หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-5

    การอนุบาลลูกกุ้งขาว

    การผลิตลูกกุ้งขาวในปัจจุบันมีโรงเพาะฟักขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดใหญ่ซึ่งกระบวนการผลิตอาจจะแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ประสบการณ์และความชำนาญของนักวิชาการโรงเพาะฟักขนาดใหญ่ส่วนมากจะมีบ่อเพาะลูกกุ้งในโรงเรือนบางแห่งมีระบบการควบคุมอุณหภูมิของอากาศให้คงที่มากที่สุดแต่โรงเพาะฟักขนาดกลางบางแห่งยังนิยมมีบ่อเพาะเลี้ยงอนุบาลลูกกุ้งกลางแจ้งสำหรับรายละเอียดในการอนุบาลลูกกุ้งขาวในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนรวบรวมมาจากวิธีการของอาจารย์ภิญโญเกียรติภิญโญนายกสมาคมผู้ประกอบการกุ้งขาวไทยซึ่งใช้วิธีการอนุบาลลูกกุ้งขาวโดยใช้บ่อที่อยู่กลางแจ้งเพราะต้องการให้แสงแดดฆ่าเชื้อต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการหมักหมมโดยอาจารย์ภิญโญให้เหตุผลว่าการอนุบาลลูกกุ้งในโรงเรือนถ้ามีเชื้อโรคต่างๆเกิดขึ้นแล้วการกำจัดจะยุ่งยากกว่าการอนุบาลกลางแจ้ง
     
       6.4.1 การเตรียมน้ำ สำหรับอนุบาลลูกกุ้ง
                ใช้น้ำเค็มจากนาเกลือที่มีความเค็มระหว่าง 80-100 พีพีทีเนื่องจากความเค็มในช่วงนี้มีแร่ธาตุต่างๆครบถ้วนถ้าน้ำเค็มจากนาเกลือที่มีความเค็มสูงมากแร่ธาตุบางอย่างอาจจะตกตะกอนไปบ้างจะไม่เหมาะสมสำหรับนำมาอนุบาลลูกกุ้ง นำน้ำเค็มดังกล่าวมาผสมกับน้ำจืดให้ได้ความเค็ม 27 พีพีที   ถ้าเป็นการอนุบาลในช่วงฤดูร้อนแต่ถ้าเป็นฤดูกาลอื่นๆจะใช้ความเค็ม 30 พีพีทีเมื่อผสมน้ำจืดจนได้ความเค็มตามที่ต้องการแล้วใช้คลอรีนผง (ความเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์) เติมลงไปให้ได้ความเข้มข้น 20 พีพีเอ็ม (ประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) เปิดเครื่องให้อากาศผสมคลอรีนผงให้ทั่วทิ้งไว้นาน 5 วันจนคลอรีนสลายตัวหมดแล้วดูดน้ำส่วนที่ใสเข้าไปในบ่อพักแล้วเติมเกลือแร่ลงไปเพื่อให้แน่ใจว่ามีแร่ธาตุที่สำคัญครบถ้วนทิ้งไว้อีก 1 วันหลังจากนั้นให้น้ำผ่านเครื่องโอโซนเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะหลงเหลืออยู่ในน้ำน้ำที่ผ่านเครื่องโอโซนแล้วเป็นเวลานาน 6 ชั่วโมงจะนำไปใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งตั้งแต่เริ่มนำนอเพลียสมาใส่ในบ่อจนกระทั่งลูกกุ้งพัฒนาจนถึงระยะพี 12 กระบวนการเตรียมน้ำทั้งหมดแสดงไว้ในภาพที่ 6.18-6.21
     
              ภาพที่ 6.21 บ่อทรีทน้ำ                         ภาพที่ 6.22 น้ำที่ผ่านการทรีทด้วยคลอรีน
     
    ภาพที่ 6.23 น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน                         ภาพที่ 6.24 บ่อซีเมนต์ทรง
    แล้วจะผ่านเครื่องโอโซนอีกครั้ง                                           กลมสำหรับอนุบาลลูกกุ้ง
     
    6.4.2 บ่ออนุบาลลูกกุ้ง
                ใช้บ่อกลมขนาดความจุ 2.7 ลูกบาศก์เมตร (ตัน) หลังจากเติมน้ำเต็มที่แล้วจะมีปริมาตรน้ำ 2.5 ลูกบาศก์เมตร เมื่อเริ่มอนุบาลลูกกุ้งจะใช้ระดับน้ำสูงเพียง 30 เซ็นติเมตรแล้วค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำเรื่อยๆ จนมีปริมาตร 2.5 ลูกบาศก์เมตร
                สำหรับในช่วงฤดูร้อนจะเริ่มอนุบาลที่ระดับน้ำ 50 เซ็นติเมตร แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส
    - นำนอเพลียสใส่ลงไปในบ่ออนุบาลรูปทรงกลมขนาดความจุ 2.7 ลูกบาศก์เมตรในอัตราความหนาแน่นบ่อละ 500,000 ตัว
     
    ภาพที่ 6.25 นอเพลียสที่จะนำไปลงในบ่ออนุบาล    ภาพที่ 6.26 บ่อเพาะแพลงก์ตอนคีโตเซอรอส
     
    -          เริ่มให้อาหารหลังจากนั้น 4-6 ชั่วโมงหรือเมื่อนอเพลียสเริ่มเข้าสู่ระยะซูเอีย 1 โดยให้แพลงก์ตอนคีโตเซอรอส (Chaetoceros sp.) เริ่มต้นที่ปริมาณ 20 ลิตรแล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อยโดยสังเกตจากการกินอาหารและการพัฒนาของลูกกุ้งประกอบด้วยมีการเสริมอาหารสำเร็จรูปสำหรับลูกกุ้งวัยอ่อนบ้างเล็กน้อยคีโตเซอรอสที่ให้เป็นอาหารต้องสะอาดไม่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนมีการตรวจโดยนำน้ำที่มากับหัวเชื้อคีโตเซอรอสไปเพาะเชื้อว่ามีแบคทีเรียวิบริโอหรือไม่บนอาหารเลี้ยงเชื้อ TCBS agar ก่อนที่จะนำหัวเชื้อคีโตเซอรอสมาเพิ่มปริมาณสำหรับให้เป็นอาหารลูกกุ้ง
    -          เมื่อลูกกุ้งเริ่มเข้าระยะซูเอีย 2 เริ่มเสริมอาร์ทีเมียเป็นอาหารด้วยปริมาณ 10 กรัมต่อบ่อแล้วค่อยๆเพิ่ม ปริมาณโดยสังเกตการกินอาหารและการเจริญเติบโตของลูกกุ้งประกอบในการตัดสินใจ เพิ่มอาหารตัวอ่อนอาร์ทีเมียจะนำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนแล้วนำไปแช่เย็นเพื่อลดการเคลื่อนไหวลูกกุ้งจะได้กินสะดวกขึ้น
     
    ภาพที่ 6.27 ลักษณะของสีน้ำในบ่ออนุบาล
     
    -          ลูกกุ้งจะพัฒนาจากซูเอีย 1 จนถึงไมซิสใช้เวลานานประมาณ 5 วัน
    -          เมื่อลูกกุ้งเข้าสู่ระยะโพสลาวาร์ 1-2 (พี 1-2) จะเสริมสาหร่ายสไปรูไลน่าผงลงไปด้วยและเริ่มลดคีโตเซอรอส การอนุบาลลูกกุ้งขาวตามวิธีของอาจารย์ภิญโญใช้ระบบน้ำมีสีแพลงก์ตอนซึ่งจะมีสีน้ำตาลไม่ใช้ระบบน้ำใส ในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้งขาวจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะใดๆเลย
     
    6.4.3 การควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย
                การตรวจเช็คปริมาณเชื้อแบคทีเรียวิบริโอถ้ามีปริมาณเชื้อแบคทีเรียโคโลนีสีเหลืองมากบนอาหารเลี้ยงเชื้อ TCBS agar จะควบคุมปริมาณแบคทีเรียโดยใช้ไอโอดีนในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น
                ถ้าปริมาณแบคทีเรียวิบริโอโคโลนีสีเขียวมีไม่มากคือน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อน้ำตัวอย่าง 1 ซีซี. ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ส่วนโคโลนีสีเหลืองไม่ควรเกิน 60 โคโลนีต่อน้ำตัวอย่าง 1 ซีซี. และต้องไม่พบเชื้อวิบริโอเรืองแสง
     
    6.4.4 การควบคุมคุณภาพน้ำ
                พีเอชที่เหมาะสมระหว่างการอนุบาลลูกกุ้งขาวระหว่าง 7.8-8.5
                อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียสถ้ากรณีที่อากาศร้อนจัดจะใช้พลาสติกปกคลุมบ่ออนุบาลและเปิด sprinkle ให้ละอองน้ำช่วยลดอุณหภูมิภายในบ่ออนุบาล
    ภาพที่ 6.28 กลางวันที่อากาศร้อนจัดจะเปิดเปิด sprinkle ให้ละอองน้ำช่วยลดอุณหภูมิ
     
                ในช่วงที่อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำจะใช้วิธีเปิดไฟเพื่อเพิ่มอุณหภูมิของอากาศที่จะเข้าไปในระบบการให้ออกซิเจนในบ่ออนุบาล
    ในระหว่างการอนุบาลจะมีการตรวจวัดปริมาณแอมโมเนียด้วย
                เริ่มมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เมื่อลูกกุ้งอยู่ในระยะไมซิส 2-3 โดยเริ่มเปลี่ยนถ่ายน้ำเล็กน้อยตามความเหมาะสม
     
    ภาพที่ 6.29 ห้องเพิ่มอุณหภูมิของอากาศในช่วงอุณหภูมิต่ำ
     
                การอนุบาลตั้งแต่ระยะนอเพลียสจนถึงระยะพี 1-2 ใช้น้ำความเค็มปกติแต่เมื่อลูกกุ้งเข้าสู่ระยะตั้งแต่พี 3-4 จะเริ่มลดความเค็มของน้ำเพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียวิบริโอและกำจัดลูกกุ้งที่อ่อนแอไม่แข็งแรงออกไปลูกกุ้งที่เหลือจะมีเฉพาะตัวที่แข็งแรงเท่านั้น การลดความเค็มของน้ำมีการลดในตอนเช้าประมาณ 5 พีพีทีและตอนเย็น 5 พีพีทีดังนั้นภายในวันที่ 3 จะสามารถลดความเค็มให้เหลือ 5 พีพีทีลูกกุ้งจะอยู่ในระยะพี 7-8
                ถ้าต้องการนำลูกกุ้งไปเลี้ยงที่น้ำความเค็มสูงกว่า 5 พีพีทีก็ปรับเพิ่มความเค็มขึ้นมาใหม่ตามที่ต้องการอัตรารอดสำหรับอนุบาลลูกกุ้งโดยเฉลี่ยประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์
     
    6.4.5 อายุที่เหมาะสมสำหรับลูกกุ้ง
                ลูกกุ้งขาวที่เหมาะสมเพื่อนำไปเลี้ยงในบ่อควรมีอายุไม่ต่ำกว่าระยะพี 12 เนื่องจากลูกกุ้งตั้งแต่ระยะพี 10 จะมีการพัฒนาเหงือกสมบูรณ์ในกรณีที่ต้องการเลี้ยงในน้ำที่มีความเต็มต่ำควรจะอนุบาลให้ลูกกุ้งมีอายุมากกว่าพี 12 อัตรารอดจะสูงขึ้น
     
    6.4.6 การบำบัดน้ำทิ้ง
                น้ำที่ใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งทั้งหมดจะนำไปเก็บไว้ในบ่อพักน้ำเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่โดยมีการบำบัดตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
     
    ภาพที่ 6.30 บ่อรวบรวมน้ำที่ผ่านการใช้                     ภาพที่ 6.31 สูบน้ำจากบ่อพักน้ำที่ใช้แล้ว
    แล้วในการอนุบาลลูกกุ้ง                                                            เข้ามาในบ่อซีเมนต์
               
    น้ำที่สูบเข้ามาเพื่อบำบัดแล้วนำไปใช้ใหม่จะมีสีน้ำตาลพีเอชจะต่ำดังนั้นจะมีการเติมปูนขาวลงไปเพื่อทำให้น้ำตกตะกอนให้อากาศตลอดเวลาจะทำให้ปริมาณแอมโมเนียลดลงถ้าพีเอชของน้ำสูงกว่าปกติเนื่องจากการเติมปูนขาวจะใช้ยิปซั่ม (CaSO4) เติมลงไปพีเอชของน้ำจะลดลงจนอยู่ในระดับที่เหมาะสมน้ำจะใสนำมาใช้ต่อไปได้

    • Update : 15/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch