หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-11
     
     ภาพที่ 6.50 เปรียบเทียบสีน้ำในบ่อดิน (ซ้าย) และสีน้ำของบ่อโพลีเอททีลีน (PE.) (ขวา)
     
    2.                   เมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงใน 112 วันหลังจากจับกุ้งพบว่ามีความแตกต่างกันชัดเจนในบ่อดินได้ผลผลิตประมาณ 1,400-1,500 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่บ่อ PE. ได้ผลผลิตประมาณ 1,700-1,800 กิโลกรัม/ไร่ที่แตกต่างกันเนื่องจากการเจริญเติบโตของบ่อ PE. ได้ขนาด 40 ตัว/กิโลกรัมหรือ 25 กรัม/ตัวในขณะที่บ่อดินได้ขนาด 54 ตัว/กิโลกรัมในด้านผลผลิตที่แตกต่างกันประมาณ 300 กิโลกรัม/ไร่ ในช่วงเดือนกันยายน.. 2546กุ้งขนาด 50 ตัว/กิโลกรัมราคา 160-170 บาท ในขณะเดียวกันที่กุ้งขนาด 40 ตัว/กิโลกรัมราคา 210 บาท ถ้ามองในจุดนี้จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันในด้านจำนวนเงินค่อนข้างมากซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะฉะนั้นในแต่ละรอบที่เลี้ยงไปมีความแตกต่างเท่านี้สำหรับบ่อ PE. ถือว่าคุ้ม แต่ในบ่อดินที่มีเปอร์เซ็นต์ดินเหนียวค่อนข้างสูงมีตะกอนน้อยสามารถถ่ายน้ำได้มากเช่นในภาคใต้อาจไม่มีความจำเป็นแต่ถ้าต้องการเปรียบเทียบอาจจะลองปูเพียง 1 บ่อแล้วเลี้ยงเปรียบเทียบจะวิเคราะห์ได้ว่าคุ้มหรือไม่
    ความแตกต่างของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อปูด้วย PE. กับบ่อดินคือกุ้งขาวในบ่อดินจะมีตะกอนมากน้ำขุ่นขาวกุ้งจะมีสีซีดขาวและบางตัวเครียดมีสีชมพูแต่กุ้งขาวในบ่อที่ปูด้วย PE. สีจะเข้มกว่า เมื่อนำไปต้มให้สุกสีของกุ้งจากบ่อปูด้วย PE. จะแดงเข้มสวยกว่า ความแตกต่างของสีแดงเปลือกกุ้ง น่าจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณแพลงก์ตอนในบ่อ ถ้าสีน้ำสวย สีกุ้งจะสวยสดกว่าบ่อที่น้ำขุ่น มีตะกอนมากและมีแพลงก์ตอนน้อย
     
        ภาพที่ 6.51 กุ้งขาวที่ต้มสุก (ซ้าย) บ่อดินและบ่อ PE.
     
    สภาพพื้นบ่อที่เหมาะสมต่อการปู PE. คือพื้นที่เป็นดินทรายมีการรั่วซึมสูงเพราะบ่อที่มีการรั่วซึมของน้ำสูงจะเลี้ยงกุ้งยาก โดยเฉพาะระบบปิดจะมีการเติมน้ำทดแทนส่วนที่ซึมและระเหยออกไป ยิ่งต้องสิ้นเปลืองในการเติมน้ำ การเลี้ยงจะไม่ค่อยได้ผลดี ดังนั้นบ่อที่ปู PE. ก็จะเป็นการป้องกันการรั่วซึมได้ดี สำหรับบ่อที่มีดินตะกอนมากในการเลี้ยงด้วยระบบปิดที่มีการเติมน้ำอย่างเดียวในช่วง 2 เดือนแรกโดยไม่มีการถ่ายน้ำ หลังจากเลี้ยงไปนานๆเมื่อเปิดเครื่องให้อากาศเพื่อรักษาระดับออกซิเจนให้เพียงพอ พบว่าเกิดตะกอนมากทำให้กุ้งเครียดและกินอาหารน้อยโตช้าเพราะฉะนั้นในการแก้ปัญหาเมื่อปูด้วย PE. จะเห็นได้ชัดว่าสีน้ำจะดีมาก เนื่องจากตะกอนน้อยแม้ว่าฝนจะตกมากเท่าไรก็ตาม และสุดท้ายคือบ่อประเภทที่เป็นดินกรด (acid sulfate soil) ในพื้นที่บริเวณป่าชายเลน ดินที่เป็นกรดการจัดการเตรียมบ่อจะยุ่งยากและสิ้นเปลืองเพราะต้องใช้วัสดุปูนในปริมาณมากเพื่อปรับพีเอชให้เหมาะสมและในระหว่างการเลี้ยงความเป็นกรดก็จะออกมาเรื่อยๆจึงทำให้เป็นการสิ้นเปลืองวัสดุปูนมาก ในบางครั้งการเติมวัสดุปูนไม่เพียงพอจะทำให้กุ้งเจริญเติบโตช้าทำให้มีผลผลิตต่ำมากสำหรับบ่อที่เป็นกรดจัดมีความเหมาะสมที่จะปูด้วย PE. จากที่กล่าวมาบ่อเลี้ยงทั้ง 3 แบบเห็นได้ว่ามีความเหมาะสมที่จะปูด้วย PE.
    บ่อพักน้ำในฟาร์มกุ้ง ในบางครั้งต้องการเก็บกักน้ำที่มีความเค็มต่ำหรือน้ำจืดไว้เติมเมื่อจำเป็นต้องเลี้ยงผ่านหน้าแล้งหรือในช่วงที่อากาศร้อน ส่วนมากเกษตรกรจะเก็บน้ำฝนช่วงปลายปีได้มาก แต่เมื่อต้องเลี้ยงจริงๆในหน้าร้อนพบว่าน้ำที่เก็บไว้ในบ่อพักน้ำรั่วซึมไปมาก เนื่องจากคันบ่อไม่มีการอัดแน่นเพียงพอ ในบ่อพักน้ำที่มีขนาดใหญ่การปูด้วย PE. อาจจะสิ้นเปลือง แต่เมื่อปูด้วย PE. พบว่าสามารถเก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพการรั่วซึมน้อยอาจจะคุ้มค่า เพราะถ้าผลการเลี้ยงได้ผลดีเพราะมีน้ำจืดเติมระหว่างการเลี้ยง
    สำหรับในพื้นที่เลี้ยงกุ้ง ถ้าพบว่าอัตราการรั่วซึมสูงรวมทั้งดินเป็นตะกอนมากหรือเป็นกรดจัด ผลผลิตที่ได้อาจจะไม่ดีถึงแม้จะใช้ความรู้และวิชาการเต็มที่ก็ตาม ผลผลิตยังต่ำหรืออาจไม่คุ้มทุน การปู PE. ก็อาจจะแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการจะปูด้วย PE. ควรมีการตรวจสอบข้อมูลโดยไปดูฟาร์มที่มีการปู PE. ว่าผลการเลี้ยงเป็นอย่างไรและคุ้มค่าหรือไม่ก่อนตัดสินใจ
    ในอนาคตอาจจะเห็นการเลี้ยงกุ้งขาวแบบหนาแน่นมีการปู PE. เช่นเดียวกับการเลี้ยงแบบพัฒนาในต่างประเทศมากขึ้น แต่ในกุ้งกุลาดำพบว่าการปูด้วย PE. อาจไม่จำเป็น เนื่องจากกุ้งกุลาดำต้องการพื้นบ่อเพื่อการฝังตัวสำหรับการลอกคราบ ดังนั้นความเหมาะสมของบ่อ PE. ควรใช้กับกุ้งขาวมากกว่า ประเทศในแถบทวีปอเมริกาใต้หลายประเทศบ่อเลี้ยงกุ้งขาวจะปูด้วย PE. ทั้งบ่อเช่นประเทศเปรูและ เอกวาดอร์เป็นต้น ส่วนในทวีปเอเชียการเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศจีนบางส่วนก็ปูพื้นบ่อด้วย PE. แต่ใช้ดินถมทับพื้น PE. หนาประมาณ 30 เซนติเมตร
    โดยสรุปแล้วการปูพื้นบ่อด้วย PE. ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ดังที่ได้อธิบายในรายละเอียดแล้ว
     
     
    ภาพที่ 6.52 บ่อเลี้ยงกุ้งขาวที่ปูด้วย PE.                        ภาพที่ 6.53 บ่อเลี้ยงกุ้งขาวที่ปูด้วย PE.
       ในประเทศเปรู                                                  ในประเทศเอกวาดอร์

    • Update : 16/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch