หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-10
    ที่6.5
     
    ตารางที่6.5การให้อาหารของกุ้งขาวที่เลี้ยงด้วยน้ำความเค็มต่ำ (ต่อจำนวนลูกกุ้ง 100,000 ตัว)
    วันที่
    น้ำหนักกุ้ง(กรัม)
    % อาหาร
    08.00 (กิโลกรัม)
    16.00 (กิโลกรัม)
    22.00 (กิโลกรัม)
    อาหารสะสม
    1-10
    -
    -
    1
    1
    -
    20
    11-20
    0.5
    15
    2
    2
    2
    60
    21-30
    2.6
    6
    4
    3
    3
    120
    31-40
    4.5
    4
    4.8
    4.8
    4.8
    144
    41-50
    6.2
    3.8
    6.3
    6.3
    6.3
    189
    51-60
    7.9
    3.5
    7.3
    7.3
    7.3
    219
    61-70
    9.6
    3.2
    8.1
    8.1
    8.1
    243
    71-80
    11.3
    2.9
    8.7
    8.7
    8.7
    261
    81-90
    13.2
    2.6
    9.1
    9.1
    9.1
    273
    91-100
    14.7
    2.5
    9.6
    9.6
    9.6
    288
    101-110
    16.3
    2.4
    10.4
    10.4
    10.4
    312
    111-120
    18.0
    2.3
    11.0
    11.0
    11.0
    330
     
     
     
     
     
     
    2459
    หมายเหตุ
    -การให้อาหารตั้งแต่วันที่ถึง วันที่40 ให้ใช้อาหารโปตีนสูงประมาณ45-50 เปอร์เซ็นต์
    -ตั้งแต่วันที่41 จนกระทั่งจับขายให้ใช้อาหารโปรตีนต่ำลงมาประมาณ30-35เปอร์เซ็นต์
    -การใช้ยอสามารถใช้ยอได้ตั้งแต่วันที่ 11 แต่การปรับอาหารจะไม่ใช้ยอเป็นหลักขอให้ใช้ตารางอาหารเป็นเกณฑ์เพิ่มขึ้น-ลดลง ตามปัจจัยแวดล้อมขอให้ใช้เพื่อดูการกินอาหารของกุ้งโดยสังเกตจากขี้กุ้งในยอ
    -เมื่อครบ30วันควรสุ่มด้วยแหตาถี่2ครั้งเพื่อเช็คน้ำหนักของกุ้งเปรียบเทียบกับน้ำหนักของกุ้งในตารางการให้อาหารจากนั้นให้สุ่มดูน้ำหนักกุ้งทุก10 วันและปรับอาหารตามตาราง
    -หากกุ้งมีขนาดแตกต่างกันมากแสดงว่าอาหารไม่พอ
     
    ปริมาณอาหารในยอ
                การเลี้ยงกุ้งขาวในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะปริมาณการใส่อาหารในยอ เพื่อปรับอาหารตามการเจริญเติบโตของกุ้งตลอดระยะเวลาในการเลี้ยง
                เกษตรกรบางรายใส่อาหารในยอในปริมาณใกล้เคียงกับกุ้งกุลาดำ คือ หลังจากกุ้งอายุ 35 วัน ใส่อาหารในยอ 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม เมื่อกุ้งมีขนาดโตขึ้นใส่อาหารในยอเพิ่มเป็น 6 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม และเพิ่มเป็น 7 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมในช่วงสุดท้าย โดยใช้ระยะเวลาในการเช็คยอระหว่าง 2.5-2.0 ชั่วโมง
                สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงโดยปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น ส่วนมากจะเริ่มปรับอาหารโดยใช้ยอเมื่อกุ้งมีอายุประมาณ 30 วันซึ่งจะมีน้ำหนัก 2-3 กรัม ปริมาณอาหารที่ใส่ในยอประมาณ 2 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม และเช็คยอใช้เวลาประมาณ 2.5-3 ชั่วโมง    เมื่อกุ้งมีอายุเพิ่มขึ้นจนถึงประมาณ 60-70 วัน ปริมาณอาหารในยอจะเพิ่มเป็น 3 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ใช้เวลาเช็คยอ 2.0-2.5 ชั่วโมง จนกว่าจะจับขาย แต่จะมีการสังเกตสีของอาหารในลำไส้มาประกอบพิจารณาในการเพิ่มลดอาหารด้วย การใช้วิธีการปรับอาหารจากยอแต่เพียงอย่างเดียวไม่เหมาะสม เพราะมีโอกาสผิดพลาดได้ นอกจากนั้นอาจจะพิจารณาจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ถ้าปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้น และสีน้ำเข้มมาก แสดงว่าอาหารที่ให้มากเกินไป หรือถ้าน้ำขุ่นมาก และกุ้งจำนวนมากขึ้นมาตามขอบบ่อ แสดงว่าอาหารไม่เพียงพอ
     
    ภาพที่ 6.47 กุ้งขาวตามขอบบ่อเนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ
     
    2.                   การเลี้ยงกุ้งขาวด้วยน้ำความเค็มปกติ
    การเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ภาคใต้ที่ใช้น้ำความเค็มปกติ คือความเค็มประมาณ 10 พีพีทีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีการปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นมากกว่า 120,000 ตัว/ไร่ ผลผลิตประมาณ 2 ตัน/ไร่ อัตรารอดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นกระแสผลผลิตของกุ้งขาวที่ออกมามากในช่วงกลางปี พ.. 2546 โดยเฉพาะการเลี้ยงทางภาคใต้โดยใช้น้ำความเค็มปกติ ทำให้ในหลายจังหวัดทางภาคใต้ ซึ่งไม่เคยเลี้ยงกุ้งขาวมาก่อน หันมาเลี้ยงกุ้งขาวมากขึ้น โดยเฉพาะในชายฝั่งทะเลอันดามันมีผลผลิตสูงมากประมาณ 3-4 ตัน/ไร่ โดยมีการปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นมากกว่า 150,000 ตัว/ไร่ บางรายมีการทยอยจับกุ้งออกไป เพื่อให้กุ้งที่เหลือในบ่อมีโอกาสโตขึ้น การเลี้ยงกุ้งขาวด้วยน้ำความเค็มปกติจะได้ผลดีกว่าน้ำความเค็มต่ำ เนื่องจากมีการถ่ายน้ำในปริมาณที่มากในช่วงท้ายๆ ของการเลี้ยง
    ในอนาคตแหล่งผลิตกุ้งขาวที่สำคัญในประเทศไทยน่าจะเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้งของภาคใต้ที่มีความพร้อมสูงในด้านอุปกรณ์ เครื่องให้อากาศ และบ่อพักน้ำ และการคัดเลือกลูกกุ้งคุณภาพจากสายพันธุ์ที่ดี จะทำให้การเลี้ยงได้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำลง สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
     
     
    ภาพที่ 6.48 บ่อเลี้ยงกุ้งขาวที่มีเครื่องให้อากาศเพียงพอ
     
    การเลี้ยงกุ้งขาวในบ่อปูด้วยโพลีเอททีลีน (Polyethylene, PE)
    ในการเลี้ยงกุ้งขาวในบ้านเราจะพบว่าหลายพื้นที่มีการใช้โพลีเอททีลีน (Polyethylene, PE) มาปูพื้นบ่อ ปางฟาร์มปูเฉพาะขอบบ่อเพื่อป้องกันการพังทะลายของดินลงไปในบ่อ ซึ่งในที่นี่หมายถึงการปูเฉพาะขอบบ่อส่วนพื้นบ่อไม่ได้ปู แต่บางพื้นที่หรือบางฟาร์มจะปูหมดทั้งบ่อ มีเกษตรกรบางส่วนต้องการที่จะทราบว่าการปู PE. จะคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับบ่อดิน และมีความแตกต่างมากน้อยแค่ไหน ผู้เขียนให้ข้อคิดเห็นดังนี้คือ ข้อแรก PE. ที่ใช้ปูนั้นทำมาจากโพลีเอททีลีน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบบางและแบบหนา โดยมีความหนาประมาณ 0.15 และ 0.30 มิลลิเมตรตามลำดับ แบบบางถ้ามีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี หมายถึง ในแต่ละรอบที่เลี้ยงผ่านไปหากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็นำมาซ่อมแซม พบว่าการปู 1 ครั้งสามารถใช้ได้ประมาณ 3 ปี ซึ่งใน 1 ปีหากมีการเลี้ยง 2 รอบภายใน 3 ปีก็สามารถเลี้ยงได้ถึง 6 รอบ หรือหากเลี้ยงในรอบที่สั้นกว่านี้หมายถึงภายใน 2 ปีสามารถเลี้ยงได้ 5 รอบ ซึ่งสามารถใช้ PE. ได้เต็มที่ประมาณ 3 ปี ต้นทุนในการปู PE. รวมทั้งค่าแรงประมาณ 30,000 บาท/ไร่ ซึ่งถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากพอสมควร การพิจารณาว่าคุ้มหรือไม่นั้นต้องดูที่การเลี้ยงของบ่อปูด้วย PE. ว่าดีกว่าบ่อดินในฟาร์มเดียวกันหรือไม่ ถ้าผลผลิตใกล้เคียงกันไม่มีความจำเป็นต้องปู PE. เพราะเป็นการสิ้นเปลืองและไม่ดีกว่าเดิม แต่ถ้าพบว่าดีกว่าต้องมาพิจารณาว่าดีกว่าแค่ไหน ถ้าดีกว่าเล็กน้อยและเมื่อรวมต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ พบว่าไม่คุ้มก็ไม่จำเป็นที่ต้องปู เพราะฉะนั้นผู้เขียนอยากจะให้ข้อมูลจากการวิจัยเมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงกุ้งขาวในบ่อปูด้วย PE. และบ่อดินภายในฟาร์มเดียวกันจากการทดลองในอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรีที่มีบ่อลึกประมาณ 1.20-1.40 เมตร โดยทั้งบ่อดินและบ่อ PE. การใช้เครื่องให้อากาศเหมือนกัน และอัตราที่ปล่อยลูกกุ้งเท่ากันคือ 120,000 ตัว/ไร่ เลี้ยงด้วยน้ำความเค็มต่ำ 3-5 พีพีที มีข้อแตกต่างกันดังนี้
     
     
    ภาพที่ 6.49 ภาพบ่อที่ปูด้วยโพลีเอททีลีน (PE.)
     
     
    1.         บ่อที่ปูด้วย PE. ในด้านอุณหภูมิน้ำที่ผิวน้ำและพื้นบ่อจะสูงกว่าบ่อดินประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียสทุกวันจากการวัดอุณหภูมิตลอดทั้งปี
    2. สีน้ำในบ่อ PE. จะเขียวเร็วกว่าบ่อดิน เพราะว่าบ่อ PE. ไม่มีตะกอน เมื่อไม่มีตะกอนแขวนลอยมาบังแสง อาหารที่เหลือก็จะเป็นปุ๋ยให้กับแพลงก์ตอน ทำให้แพลงก์ตอนเพิ่มจำนวนได้รวดเร็ว ในขณะที่บ่อดินมีตะกอนมากโอกาสที่จะเกิดน้ำเขียวจึงช้ากว่า เมื่อเลี้ยงไปนานๆไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูฝนหรือไม่ก็ตาม พบว่าบ่อดินมีตะกอนค่อนข้างมาก การเลี้ยงในช่วง 30-40 วันแรกจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่ไม่มีความแตกต่างในด้านการเจริญเติบโตระหว่างบ่อดินและบ่อ PE. แต่ช่วงระหว่าง 50-100 วันพบว่าบ่อดินมีตะกอนค่อนข้างมาก น้ำจะขุ่นจนเหมือนโคลนกุ้งจะเครียดซึ่งจะมีปัญหาในเรื่องการกินอาหารและการเจริญเติบโต ในขณะที่บ่อ PE. ไม่มีปัญหาดังกล่าว เมื่อนำดินพื้นบ่อไปวิเคราะห์จึงพบว่าเป็นดินเหนียวประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์มีดินทรายส่วนหนึ่งอีกส่วนเป็นดินตะกอน (Silt) ในฤดูฝนก็เช่นกันถ้ามีฝนตกมากดินจากขอบบ่อจะลงไปในบ่อทำให้มีตะกอนมาก เมื่อน้ำในบ่อดินเริ่มมีตะกอนมากในขณะที่บ่อ PE. ไม่มีเลยหรืออาจมีเล็กน้อยจากอาหารที่เหลือ รวมถึงซากแพลงก์ตอน สีน้ำส่วนใหญ่ในบ่อ PE. จะมีสีเขียวเหลือง เพราะฉะนั้นการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อเลี้ยงไปเรื่อยๆการเลี้ยงในพื้นที่ความเค็มต่ำในภาคกลางจะไม่มีการถ่ายน้ำมาก เพราะถ้าถ่ายน้ำมากความเค็มก็จะหายไป ส่วนใหญ่เป็นการเติมมากกว่าแต่ก็มีการถ่ายน้ำเป็นครั้งคราว ตรงข้อนี้จะทำให้บ่อ PE. มีการเจริญเติบโตดีกว่าบ่อดิน

    • Update : 16/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch