หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-14
    ภาพที่ 6.63 ลักษณะภายนอกกุ้งที่ป่วยเป็นโรคตัวแดง (ทอร่า)
    รุนแรงต่ำกว่าเฉียบพลัน (บน)
     
    การแก้ปัญหาเมื่อพบว่ามีกุ้งขาวป่วยตามลักษณะอาการที่กล่าวมาข้างต้นเก็บเอากุ้งป่วยตามขอบบ่อขึ้นมาทำลายรวมทั้งลงไปตรวจดูตามรอบๆแนวเลนกลางบ่อจะมีกุ้งตายบางส่วนที่มากองรวมกันจากความแรงของเครื่องให้อากาศ นำเอากุ้งตายพื้นบ่อทั้งหมดเท่าที่จะทำได้ขึ้นมาทำลาย ห้ามถ่ายน้ำหรือเติมสารเคมีใดๆ ลงไปเพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงมากกุ้งอาจจะลอกคราบจะมีกุ้งตายมากขึ้นกุ้งที่อ่อนแออยู่แล้วถ้าลอกคราบจะตายเพิ่มขึ้นงดอาหาร 1 วันหรือลดอาหารอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์เติมเกลือแร่ลงไปในบ่อเพื่อเพิ่มอิออนที่สำคัญๆจะทำให้กุ้งแข็งแรงขึ้นในกรณีที่น้ำความเค็มต่ำ 1-5 พีพีทีหรือเติมน้ำเค็มเพิ่มความเค็มในบ่อ ระมัดระวังอย่าใช้อุปกรณ์ใดๆร่วมกับบ่ออื่นเช่นแหสุ่มน้ำหนักกุ้งกะละมังเป็นต้นเพราะอาจจะแพร่เชื้อไวรัสไปบ่ออื่นๆได้ง่ายเปิดเครื่องให้อากาศเต็มที่เพื่อรักษาระดับออกซิเจนและคุณภาพน้ำให้อยู่ในระดับที่ดีกุ้งจะแข็งแรงขึ้น
                หลังจากการจัดการตามที่กล่าวมานี้พบว่าอัตราการตายจะลดลงเรื่อยๆและสามารถเลี้ยงต่อไปได้จนจับขายแต่ต้องระวังอย่าเร่งการเจริญเติบโตโดยการให้อาหารมากเกินไปกุ้งอาจจะเริ่มตายอีกคล้ายกับอาการครั้งแรกก็ได้
    2)                   ความรุนแรงแบบเฉียบพลัน (acute) กุ้งที่ป่วยเป็นโรคทอร่าประเภทนี้มักจะพบในบ่อที่มีกุ้งหนาแน่นอายุประมาณ 50-80 วันกุ้งที่ป่วยบางตัวจะมีสีแดงหรือสีชมพูเข้มตับและตับอ่อนมักจะมีสีเหลืองกว่าปกติเหงือกอาจจะบวมระยะแรกจะไม่พบว่ามีกุ้งตายตามขอบบ่อแต่จะมีกุ้งตายที่พื้นบ่อเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นประมาณ 2 วันกุ้งที่ตายบางส่วนจะลอยขึ้นมาเต็มบ่อและมีกุ้งตายตามขอบบ่อเพิ่มขึ้นกุ้งบางส่วนที่มีตัวสีแดงหรือสีชมพูจะมีแผลสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามลำตัวเนื่องจากโรคทอร่าแบบนี้จะมีกุ้งตายอย่างรวดเร็วและมีเป็นจำนวนมากในระยะ 3 วันแรกดังนั้นเกษตรกรบางคนอาจจะตัดสินใจปิดบ่อโดยใช้สารเคมีเช่นคลอรีนผงหรือไตรคลอร์ฟอนใส่ลงไปในบ่อเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสและกุ้งที่อยู่ในบ่อทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปบ่อที่อยู่ใกล้ๆกันในกรณีที่กุ้งไม่หนาแน่นมากการแก้ปัญหาอาจจะทำได้ดังนี้
    งดอาหาร 1 วันหลังจากนั้นค่อยๆให้อาหารเก็บกุ้งตายในบ่อขึ้นมาทำลายห้ามถ่ายน้ำปรับสภาพในบ่อให้ดีขึ้นตามที่ได้อธิบายมาแล้วในการแก้ปัญหาโรคทอร่าแบบรุนแรงต่ำกว่าเฉียบพลันถ้าสภาพต่างๆในบ่อดีขึ้นกุ้งที่มีแผลตามลำตัวสีดำอาจจะไม่ตายและอาจต้องใช้เวลาประมาณ 20-30 วันแผลสีดำเหล่านี้จะค่อยๆจางหายไปหลังจากกุ้งที่แข็งแรงขึ้นและลอกคราบ 2-3 ครั้ง
    จากที่กล่าวมาแล้วโรคทอร่าทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันมากในเรื่องของความรุนแรงทั้งนี้อาจจะมาจากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ (strain) ความรุนแรงจึงแตกต่างกันถ้านำกุ้งป่วยจากโรคทอร่าทั้ง 2 แบบไปตรวจโดยใช้เทคนิค PCR ผลที่ได้จะเป็นบวกชัดเจนมากเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคทอร่าเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวต้องหมั่นสังเกตดูว่ามีกุ้งป่วยหรือเริ่มตายมีลักษณะและอาการตามที่อธิบายมาหรือไม่จะได้แก้ปัญหาได้ทันเพราะการเลี้ยงกุ้งขาวอย่างหนาแน่นโดยเฉพาะทางภาคใต้มีการถ่ายเปลี่ยนน้ำมากตามผลผลิตและขนาดของกุ้งที่ต้องการเลี้ยงในกรณีที่มีการระบายน้ำออกมาจากบ่อที่เป็นโรคโอกาสที่ผู้เลี้ยงกุ้งในแหล่งนั้นจะได้รับผลกระทบไปด้วยมีสูงมากการเตรียมการป้องกันที่ดีคือมีบ่อพักน้ำอย่างพอเพียงและใช้น้ำจากบ่อพักน้ำที่มีการพักมาเป็นเวลานานแล้วไม่น้อยกว่า 14 วัน โอกาสที่กุ้งจะได้รับเชื้อไวรัสจะน้อยลงการเลี้ยงกุ้งขาวก็จะได้ผลตามที่ต้องการ
     
     
       ภาพที่ 6.64 กุ้งขาวที่ป่วยเป็นโรคทอร่าระยะ                   ภาพที่ 6.65 กุ้งขาวที่เป็นโรคทอร่าตับและตับอ่อน
    เฉียบพลันจะมีสีแดง (ล่าง)                                                 มีสีเหลืองชัดเจน
     
     
     
               ภาพที่ 6.66 กุ้งขาวที่เป็นโรคทอร่ามีแผลสีดำตามลำตัว           
     
    Taura Syndrome Virus (TSV)
     
              โรค TSV มีรายงานครั้งแรกในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมบริเวณปากแม่น้ำ Taura ประเทศเอกวาดอร์ในปี..1992 (Jimenez, 1992) สำหรับในทวีปเอเซียมีการระบาดในปี..2545 (Flegel et al. ,2003)
    TSV เป็นไวรัสRNA ชนิดสายเดี่ยว (ssRNA) ไม่มีผนังหุ้ม (nonenveloped) รูปร่างหลายเหลี่ยม (icosahedron) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 32 นาโนเมตรจัดอยู่ในกลุ่ม Pisconavirus (Brock et al. ,1997)
              โรคที่มีสาเหตุจาก TSV แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือระยะเฉียบพลันระยะคาบเกี่ยว(transition) และระยะเรื้อรัง แม้ว่าจะมีเพียงระยะเฉียบพลันและระยะคาบเกี่ยวที่มีการแสดงอาการของโรค (Lightner, 1996) อาการของกุ้งขาวแวนนาไมที่ใกล้ตายในระยะเฉียบพลันกุ้งจะมีลำตัวสีแดงแพนหางและขาว่ายน้ำแดง (บางครั้งเรียกโรคหางแดง) กุ้งอาจจะมีเปลือกนิ่มไม่มีอาหารในทางเดินอาหารและมักจะตายระหว่างการลอกคราบ
              ระยะคาบเกี่ยวของการเกิดโรคจะกินเวลา 2-3 วันจะพบเมลานินที่มีรูปร่างไม่แน่นอนกระจายอยู่ที่เปลือกกุ้งกุ้งอาจจะมีเปลือกนิ่มหรือไม่นิ่มและตัวแดงและอาจจะกินอาหารปกติ (Hasson et al, 1995 ; Lightner 1996) บริเวณที่พบเมลานินจะเป็นการรวมกลุ่มของเม็ดเลือดสู่บริเวณเนื้อเยื่อใน cuticle epithelium หลังการลอกคราบกุ้งป่วยที่อยู่ในระยะคาบเกี่ยวก็จะเข้าสู่ระยะเรือรังในระยะนี้ไวรัสอาจจะยังคงอยู่ใน lymphoid organ ตลอดไป
              TSV จะติดเชื้อในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่มีกำเนิดมาจากชั้น ectoderm และmesoderm เนื้อเยื่อ cuticle epithelium จะเป็นส่วนที่มีการติดเชื้อรุนแรงที่สุดในระยะเฉียบพลันในขณะที่ lymphoid organ จะมีการติดเชื้อในระยะเรื้อรังเท่านั้น
    พยาธิสภาพของเนื้อเยื่อบริเวณ cuticle epithelium เซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้น sub-cuticle และเส้นใยของกล้ามเนื้อลายบริเวณใกล้เคียงอาจจะมีการติดเชื้อด้วยไซโตพลาสซึมของเซลล์ที่ติดเชื้อจะติดสี eosinophil และเกิด pyknosis หรือ karyorrhexsis ของนิวเคลียสจะพบเศษของเซลล์ที่ตายเป็นจำนวนมากมีลักษณะเป็นก้อนกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-12 ไมครอนย้อมติดสีeosinophil หรือ basophil อ่อนๆลักษณะเหล่านี้จะพบในระยะเฉียบพลันของการติดเชื้อเป็นลักษณะที่เรียกว่าpepperedหรือbuckshot-riddledซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นจำเพาะของโรคนี้ไม่พบการตอบสนองในลักษณะอักเสบที่มี hemocytic infiltration ลักษณะนี้สามารถใช้ในการแยก TSV ในระยะเฉียบพลันออกจากระยะคาบเกี่ยวได้ (Lightner, 1996)
    ในระยะคาบเกี่ยวจะพบความผิดปกติของชั้น cuticle น้อยลงแต่จะเกิด hemocytic infiltration และการรวมกลุ่มของเม็ดเลือดบริเวณนั้นแทนการรวมกลุ่มของเม็ดเลือดจะทำให้เกิดเมลานินและจุดดำ (black spot) ซึ่งเป็นอาการเฉพาะของระยะคาบเกี่ยว
    กุ้งที่ติดเชื้อ TSV ในระยะเรื้อรังจะไม่แสดงอาการของโรคลักษณะทางเนื้อเยื่ออย่างเดียวที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อคือการเกิด lymphoid organ spheroids (LOS) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของเซลล์ในลักษณะเป็นก้อนกลมบริเวณ intertubular space ลักษณะของ LOS ไม่สามารถใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อ TSV ได้จะต้องมีการยืนยันด้วยเทคนิคin situ DNA hybridization (Mari et al., 1998) หรือ RT-PCR (Nunan and Lightner, 1997) 
     
     
          ภาพที่ 6.67 พยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ subcuticular epithelium
           ที่ติดเชื้อ TSV ระยะเฉียบพลัน (x400)

    • Update : 18/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch