หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-12

    โรคกุ้งขาว

    ทุกครั้งเมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งพบว่ามีกุ้งตายในยอหรือตามริมขอบบ่อส่วนมากจะคิดว่ามีสาเหตุมาจากเป็นโรค ในความเป็นจริงกุ้งที่ตายอาจจะไม่ได้เป็นโรค แต่เกิดจากสภาพภายในบ่อไม่ดีไม่เหมาะสมและบางครั้งกุ้งที่ตายยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าเกิดจากอะไร
                6.9.1 ปัญหากุ้งตายในระหว่างการเลี้ยงโดยไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรค
    1. กุ้งกินอาหารดีมากติดต่อกันก่อนตาย   ปัญหานี้พบได้บ่อยในการเลี้ยงด้วยน้ำความเค็มต่ำที่มีการปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นไม่ต่ำกว่าไร่ละ 100,000 ตัวและมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อยให้อาหารค่อนข้างมากติดต่อกันตามโปรแกรมการให้อาหารที่นิยมปฏิบัติกันโดยคาดหวังว่าอัตรารอดของกุ้งไม่น่าจะต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์กุ้งในบ่อเจริญเติบโตดีกินอาหารดีมากแต่แล้วจะมีกุ้งบางส่วนตายจมอยู่ที่พื้นบ่อโดยเฉพาะแนวเลนกลางบ่อจะมีกุ้งตายมากกุ้งที่ตายลำตัวปกติส่วนที่เป็นตับและตับอ่อน (hepatopancreas) จะโดนกุ้งตัวอื่นในบ่อกิน สังเกตเห็นเป็นช่องว่างทุกตัวเมื่อลงไปเก็บขึ้นมาตรวจดู บ่อที่ให้อาหารในปริมาณที่มากกุ้งจะมีการตายมากกว่าบ่อที่ให้อาหารน้อยกว่า ลักษณะแบบนี้เกษตรกรมักจะเรียกว่ากินอาหารจนหัวแตกตายหรือตับแตกตายมักจะเกิดกับกุ้งที่มีอายุประมาณ 30-40 วัน การตายของกุ้งลักษณะนี้จะกินเวลานานประมาณ 3-4 วัน เมื่อได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องกุ้งจะตายน้อยลงและหยุดตายในที่สุด
                การป้องกัน ใน การเลี้ยงแบบระบบปิดที่ยังไม่มีการถ่ายเปลี่ยนน้ำในช่วงแรกต้องระมัดระวัง อย่าให้อาหารมากเกินไปบางรายให้อาหารในระดับที่คาดว่าอัตรารอดน่าจะมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นระดับที่เป็นสาเหตุโน้มนำทำให้เกิดปัญหาได้ การให้อาหารพอเพียงกุ้งโตมีขนาดใกล้เคียงกันก็จริงแต่การให้มากเกินไปถ้ากุ้งมีอัตรารอดต่ำกว่าที่ประเมินไว้ อาหารที่เหลือจะส่งผลกระทบในเวลาต่อมาต้องยึดคติที่ว่าอาหารไม่พอดีกว่าอาหารเหลือ
                  ลักษณะที่พอจะสังเกตได้สำหรับกุ้งในบ่อที่มักจะเกิดปัญหาคือตับและตับอ่อนในส่วนท้ายมักจะมีสีเหลืองชัดเจนกว่าปกติโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับตับส่วนต้นที่มีสีคล้ำกว่า กุ้งที่มีสีของตับลักษณะเช่นนี้ถ้ามีการให้อาหารมากเกินไปมักจะพบว่ามีกุ้งบางส่วนตายในเวลาต่อมา ถ้าพบว่ามีกุ้งตายในลักษณะเช่นนี้ให้ลดอาหารลงประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ทันทีจนกว่าการตายของกุ้งจะลดลงและกลับคืนสู่ภาวะปกติจึงค่อยๆปรับอาหารเพิ่มขึ้นไปใหม่แต่ต้องระวังการเพิ่มอาหารอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่มากกุ้งที่เหลืออาจจะมีการตายแบบเดิมอีกได้
                เมื่อเริ่มพบว่ามีกุ้งตายนอกจากจะลดปริมาณอาหารลงแล้วควรเติมน้ำเค็มเพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆจะทำให้กุ้งแข็งแรงขึ้นหรือเติมเกลือแร่ลงไปในบ่อเพื่อเสริมปริมาณแร่ธาตุบางตัวที่อาจจะมีไม่เพียงพอ เนื่องจากกุ้งขาวมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว การลอกคราบแต่ละครั้งต้องใช้พลังงานมาก กุ้งจะเครียด ถ้าแร่ธาตุต่างๆมีไม่เพียงพอกุ้งบางตัวจะตาย เหตุการณ์เช่นนั้นพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิของน้ำสูงมากและน้ำมีความเค็มต่ำ
     
     
    ภาพที่ 6.54 ลักษณะภายนอกของกุ้งที่มีสีตับปกติ               ภาพที่ 6.55 ลักษณะภายนอกของกุ้งที่มีสีตับ
                                                                          มีสีเหลืองมาก (ศรชี้)
     
                2. ปัญหาเหงือกดำ   บางคนอาจจะเรียกว่าโรคเหงือก ซึ่งจะพบได้ในกุ้งขาวที่เลี้ยงในบ่อที่มีสีน้ำเข้มจัดหรือปริมาณแพลงก์ตอนอย่างหนาแน่นมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อยหรือในบ่อที่มีเลนกระจัดกระจายทั่วไปแต่สีน้ำไม่เข้มมากแม้ว่าปริมาณกุ้งในบ่อมีน้อยแต่ถ้าเลี้ยงกุ้งเป็นเวลานานเช่นเกิน 100 วันกุ้งส่วนใหญ่ในบ่อจะมีเหงือกสีดำคล้ายกับตะกอนดินที่สกปรกอุดตันในเหงือก ถ้ามีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหลังจากกุ้งลอกคราบ 2-3 ครั้งเหงือกก็จะสะอาดเป็นปกติ
     
     
             ภาพที่ 6.56 บ่อเลี้ยงกุ้งที่มีสีน้ำเข้มมาก             ภาพที่ 6.57 ลักษณะภายนอกของกุ้งที่เป็นโรคเหงือกดำ
     
    ในกรณีที่มีการปล่อยกุ้งอย่างหนาแน่นเช่นมากกว่า 60 ตัวต่อตารางเมตร ในขณะที่เครื่องให้อากาศในบ่อมีไม่เพียงพอและการเปลี่ยนถ่ายน้ำก็มีน้อย ก่อนที่กุ้งจะแสดงอาการป่วยและตายกุ้งส่วนใหญ่ในบ่อจะมีเหงือกสีดำ ถ้าเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่ทันและเพิ่มปริมาณเครื่องให้อากาศไม่ทันกุ้งในบ่ออาจจะมีการตายในปริมาณที่มาก เช่นเดียวกับในบ่อที่กุ้งมีขนาดใกล้จับอย่างหนาแน่น เมื่อมีแพลงก์ตอนตายเป็นจำนวนมาก บางครั้งจะเข้าไปติดในเหงือกกุ้ง ทำให้เห็นเป็นสีน้ำตาลเข้ม การถ่ายน้ำที่มากขึ้น ช่วยลดปัญหาเหงือกสีเข้มได้ แต่ต้องรอให้กุ้งลอกคราบอย่างน้อย 2 ครั้ง เหงือกจึงจะกลับมาสะอาดเหมือนเดิม
     
    ภาพที่ 6.58 กุ้งที่เป็นโรคเหงือกดำเนื่องจากจำนวนกุ้ง
    ที่หนาแน่นมีปริมาณออกซิเจนไม่พอเพียง
     
    การป้องกัน   มีเครื่องให้อากาศอย่างพอเพียงตั้งแต่เริ่มปล่อยลูกกุ้งและมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการเลี้ยง ถ้าพบว่ากุ้งมีอาการเหงือกดำต้องถ่ายน้ำเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มเครื่องให้อากาศ หรืออาจจะทำทั้งสองอย่างไปด้วยกันจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
     
                  6.9.2 ปัญหากุ้งตายที่เกิดจากเชื้อโรค
                  โรคกุ้งขาวที่พบในระหว่างการเลี้ยงมีหลายชนิดส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ที่สำคัญได้แก่
                  1. โรคดวงขาวหรือโรคจุดขาว มีสาเหตุมาจากไวรัส White Spot Syndrome Virus (WSSV) ลักษณะอาการของโรคดวงขาวหรือจุดขาวในกุ้งขาวคล้ายกันกับที่พบในกุ้งกุลาดำคือกุ้งที่ป่วยบางตัวมีจุดขาวใต้เปลือกบริเวณส่วนหัวจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อดึงเปลือกส่วนหัวให้หลุดออกมาเนื่องจากกุ้งขาวมีลำตัวขาวใส การสังเกตดูจุดขาวจะยากกว่ากุ้งกุลาดำโรคจุดขาวหรือดวงขาวเป็นโรคไวรัสที่ทำความเสียหายให้แก่กุ้งทะเลทุกชนิดมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับโรคชนิดอื่นๆโรคดวงขาวพบได้ตลอดทั้งปีแต่ส่วนใหญ่เกิดในช่วงการเลี้ยงที่อุณหภูมิของอากาศต่ำลงคือปลายปีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคมและโดยเฉพาะในแหล่งเลี้ยงที่มีการระบาดของโรคไวรัสชนิดนี้ในกุ้งกุลาดำเนื่องจากพื้นที่การเลี้ยงกุ้งขาวกับกุ้งกุลาดำส่วนใหญ่เป็นพื้นทีเดียวกันฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิของอากาศค่อนข้างร้อน           ปัญหาโรคดวงขาวมีน้อยกว่าช่วงที่อากาศเย็นปลายปี ในบ่อที่มีปัญหาการเกิดโรคดวงขาวส่วนมากกุ้งจะมีอายุระหว่าง 30-50 วันดังนั้นเมื่อมีการเกิดโรคถ้ากุ้งมีขนาดเล็กมากเกษตรกรมักจะใช้คลอรีนผงหรือไตรคลอร์ฟอนเติมลงไปในบ่อเพื่อฆ่าเชื้อและกุ้งที่ป่วยไม่ถ่ายน้ำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสอย่างน้อย 14วันจึงจะระบายน้ำออกจากบ่อ
     
     
    ภาพที่ 6.59 ลักษณะภายนอกของกุ้งที่เป็นโรคดวงขาว
     
    การป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรคดวงขาวควรหลีกเลี่ยงการปล่อยลูกกุ้งเลี้ยงในบ่อในช่วงที่อากาศหนาวเย็นหรือถ้าจะเลี้ยงในบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคควรจะฆ่าพาหะในน้ำได้แก่สัตว์จำพวกกุ้งและปูตามธรรมชาติด้วยคลอรีนผงหรือไตรคลอร์ฟอนก่อนการปล่อยลูกกุ้ง ซื้อลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักที่มีการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อเท่านั้นและเติมน้ำจากบ่อพักน้ำที่มีการฆ่าเชื้อและพักน้ำเป็นเวลานานอย่างน้อย 1 สัปดาห์
    2. โรคตัวพิการ มีสาเหตุมาจากไวรัส Infectious Hypodermal and Hematopoietic Necrosis Virus (IHHNV) เป็นโรคไวรัสที่พบได้ทั่วไปในระหว่างการเลี้ยงในบ่อโดยเฉพาะลูกกุ้งขาวที่มาจากการนำกุ้งขาวที่เลี้ยงในบ่อดินในพื้นที่ต่างๆแล้วนำมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ในเวลาต่อมา กุ้งขาวที่เป็นโรคตัวพิการจะมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือกรีผิดปกติอาจจะกุดหรือสั้นกว่าปกติอาจจะบิดไปทางซ้ายหรือทางขวานอกจากนั้นอาจจะพบว่ากุ้งมีลำตัวขรุขระหรือคดงอลักษณะที่กล่าวมานี้สังเกตได้หลังจากปล่อยูกกุ้งเลี้ยงในบ่อประมาณ 30 วันปริมาณการเกิดลักษณะผิดปกติมีตั้งแต่ไม่รุนแรงมากคือมีประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์จนถึงรุนแรงมากคือประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของกุ้งที่อยู่ในบ่อมีลักษณะผิดปกติและกุ้งเหล่านี้จะโตช้ามากมีอัตรารอดในบ่อต่ำทำให้ผลผลิตรวมต่ำด้วยแต่ไม่พบการตายของกุ้งตามขอบบ่อตลอดระยะเวลาในการเลี้ยง   นอกจากกุ้งที่มีอาการผิดปกติบางตัวจะอ่อนแอไม่แข็งแรงแนวโน้มมีการนำกุ้งที่เลี้ยงในบ่อดินมาเป็นพ่อแม่พันธุ์เนื่องจากราคาถูกโอกาสจะพบโรคตัวพิการน่าจะเพิ่มตามขึ้นด้วยเช่นกัน การพบโรคตัวพิการพบได้ตลอดทั้งปีขึ้นกับแหล่งของกุ้งที่นำไปเลี้ยง ถ้าเป็นลูกกุ้งจากพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อโอกาสที่จะพบโรคตัวพิการมีน้อยมาก          

    • Update : 18/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch