หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-13
     
     
     
         ภาพที่ 6.60 ลักษณะต่างๆของกุ้งขาวที่เป็นโรคตัวพิการ
     
                การป้องกัน   โดยการเลือกซื้อลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักที่มีการนำพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ไม่ควรซื้อลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักที่ไม่ทราบแหล่งที่มาของพ่อแม่พันธุ์ และควรนำลูกกุ้งไปตรวจด้วยพีซีอาร์ก่อนที่จะตัดสินใจนำไปเลี้ยง
     
    Infectious Hypodermal and Hematopoietic Necrosis Virus (IHHNV)
     
              พบครั้งแรกใน blue shrimp (Penaeus stylirostris) และกุ้งขาวแวนนาไมในแถบอเมริกาในช่วงปี..1980 (Lightner et al.,1983 ) เป็นไวรัส DNA สายเดี่ยว (ssDNA) มีรูปร่างหลายเหลี่ยม (icosahedron) ไม่มีผนังหุ้มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22-23 นาโนเมตร
              IHHNV ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบเรือรังหรืออาการrunt-deformity syndrome (RDS) ในกุ้งขาวแวนนาไมซึ่งจะทำให้กุ้งโตช้าและมีเปลือกผิดปกติมากกว่าจะทำให้กุ้งตาย กุ้งเต็มวัยที่ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการของโรคเลยแต่สามารถส่งผ่านเชื้อไวรัสไปยังกุ้งตัวอื่นๆในโรงเพาะฟักได้ (Bell and Lightner, 1984; Brock and Main, 1994) กุ้งระยะ juvenile ที่มีอาการ RDS จะมีขนาดแตกต่างกันมากซึ่งจะมีค่าความแปรปรวน (coefficient of variation) ของขนาดมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์หรืออาจสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่กุ้งปกติจะมีค่าแปรปรวนประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์ (Lightner ,1996)
              พยาธิสภาพของเนื้อเยื่อกุ้งที่เป็นโรคพบ inclusion แบบ Cowdry type A ย้อมติดสี eosin ภายในนิวเคลียสซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นของเซลล์ที่มีกำเนิดจากชั้น ectoderm (เหงือก ปมประสาท epidermis, hypodermal epithelium ของทางเดินอาหารส่วนต้นและปลาย) และชั้น mesoderm (อวัยวะสร้างเม็ดเลือด   อวัยวะสืบพันธุ์ กล้ามเนื้อ lymphoid organ และ antennal gland (Bell and Lightner ,1984)
     
     
     
    ภาพที่ 6.61 ลักษณะทางพยาธิสภาพเนื้อเยื่อบริเวณปมประสาทจะพบ inclusion body (ลูกศรชี้) (x800)
     
     
    ภาพที่ 6.62 ผลการศึกษา in situ hybridization ของเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ IHHNV ของกุ้งขาวจะพบ inclusion body
     
    การใช้เทคนิคin situ hybridization และprobe ที่จำเพาะต่อเชื้อ IHHNV สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ IHHNV ระยะแรกๆในกุ้งและสามารถใช้แยก IHHNV จากเชื้อ WSSV ได้ (Lightner 1993; Lightner and Redman, 1998) นอกจากนี้อาจใช้เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) ในการตรวจเชื้อ IHHNV (Tang and Lightner, 2001)
     
    3. โรคตัวแดง(ทอร่า)   มีสาเหตุมาจากไวรัส Taura Syndrome Virus (TSV) เป็นโรคไวรัสที่พบเฉพาะในกุ้งขาว ไวรัสชนิดนี้ทำความสูญเสียให้แก่ผู้เลี้ยงกุ้งเป็นจำนวนมากในหลายประเทศได้แก่เอกวาดอร์ในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งเคยเป็นประเทศที่มีการเลี้ยงกุ้งขาวมากที่สุดในช่วงก่อนที่จะมีโรคไวรัสดวงขาวระบาดกุ้งขาวที่มีการนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆทั่วโลกก็มีรายงานการเกิดโรคทอร่าเช่นในประเทศไต้หวันและจีนเป็นต้นในประเทศไทยโรคทอร่ามีรายงานจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวครั้งแรกในช่วงเดือนเมษายนในปี.. 2546 ในจังหวัดนครปฐมและฉะเชิงเทราทำความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโรคไวรัสมีการติดต่อแพร่กระจายไปบ่อเลี้ยงข้างเคียงได้ง่ายและเกษตรกรยังไม่รู้ว่ากุ้งที่ตายมีสาเหตุจากโรคไวรัสดังนั้นการแก้ปัญหาเพื่อลดความรุนแรงหรือการป้องกันการแพร่กระจายของโรคจึงยังไม่ค่อยได้ผล
                จากการติดตามการระบาดของโรคทอร่าในกุ้งขาวพบว่าความรุนแรงของโรคแต่ละครั้งและลักษณะอาการของกุ้งขาวที่ป่วยมีความแตกต่างกันมากบางครั้งมีกุ้งตายมากอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วันจนต้องปิดบ่อแต่บางครั้งมีกุ้งตายไม่มากและสามารถประคับประคองให้เลี้ยงต่อไปได้จนจับขายและได้ผลผลิตตามปกติเพื่อให้เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาวและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการจัดการเพื่อแก้ปัญหาและลดความสูญเสียจากโรคทอร่า เกษตรกรจะต้องเข้าใจรายละเอียดของโรคทอร่าในกุ้งขาว ซึ่งพอจะจำแนกตามความรุนแรงได้ 2 แบบดังนี้คือ
     
    1)                      ความรุนแรงต่ำกว่าเฉียบพลัน (subacute) เป็นโรคทอร่าที่พบในกุ้งขาวที่มีอายุระหว่าง 20-40 วันเป็นส่วนใหญ่แต่บางครั้งอายุกุ้งอาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ก็สามารถพบได้โรคทอร่าแบบนี้จะมีความรุนแรงไม่มากแต่จะมีกุ้งตายเรื่อยๆกุ้งที่เป็นโรคจะพบตายตามขอบบ่อประปรายในลักษณะเหมือนกุ้งปกติบางตัวมีสีชมพูอ่อนบางตัวสีขาวขุ่นมากกว่ากุ้งปกติเล็กน้อยกุ้งที่เข้าไปในยอบางตัวมีสภาพที่อ่อนแอไม่ดีดตัวแรงซึ่งตามปกติถ้ากุ้งขาวไม่ป่วยเวลายกยอกุ้งจะดีดตัวหนีออกจากยอจะเหลือกุ้งเพียงไม่กี่ตัวในยอแต่ในกรณีที่กุ้งป่วยจะยังคงเหลือกุ้งในยอมากกว่าปกติและมีสีเข้มขึ้นกว่ากุ้งปกติเล็กน้อยคือสีอมชมพูอ่อน

    • Update : 18/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch