หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-3

    การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาวในต่างประเทศ

    มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์กุ้งขาวในต่างประเทศมาเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยเฉพาะที่สถาบัน Oceanic Institute มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกาจนได้สายพันธุ์กุ้งขาวจำนวนมากที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีขนาดใกล้เคียงกัน และสามารถเลี้ยงได้ในอัตราความหนาแน่นสูงมาก ให้ผลผลิตสูงในระยะเวลาสั้น การพัฒนาสายพันธุ์ (genetic improvement) ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการนำเอากุ้งในธรรมชาติมาเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่เตรียมไว้ให้อาจจะเป็นบ่อดิน หรือแทงค์ในโรงเพาะฟัก แล้วกุ้งเหล่านั้นสามารถผสมพันธุ์สืบพันธุ์จนผลิตลูกออกมาได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า domestication เท่านั้น
                การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งต้องใช้เวลานานและมีนักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์จากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านพันธุศาสตร์ ชีวเคมี ด้านโรค อาหาร และการเพาะเลี้ยงร่วมกันทำงานในสถานที่ซึ่งมีการเตรียมไว้สำหรับการผลิตหรือ พัฒนาสายพันธุ์กุ้งโดยเฉพาะที่จำเป็นต้องมีระบบที่สามารถป้องกันเชื้อโรค ต่างๆได้ (Biosecure)
     
       6.2.1 หลักการของการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาว
                 ต้องมีสายพันธุ์ที่หลากหลายแล้วทำการผสมข้ามสายพันธุ์ ก็จะได้สายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นมา เพราะการนำกุ้งจากสายพันธุ์เดียวกันมาผสมกันจะเกิดลักษณะที่นักวิชาการเรียกว่า เลือดชิด (inbreeding) เกิดขึ้น มีผลทำให้การเจริญเติบโตช้าลง อัตรารอดต่ำ ลักษณะด้อยต่างๆจะปรากฏออกมาเรื่อยๆ ในการคัดเลือกสายพันธุ์ต้องใช้เทคโนโลยีชีวโมเลกุล และการวิเคราะห์พันธุกรรมเชิงปริมาณ ซึ่งจะคัดเลือกเอาเฉพาะกุ้งตัวที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เหลือไม่เอา ดังนั้นในแต่ละรุ่น (generation) สามารพัฒนาให้มีลักษณะดีขึ้นได้เรื่อยๆ
                 ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นสถานที่ในการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งต้องปลอดโรคในทุกขั้นตอนของการผลิต ตั้งแต่โรงเพาะฟักที่ใช้สำหรับผลิตนอเพลียส และสถานที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หรือ NucleusBreedingCenter (NBC) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางคัดเลือกสายพันธุ์จะประกอบไปด้วยโรงเพาะฟักที่ใช้สำหรับผสมพันธุ์ มีแทงค์หรือบ่อสำหรับเลี้ยงแม่กุ้งให้มีการเจริญเติบโตของรังไข่หรือเจริญพันธุ์ (maturation) มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ (trait) ตามที่ต้องการ
     
    ภาพที่ 6.4 เทคโนโลยีการวิเคราะห์พันธุกรรมเชิงปริมาณกับกุ้งแต่ละตัวหรือกับทั้งสายพันธุ์
     
     
                พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวจะได้รับการทำเครื่องหมายประจำสายพันธุ์ (tag) เพื่อจำแนก และคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดในแต่ละรุ่น
    นอกจาก NBC แล้วจะมีศูนย์เพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธุ์หรือ BroodstockMultiplicationCenterหรือ MBC ซึ่งเป็นสถานที่ปลอดเชื้อโรคเช่นเดียวกัน เป็นสถานที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่ได้คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมไว้สำหรับเพิ่มจำนวน
     
    ภาพที่ 6.5 ศูนย์กลางการผสมสายพันธุ์
     
                   สำหรับด่านกักกันเชื้อโรคซึ่งเรียกว่า quarantine จะเป็นพื้นที่นอก NBC และ MBC ใช้เป็นพื้นที่กักกันกุ้ง ก่อนที่จะนำเข้าไปยัง NBC โดยแบ่งออกเป็นสถานที่กักกันขั้นแรกหรือปฐมภูมิ (primary quarantine) กุ้งที่ผ่านสถานที่นี้ถือว่าปลอดเชื้อแล้วจึงนำไปยังสถานที่กักกันขั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (secondary quarantine) ซึ่งระยะกักกันโรคนี้อาจจะนานมากเป็นปี กุ้งที่ผ่านสถานที่กักกันโรคขั้นที่สองจึงนำเข้าไปยัง NBC ได้
               
    ภาพที่ 6.6 การทำเครื่องหมายประจำสายพันธุ์
    เพื่อจำแนกกุ้งแต่ละตัวหรือกับทั้งสายพันธุ์
     
    6.2.1.1 สภาพแวดล้อมของการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาว
    รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นแนวทางของ Mr. David Kawahigashi  ซึ่งเคยเป็นนักวิจัยในโครงการปรับปรุงสายพันธุ์กุ้งขาวที่สถาบัน Oceanic Institute มาเป็นเวลานาน ปัจจุบันเป็นนักวิจัยของบริษัทเอกชนที่ผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวปลอดเชื้อ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ผู้เขียนหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่นักวิชาการ เกษตรกร และผู้ประกอบการที่มีโครงการจะนำพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวปลอดเชื้อเข้ามาเพื่อขยายและปรับปรุงสายพันธุ์ต่อไป
    การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวในฌรงเพาะฟักให้ถึงวันที่สามารถใช้ผสมพันธุ์ได้ มักจะนิยมเลี้ยงในแทงค์พื้นที่ขนาด 20 ตารางเมตรหรือใหญ่กว่า โดยเลี้ยงกุ้งในอัตราความหนาแน่น 5-12 ตัว/ตารางเมตร โดยมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1:1 รวมกันในบ่อเดียวกัน หรืออาจจะแยกบ่อก็ได้
    ในระหว่างการเลี้ยงจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำแบบมีน้ำเข้าและน้ำถ่ายออกตลอดเวลา (flow-trough) ในแต่ละวันจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำถึง 300 เปอร์เซ็นต์
    มีการควบคุมปริมาณแสงสว่างแบบอิงธรรมชาติ หรืออาจจะใช้การปิดและเปิดไฟ โดยเปิดไฟให้แสงสว่าง 13 ชั่วโมง และปิดไฟให้มืด 11 ชั่วโมง
     
               ภาพที่ 6.7 บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่                      ภาพที่ 6.8 บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่ควบคุมปริมาณ
    ควบคุมปริมาณแสงตามธรรมชาติ                                            แสงโดยการปิด-เปิดไฟ
     
    อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมระหว่าง            27.5-29.0 องศาเซลเซียส
    ความเค็มของน้ำระหว่าง                           28-36 พีพีที
    ความลึกของน้ำ                                      35-50 เซนติเมตร
    น้ำที่ใช้ในโรงเพาะฟักทั้งหมดผ่านการกรองและฆ่าเชื้อด้วยแสง ultraviolet (UV) โอโซน หรือคลอรีน อาจจะใช้ระบบน้ำหมุนเวียนได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการใช้น้ำหมุนเวียนคุณภาพน้ำจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลงมาก สามารถลดอัตราการตายได้
     
    ภาพที่ 6.9 บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในโรงเรือนแบบต่างๆกัน
     
    6.2.1.2 การผสมพันธุ์และการวางไข่
                ยังต้องมีการบีบตาหรือตัดตา (eyestalk ablation) เพื่อเร่งให้แม่กุ้งมีการพัฒนาไข่เร็วขึ้น จากการบีบตาจะไปยับยั้ง gonad inhibiting hormone ทำให้ความถี่ในการวางไข่ (spawning) เพิ่มขึ้นโดยรอบของการวางไข่จะใช้เวลา 3 วัน
                การผสมพันธุ์นิยมใช้วิธีทางธรรมชาติ (natural mating) 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการผสมเทียม (artificial insemination) นิยมใช้ในการคัดเลือกสายพันธุ์ (selective breeding)
                นิยมปล่อยกุ้งเพศผู้และเมียรวมในบ่อเดียวกันในอัตราส่วน 1:1 วิธีนี้แม่กุ้งจะเครียดน้อยจากการจับ ประเทศในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาใช้วิธีนี้กันมาก
    การแยกเลี้ยงกุ้งเพศเมียและเพศผู้ เมื่อกุ้งเพศเมียไข่สุกพร้อมแล้วจึงย้ายไปใส่ลงในบ่อกุ้งเพศผู้ วิธีนี้กุ้งจะเครียดกว่า เพราะต้องจับแม่กุ้งหลายครั้ง การทำงานก็มากขึ้นด้วย วิธีนี้นิยมปฏิบัติในประเทศแถบเอเชียและออสเตรเลีย
     
    ภาพที่ 6.10 การบีบตาหรือตัดตาแม่พันธุ์
     
    การวางไข่
                อาจจะใช้กุ้งตัวเมีย 1 ตัวต่อถัง ซึ่งต้องสิ้นเปลืองแรงงานมาก วิธีนี้นิยมปฏิบัติกันในการวิจัยเพื่อคัดเลือกทางพันธุกรรม
                ส่วนใหญ่นิยมปล่อยกุ้งตัวเมียรวมกันในถังเดียวกัน อาจจะมากถึง 30 ตัว วิธีนี้ใช้แรงงานน้อยกว่า นิยมกันมากและประหยัด
     
    ภาพที่ 6.11 ถังวางไข่แบบเดี่ยว                         ภาพที่ 6.12 ถังวางไข่แบบรวม
     
    การรวบรวมไข่และนอเพลียส
                หลังจากแม่กุ้งวางไข่แล้ว 4-6 ชั่วโมง ใช้ไอโอดีนฆ่าเชื้อภายนอกที่อาจจะปนเปื้อนไข่แล้วนำไข่ไปฟักในถัง สำหรับแม่กุ้งน้ำหนัก 45 กรัม จะสามารถผลิตไข่ประมาณ 200,000 ฟอง/ครั้งหรือมาากว่า ซึ่งสามารถผลิตนอเพลียสได้ประมาณ 100,000 ตัว/ครั้งหรือมากกว่า ในแต่ละวันจะมีแม่กุ้งที่ได้รับการผสมพันธุ์ประมาณ 8-10 เปอร์เซ็นต์ แม่กุ้งแต่ละชุดจะใช้ในการผลิตลูกกุ้งนานประมาณ 3-4 เดือน แม่กุ้ง 1 ตัวจะสามารถผลิตนอเพลียสได้ประมาณ 1,000,000 ตัวหรือมากกว่า ถ้าสภาพแวดล้อมทุกอย่างเหมาะสม
     
                6.2.1.3 อาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาว
    การเจริญพันธุ์ของกุ้งขาวที่พร้อมจะผสมพันธุ์ให้ได้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพและมีปริมาณมากต้องประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่ คุณภาพน้ำที่ดี ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อาหารมีความสำคัญมากในการพัฒนาและการสร้างรังไข่ของแม่กุ้ง สารอาหารที่มีความจำเป็นได้แก่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง Omega-3 fatty acid, HUFA’s-highly unsaturated fatty acid DHA/EPA, เพรียงเลือด (blood worm)หรือเพรียงทราย ซึ่งจะต้องปราศจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสต่างๆ นอกจากนั้นยังมีอาร์ทีเมียที่ enriched ด้วย Omega-3 fish oils, อาหารสด เช่น หอย, krill (กุ้งขนาดเล็กคล้ายกุ้งเคย), คาโรทีนอยด์-แอสต้าแซนทิน ซึ่งเป็นคาโรทีนอยด์ที่สำคัญในรังไข่, วิตามินเอ,ซี และอี, ฮอร์โมน- hormone like (methylfarnesraste; MF) มีอยู่ในเพรียงเลือด และอาหารสำเร็จรูปเฉพาะพ่อแม่พันธุ์
    การให้อาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ให้อาหารวันละ 4-6 ครั้ง ปริมาณอาหาร 18-25 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักตัว/วัน ประกอบด้วยเพรียงเลือด 5-10, หมึก 5-10, อาร์ทีเมีย 3-6, หอย 3-6 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัว/วัน และอาหารสำเร็จรูป (แห้ง) 1-2 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัว/วัน
     
    ภาพที่ 6.13 เพรียงเลือด
     
    ภาพที่ 6.14 Krill
     
    ตารางที่ 6.1 การเลี้ยงกุ้งขาวในโรงเรือนเป็นพ่อแม่พันธุ์แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
    ระยะที่ 1
    ระยะที่ 3
    ระยะที่ 3
    ระยะพี 10-1.5 กรัม
    กุ้งขนาด 0.5-10 กรัม
    กุ้งขนาด 10-45 กรัม
    ระยะเวลา 1เดือน
     ระยะเวลา 1.5 เดือน
     ระยะเวลา 8 เดือน
    ความหนาแน่น 40-10 ตัว/ลิตร
    ความหนาแน่น 200-40/ตารางเมตร
    ความหนาแน่น 40-15/ตารางเมตร
                   
    ตลอดระยะเวลาในการเลี้ยงกุ้งขาวเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ มีการตรวจสุขภาพตลอดเวลา โดยการตรวจโรคตไวรัสเป็นระยะๆ เช่น เมื่อกุ้งอายุประมาณ 30 วันมีน้ำหนัก 1 กรัม ครั้งที่สองเมื่อกุ้งมีน้ำหนักประมาณ 10 กรัม และครั้งที่สามเมื่อกุ้งมีอายุ 322 วันมีน้ำหนัก 45 กรัม โดยวิธีตรวจด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ขาว่ายน้ำหรือ pleopods ตรวจเชื้อไวรัส WSSV, IHHNV, TSV และ YHV
     
    อนาคตการเลี้ยงกุ้งขาวเพื่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์
    -          อาจจะต้องใช้อาหารสำเร็จรูป 100 เปอร์เซ็นต์แทนเพรียงทรายหรือเพรียงเลือด
    -          การเลี้ยงควรจะใช้ระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อเป็นการประหยัดและลดความเสี่ยงจากภายนอก
    -          ไม่มีการตัดตาหรือบีบตาเพราะอาจจะได้รับการต่อต้านจากองค์กรต่างๆเช่นนักอนุรักษ์เพราะการบีบตาจะเป็นการทำร้ายหรือทรมานสัตว์
    -          ควรจะมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการเลี้ยงในสภาพต่างๆมากขึ้น


    • Update : 14/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch