอบกันเข้าเป็นลาย
    บางลายใช้กระเบื้องเคลือบธรรมดา บางลายเป็นกระเบื้องเคลือบสลับเปลือกหอย
    และบางลายใช้จานชามของโบราณที่มีลวดลายงดงามเป็นของเก่าหายาก
    เช่น ชามเบญจรงค์ ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ฯลฯ
    นำมาประดับสอดสลับ ประกอบกันเข้าไว้อย่างเรียบร้อยน่าดูน่าชมยิ่ง

    Image
    พระปรางค์ใหญ่ก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ

    Image
    กระเบื้องเคลือบสีต่างๆ และรูปมารแบก


    • Update : 19/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch