หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประวัติของวัดอรุณราชวราราม -1
    Image
    พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในยามราตรี


    ๏ ประวัติของวัดอรุณราชวราราม

    วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่

    วัดประจำรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    คือ “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดแจ้ง”

    เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๑
    ที่ประทับของท่านจะอยู่ที่พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี และวัดที่อยู่ใกล้กับ
    พระราชวังเดิมที่สุดก็คือวัดอรุณราชวราราม พระองค์ท่านจึงได้โปรดเกล้าฯ
    ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ และยังได้ทรงลงมือปั้นหุ่นพระพักตร์
    ‘พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก’
    พระประธานในพระอุโบสถ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกด้วย

    และเมื่อพระองค์ท่านทรงเสด็จสวรรคต พระบรมอัฐิของพระองค์
    ก็ถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้


    Image
    พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา


    วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
    ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
    ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
    ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดในสมัยโบราณ
    ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏมีเพียงว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    มีมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช ๒๑๙๙-๒๒๓๑)
    เพราะมีแผนที่เมืองธนบุรีซึ่งเรือเอก เดอ ฟอร์บัง (Claude de Forbin)
    กับนายช่าง เดอ ลามาร์ (de Lamare) ชาวฝรั่งเศส
    ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐานในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    อีกทั้งวัดแห่งนี้ยังมีพระอุโบสถและพระวิหารของเก่าที่ตั้งอยู่ ณ
    บริเวณหน้าพระปรางค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา

    มูลเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้แต่เดิมว่า “วัดมะกอก” นั้น ตามทางสันนิษฐานเข้าใจว่า
    คงจะเรียกคล้อยตามชื่อตำบลที่ตั้งวัด ซึ่งสมัยนั้นมีชื่อว่า ‘ตำบลบางมะกอก’
    (เมื่อนำมาเรียกรวมกับคำว่า ‘วัด’ ในตอนแรกๆ คงเรียกว่า ‘วัดบางมะกอก’
    ภายหลังเสียงหดลงคงเรียกสั้นๆ ว่า ‘วัดมะกอก’) ตามคติเรียกชื่อวัดของไทยสมัยโบราณ
    เพราะชื่อวัดที่แท้จริงมักจะไม่มี จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อตำบลที่ตั้ง
    ต่อมาเมื่อได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่อีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกันนี้
    แต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดที่สร้างใหม่
    ว่า “วัดมะกอกใน” (ในปัจจุบันคือ วัดนวลนรดิศวรวิหาร)
    แล้วเลยเรียก ‘วัดมะกอก’ เดิมซึ่งอยู่ตอนปากคลองบางกอกใหญ่
    ว่า “วัดมะกอกนอก” เพื่อให้ทราบว่าเป็นคนละวัด

    Image
    พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม


    ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ เมื่อ
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    ทรงมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานี
    มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้า
    ‘วัดมะกอกนอก’ แห่งนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอก
    เป็น ‘วัดแจ้ง’ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง

    เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยา
    มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๑ และได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่
    มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตกเข้ามาอยู่กลางพระราชวัง
    จึงโปรดไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา
    การที่เอาวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวังนั้น
    คงจะทรงถือแบบอย่างพระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    ที่มีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ในพระราชวัง
    การปฏิสังขรณ์วัดเท่าที่ปรากฏอยู่ตามหลักฐานในพระราชพงศาวดาร
    ก็คือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และพระวิหารหลังเก่าที่อยู่หน้าพระปรางค์
    กับโปรดให้สร้างกำแพงพระราชวังโอบล้อมวัด
    เพื่อให้สมกับที่เป็นวัดภายในพระราชวัง แต่ไม่ปรากฏรายการว่า
    ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างสิ่งใดขึ้นบ้าง

    Image
    ความงดงามภายในวัดอรุณราชวราราม


    ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง
    เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง
    ซึ่ง สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก
    (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑)
    ไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ในปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ (พ.ศ.๒๓๒๒)
    แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์คือ พระแก้วมรกตและพระบาง
    ลงมากรุงธนบุรีด้วย และมีการสมโภชเป็นเวลา ๒ เดือน ๑๒ วัน
    จนกระทั่งถึงวันวิสาขปุณณมี วันเพ็ญกลางเดือน ๖ ปีชวด โทศก
    จุลศักราช ๑๑๔๒ (พุทธศักราช ๒๓๒๓) โปรดเกล้าฯ
    ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานไว้ในมณฑป
    ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถเก่าและพระวิหารเก่า หน้าพระปรางค์
    อยู่ในระยะกึ่งกลางพอดี มีการจัดงานสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วันด้วยกัน

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
    เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก
    ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก
    ด้วยเหตุนี้วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป
    พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง
    โดยนิมนต์ พระโพธิวงศาจารย์ จากวัดบางหญ้าใหญ่
    (วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ) มาครองวัด พร้อมทั้ง
    พระศรีสมโพธิและพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งมาเป็นพระอันดับ

    Image
    พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๒


    นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ ๒)
    เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง
    แต่การปฏิสังขรณ์คงสำเร็จเพียงกุฏิสงฆ์ ส่วนพระอุโบสถและพระวิหาร
    ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ เสียก่อน
    (เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน
    ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
    ส่วนพระบางนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    ได้โปรดพระราชทานคืนไปยังนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว)

    ต่อมาในรัชกาล
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    รัชกาลที่ ๒
    พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ
    มีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง ๗ วัน ๗ คืน
    แล้วโปรดพระราชทานพระนามวัดว่า ‘วัดอรุณราชธาราม’

    Image
    พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๒

    Image
    ส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์ใหญ่
    เป็น ‘ยอดนภศูล’ ครอบด้วยมงกุฎปิดทองอีกชั้นหนึ่ง



    ในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรด
    ให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้นด้วย
    ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว
    แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๓๙๔

    เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปี พ.ศ.๒๓๙๔
    พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในวัดอรุณฯ
    เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง อีกทั้งยังได้อัญเชิญ
    พระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    มาบรรจุไว้ที่ พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถ
    ที่พระองค์ทรงพระราชทานนามว่า ‘พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก’
    และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
    จึงได้พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า
    ‘วัดอรุณราชวราราม’ ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

    Image
    ทัศนียภาพพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

    Image
    บริเวณภายในวัดอรุณราชวราราม

    • Update : 19/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch