หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    กิน แคบหมู อย่างไรไม่ให้อ้วน

    “แคบหมู”เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวล้านนาไทยประเภทเครื่องเคียง รับประทานกับน้ำพริกและแกงคั่วต่าง ๆ ในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาค ที่เห็นกันจนชินตา คือ นำมารับประทานกับก๋วยเตี๋ยวเรือ ส้มตำ  ท่านผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า แคบหมู มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณไขมัน และโซเดียม (เกลือ) ต่างกันอย่างไร แล้วควรรับประทานมากน้อยแค่ไหนถึงจะไม่อ้วน 
       
    มาฟังคำตอบจาก ดร.ศักดา พรึงลำภู หัวหน้าศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ร่วมกับคณะทำการศึกษาวิเคราะห์ “ปริมาณไขมันรวมและโซเดียมในแคบหมูที่ผลิตในพื้นที่ 8 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย” ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ซึ่งได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเรื่องนี้ในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ที่ผ่านมา
               
    ดร.ศักดา อธิบายว่า แคบหมูที่ทำจากหนังหมูแบ่งได้หลายลักษณะ ได้แก่ แคบหมูไร้มัน ทำจากหนังหมูล้วน ๆ มีขายทั่วไปในท้องตลาด แคบหมูติดมันบ้างไม่มากนัก แคบหมูชนิดนี้นิยมรับประทานกันมากและหาซื้อได้โดยทั่วไป โดยเฉพาะแถว เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แคบหมูติดมันและมีเนื้อปน ส่วนมากนิยมทำเป็นแผ่นใหญ่และทำในบางจังหวัดเช่น  ตาก น่าน แพร่ แต่ไม่นิยมรับประทานกันมากนักเพราะเก็บไว้ไม่ได้นาน
       
    จากการเก็บตัวอย่าง “แคบหมูไร้มัน” และ “แคบหมูติดมัน”ที่ผลิตในระดับครัวเรือนและวิสาหกิจ หรือธุรกิจขนาดย่อม  8 จังหวัดมาวิเคราะห์ปริมาณไขมันรวม และโซเดียม พบว่า ปริมาณไขมันรวมใน “แคบหมูติดมัน” มีประมาณ 51.08 กรัมต่อ 1 ขีด ดังนั้นกินแคบหมูติดมัน 1 ขีดจะได้ไขมันประมาณครึ่งขีด หรือประมาณ 50% ส่วน “แคบหมูไร้มัน” อ่านตามชื่อไม่น่าจะมีไขมันเลย แต่ความจริงแล้วมีไขมัน 33.78 กรัมต่อ 1 ขีด หรือประมาณ 30%  จะเห็นได้ว่าแคบหมูทั้ง 2 ชนิดมีปริมาณไขมันต่างกันแค่  20% เท่านั้น
       
    แต่พอมีการสื่อสารออกไปว่า “แคบหมูไร้มัน” แทนที่ผู้บริโภคจะซื้อถุงเดียวก็อาจจะซื้อ 2 ถุง ถ้ารับประทานทั้ง 2 ถุง ก็ได้ไขมันมากกว่า “แคบหมูติดมัน” 1 ถุง เพราะกินด้วยความสบายใจว่า “แคบหมูไร้มัน” ไม่มีไขมัน
       
    ส่วนปริมาณโซเดียมในแคบหมูทั้ง 2 ชนิด จากการศึกษา พบว่า “แคบหมูติดมัน” มีปริมาณโซเดียม  927.47 มิลลิกรัมต่อ 1 ขีด  ส่วน “แคบหมูไร้มัน” มีโซเดียม 1,213.9 มิลลิกรัมต่อ 1 ขีด สาเหตุที่ “แคบหมูไร้มัน” มีโซเดียมมากกว่า “แคบหมูติดมัน”  คงเป็นเพราะเมื่อเอาไขมันออก  ความอร่อยจะลดลง เพราะความมันทำให้เกิดความอร่อย ด้วยเหตุนี้ในการผลิต ชาวบ้านจะเติมเกลือลงไปอีกนิดหน่อยเพื่อให้รสชาติดีขึ้น
       
    ดร.ศักดา  กล่าวว่า ปริมาณไขมันและโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน ขึ้นอยู่กับเพศและอายุ  โดยปริมาณไขมันที่ผู้ใหญ่ควรได้รับต่อวันอยู่ระหว่าง 50-70 กรัม คือ รับประทานแคบหมูติดมัน  1 ขีดก็จะได้ไขมันเพียงพอกับความต้องการแล้ว ถ้ากินมากก็ยิ่งอ้วน ส่วนปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวันอยู่ระหว่าง  400-1,200 มิลลิกรัม ดังนั้นรับประทานแคบหมูไม่ว่าชนิดใด  1 ขีดก็ถือว่าเพียงพอแล้ว โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ไม่ควรรับประทานมาก
       
    การรับประทานแคบหมูแค่ 1 ขีด ได้ทั้งไขมันและโซเดียมเพียงพอแล้ว ที่พูดเรื่องนี้ไม่ได้ห้ามกินนะ แต่อยาก  ให้กินอย่างมีสติ กินอย่างมีศิลปะ และระวัง มิฉะนั้นความอร่อยจะมาพร้อมกับน้ำหนัก เพราะแคบหมูไร้มัน ไขมันไม่ได้ 0% อย่างที่คิด ยังมีไขมันอยู่ถึง 30% ดังนั้นควรเดินทางสายกลางในการรับประทานแคบหมู เช่น ในมื้อที่มีแคบหมู  ควรรับประทานผักสดเป็นกับแกล้มด้วย เช่น แตงกวา ผักกาดแก้ว หรืออาจจะเป็นผักพื้นบ้านในแต่ละพื้นที่ที่หาได้ง่าย ขณะเดียวกันควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย
       
    ที่ทำการศึกษาเรื่องนี้เพราะอยากรู้ว่าแคบ  หมูที่ชาวบ้านทำเป็นอย่างไร พอทำเสร็จก็นำผลการศึกษากลับไปสู่ชุมชน โดยเอาไปเล่าให้ชาวบ้านฟังว่าแคบหมูเป็นอย่างนี้นะ เพราะสถานการณ์ในชุมชนขณะนี้ ชาวบ้านเป็นโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูงเยอะขึ้น เราก็เข้าใจการค้าขาย                                    

    แต่การค้าขายก็ต้องคำนึงถึงเรื่องสุขภาพด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็มีทางออกไปแนะนำ  ส่วนจะมีการปรับปรุงหรือไม่ขึ้นอยู่กับชาวบ้าน  คือ ตรงนี้เป็นวัฒนธรรมชุมชน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เราเข้าไปเพียงแต่บอกว่า ทำอย่างไรให้แคบหมูไขมันน้อยลงและโซเดียมน้อยลง อย่างแคบหมูติดมันแทนที่จะทอดก็เอาไปอบ คือ อาจจะต้องลงทุนเครื่องอบ แต่ลดต้นทุนค่าน้ำมันที่ทอด และลดปัญหาการใช้น้ำมันทอดซ้ำลงด้วย ส่วนรสเค็ม ก็ต้องปรับลดปริมาณโซเดียมลง วิธีการคือ จะต้องค่อย ๆ ปรับลดปริมาณลง เพราะถ้าปรับลดลงทันที คนอาจจะไม่กินเพราะรสชาติไม่อร่อย 
       
    สรุปผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการใช้เป็นข้อมูลเพื่อเลือกรับประทานแคบหมูให้เหมาะสมกับสุขภาพ ขณะเดียวกันยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แคบหมูให้เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น แคบหมูอนามัย ที่มีปริมาณไขมันและโซเดียมต่ำ  รวมถึงผลิตภัณฑ์เลียนแบบแคบหมู ที่ไม่ได้ทำจากหนังหมู มีไขมันและโซเดียมต่ำด้วย
       
    ท้ายนี้คงต้องถามท่านผู้อ่านว่า วันนี้กินแคบหมูเกิน 1 ขีดแล้วหรือยัง?.

    นวพรรษ บุญชาญ รายงาน


    • Update : 18/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch