หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-9

    การเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศไทย

    แยกตามความเค็มของน้ำได้เป็น 2 แบบคือ
     
    1.       การเลี้ยงกุ้งขาวด้วยน้ำความเค็มต่ำ
    การเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่น้ำจืดและในพื้นที่ภาคกลางส่วนใหญ่จะเลี้ยงโดยใช้น้ำความเค็มต่ำ ภิญโญ (2545) อธิบายถึงรายละเอียดวิธีการเลี้ยงกุ้งขาว ตั้งแต่การเตรียมบ่อ การให้อาหาร ตลอดจนการจัดการในระหว่างการเลี้ยง โดยใช้น้ำความเค็มต่ำมากจนเกือบจะเป็นระดับที่ถือว่าเป็นน้ำจืด โดยทั่วไปเกษตรกรจะซื้อน้ำเค็มความเข้มข้นสูงจากนาเกลือใส่รถบรรทุกน้ำคันละประมาณ 12-13 ตันความเค็ม 100-200 พีพีทีมาเติมในน้ำจืดเพื่อให้ได้ความเค็มประมาณ 3-4 พีพีที    ส่วนใหญ่จะกั้นคอกก่อน มีการกั้นคอกโดยใช้ผ้าพลาสติกพื้นที่ประมาณ 150 ตารางเมตรความลึกประมาณ 80 เซนติเมตร  แล้วมีเติมน้ำจากนาเกลือเข้าไปในคอกจนได้ความเค็มประมาณ 8-10 พีพีที  หลังจากนั้นก็จะใช้ลูกกุ้งซึ่งปรับความเค็มจากโรงเพาะฟักมาแล้วโดยลูกกุ้งขาวระยะโพสลาร์วา 10-12 (พี 10-12) มาปล่อยในคอกอนุบาลในคอกประมาณ 3-4 วันก็เปิดคอกออกมา จะอนุบาลในคอกไม่นานเนื่องจากกุ้งขาวจะกินอาหารเก่งและว่ายน้ำตลอดเวลาเพราะฉะนั้นจะไม่นิยมอนุบาลนานเกินไป เพราะอาจจะมีการกินกันเอง   
     
    ภาพที่ 6.44 การปล่อยลูกกุ้งขาวลงในคอกพลาสติก
     
    หนึ่งเกษตรกรจะไม่ทำคอกเหมือนกุ้งกุลาดำคือเตรียมน้ำความเค็มประมาณ 3-5 พีพีทีทั้งบ่อแล้วให้ทางโรงเพาะฟักปรับความเค็มของลูกกุ้งจนมาอยู่ที่ความเค็มต่ำที่สุดประมาณใกล้เคียงกับที่จะมาปล่อยในบ่อแล้วนำลูกกุ้งมาปล่อยโดยตรงโดยที่ไม่มีการกั้นคอกเป็นอีกวิธีหนึ่งของการเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ความเค็มต่ำ การปล่อยลูกกุ้งโดยตรงในบ่อจะให้อัตรารอดสูงกว่าที่ผ่านมาจะปล่อยลูกกุ้งไม่หนาแน่นมากเมื่อเทียบกับการเลี้ยงริมชายฝั่งทะเลโดยทั่วไปจะมีการปล่อยลูกกุ้งในอัตราความหนาแน่นประมาณ 70,000-80,000 ตัว/ไร่   ผลผลิตเมื่อเทียบกับกุ้งกุลาดำแล้วผลผลิตของกุ้งขาว ถ้าปล่อยลูกกุ้ง 100,000 ตัวเลี้ยงด้วยความเค็มต่ำจะมีผลผลิตประมาณ1,000 กิโลกรัม (1 ตัน)หรือมากกว่า 1 ตันเล็กน้อยส่วนใหญ่เกษตรกรจะเลี้ยงให้ได้กุ้งขนาดประมาณ 60-80 ตัว/กิโลกรัมคือเลี้ยงประมาณ 3 เดือนจะมีการจับกุ้งบางส่วนออกไปขายก่อยโดยมีการใช้อวนตาห่างเพื่อลากเอากุ้งขนาดใหญ่ในบ่อประมาณครึ่งหนึ่งออกไปขาย    หลังจากนั้นก็จะมีการเติมน้ำเข้ามาเพราะก่อนจับจะมีการลดน้ำลงไปส่วนหนึ่งซึ่งถ้าน้ำลึกเกินไปจะใช้อวนทับตลิ่งลากลำบากจึงต้องมีการลดน้ำลงแล้วก็ใช้อวนตาใหญ่ลาก ก็จะได้กุ้งตัวใหญ่อาจจะเป็นขนาด 60 ตัว/กิโลกรัมขึ้นมาขายก่อนครึ่งบ่อจากนั้นจะมีการเติมน้ำจืดเข้าไปจนเต็มบ่อหลังจากนั้นจะเอาน้ำเค็มมาเติมอีกรอบหนึ่งเพื่อเพิ่มความเค็มกุ้งที่เหลือก็จะมีการเจริญเติบโตดีขึ้น   และเลี้ยงต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ จะทำให้กุ้งในบ่อโตขึ้นมาเช่นขนาด 80 ตัว/กิโลกรัมก็จะกลับมาเป็น 60 ตัว/กิโลกรัม การเลี้ยงด้วยน้ำความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดก็จะเลี้ยงแบบนี้คือจับ 2 ครั้งในบางส่วนของพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำบางปะกงซึ่งใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกงในบางฤดูและบางพื้นที่มีความเค็มตลอดทั้งปีแต่ความเค็มไม่สูงบางช่วงเวลาก็จะซื้อน้ำเค็มจากนาเกลือมาเติมส่วนใหญ่จะปล่อยกุ้งหนาแน่นเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในฟาร์มที่มีความพร้อมมีเครื่องให้อากาศเต็มที่ความเค็มของน้ำไม่ต่ำกว่า 3 พีพีทีฟาร์มเหล่านี้มีการปล่อยลูกกุ้งค่อนข้างหนาแน่นแทนที่จะปล่อยไร่ละ 70,000-80,000 ตัวจะปล่อยลูกกุ้งความหนาแน่นประมาณ 100,000-120,000 ตัว/ไร่หมายถึงต้องมีน้ำถ่ายพร้อมความเค็มไม่หมดในระหว่างการเลี้ยง
     
     
    ภาพที่ 6.45 การปล่อยลูกกุ้งขาวแบบปล่อยตรง                ภาพที่ 6.46 ลอยถุงบรรจุลูกกุ้งในบ่อปรับอุณหภูมิ
     
     
    ข้อควรระวังในการปล่อยลูกกุ้ง
                ในการปล่อยลูกกุ้งลงในบ่อเลี้ยงเกษตรกรมักจะนำถุงที่บรรจุลูกกุ้งลอยไว้ในบ่อเพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำในบ่อ เนื่องจากลูกกุ้งที่ขนส่งลำเลียงมาจากโรงเพาะฟักจะมีการปรับอุณหภูมิระหว่างการเดินทางไม่ให้สูงมาก เพื่อลดความเครียดของลูกกุ้ง ส่วนมากอุณหภูมิของน้ำในถุงที่บรรจุลูกกุ้งประมาณ 23-25 องศาเซลเซียสการลอยถุงใส่ลูกกุ้งในบ่อ อย่าให้นานเกินไป เพราะเมื่ออุณหภูมิของน้ำในถุงอุ่นขึ้นเท่ากับในบ่อ ลูกกุ้งจะเริ่มปราดเปรียวว่องไว ลูกกุ้งตัวที่โตกว่าอาจจะกินตัวที่เล็กกว่า หรือทำอันตรายตัวที่เล็กกว่า จากการสังเกตถ้าปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงนานเกินไป และลูกกุ้งที่บรรจุในถุงมีขนาดแตกต่างกันมาก อัตรารอดมักจะต่ำกว่าปกติ
     
    การให้อาหารลูกกุ้ง
                ปริมาณการให้อาหารสำหรับลูกกุ้งที่เพิ่งปล่อยลงในบ่อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการเลี้ยงเกษตรกรบางรายมีการเตรียมบ่อดี มีอาหารธรรมชาติมาก ให้อาหารเริ่มต้นคล้ายกับกุ้งกุลาดำคือ ลูกกุ้ง 100,000 ตัวให้อาหาร 1 กิโลกรัม/วัน  แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะปรับอาหารตามยอได้
    สำหรับการเลี้ยงกุ้งขาวที่มีอัตราปล่อยลูกกุ้งหนาแน่นไร่ละประมาณ 150,000 ตัว ส่วนมากจะให้อาหารเริ่มต้นค่อนข้างมาก เนื่องจากลูกกุ้งขาวโตเร็ว และกินอาหารเก่ง ถ้าเกษตรกรได้ลูกพันธุ์ที่มาจากสายพันธุ์ที่ดี  อัตรารอดจะสูงมาก ดังนั้นปริมาณการให้อาหารอาจจะเป็นดังนี้
     
    ตารางที่ 6.4 โปรแกรมการให้อาหารในช่วง 30 วันแรก (ต่อจำนวนลูกกุ้ง 100,000 ตัว)
    วันที่
    อาหาร/วัน (กิโลกรัม)
    อาหารสะสม (กิโลกรัม)
    1
    2.5
    2.5
    2
    2.6
    5.1
    3
    2.7
    7.8
    4
    2.8
    10.6
    5
    2.9
    13.5
    6
    3.0
    16.5
    7
    3.1
    19.6
    8
    3.3
    22.9
    9
    3.5
    26.4
    10
    3.7
    30.1
    11
    3.9
    34.0
    12
    4.1
    38.1
    13
    4.3
    42.4
    14
    4.5
    46.9
    15
    4.8
    51.7
    16
    5.1
    56.8
    17
    5.4
    62.2
    18
    5.7
    67.9
    19
    6.0
    73.9
    20
    6.3
    80.2
    21
    6.6
    86.8
    22
    6.9
    93.7
    23
    7.2
    100.9
    24
    7.5
    108.4
    25
    7.8
    116.2
    26
    8.1
    124.3
    27
    8.4
    132.7
    28
    8.7
    141.4
    29
    9.0
    150.4
    30
    9.3
    159.7
    หมายเหตุ          เริ่มจาก 2.5 กิโลกรัม/100,000 ตัว/วัน
                            วันที่ 2-7 เพิ่ม 100 กรัม/100,000 ตัว/วัน
                            วันที่ 8-14 เพิ่ม 200 กรัม/100,000 ตัว/วัน
                            วันที่ 15-30 เพิ่ม 300 กรัม/100,000 ตัว/วัน
    สำหรับการเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ภาคกลางที่ใช้น้ำความเค็มต่ำภิญโญ (2545) ได้สรุป    ตารางการให้อาหารดังที่แสดงไว้ตาราง

    • Update : 16/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch